หัวข้อ: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: nudie ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 10:02:40 AM ขอนำบรรยากาศงานชีวิตต้นกรุงมาฝากเกี่ยวเนื่องจากโครงการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของยูเนสโก ประจำปี 2551-2552
ไทยเป็นไท ทุกวันนี้ ไม่ใช่เพราะไทยมีแค่คนเก่ง แต่เพราะไทย มี คนเก่ง คนดี และเสียสละ หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: สายรุ้ง ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 10:06:29 AM เออ ..ปูเสื่อพร้อมหมอนอิงรอชมอยู่ค่ะ ..(แต่ไม่มีเชียนหมากมาด้วยนะค่ะ)
หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: nudie ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 10:10:11 AM ควงกล้องจิ๋ว Nikon coolpix S1 แบบ นุ่งเจียม ห่มเจียม ออกไปชื่นชมบรรยากาศไทยไทย
;D ศิลปะการแทงหยวก เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาในการเขียนลาย ผูกลายต่างๆ ช่างหยวกเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ สามารถเอาหยวกกล้วย (กาบ) มาเขียนลาย ผูกลายต่างๆ แล้วนำมาแทงหยวกเป็นลวดลาย ระบายสี (กาบ) กล้วยเหล่านั้นจนเกิดเป็นผลงาน วิธีการแทงหยวก นิยมใช้กล้วยตานีเท่านั้น เพราะเป็นต้นกล้วยที่สมบูรณ์ด้วยใบ มีความอิ่มตัวในลำต้นและไม่มีสายใยเวลาตัด แทง ฟัน และไม่เปราะเหี่ยวง่าย เมื่อลอกกาบกล้วยออกจากลำต้นแล้วจะอยู่ได้ถึง 24 ชั่วโมง ขณะที่กล้วยชนิดอื่นจะเหี่ยวเฉาภายในเวลา 10 ชั่วโมง หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: nudie ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 10:17:18 AM สวัสดีครับคุณสายรุ้ง ไม่มีโอกาสมาทักทายเสียนาน สบายดีนะครับ พักหลังไม่ค่อยได้ถ่ายภาพ ชมแบบตามมีตามเกิดนะครับ หากมีอะไรจะเสริม หรือแนะนำก็ยินดีอย่างยิ่งครับ
ไม่มีเชี่ยนหมากมาด้วยก็เบาใจ จะได้ไม่มีการแจกหมาก : ) :D พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2351 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2414) พระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต้นราชสกุลสนิทวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท มีนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายนวม ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ ธิดาท่านขรัวยายทองอิน เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1170 ตรงกับวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2351[1] ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นตามแบบฉบับของราชสำนักและทรงผนวชเป็นสามเณร ได้รับการศึกษาในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านอักษรศาสตร์ ทั้งอักขรวิธีภาษาไทย ขอม และมคธ รวมทั้งวรรณคดี วิชาโบราณคดีและราชประเพณี หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: nudie ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 10:18:44 AM :-*
หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: nudie ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 10:23:34 AM สำหรับผลงานที่ยูเนสโกเสนอในการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 177 มีดังนี้ พระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงประสูติ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2351 สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2414 พระองค์ทรงเป็นบุคคลสำคัญที่สนับสนุนการสถาปนาสันติวัฒนธรรม โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอารยธรรม ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของยูเนสโกในการส่งเสริมการสมานฉันท์ ในสังคม ความเข้าใจ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความสำเร็จในการเจรจาทางการทูตและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม ทำให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงเป็นที่รู้จักในเอเชีย ยุโรปและสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้นโยบายด้านการต่างประเทศโดยใช้วัฒนธรรมและสันติภาพ ทำให้ประเทศไทยสามารถทำสนธิสัญญากับประเทศต่างๆ ได้ และยังทรงเป็นนักอักษรศาสตร์ที่มีผลงานด้านวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ การเมือง และสมุนไพร ผลงานที่ปรากฏในฐานะเป็นนักปราชญ์ กวี นักเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ นักวิทยาศาสตร์ นักการทูต ทำให้สถาบันการศึกษา ตลอดจนมูลนิธิต่างๆ ได้ยกย่องและเชิญกรมหลวงวงษาฯ เป็นสมาชิกขององค์กรดังกล่าวด้วย
หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: nudie ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 10:27:34 AM ในระหว่างงานมีการสาธิต ฤษี (สาว) ดัดตน หนึ่งในมรดกอันทรงคุณค่าให้กับชาวไทย
หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: nudie ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 10:36:27 AM ต่อมาทรงเข้ารับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำกับกรมหมอหลวง และทรงศึกษาวิชาการแพทย์สมัยใหม่จากมิชชันนารีอเมริกัน โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นวงศาสนิท เมื่อครั้นปี พ.ศ. 2392 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปรารภ ถึงความเสื่อมโทรมของภาษาไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระองค์เจ้านวม ทรงแต่งตำราภาษาไทยขึ้นใหม่ เพื่ออนุรักษ์ภาษาไทย พระนิพนธ์เรื่อง จินดามณี เล่ม 2 ซึ่งทรงดัดแปลงจากตำราเดิมสมัยอยุธยา อธิบายหลักเกณฑ์ภาษาไทยให้เข้าใจง่ายกว่าเดิม[2] ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็น กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงกำกับราชการมหาดไทย ว่าพระคลังสินค้า และเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทรงเป็นเจ้านายหนึ่งในสี่พระองค์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหมายจะให้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์
จาก wikipedia ภาพ ละครใน เรื่องอิเหนา หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: nudie ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 10:39:54 AM มีการแสดงละครใน เรื่อง อิเหนา ตอน บุษบา เสี่ยงเทียน
:-* ละครใน ละครในมีหลายชื่อ เช่น ละครใน ละครข้างใน ละครนางใน และละครในพระราชฐาน เป็นต้น สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ละครในแสดงมาจนถึงสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ หลังสมัยรัชกาลที่ ๖ มิได้มีละครในในเมืองหลวงอีก เนื่องจากระยะหลังมีละครสมัยใหม่เข้ามามาก จนต่อมามีผู้คิดฟื้นฟูละครในขึ้นอีก เพื่อแสดงบ้างในบางโอกาส แต่แบบแผน และลักษณะการแสดงเปลี่ยนไปมาก ผู้แสดง เป็นหญิงฝ่ายใน เดิมห้ามบุคคลภายนอกหัดละครใน จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงเลิกข้อห้ามนั้น ต่อมาภายหลังอนุญาตให้ผู้ชายแสดงได้ด้วย ผู้แสดงละครในต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตีบทให้แตก และมีลักษณะทีท้าวทีพญา การแต่งกาย พิถีพิถันตามแบบแผนกษัตริย์จริงๆ เรียกว่า "ยืนเครื่อง" ทั้งตัวพระ และตัวนาง เรื่องที่แสดง มักนิยมแสดงเพียง ๓ เรื่อง คือ อุณรุฑ อิเหนา และรามเกียรติ์ การแสดง ละครในมีความมุ่งหมายอยู่ที่ศิลปะของการร่ายรำ ต้องให้แช่มช้อยมีลีลารักษาแบบแผน และจารีตประเพณี ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์เหมือนละครนอก แต่เทียบเสียงไม่เหมือนกัน จะต้องบรรเลงให้เหมาะสมกับเสียงของผู้หญิงที่เรียกว่า "ทางใน" เพลงร้อง ปรับปรุงให้มีทำนอง และจังหวะนิ่มนวล สละสลวย ตัวละครไม่ร้องเอง มีต้นเสียง และลูกคู่ มักมีคำว่า "ใน" อยู่ท้ายเพลง เช่น ช้าปี่ใน โอ้โลมใน สถานที่แสดง แต่เดิมแสดงในพระราชฐานเท่านั้น ต่อมาไม่จำกัดสถานที่ ข้อมูลจาก thaidance หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: nudie ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 10:42:21 AM ฉากหลัง เป็นทั้งอดีต และปัจจุบันอันงดงาม :-*
หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: nudie ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 10:48:49 AM นาฬิกา ชาวบ้าน
หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: nudie ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 10:51:41 AM ชีวิตที่ลิขิตโดยนาฬิกา ไม่ควรเร็วขนาดนี้เลย ทำงานไม่ทัน ;)
หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: nudie ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 10:53:59 AM การละเล่นแบบชาววัง 8)
กุลาตีไม้ เป็นการละเล่นของหลวง สันนิษฐานว่าได้แบบอย่างมาจากการละเล่นพื้นเมืองของอินเดียตอนใต้ เรียกว่า ทัณฑรส คือระบำไม้ เพราะมีลักษณะการเล่นคล้ายคลึงกับกุลาตีไม้ของไทยมาก ผู้เล่นถือไม้สั้น ๆ สองมือ เต้นเป็นวงกลม ใช้ไม้ตีกันเป็นคู่ ๆ ด้วยท่าทางต่าง ๆ และมีคนตีฉิ่งเรียกว่า ตาลัม เป็นผู้รักษาจังหวะ กุลาตีไม้น่าจะพัฒนามาจากโมงครุ่ม เพราะโมงครุ่มนั้นผู้แสดงจะร่ายรำอย่างเดียวไม่ต้องร้องเพลง แต่กุลาตีไม้นั้นผู้แสดงจะร้องโคลงหรือกาพย์พร้อมๆกันเป็นจังหวะ โคลงหรือกาพย์นั้นก็เป็นในทำนองสรรเสริญพระมหากษัตริย์ ดังนี้ "ศักดานุภาพ สิทธิครูมอบให้ เชี่ยวชาญชัย พระเดชพระคุณปกเกล้า เลิศล้ำ จึ่งแจ้ง เหตุใดไพร่ฟ้า แดนไกลฤทธา นาพ่อ อยู่เย็น" หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: nudie ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 11:05:13 AM ส่งท้ายด้วย โอ้เอ้ วิหารราย จากเด็กๆ กลุ่มนี้ เผื่อแฟนคลับ กิมจิ ดงบัง น้องไบร์ท อยากรู้จักบ้างว่าสวดโอ้เอ้วิหารราย เป็นอย่างไร และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไหน ;)
โอ้เอ้วิหารราย บทสวดโบราณ ตั้งแต่สมัยอยุธยา ในรัชสมัยของ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก่อน การเทศน์มหาชาติคำหลวง โดยจะสวดในพิธีสำคัญๆ เท่านั้น เช่น เข้าพรรษา ออกพรรษา ผู้ที่สวดได้คล่องแคล่ว แม่นในอักขระ จะได้สวดต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัว ส่วนพวกที่ยังไม่เก่ง ต้องฝึกซ้อมสวดกัน ตามศาลาที่รายรอบพระอุโบสถ ทำนองของการสวด จะมีทำนอง เอ้อ เอ้อ เอิง เอย ประสานเสียงกัน คนที่ฟังแล้วไม่ชัด จึงได้ยินเป็นเสียง โอ้ๆ เอ้ๆ หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2009, 02:07:41 PM ไทยเป็นไท ทุกวันนี้ ไม่ใช่เพราะไทยมีแค่คนเก่ง แต่เพราะไทย มี คนเก่ง คนดี และเสียสละ ชอบประโยคเปิดกระทู้นี้มากค่ะน้อง nudie..... :-* เท่าที่ผ่านมา....เราไม่ค่อยจะได้รับรู้รับทราบพระประวัติและพระเกียรติคุณของเจ้านายพระองค์นี้กันนัก กลายเป็นฝรั่งต่างชาติที่มาทำให้เราหูตาสว่าง และทำการยกย่องคนดีมีฝีมือของเราเองให้คนไทยได้เห็นประจักษ์แจ้งแก่ใจ.... เรื่องและภาพยังยอดเยี่ยมเหมือนเคย ไม่น่าเชื่อเลยว่าภาพทั้งหมดถ่ายจาก Coolpix.... :D ขอบคุณมากๆนะคะสำหรับเรื่องราวและภาพดีๆอย่างนี้..... แล้วก็อย่าหายไปนานนักอีก คิดถึงน่ะค่ะ... :-* หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: WayfarinG ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2009, 01:42:37 AM :-* :-*
หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: nudie ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2009, 02:22:38 AM กราบสวัสดีพี่สองสาย และกราบขออภัยที่ทำตัวเป็นพวก ไปไม่ลา มาไม่ไหว้ครับ
ช่วงนี้ไม่มีโอกาสดำน้ำเลยครับ คงต้องจัดเวลาให้ดีขึ้น เพื่อได้ไปร่วมกิจกรรม กำลังออกแบบ Endanger Species เสร็จแล้วจะขอนำไปมอบหารายได้เข้าชมรมครับ และขอบคุณความเห็นดีๆ ของเพื่อนด้วยครับ บุคคลต่างๆ ที่ทำความดีให้บ้านเมือง ไม่สำคัญว่าท่านจะมียศ มีศักดิ์หรือไม่ เราก็สมควรยกย่อง น่าเสียดายที่ ผู้คนมัก ยกย่องคนรวย คนดัง มากกว่าคนดี หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2009, 02:34:50 AM ขอบคุณค่ะน้อง nudie สำหรับความตั้งใจดีๆ....ความคิดดีๆ.....และน้ำใจที่ดีงามเสมอ.... :-* หัวข้อ: Re: เที่ยววัดอรุณ ชมงาน ชีวิตต้นกรุง ณ วัดอรุณ เริ่มหัวข้อโดย: สายรุ้ง ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2009, 07:20:45 AM โอ้เอ้วิหารราย บทสวดโบราณ ตั้งแต่สมัยอยุธยา ในรัชสมัยของ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก่อน การเทศน์มหาชาติคำหลวง โดยจะสวดในพิธีสำคัญๆ เท่านั้น เช่น เข้าพรรษา ออกพรรษา ผู้ที่สวดได้คล่องแคล่ว แม่นในอักขระ จะได้สวดต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัว ส่วนพวกที่ยังไม่เก่ง ต้องฝึกซ้อมสวดกัน ตามศาลาที่รายรอบพระอุโบสถ ทำนองของการสวด จะมีทำนอง เอ้อ เอ้อ เอิง เอย ประสานเสียงกัน คนที่ฟังแล้วไม่ชัด จึงได้ยินเป็นเสียง โอ้ๆ เอ้ๆ ขออนุญาตเสริมข้อมูลเพื่อเป็นความรู้กับทุกท่านนะค่ะ เนื่องจากได้ไปพูดคุยกับ อาจารย์ที่ พาน้องๆมาสวด โอ้เอ้วิหารราย ที่วัดพระแก้วมาค่ะ ไปวัดพระแก้ว เมื่อ เข้าพรรษา ปีที่แล้ว เห็นน้องๆ นักเรียน(โรงเรียน พระโขนงพิทยาลัย) เหล่านี้นั่งเตรียมพร้อมเพื่อทำอะไรบ้างอย่างซักพักก็เ ริ่มต้น สวดเหมือนสวดมนต์ แต่ฟังแล้ว ไม่ใช่บทสวดมนต์ที่เราๆเคยได้ยินกัน เพราะจะมีคำว่า เอ้อ เอ้อ เอิง เอย มาเป็นระยะๆ ให้สงสัย จึงเดินไป คุยกับคุณครูที่พาน้องๆมา จึงได้ความว่า เป็นการสวดโอ้เอ้วิหารราย กาพย์พระไชยสุริยา ซึ่ง สุนทรภู่เป็นผู้แต่ง อาจารย์ได้มอบตัวอย่างบทสวดมาให้ค่ะ บทสวดนี้จะมีลักษณะเป็นกาพย์ เช่น กาพย์ยานี 11 กาพย์สุรางคนางค์ 28 กาพย์ฉบัง 16 จากตัวอย่างที่ท่านอาจารย์ให้มา เหมือนเป็นบทเรียนในการฝึกอ่านสะกดคำ เช่น แม่กง แม่กน แม่เกย เนื้อหาประมาณ พระไชยสุริยาเดินเข้าไปท่องเที่ยวในป่า ตามข้อมูลที่หามาเพิ่มเติมบอกว่า บทสวดนี้จะสอดแทรกการสอน ศีลธรรม จริยธรรม ให้แก่ เด็ก และ เยาวชน ไปด้วยในตัว ภายหลังครูมืด (กรมศิลปากร) เสนอให้มีการฟื้นประเพณีการสวดนี้ขึ้นมาใหม่ สำนักพระราชวัง และ สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กระทรวงวัฒนธรรม จึงจัด "การสวดโอ้เอ้วิหารราย" ขึ้นบริเวณ ศาลาราย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สอบถามคุณครูได้ความว่า จะมาสวด พรรษาละ 3 วัน คือ ช่วงวันเข้าพรรษา กลางพรรษา และ ช่วงวันออกพรรษา เพื่อเป็นพุทธบูชาพระแก้วมรกต เท่าที่เห็น น้องๆนักเรียนโรงเรียนนี้จะนั่งสวดกันอยู่ ทุกศาลารายโดยรอบพระอุโบสถวัดพระแก้ว ทุกศาลาเลยทีเดียว เพียงแต่สลับกันสวด บางขณะ ก็จะสวดพร้อมกัน นั่งท่องเที่ยวหลายคนก็ให้ความสนใจหยุดดูนะค่ะ เราคนไทยยังสนใจเลยค่ะ |