สายน้ำ
|
|
« ตอบ #261 เมื่อ: เมษายน 28, 2009, 12:36:26 AM » |
|
พลาสติกกับภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อนนั้นกำลังส่งผลทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายลงอย่างเร็วมาก เมื่อน้ำแข็งละลายทำให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติเป็นอย่างมาก และผลกระทบโดยตรงเลยก็คือทำให้ระดับน้ำทะเลนั้นสูงขึ้นจากปกติ ทั่วโลกก็จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้อย่างแน่นอนโดยเฉพาะประเทศที่มีความสูงจากน้ำทะเลไม่มากนัก รวมทั้งประเทศไทยของเราก็จะถูกน้ำท่วมหายไปเป็นบางส่วนด้วย ในอนาคตกรุงเทพมหานครก็จะจมไปอยู่ใต้ทะเลอย่างแน่นอนทำให้หลายองค์กรในตอนนี้องค์กรต่างๆของบ้านเราก็เริ่มหันมาผลิตถุงผ้าของตัวเองออกมา และก็มีการรณรงค์เรื่องภาวะโลกร้อนกันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะการรณรงค์ให้ลดใช้ถุงพลาสติก ล่าสุดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ได้เปิดตัวโครงการ "45 วัน รวมพลัง ลดถุงพลาสติก ลดโลกร้อน" โดยเซ็นสัญญาร่วมกับ 14 ภาคี หวังสร้างจิตสำนึก และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ตั้งเป้ามีผู้ร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)กล่าวว่า สภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลก ต่างตระหนักถึง และหาทางแก้ไข เพราะเมื่ออุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น จะเป็นสาเหตุให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล,ระดับน้ำทะเล , การผลิตพืชผลทางการเกษตร ซึ่งจะส่งผลอย่างหนักในวงกว้าง ทั้งต่อพืช และมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตระหนักในความสำคัญของปัญหาภาวะโลกร้อนดังกล่าว จึงมอบหมายให้ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้จัดให้มีโครงการ "45 วัน รวมพลัง ลดถุงพลาสติก ลดโลกร้อน" ขึ้น คือตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน ซึ่งเป็นวันคุ้มครองโลก (Earth Day) จนถึง 5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) รวมระยะเวลาของโครงการ 45 วัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเป็นการให้ความรู้ และความเข้าใจแก่ประชาชน ในเรื่องของการลดการใช้ถุงพลาสติก อันเป็นอีกหนึ่งของการลดภาวะโลกร้อน
สำหรับประเทศไทยยังพบว่า ปัจจุบันมีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั่วประเทศกว่า 40,000 ตัน/วัน เฉพาะในกรุงเทพมหานคร มีปริมาณขยะที่เก็บขนได้ 8,500 ตัน/วัน เป็นขยะจากถุงพลาสติก 1,800 ตัน/วัน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการเก็บขนถึง 1.78 ล้านบาท/วัน ซึ่งหากสามารถลดการใช้ถุงพลาสติกลงได้จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บขน 650 ล้านบาท/ปี และสามารถลด CO2 ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกได้ 1 ล้านตัน/ปี ซึ่งในการจัดโครงการในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก 14 ภาคี ประกอบด้วย 22 ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านสะดวกซื้อ และ 2 หน่วยงานภาครัฐ
ทั้งนี้ ประกอบด้วย ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต, วิลล่ามาร์เก็ต, ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ (เดอะมอลล์กรุ๊ป), ห้างสรรพสินค้าจัสโก้, บริษัทสยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน), , สยามพารากอน, สยามเซ็นเตอร์, สยามดิสฯ บ.สยามพิวรรธน์, คาร์ฟูร์ บริษัทเซ็นคาร์ จำกัด, สยามแฟมิลี่มาร์ท, ห้างสรรพสินค้า แฟชั่นไอส์แลนด์, เซเว่น บริษัท ซีพีออล์ล จำกัด, ร้านหนังสือ B2S, ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, Home Work, Office Depot, เพาเวอร์บาย, โรบินสัน, ห้าง ZEN, ท็อปซุปเปอร์มาร์เก็ต, บิ๊กซี, กรุงเทพมหานคร และสมาคมสันนิบาตเทศบาล
สำหรับการดำเนินงานจะให้หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะทำการบันทึกปริมาณการใช้ถุงพลาสติกตลอดระยะเวลาของโครงการ เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับปริมาณการใช้ถุงพลาสติกก่อนร่วมโครงการว่ามีปริมาณลดลงเท่าใด นอกเหนือจากนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการจะมีการแจ้งปฏิทินกิจกรรมมายังกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ในภาพรวม ทั้งนี้จะมีพันธมิตรสื่อมวลชน ทั้งสถานีโทรทัศน์ต่างๆ และค่ายเพลง ให้ความร่วมมือในการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานด้วย
นอกจากนี้ ทางกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมผู้จัดโครงการคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังสามารถที่จะลดปริมาณจากถุงพลาสติกได้อย่างน้อย 2 ตัน แต่ในส่วนที่นอกเหนือจากการคาดการณ์นี้ ทางกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมหวังว่าการจัดโครงการนี้ขึ้น จะช่วยให้ความรู้กับประชาชนผู้บริโภคในเรื่องของการลดการใช้ถุงพลาสติก อีกทั้งยังกระตุ้นให้ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน สื่อมวลชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการลดใช้ถุงพลาสติก หรือช่วยให้การใช้ถุงพลาสติกมีน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และเมื่อสิ้นสุดโครงการคือ วันที่ 5 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก จะมีการแถลงผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการต่อผู้แทนของโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UNEP)
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้ากันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ทุกคนหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนกันมากขึ้น แต่หลายคนอาจะมีคำถามในใจขึ้นว่า การแจกถุงผ้าของหลายหน่วยงานงานในช่วงที่ผ่านมานั้น การใช้ถุงพลาสติกลดลงหรือไม่ ทำให้ผู้คนตระหนักเรื่องภาวะโลกร้อนมากน้อยแค่ไหนนั้นตอนไหน หรือว่าเป็นเพียงแค่สินค้าแฟชั่น เมื่อเลือกซื้อหรือรับแจกมาไว้มากมายเกินความจำเป็น มันก็จะไม่ได้ช่วยทำให้อะไรดีขึ้น กลับจะทำให้เกิดขยะบนโลกมากขึ้น ซึ่งขัดกับจุดประสงค์ที่แท้จริงที่ทำให้ถุงผ้าเกิดขึ้นมา ฉะนั้นอย่าตามกระแสแฟชั่นมากเกินไป เพราะมันก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นนั่นเอง
จาก : แนวหน้า วันที่ 28 เมษายน 2552
|