กระดานข่าว Save Our Sea.net
ธันวาคม 22, 2024, 05:02:43 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิกฤต : โลกร้อน (2)  (อ่าน 143516 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #225 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2008, 01:45:20 AM »


โลกร้อน-ทะเลเป็นกรด "ปะการังแข็ง" ตายเกลื่อน

นายสมเกียรติ ขอเกียรติวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางทะเล สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และป่าชายเลน จ.ภูเก็ต กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า กำลังเตรียมศึกษาผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อปะการังชนิดแข็งในทะเลอันดามัน ถือเป็นโครงการแรกที่จะศึกษาผลกระทบโดยตรง และนับเป็น 1 ใน 12 โครงการที่สถาบันวิจัยภูเก็ต ได้รับคัดเลือกจากทางสหภาพยุโรปให้ดำเนินการวิจัย ขณะที่ยังมีสถาบันวิจัยอื่นๆ จากแถบเอเชีย อเมริกา และยุโรปที่จะศึกษาผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อ เต่า หอย ปลาในทะเลด้วย เพื่อสรุปเป็นงานวิจัยชิ้นเดียวกัน สหภาพยุโรปสนับสนุนงบฯทั้งโครงการจำนวน 12.5 ล้านยูโร

"สิ่งที่น่าสนใจคือพบว่าปะการังชนิดแข็งจำนวนมากเริ่มตายแล้ว เนื่องจากมีปริมาณก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ในท้องทะเลมากเกินไป เป็นผลมาจากคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมีมาก ทำให้น้ำทะเลเป็นกรดมากขึ้น เราได้วิจัยค่าความเป็นกรด แ ละด่างของน้ำทะเลย้อนหลังไ ป 30-40 ปี พบว่าค่าความเป็นด่างลดลง 0.1 ทำให้เกิดการกัดกร่อนทำลายแคลเซียม ซึ่งเป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของปะการัง และเรื่องดังกล่าวนี้หลายประเทศทั่วโลกก็เป็นห่วงต่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะตกลงสู่ท้องทะเลมากขึ้น" นายสมเกียรติกล่าว



จาก                    :                  มติชน    วันที่ 6 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #226 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2008, 12:55:27 AM »


ปะการังฟอกขาวเหตุจากโลกร้อน นักวิชาการชี้น้ำทะเลดีฟื้นตัวได้


นักวิชาการฟันธงสาเหตุของปะการังฟอกขาวมาจากปรากฏการณ์โลกร้อน ทชช.เร่งสร้างเครือข่ายร่วมกับชาวบ้านเฝ้าระวังปะการัง ผลวิจัยชี้ชัด หากจัดการคุณภาพน้ำทะเลให้ดี ปะการังมีโอกาสฟื้นตัวสูง

นายนิพนธ์ พงศ์สุวรรณ นักวิชาการประมง สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเผยว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบให้เกิดความแปรปรวนของอุณหภูมิน้ำทะเล ต่อเนื่องไปถึงระบบนิเวศวิทยาทางทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบนิเวศที่อยู่ตามชายฝั่ง เช่น แนวปะการัง การฟอกขาวของปะการังเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากสาหร่าย zooxanthellae ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกับปะการังถูกปล่อยออกไปจากเนื้อเยื่อปะการัง เพราะสภาพแวดล้อมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป เช่น อุณหภูมิน้ำทะเลสูงผิดปกติ น้ำจืดไหลลงสู่แนวปะการังมากเกินไป แสงแดดจัดเกินไป นักวิทยาศาสตร์ได้รายงานไว้ว่าอุณหภูมิของน้ำทะเลสูงผิดปกติ เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวเป็นพื้นที่กว้าง และรุนแรง

นายนิพนธ์กล่าวว่า สถาบันได้ดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับปะการังฟอกขาว ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการติดตามตรวจสอบสถานภาพแนวปะการังมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เพื่อศึกษาดูความรุนแรงในแต่ละครั้ง การกระจาย สาเหตุ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมใดที่เสริมให้เกิดปะการังฟอกขาว มีผลต่อปะการังชนิดใดบ้าง ปะการังแต่ละชนิดมีความทนทานต่อการฟอกขาวมากน้อยอย่างไร แนวปะการังมีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยอย่างไร ปะการังมีแนวโน้มว่าจะปรับตัวหรือไม่ และยังร่วมงานวิจัยกับนักวิจัยต่างประเทศ เช่น ศึกษาอิทธิพลของคลื่นใต้น้ำที่นำมวลน้ำเย็นกระทบแนวปะการังซึ่งอาจทำให้ปะการังปรับตัวทนทานต่อการเกิดการฟอกขาว นอกจากนี้ ยังสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจดำน้ำและนักดำน้ำที่สนใจด้านการอนุรักษ์ปะการัง ให้มีส่วนร่วมในการรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแนวปะการัง

"ปัจจุบันสถาบันมีข้อมูลแน่ชัด ว่าแนวปะการังที่เกิดการฟอกขาวสามารถฟื้นตัวได้ หากพื้นที่นั้นมีคุณภาพน้ำดี แต่ถ้าหากพื้นที่นั้นมีตะกอนมากเกินไป หรือมีมลพิษจากน้ำเสีย การฟื้นตัวจะเกิดขึ้นได้ช้ามาก ดังนั้น การจัดการพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดปะการังฟอกขาวอันดับแรกที่ต้องทำคือ การจัดการคุณภาพน้ำ เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ประโยชน์จากแนวปะการัง" นายนิพนธ์กล่าว



จาก                    :                  มติชน    วันที่ 6 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #227 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2008, 12:58:46 AM »


โลกร้อนทำแมลงเขตร้อนสูญพันธุ์

ทีมนักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกา ระบุไว้ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ "โปรซีดิ่ง ออฟ เดอะ เนชั่นแนล อะคาเดมี ออฟ ไซน์ซ" ฉบับวันที่ 6 พฤษภาคม ว่า แมลงหลายชนิดในพื้นที่เขตร้อนอาจสูญพันธุ์ไปภายในศตวรรษนี้ เพราะไม่สามารถปรับเข้ากับอุณหภูมิที่สูงขึ้นสืบเนื่องจากภาวะโลกร้อนได้ ทั้งนี้ เนื่องจากบรรดาแมลงในเขตร้อนมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมากกว่า เมื่อเทียบกับแมลงในภูมิภาคอื่นๆ ทั้งนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ดังกล่าวดำเนินการศึกษาวิจัยพบว่าระหว่างปี 2490 ถึง 2543 สิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์เลือดเย็นไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้เหมือนอย่างสัตว์จำพวกเดียวกันในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว ที่สามารถสลัดขนหรือเพิ่มความหนาของขนไปตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมากๆ ได้

นายโจชัว ทิวก์สบิวรี หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ผู้ดำเนินการวิจัยดังกล่าว กล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแมลงจำพวกนี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในระดับที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 5.4 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิในปัจจุบันเท่านั้น ระดับดังกล่าวเป็นระดับอุณหภูมิที่คาดว่าภาวะโลกร้อนจะทำให้เกิดขึ้นในปี ค.ศ.2100 นี้ ผลวิจัยชิ้นนี้ระบุด้วยว่า เมื่ออุณหภูมิโลกร้อนขึ้น แมลงบางจำพวกในเขตร้อนอาจใช้วิธีการอพยพขึ้นไปอยู่ที่สูงขึ้นซึ่งอุณหภูมิต่ำกว่า, ย้ายถิ่นขึ้นไปทางเหนือมากขึ้น หรือค่อยวิวัฒนาการปรับร่างกายเข้ากับอากาศที่ร้อนขึ้น แต่จะมีแมลงอีกไม่น้อยที่ต้องตายไปเพราะสภาพร่างกายอ่อนแอลงอย่างรวดเร็วและไม่สามารถปรับร่างกายให้ทนทานได้อีกต่อไป (บีบีซี)



จาก                    :                  มติชน    วันที่ 7 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #228 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2008, 12:55:53 AM »


โลกร้อน : ทุนนิยมขุดหลุมฝังศพตนเอง


คาร์ล มาร์กซ เคยกล่าวไว้ นานมาแล้วในหนังสือชื่อ Capital ซึ่งคนส่วนใหญ่ลืมแล้ว หรือไม่เชื่อว่าสิ่งที่มาร์กซพูดไว้จะกลายเป็นความจริงในวันนี้

มาร์กซพูดไว้ว่า "ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่พัฒนาไปสู่การขุดหลุมฝังศพให้กับตนเอง"

ภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติธรรมชาติ ราคาน้ำมันแพงและกำลังจะหมดโลกซึ่งกำลังสร้างความหายนะให้กับมนุษยชาติในวันนี้ เป็นผลพวงของการพัฒนาของระบบทุนนิยมที่เติบโตอย่าง ก้าวกระโดดในภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เน้นการเติบโตของ GDP และผลกำไรสูงสุด โดยไม่คำนึงถึงปริมาณจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด และความ ไม่รู้จักบันยะบันยังในการบริโภค แค่พอเพียงอย่างสมดุล

เมื่อระบบทุนนิยมพัฒนาเทคโนโลยีและนำมาใช้เพื่อการผลิตแบบขนาดใหญ่ (mass production) จนกระทั่งมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่มีการยับยั้งมาทำการผลิตจนสินค้าล้นโลก เช่น รถยนต์ ตู้เย็น ทีวี สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือ และแม้แต่เสื้อผ้าซึ่งเปลี่ยนรุ่นเปลี่ยนแบบปีละหลายครั้ง เป็นต้น

รถยนต์ซึ่งแต่ละคันมีอายุใช้งาน ไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ก็ตะบี้ตะบันเปลี่ยนแบบเปลี่ยนรุ่นผลิตออกมาทุกปี ปีละหลายรุ่น สินค้าอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน กว่าร้อยละ 60 ของสินค้าที่มีอยู่ในตลาดไม่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน หรือมีมากรุ่น มากประเภท มากสไตล์เกินไป ทั้งๆ ที่รุ่นเก่าก็ยังใช้ได้ ก่อให้เกิดปัญหาขยะพิษ ขยะนิวเคลียร์ และขยะอุตสาหกรรมล้นโลก

หลุมฝังศพตนเองที่ระบบทุนนิยมขุดลงไปเพื่อฝังตนเองได้สร้างปรากฏการณ์ที่นำไปสู่ความหายนะของมนุษยชาติมีดังต่อไปนี้


ในด้านการผลิต

ภาคอุตสาหกรรมใช้พลังงานมากถึง ร้อยละ 37 ของพลังงานทั้งหมด ภาคครัวเรือนใช้เพียงร้อยละ 11 สหรัฐอเมริกามีประชากรคิดเป็นร้อยละ 4 ของโลก แต่เป็นผู้ใช้พลังงานถึงร้อยละ 25 ของโลก และบริโภคร้อยละ 22 ของผลผลิตในโลก รายงานของ UNDP ระบุว่า ร้อยละ 20 ของประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้วบริโภคผลผลิตร้อยละ 86 ของโลก ส่วนร้อยละ 20 ของประชากรในประเทศยากจนที่สุดบริโภคเพียงร้อยละ 1.3 ของโลก

ประเทศที่รวยที่สุด 5 ประเทศบริโภคเนื้อและปลาร้อยละ 45 ของโลก ประเทศยากจนที่สุดบริโภคเพียงร้อยละ 5 (ป่าอเมซอนถูกถางเพื่อทำทุ่งเลี้ยงวัวส่งเนื้อให้ร้านแฮมเบอร์เกอร์)

ประเทศที่รวยที่สุด 5 ประเทศบริโภคร้อยละ 58 ของพลังงานในโลก ประเทศ ที่ยากจนที่สุดบริโภคเพียงร้อยละ 1.5

ประเทศที่รวยที่สุด 5 ประเทศใช้กระดาษร้อยละ 84 ในโลก ประเทศที่ยากจนที่สุดบริโภคเพียงร้อยละ 1.1

ประเทศที่รวยที่สุด 5 ประเทศ ใช้บริการเครื่องบิน เรือโดยสาร และรถยนต์คิดเป็นร้อยละ 87 ของโลก ประเทศที่ยากจนที่สุดใช้เพียงร้อยละ 1

เราจึงเห็นบางบ้านมีรถยนต์ บ้านละ 3-4 คัน โดยเฉพาะในอเมริกา มีทีวีทุกห้อง มีตู้เย็น 2-3 ตู้ ในแต่ละบ้าน มีการพิมพ์หนังสือ แมกาซีน แผ่นพับโฆษณาที่แจก ทิ้งขว้างกลายเป็นขยะ หนังสือและแมกาซีนและสิ่งพิมพ์ร้อยละ 90 ไร้สาระ ไม่เป็น ประโยชน์ ไม่เหมาะต่อการอ่าน และไม่สมควรจะพิมพ์ออกมา

สินค้าในห้างและในตลาดกว่าร้อยละ 70 ไม่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน ทรัพยากรธรรมชาติและน้ำมันจึงหมดไปเพราะถูกถลุงใช้ไปอย่างไม่จำเป็น แต่ผลิตออกมาเพื่อการค้ากำไรของคน บางกลุ่มและกระตุ้นสร้างความต้องการเทียมขึ้นมาให้ซื้อให้บริโภค

ทรัพยากรและอาหารในประเทศกำลังพัฒนาถูกแนวคิดพิษเรื่องการพัฒนาและเติบโตด้วยการส่งออกถลุงทรัพยากรและเอาเปรียบแรงงานเพื่อลดต้นทุน แล้วส่งไปให้ประเทศที่พัฒนาแล้วบริโภคตามสถิติ ข้างต้น ทำให้เกิดความขาดแคลนภายในประเทศ คุณภาพชีวิตประชาชนลดลง ช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมกว้าง มากขึ้น และเกิดปัญหายาเสพย์ติดและ โจรผู้ร้ายเต็มบ้าน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไม่มี


ในด้านการเงิน

เงินหรือทุนซึ่งถูกสมมติขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนได้กลายพันธุ์เป็นสินค้าอีกตัวหนึ่ง แทนหน้าที่เดิมที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้า เงินตรากลายเป็นสินค้าซื้อขายเก็งกำไรในตลาดซื้อขายเงินที่มีการเปลี่ยนมือมากที่สุดในแต่ละวัน โนม ชอมสกี้ ได้ชี้ว่า ก่อนที่อเมริกาจะละทิ้งการเป็นนายธนาคารโลก การลงทุนในโลกร้อยละ 90 เป็นเรื่องการค้าและ การลงทุนทางตรงในกิจการหรือโรงงาน และร้อยละ 10 เป็นเงินลงทุนระยะสั้นในด้านการเก็งกำไร

แต่ในทศวรรษ 1990 ตัวเลขเป็นตรงกันข้าม คือร้อยละ 95 ของเงินที่ถ่ายเท โยกย้ายในทุกตลาดเงินและตลาดทุนเป็นเงินเก็งกำไรระยะสั้นที่ไหลเข้าออกจากแต่ละประเทศภายในเวลา 1 อาทิตย์ ทำให้เศรษฐกิจของแต่ละประเทศปั่นป่วนไม่มั่นคง และวางแผนเศรษฐกิจระยะยาวไม่ได้

ในปี 2005 คาดกันว่าตัวเลขการค้าเก็งกำไรในตลาดทุนสูงถึง 2 ล้านล้านเหรียญต่อวัน หรือ 700 ล้านล้านเหรียญต่อปี ในขณะที่ตัวเลขรวมของการค้าโลก มีตัวเลขประมาณ 27 ล้านล้านเหรียญ และจีดีพีโลกเท่ากับ 48.5 ล้านล้านเหรียญต่อปี

ตัวเลขล่าสุดในรายงานประจำปีของธนาคารโลก 2007 ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศมียอดเงินคิดเป็นแค่เพียงร้อยละ 2 ของการเคลื่อนย้ายเงินตราระหว่างประเทศในแต่ละวันในโลกนี้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการครอบโลกด้านการเงิน (globali zation of finance) ไม่ได้เสริมหรือช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการค้าระหว่างประเทศอีกต่อไป แต่ดำรงอยู่ด้วยตนเอง

ในยุคนี้การเคลื่อนย้ายเงินตราระหว่างประเทศแทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงทุนด้านภาคการผลิตที่แท้จริงหรืออุตสาหกรรมเลย การเคลื่อนย้ายเงินเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการเคลื่อนย้ายระยะสั้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือการทำธุรกรรม ระยะสั้น (portfolio investment) เพื่อการ เก็งกำไรอย่างรวดเร็วทันควัน และสามารถเคลื่อนย้ายออกด้วยความเร็วเท่าๆ กับที่เคลื่อนย้ายเข้ามา

เงินตราไม่ได้ใช้สำหรับการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าตามหน้าที่ดั้งเดิมของมันเสียแล้ว แต่ถูกใช้ในการสร้าง ความปั่นป่วนด้วยการเก็งกำไรในวัตถุดิบ พลังงาน และอาหารของโลก ทำให้เศรษฐกิจโลกขาดเสถียรภาพและความแน่นอน ราคาอาหาร ราคาน้ำมันขึ้นลงไม่ใช่เพราะกลไกตลาด แต่เกิดจากการ เก็งกำไรในตลาดซื้อขายตั๋วสัญญาซื้อขายของสินค้าเหล่านี้ (ตลาดอนุพันธ์ ตลาดหุ้น ตลาดเงิน) วิกฤติปัญหาซับไพรมในอเมริกาซึ่งลามไปทั่วโลกในขณะนี้คือตัวอย่างหรือปรากฏการณ์ที่มายืนยันข้อความข้างต้น


ในด้านการบริโภค

ประชาชนถูกสื่อโฆษณาให้บริโภค บริโภค และบริโภคอย่างไร้สติยั้งคิด ซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้าโดยการสร้างความต้องการเทียมขึ้นมา (fault demand) ในอเมริกาเด็กเกือบทุกบ้านมีของเล่น กองเป็นภูเขาท่วมห้อง มีของใช้ส่วนเกินที่เด็กในประเทศยากจนไม่เคยคิดเคยฝัน จะได้เห็นหรือได้ใช้

เสื้อผ้าที่มีอายุการใช้งานเป็นปี แต่ถูกใช้เพียงครั้งหรือสองครั้งก็เลิกใช้ แล้วกองเป็นขยะอยู่ในตู้

เด็กถูกกระตุ้นให้กินอาหาร อาหารเสริม และขนมขยะ (กรอบแกรบ เช่น มันทอด) แทนอาหารและขนมสดที่ผลิตตามกระบวนการธรรมชาติ เด็กโดยเฉพาะในบ้านเราแทนที่พ่อแม่จะทำอาหารที่มีคุณภาพใส่กล่องอาหารกลางวันให้ลูกไปกินที่โรงเรียน กลายเป็นเรื่องน่าอาย แต่ปล่อยให้เด็กไปซื้ออาหารขยะกิน เช่น พวก ไส้กรอกสีแจ๊ดที่เต็มไปสารดินประสิวและสารกันบูดที่ทำลายความเจริญเติบโตของมันสมอง


ในด้านกรอบคิดการบริหารจัดการ

นักบริหาร เจ้าของโรงงานและ นักเศรษฐศาสตร์ถูกล้างสมองด้วยทฤษฎีพิษที่มีส่วนทำลายโลกและเป็นการขุดหลุมฝังศพให้กับตนเอง คือการผลิตเพื่อการเติบโต จีดีพีต้องเพิ่มทุกปี เพื่อกำไรสูงสุด เพื่อกำไรมากที่สุด เพื่อส่งออกให้ได้มากที่สุด มิใช่การผลิตเพื่อสนองตอบความต้องการบริโภคของสังคมและชุมชน ทั้งนี้เพราะว่าทรัพยากรในโลกมีไม่เพียงพอจะมารองรับจีดีพีที่เพิ่มทุกปีในทุกประเทศ

ทฤษฎีบริหารล้วนสอนกลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มการขาย กระตุ้นการบริโภค กระตุ้นการแข่งขัน กระตุ้นการส่งออกซึ่งล้วนเป็นการถลุงทรัพยากรอย่างไร้ความจำเป็นและฟุ่มเฟือย จนทำให้เกิดภาวะขาดแคลนภายในประเทศ เร่งภาวะโลกร้อน มาตรการกีดกันการค้าในทุกรูปแบบ และการมีอำนาจเหนือตลาดถูกนำมาใช้เพื่อการเอาเปรียบทางการค้า ทำให้ผู้ผลิตในประเทศกำลังพัฒนายิ่ง ส่งออกยิ่งเป็นหนี้


ภัยพิบัติธรรมชาติ

พายุไซโคลน พายุทอร์นาโด สึนามิ น้ำท่วม ภัยแล้ง ป่าหมด อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น ภูเขาน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับ น้ำทะเลสูงขึ้น น้ำมันราคาแพงและกำลังจะหมดโลก เป็นผลพวงจาก "หลุมฝังศพของระบบทุนนิยม" ข้างต้น

ทั้งหมดนี้คือ "หลุมฝังศพของระบบทุนนิยม" หรือทางตันของระบบทุนนิยม เพราะเหตุว่าบรรษัทแต่ละประเทศ ไม่สามารถลดการผลิตของตนลงเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน น้ำมันขาดแคลนและกำลังจะหมดโลก

ทั้งนี้เพราะว่าหากลดการผลิตลง ก็หมายความว่า จะต้องปลดคนงานขนานใหญ่ ซึ่งจะสร้างปัญหาสังคมตามมาอย่างขนานใหญ่ การปลดคนงานหมายถึงการ ลดลงของการบริโภค เมื่อการบริโภคลด การผลิตก็ต้องลด และการปลดคนงานก็ต้องมากขึ้น การบริโภคและการผลิตก็ต้องลดลงตาม ปัญหาโจรผู้ร้ายและยาเสพย์ติดที่เกิดจากความเครียดจะตามมา กลายเป็นวัฏจักรชั่วร้ายที่หมุนเวียนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด


เรือโนอาร์

คำถามที่ท้าทายมนุษยชาติในวันนี้คือ จะร่วมกันสร้างเรือโนอาร์มากอบกู้มนุษยชาติ หรือจะรอสวรรค์ส่งเรือ โนอาร์มาช่วยชีวิตโดยไม่คิดทำอะไรเลย ในด้านการลดการบริโภค ลดการกระตุ้นการบริโภค ลดการผลิต ให้อยู่ในระดับพอดีและจำเป็น โดยการปันส่วนการบริโภคกันอย่างยุติธรรมระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่กำลังพัฒนา และในระหว่างคนมั่งมีกับคนไม่มีในแต่ละประเทศ




จาก                    :                  ประชาชาติธุรกิจ   คอลัมน์ เดินคนละฟาก โดย กมล กมลตระกูล   วันที่ 19 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #229 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2008, 11:29:41 PM »


มรสุม! โลกร้อน 4 เดือน ไทยลุ้นพายุ


 
สภาวะโลกร้อน...ไม่ใช่ปัญหาของคนหนึ่งคนใด แต่เป็นปัญหาใหญ่ ของคนทั้งโลกที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบ

มหันตภัยต่างๆก่อความเสียหายมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในหลายพื้นที่ แผ่นดินไหว น้ำท่วม พายุและอีกหลายๆปัจจัย...ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที

ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ บอกว่า ขณะนี้โลกเรากำลังเผชิญกับธรรมชาติที่มีความผิดปกติจนเห็นได้ชัด ทั้งเรื่องความรุนแรงที่มีผลต่อทรัพย์สินผู้คนจำนวนมาก

เห็นได้จากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นถี่...ในหลายประเทศ

นักวิชาการส่วนใหญ่ ระบุว่า สาเหตุการเกิดภัยธรรมชาติที่ผิดปกตินี้ มีผล มาจาก สภาวะโลกร้อน

ที่เห็นได้ชัด...พายุนาร์กีส ประเทศพม่า ก่อตัวในมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิสูงพอ แต่กับการเกิดแผ่นดินไหวในทางวิชาการถือว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ

ท่ามกลางมรสุมสภาวะโลกร้อน...ประเทศไทยมีอัตราเสี่ยงเกิดพายุเกิดขึ้นได้ทุกปี ขึ้นอยู่กับว่า...ปีไหนจะมากจะน้อย แต่...สำหรับปีนี้อัตราเสี่ยงมีมาก โดยเฉพาะเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม

“สี่เดือนนี้...มรสุมจะก่อตัวจากมหาสมุทรแปซิฟิกเข้ามาทางอ่าวไทย มีร่อง มรสุมพัดผ่านภาคใต้ตอนบน ภาคกลางจนถึงภาคเหนือ มีผลกระทบกับชุมชนใหญ่ ...เมืองใหญ่”



ดร.สมิทธ บอกว่า ขณะนี้เรายังไม่สามารถคำนวณได้ว่าความรุนแรงจะมากน้อยแค่ไหน จะเท่าพายุนาร์กีสหรือไม่...อาจน้อยหรือมากกว่า เราต้องรอให้พายุที่จะเกิดขึ้นก่อตัวและเคลื่อนตัวก่อน ถึงจะคำนวณได้จากทิศทาง เส้นผ่าศูนย์กลาง และแรงลมได้

“การก่อตัวพายุกลางทะเล จะคะเนล่วงหน้าได้ 3-5 วัน หากจะให้คาดการณ์ ว่า พายุลูกต่อไปจะเกิดความรุนแรงมากเท่าไหร่ อันตรายแค่ไหน ไม่มีหลักวิทยาศาสตร์ตอบได้”

ประเด็นสำคัญ สภาวะโลกร้อนจะทำให้เกิดพายุที่มีความรุนแรงมากขึ้น และบ่อยครั้งขึ้น

การเลื่อนตัวของแนวร่องความกดอากาศต่ำ ทำให้ปริมาณฝนในบางพื้นที่ ตลอดจนตำแหน่งพายุเปลี่ยนแปลง คลื่นความร้อน ความแห้งแล้งจะทวีความรุนแรงและเกิดบ่อยขึ้น

อีกข้อที่น่ากังวล...ผลกระทบจากโลกร้อน จากที่มีการศึกษาและหาก เป็นจริง พบว่า อีก 50 ปีข้างหน้า โลกจะร้อนขึ้นอีก 2-6 องศา ผลที่ตามมาคือระดับน้ำทะเลสูงขึ้นหลายฟุต เนื่องจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย

กระทบไปถึงปัญหาการพังทลายของแนวชายฝั่ง เมื่อมีพายุรุนแรงการสูญเสียตามแนวชายฝั่ง แนวชายหาด ที่ลุ่มน้ำขัง อุตสาหกรรมตามแนวชายฝั่งก็กระทบไปหมด

“น้ำเค็มแพร่เข้าถึงพื้นดิน ซึมสู่แหล่งน้ำจืด...เกิดปัญหากับน้ำบริโภค ระบบนิเวศแนวชายฝั่งทะเลก็เสียหาย”

แหล่งการเกษตร การประมงจะเปลี่ยนแปลง เช่น ผลผลิตการเกษตร ประเทศแคนาดาและสหภาพโซเวียตอาจเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตของสหรัฐอเมริกาลดลง



การลดลงของก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโดสเฟียร์ มีผลต่อเนื่อง ถึงสุขภาพของมนุษย์ขาดโภชนาการต่อเนื่อง ทำให้เกิดโรคต่างๆ เกิดโรคพืช โรคสัตว์

จับตาโลกร้อน...อุณหภูมิสูงขึ้น 2-6 องศา ประเทศไทยได้รับผลกระทบ โดยตรงจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นทุกวัน...คำนวณแล้วไม่เกิน 10 ปี กรุงเทพฯจะกลายเป็นเมืองใต้บาดาลอย่างถาวร

“เรื่องนี้ผมพูดมานานแล้ว ทุกวันนี้รู้สึกท้อ เพราะหลายครั้งที่ผ่านมา ผมและนักวิชาการคนอื่นพูด วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต...ไม่เห็นจะมีผลอะไร”

ดร.สมิทธ ย้ำว่า แทนที่จะเอาสิ่งวิเคราะห์ไปตั้งคณะกรรมการศึกษา สิ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ หาแนวทางป้องกันได้ทันเวลา กลับนิ่งเฉย...ไม่ทำอะไร

ที่เกิดขึ้นแล้วที่...บ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ หมู่บ้านเก่าแก่อายุกว่า 500 ปี ตั้งอยู่บนแหลมขนาดเล็กยื่นออกไปในทะเล

ในอดีตบริเวณนี้ เป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าจากเรือสำเภาจีนที่สำคัญ มีการขุดพบเงินพดด้วง ไห ถ้วย ชามกระเบื้องจำนวนมาก นักโบราณคดีสำรวจพบว่า มีอายุอยู่ในช่วงเดียวกับวัตถุโบราณที่ขุดพบได้ในชุมชนยี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม ...ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 20

ปัจจุบันทะเลได้กลืนกินผืนแผ่นดินในอดีตไปแล้ว คนในหมู่บ้านต้องอพยพหนีไปอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง หรือย้ายไปอยู่ที่อื่น

พื้นที่หมู่ 8...9...10...11 บ้านขุนสมุทรจีน ประสบปัญหาการพังทลายของชายฝั่งทะเลบริเวณด้านอ่าวไทยมาเป็นเวลาร่วม 20 ปี

เฉพาะหมู่ 9 วันนี้...มีเนื้อที่เหลือไม่ถึง 10 ตารางกิโลเมตร

ข้อมูลจาก รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเล 2,667 กิโลเมตร การกัดเซาะชายฝั่งทะเล เกิดขึ้นในทุกจังหวัดชายฝั่งทะเลทั้งด้านอ่าวไทย...อันดามัน

ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา...ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยที่พบการกัดเซาะขั้นรุนแรง 180.9 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะ 56,531 ไร่...การถูกกัดเซาะขั้นปานกลาง 304.1 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 38,012 ไร่

ชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน พบการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ขั้นรุนแรง 23 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 7,187 ไร่...การกัดเซาะขั้นปานกลาง 90.5 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 11,312 ไร่

รวมกันแล้ว ชายฝั่งทั่วประเทศถูกกัดเซาะทั้งสิ้น 113,042 ไร่ ครอบคลุมชายฝั่งทะเลยาว 599 กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของชายฝั่งทะเลทั้งหมด

รศ.ดร.ธนวัฒน์ บอกว่า หากไม่มีมาตรการใดๆในการแก้ไขปัญหา...อีก 20 ปีข้างหน้า พื้นที่ชายฝั่งทะเลกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงจะถูกกัดเซาะหายไปอีก 1.3 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 47,875 ไร่

ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว...คนไทยควรจะทำอย่างไร?

“ก็ทำตัวปกติ...อย่าวิตกกังวลมากไป” ดร.สมิทธ ว่า “ติดตามข่าวสารที่มีการเตือน ศึกษาวิธีป้องกันไว้บ้าง”

สิ่งสำคัญมากกว่า คือเรารู้แล้วว่า...สภาวะโลกร้อน ทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น สูงขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง บ่อยครั้งขึ้น

นี่คือบทเรียนที่มนุษย์จะต้องเรียนรู้ หยุดทำลายสิ่งแวดล้อม ด้วยการ ไม่ปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศ

สภาวะโลกร้อน...ไม่ใช่เรื่องไกลตัวคนไทย หากเห็นความสำคัญ บริษัท อินเตอร์ เนชั่นเนิลเอนจิเนียริง จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัทจงหัว เทเลคอม (CHT) ขอเชิญ ไปร่วมฟังบรรยายพิเศษ “Energy Efficiency and Green Environment Forum”

การประหยัดพลังงาน...ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์...เพื่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้หัวข้อเรื่อง “Global Warming and Energy Saving Innovation”

งานนี้จัดขึ้นวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 เวลา 09.30-14.00 น. ณ โรงแรม โฟร์ซีซั่นส์ กรุงเทพฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-2736-3535 ต่อ 3209



ไฮไลต์สำคัญ...ที่พลาดไม่ได้ ดร.ไมเคิล โนเบล ทายาทรุ่นที่ 4 ผู้ก่อตั้งรางวัลโนเบล ร่วมบรรยายพิเศษ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในช่วงระยะเวลาหลายปี ที่ให้ความสนใจกับการประหยัดพลังงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการสร้าง Greener Environment

ปัจจุบัน ดร.ไมเคิล โนเบล ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิ Nobel Charitable Trust และได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจากการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์มากมาย อาทิ เหรียญประดับเกียรติยศจากมูลนิธิยูเนสโก, รางวัลเกียรติยศมูลนิธิอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, รางวัลคานธี, เหรียญอิสริยาภรณ์แกรนด์ ครอส

ปรากฏการณ์โลกร้อนเกิดจากการที่ก๊าซเรือนกระจก ลอยขึ้นไปสะสมตัวในชั้นบรรยากาศ ทำให้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามา สะท้อนกลับออกไปนอกชั้นบรรยากาศได้น้อยลง

พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ถูกเก็บไว้ใต้ชั้นบรรยากาศมากขึ้น จนเป็นเหตุให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น

ปัญหาสิ่งแวดล้อม ผลกระทบจากโลกร้อน เป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนต้อง ตระหนัก ร่วมกันหาวิธีป้องกัน แก้ไข...เพื่อให้โลกกลับมาสดใสดังเดิม.
 
 


จาก                    :                  ไทยรัฐ    วันที่ 22 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #230 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2008, 12:20:40 AM »


โลกคือก้อนหิน


 
หากคุณเอ่ยถาม "แทนไท ประเสริฐกุล" นักศึกษาหนุ่มผู้ติดตามข่าวสารทางวิทยาศาสตร์อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ว่าคิดอย่างไรกับที่พูดกันว่า ตอนนี้โลกกำลังเอาคืนมนุษย์ คุณจะได้คำตอบจากเขาแบบนี้

"โลกคือก้อนหินก้อนหนึ่ง ต่อให้เกิดโลกร้อน ต่อให้ดาวหางชนก็ตาม โลกก็ยังเป็นก้อนหิน ที่สำคัญคือมนุษย์เรามากกว่า ผมเข้าใจที่คนพูดแบบนั้น เป็นเรื่องภาษาที่จะพูดว่าคุณทำร้ายธรรมชาติมาก ธรรมชาติก็เอาคืน แต่ธรรมชาติไม่ได้สนใจอะไรเรา เราทำอย่างนี้ เลยเกิดผลกระทบอย่างนี้ เราจะรับผิดชอบกับผลกระทบนั้นอย่างไรมากกว่า ถ้าพูดว่าโลกทำ จะพูดเหมือนว่าไม่ใช่ความผิดเรา แล้วเราจะไปสู้โลกได้ไง ทั้งที่มันเป็นผลจากการกระทำของเรา"

แล้วเราจะรับมือกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างไร อย่างแรกที่แทนไทจะบอกคือ ให้เราเข้าใจกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ

"เท่าที่ดูผลวิจัยมามันไม่ใช่ใครทำ เราทำเอง ต้องแยกแยะด้วยนะว่าสาเหตุที่เกิดภัยขึ้นไม่ใช่อะไรก็โลกร้อน อย่างแผ่นดินไหวที่จีนก็ไม่ใช่เพราะโลกร้อน แล้วก็ไม่ใช่ว่าเดาไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น โลกร้อนทำให้เกิดพายุรุนแรง ขาดน้ำ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ก็มีคนเตือนกันมาอยู่และค่อนข้างเห็นชัด เรามาถึงจุดที่เราคงคิดอะไรไม่ทันที่จะป้องกันไม่ให้อะไรแย่ๆ ไม่เกิด เราอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลง และทำอะไรให้แย่น้อยกว่านี้ ถ้าเรายังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เผาผลาญเชื้อเพลิงในอัตรานี้ อุณหภูมิจะขึ้นเร็วกว่านี้แน่นอน แต่ตอนนี้ถึงจะลดการใช้มาเหลือศูนย์เลยก็ไม่สามารถทำให้โลกหยุดร้อนได้ เพราะมันร้อนไปแล้ว แต่กว่าที่มันจะกลับมาบาลานซ์ได้ก็ต้องใช้เวลาอีก 50-100 ปี ผมว่าน้อยๆ ก็สำนึกได้ว่าที่ผ่านมาเราประมาทเกินไป และไม่คิดว่าจะมีผลกระทบได้ขนาดนี้ สอง ถึงแม้ผลกระทบจะเกิดขึ้นแล้ว ที่เราทำได้ก็คือไม่ให้เลยเถิด ถ้าเราคิดว่าปัญหามันจะค่อยๆ ลด ค่อยๆ แก้ ในรุ่นเรามันอาจจะไม่เห็นผลชัดเจน แต่รุ่นต่อไปจะดีขึ้น"

"ผมมีความหวังอยู่ 2 ด้าน คือ หนึ่ง ความหวังในเทคโนโลยี เช่น เราจะทำยังไงให้รถวิ่งได้โดยไม่ต้องเผาผลาญหรือปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไปในอากาศ หรือพลังงานแสงอาทิตย์ หรือการใช้ไบโอดีเซลแทนการขุดน้ำมันจากใต้โลกมาใช้ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่จะทำได้ จะหาความรู้ว่าเราจะช่วยชะลอได้อย่างไร มีนโยบายต่างๆ ออกมาเราจะได้เลือกปฏิบัติตามได้ถูก เช่น ถุงผ้าลดโลกร้อน หรือมาม่าคัพรุ่นใหม่ลดโลกร้อน ในเรื่องเทคโนโลยี ผมว่าทั้งคนไทยหรือฝรั่งก็ตามคงมีคนพยายามคิดเทคโนโลยีมาช่วยสิ่งแวดล้อม อย่างมีแนวคิดที่ว่าจะนำเอาเครื่องบินไปปล่อยสารอะไรสักอย่างในชั้นบรรยากาศแล้วจะดูดรังสีจากดวงอาทิตย์ ซึ่งจะทำให้โลกเย็นลงในไม่กี่เดือน หรือเอาธาตุเหล็กไปโปรยในทะเล เร่งให้สาหร่ายโต เหมือนกับเป็นการปลูกต้นไม้ แล้วดึงเอาคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปในนั้น ฟังดูเว่อร์ไปนิด แต่สุดท้ายก็ต้องมีความหวังในตัวเอง แต่ละคนต้องช่วยกันด้วย ในด้านนโยบาย ในระดับความเคลื่อนไหว ที่ทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจ"

...แล้วต่อไปเราจะอยู่ต่อไปด้วยความกลัวหรือเปล่า ผมว่าถ้ามันมาทุกปีก็ดีนะ เราจะได้รู้ชัดเจนและป้องกันได้ ถ้าไม่รู้ว่าจะมาอีกเมื่อไหร่ ก็อยู่ในความกลัว เรื่องที่เกิดขึ้นมันเป็นโศกนาฏกรรมแน่นอน แต่ขณะเดียวกันก็อย่าว่ามันเป็นยุควิกฤตโลกจะพินาศ ภัยพิบัติมหาศาล นั่นมันสำนวนของหมอดู จริงๆ ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติก็เจอโศกนาฏกรรมมากมาย พายุ สึนามิ หรือ

อุกกาบาต หรือโรคระบาด หรือสงคราม หรืออะไรที่เกิดจากโลกร้อน เราก็ปรับวิถีชีวิตใหม่ในอีก 100 ปีเรื่องจะไม่เกิดขึ้น แต่เหตุการณ์ทางธรรมชาติบางเรื่องเราก็ต้องทำใจ ตราบใดที่เรายังอาศัยอยู่บนโลกนี้ มันก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ แค่เวลาที่เรามองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราอย่าคูณ 10 ยกกำลัง 3 ให้มัน...ก็เท่านั้นเอง"



จาก              :            ประชาชาติธุรกิจ  D-Life  โดย แทนไท ประเสริฐกุล  วันที่ 26 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #231 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2008, 01:41:25 AM »


โลกยิ่งร้อน โรคร้อนยิ่งกลับมา


 
วันที่ 28-30 พฤษภาคม เป็นการระดมพลผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการทั้งหลายมารวมกันอยู่ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อแสดงผลงานวิจัย และประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในความก้าวหน้าด้านชีววิทยาศาสตร์ ซึ่งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย หรือทีเซลล์ (TCELS) เป็นเจ้าภาพ ในชื่อ TCELS Day ภายใต้แนวคิด "ชีววิทยาศาสตร์ ชีวิตคุณภาพ"

งานนี้มีประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งนักวิชาการไทยแถวหน้าจะนำเสนอ โดยเฉพาะเรื่องของ "โลกร้อน" ที่พูดถึงกันหนาหูช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และยังต้องกล่าวขานกันอีกหลายปี

แค่ผลกระทบเรื่อง "โรค" ซึ่ง ศ.ดร.สุธี ยกส้าน ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า หากเกิดภาวะโลกร้อนจริงจะทำให้ไข้เลือดออกที่ประมาณการว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 1,200 ล้านคน เพิ่มเป็น 2,500 ล้านคน เพราะไข้เลือดออกจะระบาดไปในทวีปต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งยุโรปด้วย
 


ด้านความคืบหน้าในการวิจัยวัคซีนไข้เลือดออกนั้น ขณะนี้ได้พัฒนาวัคซีนต้นแบบ 1 เข็มป้องกันได้ 4 สายพันธุ์สำเร็จแล้ว อยู่ระหว่างการสร้างโรงงานผลิตวัคซีนมูลค่า 60 ล้านบาท คาดว่า 1 เดือนต่อจากนี้มหาวิทยาลัยมหิดลจะอนุมัติ จากนั้นจะใช้เวลาก่อสร้าง 1 ปี คาดว่าจะมีการผลิตวัคซีนออกมาจำหน่ายได้ประมาณปี 2555 วัคซีนดังกล่าวต้นทุนประมาณ 200-400 บาท ฉีดให้เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป โดยวัคซีน 1 เข็ม สามารถป้องกันได้ตลอดชีวิต ซึ่งหากมีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกจะทำให้ลดจำนวนผู้ป่วยที่มีปีละประมาณ 50,000 คน เหลือประมาณ 5,000 คน และลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากปีละ 200-400 คน เหลือเพียงปีละ 20 คนเท่านั้น

แม้แต่ ดร.วิเชียร กีรตินิจกาล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และอาจารย์คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังเป็นห่วงว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่อยู่รอบบรรยากาศโลก 90% เกิดจากการกระทำของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกพยายามหาหนทางป้องกันไม่ให้อุณภูมิเฉลี่ยของโลกสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส หากเลยจุดนี้ไปแล้ว ความปลอดภัยของมนุษยŒจะไม่มีหลักประกันอีกต่อไป

หนทางการป้องกันภาวะโลกร้อนจะต้องไม่ให้คาร์บอนไดออกไซด์สะสมในชั้นบรรยากาศเกิน 450 พีพีเอ็ม นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกตั้งเป้าหมายให้หยุดอุณหภูมิที่สูงขึ้นไว้ที่ 2 องศาเซลเซียส ในปี พ.ศ.2558 ซึ่งเหลือเวลาเพียง 7 ปีเท่านั้นโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงอุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส มีถึงร้อยละ93

หากมนุษย์สามารถลดการปลอดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ร้อยละ 60 ในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยมนุษย์ต้องลดใช้พลังงานอย่างเต็มที่ทั่วโลก หากเลยจุด 2 องศาเซลเซียส มนุษย์ต้องเตรียมรับมือมหันตภัยต่างๆ พายุจะเพิ่มความเร็วกลายเป็นความรุนแรงระดับต่างๆ มากขึ้น เช่น เฮอร์ริเคนระดับ 3 เป็น 4, 5 และ 6 เป“นผลจากโลกร้อนขึ้น

ปัจจุบันแม้เพียง 0.8 องศาเซลเซียส ก็ส่งผลกระทบต่อมวลมนุษย์ โดยมีสัญญาณเตือนให้เห็นทั่วโลก เช่น ในอดีตที่ผ่านมาความร้อนทำให้ชาวยุโรปเสียชีวิตกว่า 30,000 คน อินเดียกว่า 1,500 คน ปากีสถานมีอุณหภูมิสูงจนทำลายสถิติที่ 52 องศาเซลเซียส มีพายุเฮอร์ริเคน ไซโคลน ไต้ฝุ่นมากขึ้น ล่าสุดคือไซโคลนนาร์กีสที่พม่า นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าประมาณ 25-35 ปีน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ จากที่ผลวิจัยชี้ว่า 48 ปี กรุงเทพฯจะจมน้ำ ดังนั้น ไม่ควรซื้อบ้านริมชายหาดอย่างเด็ดขาด และคาดว่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้าไทยอาจจะเจอพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงได้



จาก                                :                          มติชน     วันที่  29 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #232 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2008, 01:23:18 AM »


โมเดล"กระบี่"โลกร้อน1องศา ชุมชนประมงเผชิญความเสี่ยง
 
เสี่ยง ... พื้นที่ชายฝั่งทะเล จ.กระบี่ เสี่ยงต่อภาวะน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น และการกัดเซาะชายฝั่งจากภาวะโลกร้อน



                    ลองมาคิดกันดูเล่นๆ ว่า หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศา ไทยจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง...  แม้จะมีคำตอบออกมาบ้างว่า น้ำทะเลสูงขึ้น ฤดูกาลที่แปรปรวน น้ำท่วมเพิ่มขึ้น แต่นั่นเป็นเพียงการคาดการณ์กว้างๆ ในระดับประเทศ   

                   เพื่อหาคำตอบที่เจาะลึกลงเฉพาะพื้นที่ นักวิทยาศาสตร์ไทย จากศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) ได้สร้างแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระดับพื้นที่ เพื่อตอบโจทย์  ...ถ้าจังหวัดกระบี่ โดยรวมร้อนขึ้นอีก 1 องศาเซลเซียส แล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง   

              ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) บอกว่า เพื่อตอบคำถามแบบละเอียดเฉพาะพื้นที่ จึงเกิดโครงการวิจัย "ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อทรัพยากร ระบบเศรษฐกิจ และชุมชนชายฝั่งทะเลในประเทศไทย พื้นที่ศึกษาต้นแบบจังหวัดกระบี่   

            "กระบี่ถือเป็นแบบจำลองสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัดในเชิงพื้นที่ชิ้นแรก ของศูนย์ START  หลังจากก่อนหน้านี้ ได้เคยสร้างทำแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แบ่งเป็นรายภาคของไทยมาแล้ว"   

            หลังการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศรายภาคออกมา สอดคล้องกับแบบจำลองของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่พบว่าประเทศไทยมีแนวโน้มอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส และยังอยู่ในข่ายพื้นที่เสี่ยงจากการเผชิญกับผลกระทบจากปัญหาน้ำทะเลที่สูงขึ้น จนหลายเมืองอยู่ในข่ายที่ต้องตั้งรับ เพื่อลดผลกระทบ   

             กระบี่จึงเป็นพื้นที่ซึ่งถูกเลือก เนื่องจากเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศหลายรูปแบบ ทั้งในแง่ของความแรง ระยะเวลา และทิศทาง จากปัจจัยที่จะเกิดขึ้นจากความแปรปรวนของมรสุม พายุ ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อความหลากหลายทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง ทั้งป่าชายเลน ปะการัง สัตว์น้ำ   

             กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชายฝั่งที่หลากหลายรูปแบบความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว ประมงชายฝั่งที่มีวิถีชีวิตผูกติดกับทะเล การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาทิเช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชายฝั่ง เป็นต้น   

          "แบบจำลองชิ้นนี้ใช้โปรแกรม PRECIS มาประมวลข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา มีความละเอียดสูงในระดับที่สามารถแยกแยะความแตกต่างของสภาพอากาศภายในจังหวัดได้ รวมทั้งความเสี่ยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคมที่สำคัญจากค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ อาทิเช่น อุณหภูมิ ฝน ลม พายุ ระดับน้ำทะเล ในช่วง 10 และ 25 ปีในอนาคต"   

             นอกจากนี้ รวมถึงการวิเคราะห์ธรณีสัณฐานของชายฝั่งด้วย โดยพบสิ่งที่น่าสนใจคือ จ.กระบี่ มีแนวโน้มฝนจะลดลงเฉลี่ย 10-20% แทบทุกอำเภอ จากเดิมที่ในตกในทะเลมีมากกว่า 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนฝนบนบก 2,000-3,000 มิลลิเมตรต่อปี นั่นเท่ากับว่าจำนวนวันที่ฝนเคยตกมากกว่า 50 มิลลิเมตรต่อวันหดเหลือ 10 วันต่อปี ทำให้แนวโน้มปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่นี้จะรุนแรงขึ้น เนื่องจากยังไม่มีชลประทานขนาดใหญ่รองรับ     

            ประเด็นต่อมา จากแบบจำลองชี้ชัดว่า กระบี่มีแนวโน้มของพายุดีเปรสชัน ลดลงไปด้วยจากค่าเฉลี่ย 30 ปี 10-11 ลูก แต่ปัจจุบันปี 2550 เหลือ 3 ลูกต่อ 30 ปี เพราะเส้นทางพายุจากทะเลจีนใต้จะขยับเข้าไปทางพื้นที่ จ.ชุมพร มากกว่า แต่มีประเด็นที่น่าสนใจและสวนทางกับการคาดการณ์ ก็คือ โอกาสที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ หรือลมที่ทำให้เกิดฝนจะลดน้อยลงไป ขณะที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะรุนแรงขึ้น และส่งผลให้ฤดูแล้งของภาคใต้แรงขึ้น   

          "ประเด็นสำคัญของน้ำที่น้อยลงในอนาคต คือ ภาคการท่องเที่ยวจะได้อานิสงส์ จากการลดความเสี่ยงต่อปัญหาดินถล่ม จากฝนที่ตกลดลง จนขยายฤดูท่องเที่ยวทางทะเลได้มากขึ้น"

              ส่วนภาคการเกษตรก็เป็นโอกาสที่จะมีสวนปาล์ม สวนยางเพิ่มขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม ชุมชนชายฝั่ง เป็นภาคใหญ่ที่จะได้รับผลเสียมากกว่าผลดี ทั้งปัญหาน้ำที่ไม่พอใช้โดยตรง แล้วปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงทะเลน้อยลง นั้นยังส่งผลต่อระบบนิเวศชายฝั่ง เนื่องจาจากความอุดมสมบูรณ์ของชายฝั่ง ขึ้นกับน้ำจืดที่ไหลลงมา เพราะจะมีแพลงตอนเกิดขึ้น ดังนั้น แถวศรีบอยา เกาะลันตา หาดยาว และพื้นที่ป่าชายเลนปากแม่น้ำ ต้องอาศัยฐานทรัพยากรตรงนี้

            ดร.อานนท์ บอกด้วยว่า ขณะที่ปัญหาระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทั่วโลกกังวลกันนั้น พื้นที่กระบี่  อัตราเสี่ยงจากน้ำทะเลในอีก 10 ปี และ 25 ปี เฉลี่ยประมาณ 15-20 ซม.ซึ่งแม้จะยังไม่ไกลจากค่าเฉลี่ยของ IPCC แต่ในเชิงทฤษฎี



            การศึกษาในภาคสนาม พบว่าชายฝั่งตลอดแนว จ.กระบี่ อย่างน้อย 9 จุด ที่ไม่เสถียรกับระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้นถึง 1 เมตร โดยที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะแถวหาดยาว อ.เหนือคลอง อ่าวน้ำเมา เกาะลันตา เป็นต้น ซึ่งพื้นที่ที่ไม่เสถียรนั้น จะมีความเสี่ยงต่อการกัดเซาะของน้ำทะเลมากขึ้นเป็นทวีคูณ

            อย่างไรก็ตาม ดร.อานนท์ บอกว่า สิ่งที่ประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นของกระบี่ เป็นเพียงแบบคาดการณ์ที่ต้องการสื่อสารข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพในช่วง 10 และ 25 ปีในอนาคต เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ เตรียมพร้อมกับการปรับตัวล่วงหน้า ซึ่งแม้จะเป็นการสร้างแบบจำลองเบื้องต้น ที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นใน 1 วัน 1 เดือนข้างหน้าก็ตาม

              แต่ถ้าเรามีโจทย์และมีคำตอบอยู่แล้ว ก็ควรจะหยิบฉวยไปใช้เพื่อลดผลกระทบต่อความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อน ที่หลายคนเคยมองว่าไกล แต่ขณะนี้ เริ่มขัยบมาใกล้แล้ว ถึงเวลาที่เราต้องหาแนวทางป้องกัน
 



จาก                                :                          กรุงเทพธุรกิจ    วันที่  10 มิถุนายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #233 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2008, 01:05:35 AM »


ร้อนจัดปะการังตาย ต้นเหตุปลาไร้ที่อยู่


 
อากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อจำนวนปลาที่อาศัยอยู่ตามปะการัง

นายเจมส์ คุก จากศูนย์ศึกษาปะการัง ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า "เมื่อปะการังตายเพราะน้ำทะเลร้อนขึ้น ปลาที่อยู่ตามปะการังก็ไม่มีที่อยู่อาศัย มีปลาประมาณ 4,000 สายพันธุ์ที่อยู่ตามปะการัง ทั้งยังเป็นแหล่งอาหารของประชาชนทั่วโลก"

ตามปกติแล้วเมื่อปลาวางไข่ ไข่ปลาจะลอยไปในทะเล เมื่อมันออกมาเป็นลูกปลา พวกลูกปลาก็จะว่ายน้ำกลับมายังปะการัง แต่เมื่อมันพบว่า ไม่มีปะการังอยู่แล้ว ลูกปลายังได้ผลกระทบจากน้ำทะเลที่ร้อนขึ้น มีสภาพเป็นกรดมากขึ้น วงจรการกำเนิดของปลาก็จะถูกทำลาย และมันอาจจะอพยพไปอยู่ยังปะการังที่เย็นกว่า



จาก                                :                          ข่าวสด    วันที่  19 มิถุนายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #234 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2008, 12:27:14 AM »


ทะเลน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายเร็วขึ้น
 
 
 ช่วงนี้จะมีรายงานข่าวเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนอยู่เรื่อยๆ เพราะมันเริ่มส่งผลกระทบให้เราได้รับรู้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้มีการรณรงค์ต่อต้านโลกร้อนมากขึ้น

 ล่าสุดศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติของสหรัฐ เปิดเผยข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ปริมาณน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือต้นปีนี้ ยังมีมากกว่าในช่วงต้นปีที่แล้ว แต่พอเข้าสู่หน้าร้อน น้ำแข็งก็จะละลายอย่างรวดเร็ว จนขั้วโลกเหนือในขณะนี้มีปริมาณน้ำแข็งน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

 นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐระบุว่า แผ่นน้ำแข็งบางมากจนอาจละลายได้อย่างง่ายดาย และไม่แน่ว่าในอีก 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า ขั้วโลกเหนืออาจไม่มีแผ่นน้ำแข็งเหลืออยู่เลยก็ได้ในช่วงหน้าร้อน

 ทั้งนี้เมื่อไม่กี่ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์จากหลายหน่วยงาน เคยคาดว่าในอีก 72 ปีข้างหน้า ขั้วโลกเหนืออาจไม่มีแผ่นน้ำแข็งเหลืออยู่ในช่วงหน้าร้อน แต่จากการตรวจสอบรูปแบบจำลองด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์พบว่า เหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะเกิดเร็วขึ้นประมาณ 22 ถึง 42 ปี นับจากนี้

 แต่ถึงกระนั้น หลายประเทศที่อยู่รายล้อมขั้วโลกเหนือ ทั้งแคนาดาและรัสเซีย ต่างมองว่า ถ้าแผ่นน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือละลายจนหมด ก็จะทำให้พวกเขาเข้าไปสำรวจหาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่นั้นได้ง่ายขึ้น ส่วนสหรัฐนั้นถ้าสภาคองเกรสอนุญาตให้ขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งได้ ก็ไม่แน่ว่าในวันหนึ่ง สหรัฐอาจบุกเข้าไปขุดหาทรัพยากรธรรมชาติ นอกชายฝั่งของรัฐอะแลสกาด้วยก็เป็นได้ 



จาก                                :                          แนวหน้า    วันที่  20 มิถุนายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #235 เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2008, 01:33:38 AM »


ฟังเสียงคนชายฝั่งเผชิญมรสุม หน้าด่านรับภัยโลกร้อน


ในอนาคตอีก 10 และ 25 ปีข้างหน้า จังหวัดกระบี่มีแนวโน้มว่าฝนจะตกน้อยลง ประกอบกับปัญหาน้ำทะเลรุกล้ำชายฝั่งมากขึ้น อาจทำให้ปัญหาขาดแคลนน้ำจืดสำหรับชุมชนทวีความรุนแรงมากขึ้น

ผละจากวงสัมมนาในห้องแอร์ ที่พูดถึงพิษภัยของ "โลกร้อน" กันมากมายหลายวาระ เปลี่ยนบรรยากาศสู่ชายฝั่งทะเล อันเป็นแหล่งอ้างถึงผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจน ทั้งแนวชายหาดที่กำลังหายไป ปริมาณน้ำฝนที่ลดน้อยลง รวมถึงอุณหภูมิที่สูงขึ้น ชาวประมงท้องถิ่นรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ก่อนคำว่า "โลกร้อน" จะไปถึงหูพวกเขาเสียอีก
       
       กองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทย (WWF Thailand) และศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันศึกษาวิจัยผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อทรัพยากร ระบบเศรษฐกิจ และชุมชนชายฝั่งทะเลในประเทศไทย ซึ่งใช้จังหวัดกระบี่เป็นพื้นที่ศึกษาต้นแบบ ในช่วงเดือน มี.ค.-มิ.ย.51 และได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ "ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในอนาคตต่อทรัพยากร ระบบเศรษฐกิจ และชุมชนชายฝั่งทะเลจังหวัดกระบี่" เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ณ ศาลากลางจังหวัดกระบี่ โดยมีตัวแทนชาวบ้านและกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบมาร่วมประชุมกันมากมาย
       
       คาดการณ์อนาคตกระบี่อีก 25 ปีข้างหน้าฝนตกน้อย-ขาดแคลนน้ำ
       
       จากการศึกษาสภาพภูมิอากาศของจังหวัดกระบี่ในอดีตที่ผ่านมา ซึ่ง ดร.อานานท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์ฯ เพื่อคำนวณสภาพการณ์ในอนาคตอีก 10 และ 25 ปีข้างหน้า โดยใช้แบบจำลองโปรแกรมพรีซิส (PRECIS) พบว่าจังหวัดกระบี่มีแนวโน้มว่าจะขาดแคลนน้ำจืด เนื่องจากจำนวนวันที่ฝนตกน้อยลงทั่วทั้งจังหวัด ปริมาณน้ำฝนก็ลดน้อยลง
       
       ดร.อานนท์ เผยข้อมูลว่าปัจจุบันในจังหวัดกระบี่มีปริมาณน้ำฝนบริเวณชายฝั่งประมาณ 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนพื้นที่ตอนในแผ่นดินมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 3,000 มิลลิเมตรต่อปี แต่ในอนาคตอีก 10 และ 25 ปี ข้างหน้า ปริมาณน้ำฝนรวมทุกพื้นที่ของจังหวัดกระบี่จะลดลง 10-20% ส่วนจำนวนวันฝนตกจะลดลงเล็กน้อยสำหรับพื้นที่ชายฝั่ง แต่สำหรับพื้นที่ตอนในแผ่นดินจะลดลง 20-30 วัน หรืออีกนัยหนึ่งคือฤดูฝนจะสิ้นสุดเร็วขึ้น 1-3 สัปดาห์
       
       ส่วนจำนวนการเกิดพายุก็ลดลงเช่นกัน โดยช่วง 60 ปีที่ผ่านมาพายุดีเปรสชันลดลงจาก 11 ลูกต่อ 30 ปี เหลือ 3 ลูกต่อ 30 ปี พายุโซนร้อนและไต้ฝุ่น ลดลง 4 ลูก เหลือ 1 ลูกต่อ 30 ปี อีกทั้งคาดอีกว่าในอนาคต พายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อนและไต้ฝุ่น จะลดน้อยลงเหลือเพียง 1 และน้อยกว่า 0.5 ลูกต่อ 30 ปี
       
       ทั้งนี้ จากปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งจังหวัดกระบี่สูงขึ้นราว 10 เซนติเมตรในอีก 25 ปีข้างหน้า จึงทำให้น้ำเค็มรุกล้ำชายฝั่งมากขึ้น ประกอบกับปริมาณน้ำฝนที่ลดลง จะส่งผลให้ประชาชนในท้องถิ่นขาดแคลนน้ำจืด ซึ่งเป็นปัญหาที่ชาวบ้านกำลังประสบอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่มีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคตหากไม่เร่งหาทางป้องกันและแก้ไข
       
       นายคอลิน แมคควิสตัน ผอ.ส่วนงานอนุรักษ์ของดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ ประเทศไทย เผยว่าที่เลือกจังหวัดกระบี่เป็นตัวอย่างในการศึกษาวิจัยเพราะว่าเป็นเมืองที่กำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเกษตร และการท่องเที่ยว ซึ่งยังมีโอกาสพัฒนาไปได้อีกไกลโดยเฉพาะอย่างหลังสุด เพราะในอนาคตฤดูฝนจะสั้นลง ทำให้ฤดูท่องเที่ยวยาวนานขึ้น
       
       แต่ข้อเสียของปัญหาดังกล่าวคือ ปริมาณน้ำจืดลดลง ดังนั้นจึงต้องแก้เรื่องนี้อย่างจริงจังและเป็นระบบ โดยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ทว่าปัญหาของชาวบ้านส่วนมากในตอนนี้ ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงต้องใช้เวลาสำหรับให้ชุมชนทำความเข้าใจกับเรื่องดังกล่าวด้วย
       
       หลังจากนั้นผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้เข้าประชุมส่วนหนึ่ง ทำให้ทราบว่าชาวบ้านจำนวนมากยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อน ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ได้เข้าไปดำเนินการแก้ไขอย่างเต็มที่
       
       นายสมศักดิ์ คงรอด ชาวสวนยางพาราจากบ้านท่าคลอง ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ บอกเล่าให้ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ฟังว่า ตัวเขารู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นมาหลายปีแล้ว แต่เพิ่งจะรู้จักภาวะโลกร้อนเมื่อไม่นานมานี้เองจากการติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์
       
       "ตอนเด็กๆ ตื่นเช้าขึ้นมาชาวบ้านมักนั่งผิงไฟให้อบอุ่น เพราะอากาศค่อนข้างเย็น แต่เมื่อโตขึ้น อายุมากขึ้น รู้สึกว่าเราห่างจากกองไฟมากขึ้น เพราะอากาศร้อนขึ้นมากในช่วงกลางวัน ส่วนกลางคืนจากเดิมที่เคยเย็นสบายตั้งแต่หัวค่ำ พอมาเดี๋ยวนี้กว่าจะเย็นก็ต้องรอจนถึงดึกมาก หรือเกือบถึงเช้า ป่าไม้ต้นน้ำที่เคยมีก็ลดน้อยลง" นายสมศักดิ์เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงที่เขารู้สึกได้ ก่อนที่จะรู้จักคำว่า "โลกร้อน" เสียอีก
       
       เร่งปลูกปาล์มทำป่าไม้หดหาย
       
       "เมื่อป่าไม้ลดลง ความชุ่มชื้นก็หดหาย ฝนตกน้อย เมื่อน้ำน้อยลงก็ส่งผลต่อการเกษตร และการเพาะพันธุ์กล้าไม้ต่างๆ น้ำน้อย ต้นกล้าก็โตช้า ให้ผลผลิตช้าตามไปด้วย" นายสมศักดิ์เล่าให้ฟัง ในฐานะตัวแทนของกลุ่มเกษตรกรและพื้นที่ป่าเขา
       
       เขายังบอกอีกว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ทั้งปัญหาและผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้ เกษตรกรจะเลือกช่องทางที่ทำรายได้ มากกว่าที่จะคำนึงถึงผลระยะยาว เมื่อปาล์มน้ำมันกลายเป็นพืชพลังงานที่กำลังมาแรง เกษตรกรก็ระดมปลูกปาล์มน้ำมันกันมากขึ้น ทำให้พื้นที่ป่าหลายแห่งถูกเปลี่ยนสภาพให้เป็นสวนปาล์ม
       
       สมศักดิ์บอกอีกว่า เมื่อป่าลดลง น้ำจืดที่ไหลลงทะเลก็ไหลแรงมากขึ้น โอกาสเกิดการชะล้างของหน้าดินก็เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการรุกล้ำของน้ำทะเลริมชายฝั่ง ส่งผลให้ป่าโกงกางเสียหายในหลายพื้นที่ ซึ่งจะกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยป่าโกงกางเป็นที่อยู่หรือแหล่งเพาะพันธุ์
       
       "ชาวบ้านยังไม่ค่อยเข้าใจ เพราะข้อมูลยังน้อย สื่อหรือนักวิชาการที่เข้าถึงชาวบ้านก็ยังมีไม่มาก อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปให้ความรู้แก่ชุมชน ทั้งเรื่องของภาวะโลกร้อน และการปลูกป่าเศรษฐกิจร่วมกับป่าไม้ยืนต้น ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้นักศึกษาหรือนักวิชาการ เข้ามาลงพื้นที่ทำวิจัยร่วมกับชาวบ้านในท้องถิ่น ชาวบ้านจะได้รับข้อมูลมากขึ้น ส่วนนักวิชาการก็จะได้รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง" นายสมศักดิ์บ่งบอกสิ่งที่เขาคาดหวัง
       
       "เพราะที่ผ่านมา แม้จะมีหน่วยงานราชการในจังหวัดจัดงานรณรงค์เกี่ยวกับการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและให้ความรู้แก่ชาวบ้านอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่เห็นว่าจะมีหน่วยงานไหนดำเนินการอย่างจริงจัง หรือมีนโยบายแก้ปัญหาที่ชัดเจน เหมือนกับดูโฆษณาหวือหวาคั่นรายการละครน้ำเน่าเท่านั้นเอง" นายสมศักดิ์กล่าว
       
       โลกร้อน น้ำเปลี่ยนสี อุณหภูมิไม่คงที่ สิ่งมีชีวิตในทะเลเสื่อมโทรม
       
       ขณะที่ข้อมูลจากนายอาหลี ชาญน้ำ ประธานเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดกระบี่ ที่บอกเล่ากับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ในฐานะตัวแทนของกลุ่มชุมชนชายฝั่งจ.กระบี่ก็ไม่ต่างจากนายสมศักดิ์เท่าใดนัก อาหลีเล่าว่า ชุมชนชายฝั่งของจังหวัดกระบี่ประสบกับปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งมาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่าแล้ว ทว่าไม่รู้ว่าเพราะอะไร และช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็มีปัญหาน้ำทะเลเปลี่ยนสี อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็น ซึ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลอย่างแน่นอน
       
       "น้ำทะเลเปลี่ยนสี อุณหภูมิคงที่ แน่นอนว่าต้องส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ตั้งแต่ปะการังเสื่อมโทรม สัตว์น้ำขาดแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย ผลที่ตามมาคือมีจำนวนลดลง ชาวประมงก็จับปลาได้น้อยลง ทั้งยังต้องเจอกับปัญหาน้ำมันแพงอีก" นายอาหลีเล่าและบอกว่าตอนนี้ชาวบ้านเริ่มรู้กันแล้วว่าปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ซึ่งชาวบ้านก็เริ่มตื่นตัวที่จะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น
       
       "ตอนนี้พวกชาวบ้านก็เริ่มตระหนักถึงปัญหาทรัพยากรธรรมชาติกันมากขึ้น โดยรวมกลุ่มกัน จัดตั้งเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งพัฒนามาจากโครงการชาร์ม (CHARM Project) ที่เกิดจาการรวมตัวในระดับชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเล ซึ่งเครือข่ายเฝ้าระวังฯ ก็จะมีหน้าที่กระจายข้อมูลข่าวสารให้ชาวชุมชน และจัดประชุมร่วมกันวิเคราห์ปัญหาและวางแนวทางแก้ไขเป็นประจำทุกเดือนในชุมชนชายฝั่งบริเวณต่างๆ ของจังหวัดกระบี่" นายอาหลีกล่าวถึงความร่วมมือในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนชายฝั่ง
       
       ทัศนียภาพหดหาย นักท่องเที่ยวหมดความพึงใจ
       
       ด้านนายอมฤต ศิริพรจุฑากุล นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ เผยว่าการเติบโตของชุมชนและธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ ส่งผลกระทบต่อทั้งวิถีชีวิตชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติ และเมื่อมีปัญหาภาวะโลกร้อนเข้ามาเกี่ยวข้องอีก ก็ยิ่งเกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น
       
       "ทรัพยากรใต้ทะเลถือเป็นจุดขายด้านท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ เมื่อเกิดภาวะโลกร้อน สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น กระทบกับปะการังใต้ทะเลแน่นอน เมื่อปะการังเสื่อมโทรมก็กระทบกับสัตว์น้ำและอาหารทะเล และจากการสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเยือนจังหวัดกระบี่ พบว่าความพึงพอใจลดลง จากในปี 2549 ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 6.4% แต่ในปี 2550 ลดลงเหลือเพียง 4.7% เท่านั้น" นายอมฤต เล่าให้ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ฟังถึงสิ่งที่กำลังเป็นปัญหาในด้านการท่องเที่ยว
       
       นายอมฤตยังบอกต่อไปอีกว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าใจปัญหาโลกร้อนและปฏิบัติมานานกว่าเรา ในขณะที่เรายังไม่รักษาสิ่งแวดล้อมในบ้านเมืองเรา เมื่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวลดลง ก็ต้องหาตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่อยู่เสมอ เนื่องจากนักท่องเที่ยวกลุ่มเดิมไม่อยากกลับมาอีกแล้ว
       
       แต่หากเรารักษานักท่องเที่ยวกลุ่มเดิมเอาไว้ได้ ก็จะมีนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่เข้ามาเองจากคำบอกเล่าของนักท่องเที่ยวกลุ่มเดิมโดยที่เราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำแผนการตลาด ซึ่งขณะนี้กลุ่มหลักที่เข้ามาเที่ยวจังหวัดกระบี่ส่วนใหญ่มาจากสแกนดิเนเวีย กลุ่มนี้เป็นพวกที่รักษ์สิ่งแวดล้อมและเคารพสถานที่มาก
       
       อย่างไรก็ดี นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่เผยว่า ขณะนี้ทางสมาคมเริ่มตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ปีที่ผ่านมาจึงเริ่มศึกษาถึงเรื่องนี้อย่างจริงจัง พร้อมกับเชิญนักวิชาการมาให้ความรู้กับสมาชิกในสมาคม, ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ ตลอดจนหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะชาวบ้านก็เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ไม่ได้แยกส่วนกันอย่างที่เข้าใจกันมาแต่เดิม หากภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบ ก็ย่อมส่งผลถึงชาวบ้านด้วยเช่นกัน
       
       "ขณะนี้ทางสมาคมได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวให้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การบำบัดน้ำเสีย ที่แต่ก่อนจะบำบัดน้ำเสียแล้วปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล แต่เดี๋ยวนี้สมาคมก็มีนโยบายให้บำบัดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ โดยที่ไม่ต้องมีน้ำเสียส่วนใดถูกปล่อยลงสู่ทะเลเลย ซึ่งก็มีบางส่วนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ขณะที่ส่วนใหญ่ก็ยังเพิกเฉยอยู่ แต่ทางสมาคมก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะเขาไม่ได้ทำผิดกฏหมาย จึงอยากให้ทางจังหวัดมียุทธศาสตร์ที่แน่นอนในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ไม่อย่างนั้นอาจส่งผลเสียต่อการท่องเที่ยวในระยะยาว" นายอมฤตสรุป.
 

นักวิชาการและชาวชุมชนกลุ่มต่างๆ ในจังหวัดกระบี่มาร่วมประชุมกันเพื่อหาทางรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในจังหวัดกระบี่ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ 10 ปีข้างหน้า




จาก                    :                   ผู้จัดการออนไลน์    วันที่ 30 มิถุนายน 2551 
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #236 เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2008, 01:39:54 AM »


สิ้น ก.ย นี้อาจไม่เหลือน้ำแข็งขั้วโลกเหนือเป็นครั้งแรก


ภาพแผ่นน้ำแข็งที่ขั้วโลกในแถบนอร์เวย์เมื่อปี 2550 ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์คาดว่า ก.ย. น้ำแข็งขั้วโลกจะละลายหมด (ภาพเอเอฟพี)

เมื่อสิ้นฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ ในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ อาจไม่เหลือแผ่นน้ำแข็งบนขั้วโลกอีกต่อไป อันเป็นผลพวงจากภาวะโลกร้อน หากเป็นเช่นนั้นจริง ก็นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ขั้วโลกจะไร้น้ำแข็ง
       
       "เราอาจไม่เหลือน้ำแข็งบนขั้วโลกเหนือเ มื่อสิ้นสุดฤดูร้อนนี้ (ประมาณปลาย ก.ย.) และเหตุผลก็เป็นเพราะ บริเวณขั้วโลกเหนือในขณะนี้ ปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็งที่บางมากๆ และน้ำแข็งที่เราเรียกว่าเป็น "น้ำแข็งแรกของปี" ก็มีแนวโน้มว่าจะละลายหมดไปในฤดูร้อนนี้" เอเอฟพี รายงานคำให้สัมภาษณ์ของมาร์ก เซอร์เรซ (Mark Serreze) นักวิจัยอาวุโสของศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งสหรัฐอเมริกา  (National Snow and Ice Data Center) ในเมืองโบลเดอร์ มลรัฐโคโรราโด สหรัฐฯ
       
       ขณะที่เอพีรายงานด้วยว่า เพราะความบางของแผ่นน้ำแข็ง จะทำให้ละลายหมดไปในฤดูร้อน ทั้งนี้จะมีการประเมินเงื่อนไขทางสภาพอากาศ และมหาสมุทรในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ว่าจะทำให้น้ำแข็งในทะเลละลายไปเท่าใด
       
       เบื้องต้นเซอร์เรซระบุว่า สัญญาณที่ออกมาไม่ค่อยดีนัก โอกาสที่น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกจะละลายหมดไปเลยนั้น มีสูงมากกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากแผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่นั้นบางกว่าในอดีตที่เคยเป็น
       
       เจย์ ซวอลลี (Jay Zwally) นักวิทยาศาสตร์น้ำแข็งแห่งองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) กล่าวว่า ข้อมูลจากดาวเทียมของนาซาเมื่อต้น ก.พ.และ มี.ค.นี้แสดงให้เห็นว่า วัฏจักรรอบๆ ขั้วโลกเหนือ "บางอย่างเห็นได้ชัด" กว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยเห็นมาในช่วง 5 ปีนี้ ซึ่งเขาคิดว่าเป็นไปได้ 50-50 ที่ขั้วโลกเหนือจะไม่มีน้ำแข็งเลย
       
       เช่นเดียวกับเซอร์เรซ ที่ให้ความเห็นกับเอเอฟพีว่ามีโอกาส 50% ที่จะไม่เหลือน้ำแข็งอยู่เลย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงในเดือน ก.ย. เรือเดินสมุทรอาจล่องจากอะลาสกา ไปยังขั้วโลกเหนือได้โดยตรง และสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ก็เป็นสัญลักษณ์บ่งชี้หนึ่งว่าสิ่งแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไปเพราะภาวะโลกร้อน
       
       อย่างไรก็ดี แม้ไม่เหลือน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ ก็ยังเหลือน้ำแข็งบริเวณอื่นๆ ของมหาสมุทรอาร์กติก และเซอร์เรซได้ชี้ว่า น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือนั้นเป็นสัญลักษณ์ทางใจของคนทั่วไป ที่เชื่อว่าขั้วโลกเหนือคือบ้านของซานตาครอส


แผนที่แสดงปริมาณน้ำแข็งที่ขั้วโลก โดยในเส้นทึบสีแดงแสดงปริมาณน้ำแข็งฉลี่ยช่วง ก.ย ปี 2522-2543 ส่วนแถบปรุสีแดงคือปริมาณเฉลี่ยในเดือนเดียวกันของปี 2548 และสองปีต่อมาก็เหลือพื้นที่น้ำแข็งในบริเวณสีดาวดังที่เห็นในภาพ (ภาพเอเอฟพี)
       
       เซอร์เรซย้อนว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา การคาดการณ์เช่นนี้ไม่น่าเกิดขึ้น จนกว่าจะถึงปี 2593-2643 และโดยส่วนตัวแล้วเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่คิดว่าสถานการณ์ที่น้ำแข็งจะละลายหมดไปนั้น กำลังใกล้เข้ามาในเร็วๆ นี้ และเมื่อหน้าร้อนปีก่อน ภาพถ่ายดาวเทียม เผยให้เห็นว่าน้ำแข็งในทะเล ลดลงเหลือน้อยที่สุดที่เคยบันทึกมาและเป็นไปได้ว่าอาจเหลือน้อยที่สุดในรอบศตวรรษก็ได้ โดยน้ำแข็งหดตัวลง 23% จากปี 2548
       
       ทั้งนี้ น้ำแข็งอาร์กติกจะเริ่มละลายช่วงกลางเดือน มิ.ย.และเข้าสู่ช่วงบางที่สุดประมาณกลางเดือน ก.ย. ก่อนที่น้ำแข็งจะเริ่มก่อตัวอีกครั้ง และถึงจุดหนาที่สุดช่วงกลางเดือน มี.ค.
       
       ทางด้านเซอร์เรซระบุว่าถ้าลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดอัตราเร่งของภาวะโลกร้อนก็จะช่วยชะลอการละลายของน้ำแข็งได้ แต่หากกลับแนวโน้มให้น้ำแข็งหนาตัวขึ้นจะต้องใช้เวลาอีกยาวนาน.



จาก                    :                   ผู้จัดการออนไลน์    วันที่ 30 มิถุนายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #237 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2008, 01:32:57 AM »


ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่รุนแรง

รายงานพิเศษ : ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่รุนแรงในระยะเวลาสั้นๆ แต่ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อโลกและมวลมนุษย์

ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก ดังที่ทราบถึงภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นในปัจจุบัน และเกิดบ่อยครั้ง ครั้งหนึ่งจะกินระยะเวลาสั้นๆ แต่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำลายชีวิตและทรัพย์สินประชาชนจำนวนมาก ขณะที่ฤดูกาลได้แปรปรวน ไม่มีความชัดเจนในฤดูกาลอีกต่อไป ก่อนหน้านี้เคยมีนักวิชาการจากทั่วโลกออกมาแสดงความเห็นกรณีพายุไซโคลนนาร์กีส ว่าน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

นางประเสริฐสุข จามรมาน ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กล่าวว่า ข้อมูลดังกล่าวยังไม่เป็นข้อสรุปว่าพายุใหญ่ ๆ เช่น นาร์กีสและพายุอื่น ๆ ที่มีกำลังแรงเกิดจากผลกระทบจากภาวะโลกร้อนโดยตรง อย่างไรก็ตามปัจจุบันจะเห็นว่าเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติครั้งใหญ่ที่เรียกว่า Extreme Event อุบัติบ่อยครั้งในโลก โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเกิดในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ส่งผลกระทบรุนแรง เช่น แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์ พายุใหญ่ และฝนที่ตกอย่างรุนแรง

"คุณ รู้หรือไม่ว่า การทำลายป่าทำให้โลกร้อนขึ้น การเผาป่าจะทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศ เพิ่มความหนาของก๊าซเรือนกระจก ผืนป่าถูกทำลายทำให้อากาศร้อน แห้งแล้ง การเผาไหม้ทุกชนิดทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก การเผาขยะก่อให้เกิดก๊าซมีเทนที่รุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 21 เท่า ขณะที่ประชากรโลกปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 4 ตันต่อปี ขณะที่คนทุกคนจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่าน้ำหนักของตนทุกสัปดาห์"

เราทุกคนสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ด้วยการลดการเดินทางโดยพาหนะที่ใช้น้ำมันในการขนส่ง ลดการเดินทางโดยเครื่องบิน เพราะเครื่องบินหนึ่งลำใช้เชื้อเพลิงเท่ากับรถที่แล่นไปแล้ว 50,000 กิโลเมตร ใช้กระดาษสองหน้า ไม่ใช้โฟมหรือพลาสติก เปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน ไม่เผาขยะ ใบไม้ ใช้ถุงผ้าแทนถุงกระดาษ เป็นต้น เพียงง่าย ๆ คนละไม้ละมือ ก็จะสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ไม่มากก็น้อย



จาก                    :                   สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์    วันที่ 20 กรกฎาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #238 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2008, 01:31:44 AM »


อนาคต"นางเงือกสมิหลา" ผลกระทบภาวะโลกร้อน


 
"โลกร้อน" ปัญหาใกล้ตัวที่มองเห็นและสัมผัสได้ ความเปลี่ยนแปลงอย่างแรกที่ทุกคนรับรู้ได้คืออากาศที่ร้อนขึ้นจนแทบไม่อยากออกนอกร่มชายคา

เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว "นางเงือกริมหาดสมิหลา" ที่สงขลา จะนั่งรับลมชมทะเลต่อไปได้อีกนานแค่ไหน

น้องแป๊ก น.ส.มนัญญา ลิกมลสวัสดิ์ ชั้นม.6 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จ.สงขลา นักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ตั้งคำถามนี้ขึ้นในใจ

น้อยคนนักจะคิดถึงปัญหานี้ อาจเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว หรือไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ แต่สำหรับ "แป๊ก" ในฐานะคนท้องถิ่น และเป็นนักเรียนสายวิทยาศาสตร์ที่เรียนรู้มาว่าทั้งโลกร้อนและระดับน้ำทะเลกับผืนดินที่หดหายไปนั้นมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ทำให้แป๊กคิดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ชื่อว่า "การศึกษาการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล กรณีศึกษาบริเวณพื้นที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา"

ตำบลบ่อยางที่แป๊กใช้ศึกษาครั้งนี้ เป็นชุมชนเมือง เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานต่างๆ ของจังหวัด เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการต่างๆ ศาลากลางจังหวัด ศาลจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สถานีรถไฟ รวมถึงหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของรูปปั้นนางเงือกอันมีชื่อเสียงด้วย และปัจจุบันเริ่มมีเค้าว่าชายฝั่งทะเลดังกล่าวดูไม่เหมือนเมื่อหลายปีก่อนอีกแล้ว
 


ก่อนจะศึกษาเรื่องนี้ แป๊กต้องค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของสภาพดินฟ้าอากาศจากงานวิจัยวิชาการต่างๆ และพบว่า เพียงแค่ระดับน้ำสูงขึ้นอีก 1 เมตรก็จะท่วมหมู่เกาะที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่ม อย่างเช่น เกาะตูวาลูในมหาสมุทรแปซิฟิก และพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลของบังกลาเทศ หรือของรัฐฟลอริดา และอาจจะท่วมเมืองต่างๆ ตั้งแต่นิวยอร์กถึงกรุงบูเอโนสไอเรสด้วย

การคำนวณหาระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นในมหาสมุทร ไม่ได้เป็นการหาหน ทางที่จะหยุดการเพิ่มปริมาณน้ำในมหาสมุทรได้ ยังต้องพิจารณาผลกระทบอื่นๆ ด้วย

ปัจจุบันเราใช้เครื่องมือหลายอย่างผสมผสานกันในการพิจารณาถึงสาเหตุการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำในมหาสมุทร เช่น การวัดระดับความสูงด้วยระบบดาวเทียม ตัวอย่างคือดาวเทียม TOPEX/Poseidon ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ดาวเทียมเหล่านี้มีความเที่ยงตรงในการวัดความสูงของระดับน้ำในมหาสมุทร ซึ่งเป็นวิธีการแรกเริ่มของการวัดระดับน้ำในมหาสมุทร รวมถึงการวัดความเปลี่ยนแปลงความสูงของระดับน้ำ

ระบบถัดมาเป็นระบบที่ใช้กันแพร่หลาย คือระบบ Array ใช้วัดอุณหภูมิใต้น้ำที่มีความลึก 2 กิโลเมตร วัดระดับความเค็มของน้ำ และวัดปริมาณน้ำแข็งที่มีในมหาสมุทรทั่วโลก ซึ่งจะทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของน้ำในมหาสมุทร หากจะคำนวณว่าระดับน้ำจะสูงขึ้นในสถานที่หนึ่งๆ เช่น หมู่เกาะทะเลใต้มหาสมุทรแปซิฟิก เราจะต้องทราบว่าระดับความเค็มของน้ำที่หมู่เกาะดังกล่าวมีเท่าใด และจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร รวมทั้งเป็นการคาดคะเนว่าองค์ประกอบที่ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในมหาสมุทรจะเป็นไปในทางใดด้วย
 


วิธีการศึกษาของแป๊ก ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลด้านการศึกษาการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล อุตุนิยมวิทยา ในปีพ.ศ.2494-2549 จากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จังหวัดสงขลา และข้อมูลการวัดระดับน้ำทะเล บริเวณสถานีวัดระดับน้ำทะเลจังหวัดสงขลา ปีพ.ศ.2529-2547 จากกรมอุทก ศาสตร์ กองทัพเรือ กับข้อมูลภาพถ่าย ทางอากาศ บริเวณตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ปี พ.ศ.2509, 2517, 2532, 2538, 2544 และ 2545 จากกรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม

จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อหาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล ได้ผลการศึกษาคือ อุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ปีพ.ศ.2494-2549 ระยะเวลา 55 ปี อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดมีการ เปลี่ยนแปลงเพิ่ม 0.9 องศาเซลเซียส และค่าความสูงของระดับน้ำทะเลเฉลี่ย ปีพ.ศ. 2529 และปีพ.ศ. 2547 ระยะเวลา 19 ปี ค่าความสูงของระดับน้ำทะเลเฉลี่ย มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้นถึง 8.3 เซนติเมตร ระดับนี้ถือว่าไม่น้อยเลย ทีเดียว

จากนั้นนำผลการศึกษาที่ได้มาวิเคราะห์โดยเทคนิคระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โปรแกรม ArcGIS 9.2 เพื่อจำลองภาพสามมิติการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายฝั่งทะเล บริเวณตำบลบ่อยาง ในปีพ.ศ.2529 และพ.ศ.2547 พบว่าพื้นที่ชายฝั่งในปัจจุบัน (พ.ศ.2551) ลดลงอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุมาจากระดับน้ำที่เพิ่มขึ้น น้ำจึงเข้ามากินพื้นที่บริเวณชาย ฝั่ง เมื่อแนวโน้มของน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีโอกาสที่พื้นที่บริเวณชาย ฝั่งที่เหลือน้อยอยู่แล้วจะยิ่งลดน้อยลงไปด้วย

งานวิจัยชิ้นนี้ทำให้เห็นว่า การช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์กัดเซาะชายฝั่งของน้ำทะเล ด้วยความร่วมใจของทุกคนจะช่วยรักษาจุดๆ หนึ่งบนแผนที่โลก ซึ่งเป็นจุดที่เราอาศัยอยู่ ไม่ให้ถูกน้ำทะเลกลืนหายไปในเวลาอันรวดเร็วด้วยเช่นกัน

ปัจจุบัน แป๊กรับทุนพสวท. เข้าศึกษาต่อคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมีความฝันอยากเป็นนักดาราศาสตร์ที่นำความรู้ความสามารถมาช่วยประเทศชาติได้เต็มที่



จาก                    :                   ข่าวสด  คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า   วันที่ 23 กรกฎาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #239 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2008, 06:34:36 AM »

X-cite  ไทยโพสต์


7 อุปนิสัยช่วยหยุดโลกร้อน

ช่วงเทศกาลสงกรานต์อย่างนี้ จะบอกว่าโลกหายร้อนแน่นอนในบ้านเรา เพราะไปที่ไหนก็มีคนสาดน้ำเย็นฉ่ำทั่วหล้า ก็คงจะปฏิเสธได้ยาก

แต่ในอีกด้านหนึ่งการใช้พลังงานธรรมชาติเปลืองเท่าไร มันก็ส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้มากเท่านั้น..จริงไหมคะ

วันนี้เมล์ส่งต่อ  จึงไม่ผิดอะไรหรอกค่ะที่จะมีการแนะอุปนิสัยที่จะช่วยหยุดโลกร้อน  เรามาดูกัน หรือว่างจากถือขันน้ำเล่นสงกรานต์ ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะเริ่มต้นค่ะ

1.Rethink  ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อเรามีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง กระแสการรณรงค์เรื่องโลกร้อนจะไม่เกิดผลสำเร็จใดๆ หากทุกคนที่ได้รับฟังข้อมูลไม่ตระหนักว่าตนเองต้องเปลี่ยนแปลง  การรอคอยให้ผู้อื่นทำไปก่อนแล้วเราจึงค่อยคิดจะทำนั้น จะทำให้ท่านได้รับการดูแลจากธรรมชาติเป็นคนท้ายๆ  โลกได้ส่งสัญญาณดังขึ้นเรื่อยๆ  จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว  น้ำท่วม ลมพายุ และอุณหภูมิที่แปรปรวนอย่างชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน เราอาจเป็นหนึ่งในผู้เคราะห์ร้ายจากสึนามิเพราะแผ่นดินไหว   เครื่องบินตกเพราะฝนกระหน่ำ  ป้ายล้มทับเพราะลมพายุ หรือถูกไฟดูดเพราะน้ำท่วม

2.Reduce โลกร้อน เพราะเราเผาผลาญทรัพยากรเกินขีดจำกัดที่ธรรมชาติจะหมุนเวียนได้ทัน  โลกบูด  เพราะเราบริโภคเกินจนเกิดขยะและของเสียที่ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ทัน ไม่มีใครปฏิเสธว่า เราทุกคนต้องการอยู่ในโลกที่เย็นและโลกที่หอม ฉะนั้นจงช่วยกันลดการใช้ทรัพยากรให้เหลือแต่เท่าที่จำเป็น ช่วยกันลดการบริโภคเพื่อไม่ให้เกิดขยะและของเสียจำนวนมากอย่างที่เป็นอยู่  ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ต้องใช้เวลาชั่วอายุคนในการย่อยสลาย เช่น ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก กล่องโฟม ฯลฯ

ลดการบริโภคเนื้อสัตว์โดยหันมาบริโภคพืชผักผลไม้ทดแทน  เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อาหาร  ลดการใช้กระดาษในสำนักงาน  ลดการพิมพ์หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมายข่าว  หรือสิ่งพิมพ์ที่เป็นรายงวดประจำให้พอเหมาะพอดีกับจำนวนผู้อ่าน  โดยไม่ต้องอิงกับยอดของการทำให้แพร่หลาย  (circulation) รวมทั้งลดการซื้อผลิตภัณฑ์ซึ่งใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

3.Reuse สำรวจของที่ซื้อมาแล้วเพิ่งใช้เพียงหนเดียวว่า สามารถใช้ประโยชน์ซ้ำได้หรือไม่  ก่อนที่จะซื้อใหม่  เช่น  เครื่องแต่งกาย  รองเท้า กระเป๋า กระดาษ ภาชนะใส่ของ ฯลฯ การใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำ  เช่น  ถุงหิ้วพลาสติก  กล่องใส่ของ ฯลฯ หรือหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (disposables) เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ผ้าเช็ดโต๊ะแทนกระดาษชำระ การใช้ขวดน้ำยาล้างสุขภัณฑ์ชนิดเติมซ้ำได้ (refillable)

4.Recycle เป็นการนำวัสดุที่หมดสภาพหรือที่ใช้แล้วมาปรับสภาพเพื่อนำมาใช้ใหม่ เริ่มจากการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล   เช่น   กระดาษ   พลาสติก  แก้ว  โลหะ  ฯลฯ การลงมือปรับแต่งของใช้แล้วในบ้านให้เกิดประโยชน์ใหม่  เช่น การเก็บกรองน้ำชะล้างมารดน้ำต้นไม้  การนำของขวัญที่ได้รับในเทศกาลต่างๆ  มาตกแต่งเพื่อใช้เป็นของขวัญแก่ผู้อื่นต่อ (recycled gift) โดยมีกิตติกรรมประกาศแก่ผู้ให้เดิมเป็นทอดๆ ฯลฯ

การคัดแยกขยะหรือวัสดุเหลือใช้ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้เองมอบให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกิจวัตร  เช่น ขวดพลาสติก กระป๋องน้ำอัดลม กระดาษหนังสือพิมพ์ นิตยสารเก่า แผ่นซีดีชำรุด  แบตเตอรี่มือถือ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ และหากพบว่ามีสิ่งของหลายอย่างที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้งานอีกเลย  ก็ควรนำไปบริจาคให้แก่ผู้ที่ใช้ประโยชน์ได้ผ่านหน่วยรับบริจาคต่างๆ  เช่น  วัดสวนแก้ว  หรือประกาศผ่าน freecycle.org (bangkok) ดีกว่าทิ้งให้เสื่อมโทรมหรือเก็บไว้เฉยๆ โดยเปล่าประโยชน์

5.Repair   ของหลายอย่างสามารถซ่อมแซมแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ดังเดิม  แต่ผู้บริโภคกลับได้รับการปลูกฝังค่านิยมให้ต้องเปลี่ยนหรือซื้อของใหม่ใช้อยู่ตลอด  ด้วยเหตุที่ผู้ผลิตต้องการรักษาตัวเลขยอดขายสินค้าและชิ้นส่วนให้ได้มากที่สุด  จนทำให้ค่าบริการหรือค่าซ่อมแพงกว่าการซื้อของใหม่ใช้   ฉะนั้น วิธีการแรก คือ พยายามใช้ของให้ถูกวิธีเพื่อยืดอายุการใช้งานและหลีกเลี่ยงการชำรุดเสียหายก่อนเวลาอันควร  หากสิ่งของใดมีกำหนดเวลาที่ต้องบำรุงรักษา  หมั่นตรวจสอบและปฏิบัติตามตารางการบำรุงรักษานั้นๆ เช่น รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ

6.Refuse   การปฏิเสธเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่ให้ถูกนำมาใช้หรือถูกทำลายเร็วขึ้น   ทั้งนี้ เพื่อให้เวลาธรรมชาติในการฟื้นสภาพตัวเองตามระบบนิเวศ  โดยเริ่มจากสิ่งเล็กน้อยนอกตัว  เช่น  ปฏิเสธการใช้สินค้าที่เป็นต้นเหตุในการฆ่าชีวิตสัตว์หรือทำลายสิ่งแวดล้อม บอกเลิกรับจดหมายนำเสนอขายสินค้าที่ในชีวิตนี้จะไม่ซื้อแน่ๆ เรื่อยมาถึงสิ่งที่เราต้องเติมใส่ร่างกาย  เช่น  ปฏิเสธการบริโภคอาหารที่ต้องเดินทางมาจากแดนไกล เพราะระหว่างกระบวนการเก็บรักษาและการขนส่งอาหารในแต่ละเที่ยวจะไปเพิ่มก๊าซเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุหลักของภาวะโลกร้อน

7.Return   หน้าที่หนึ่งของมนุษย์ในฐานะผู้อาศัยโลกเป็นที่พักพิง คือการตอบแทนคืนแก่โลก  ใครใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติประเภทใดเยอะ ก็ต้องคืนทรัพยากรประเภทนั้นกลับให้มากๆ โดยเฉพาะนักธุรกิจ  นักอุตสาหกรรม  ที่มีเครื่องขยายพิสัยโดยใช้บริษัทเป็นเครื่องมือในการทำ "กำไร"  จากการแปลงทรัพยากรและวัตถุดิบต่างๆ  ให้เป็นสินค้าและบริการคราวละมากๆ โปรดอย่าลืมว่าท่านกำลังใช้บริษัทเป็นเครื่องมือในการทำ "กรรม" และได้ขยายพิสัยของกรรมในขณะเดียวกัน  ยิ่งเป็นมหาเศรษฐีมีกำไรสะสมมากเท่าใด ก็ยิ่งต้องตอบแทนคืนแก่โลกแก่สังคมมากเท่านั้น.
บันทึกการเข้า

Saaychol
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง