สายน้ำ
|
|
« ตอบ #240 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2008, 01:03:48 AM » |
|
โลกร้อนละลายน้ำแข็ง
พืดน้ำแข็งขนาด 20 ตารางกิโลเมตร ได้แตกตัวออกจากหิ้งน้ำแข็งในเขตอาร์กติกของแคนาดาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์บอกว่าปรากฏการณ์นี้กำลังจะเกิดขึ้นอีกหลายระลอก
อุณหภูมิในพื้นที่ส่วนใหญ่ของแถบอาร์กติกได้เพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของโลกตลอด 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเป็นสัญญาณของภาวะโลกร้อน
พืดน้ำแข็งที่ว่านี้ได้แตกตัวออกจากหิ้งน้ำแข็งที่เกาะวอร์ดฮันต์ ซึ่งเป็นเกาะขนาดเล็กใกล้กับเกาะแอลส์แมร์ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ในบริเวณตอนเหนือสุดของแคนาดา
นับเป็นการแตกตัวของพืดน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดถัดจากกรณีการแตกตัวของหิ้งน้ำแข็งอายล์ ซึ่งมีขนาด 40 ตร.กม.เมื่อปี 2548
ทรูดี วอลเลเบน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพืดน้ำแข็งของแคนาดา บอกว่า การแตกตัวล่าสุดนี้เกิดขึ้นระหว่างรอยแยกคู่ขนานขนาดใหญ่ ฉะนั้น คาดว่าจะมีพืดน้ำแข็งแตกตัวออกไปอีกในช่วงหน้าร้อนนี้
เกาะแอลส์แมร์เคยเป็นพืดน้ำแข็งขนาดมหึมาผืนใหญ่ผืนเดียว มีเนื้อที่ราว 5,600 ตร.กม. แต่ปัจจุบันได้แตกออกเป็น 5 เสี่ยง ซึ่งมีพื้นที่น้ำแข็งรวมกันแค่ 640 ตร.กม.
วอริก วินเซนต์ ผอ.ศูนย์วิจัยเขตเหนือ มหาวิทยาลัยลาวาล ในควิเบก บอกว่า พืดน้ำแข็งวอร์ดฮันต์กำลังอยู่ในภาวะล่อแหลม "เรากำลังก้าวข้ามเส้นอันตรายของการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในแถบอาร์กติก ในระยะยาวมันจะส่งผลกระทบอย่างมาก".
จาก : X-cite ไทยโพสต์ คอลัมน์โลกน่ารู้ วันที่ 1 สิงหาคม 2551
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #241 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2008, 01:06:59 AM » |
|
น้ำแข็งขั้วโลกหดตัว ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติของสหรัฐ ที่เมืองโบลเดอร์ ในรัฐโคโรลาโด ซึ่งสังเกตการณ์ทางดาวเทียมขององค์การบริหารการบินและอวกาศของสหรัฐหรือนาซ่า รายงานว่า ในปีนี้ บริเวณที่เป็นน้ำแข็งของโลกหดตัวลงถึงระดับต่ำสุดในเดือนกันยายน แต่น้อยกว่าระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ของเมื่อปีที่แล้ว และในช่วงฤดูหนาวนี้ น้ำแข็งทางขั้วโลกเหนือ ได้เริ่มก่อตัวใหม่แล้ว
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า ในราว 10 ปีที่ผ่านมา น้ำแข็งในทะเลของโลกละลายเร็วกว่าที่คาดคิดกันไว้ โดยในปีที่แล้ว น้ำแข็งทางขั้วโลกเหนือละลายมากเป็นประวัติการณ์ คือต่ำกว่าระดับเฉลี่ย ราวร้อยละ 39 ทำให้สามารถเปิดเส้นทางเดินเรือขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์คติคด้านแคนาดาได้เป็นครั้งแรก
มาในปีนี้ น้ำแข็งละลายหดตัวราวร้อยละ 33 ต่ำกว่าระดับเฉลี่ย เป็นรองระดับประวัติการณ์ของปีก่อน ศูนย์สังเกตการณ์สภาพน้ำแข็งแห่งชาติของสหรัฐ รายงานว่า มีการเปิดเส้นทางเดินเรืออีกทางหนึ่งทางด้านเหนือของมหาสมุทรอาร์คติคเป็นครั้งแรกในเวลา 50 ปี
นักวิทยาศาสตร์ไอซ์แซท กล่าวว่า ในระยะ 5 - 10 ปีที่ผ่านมา ผืนน้ำแข็งในทะเลละลายหดตัวเร็วกว่าอัตราในรูปแบบที่คาดคิดกัน โดยหิมะและน้ำแข็งสะท้อนแสงอาทิตย์กลับสู่อวกาศ ขณะที่มหาสมุทรซึ่งสีคล้ำกว่าจะดูดแสงอาทิตย์ พอน้ำแข็งละลาย จะมีความร้อนมากขึ้นในมหาสมุทรและในบรรยากาศชั้นล่าง และโลกเราก็อุ่นขึ้น ส่งผลให้การก่อตัวใหม่และขยายตัวของผืนน้ำแข็งประจำปีในฤดูหนาวลดลงด้วย
ตามรายงานของศูนย์สังเกตการณ์สภาพน้ำแข็งทางดาวเทียมนั้น ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา โลกเราสูญเสียพื้นที่น้ำแข็งไปราวร้อยละ 30 และความลึกหนาลดลงราวร้อยละ 25 - 30 หากยังเป็นอยู่เข่นนี้ต่อไป ในอีก 5 ปีข้างหน้าโลกเราจะสูญเสียพื้นที่น้ำแข็งส่วนใหญ่ไปอีกอย่างแน่นอน
จาก : แนวหน้า คอลัมน์โลก 365 วัน วันที่ 2 ตุลาคม 2551
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #242 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2008, 12:24:59 AM » |
|
เตือนภาวะโลกร้อนทำสิ่งมีชีวิตโลกเสี่ยงสูญพันธุ์ ออร์แลนโด - นักวิทยาศาสตร์เตือน สภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนไป กลายเป็นภัยคุกคาม ที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆ บนโลกมากถึง 1 ใน 3 สูญหายไปภายในปลายศตวรรษนี้ หากไม่มีการเร่งลงมือเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาที่เสื่อมโทรม
นางจีน เบรนแนน นักวิทยาศาสตร์อาวุโส จากกลุ่มผู้ปกป้องชีวิตสัตว์ป่า และเจ้าของรางวัลโนเบล ปี 2550 สำหรับงานที่เธอทำให้สภารัฐบาลระหว่างประเทศ ด้านสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เตือนเมื่อวันพุธ (1 ต.ค.) ว่า การประเมินถึงผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงต่อโลก แสดงให้เห็นว่า ภาวะโลกร้อนกลายเป็นภัยคุกคาม ที่อาจทำให้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ บนโลก ล้มหายตายจากไปมากถึง 1 ใน 3 ภายในสิ้นศตวรรษนี้
"อย่างไรก็ดี เรายังมีความหวังอยู่บ้าง เพราะเรายังไม่สูญเสียโอกาสทั้งหมด เรายังมีเวลาในเรื่องนี้อยู่ หากเราลงมือดำเนินการในเรื่องดังกล่าวตั้งแต่ตอนนี้" นางเบรนแนนระบุ ต่อที่ประชุมสุดยอดในเรื่องชีวิตสัตว์ป่า ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการช่วยชีวิตสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในช่วงเวลาที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ ชี้ด้วยว่า พืช และสัตว์จำนวนมาก ต่างมีถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีอุณหภูมิเฉพาะตัว ซึ่งอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปเพียงองศาเดียว ก็สามารถทำลายล้าง หรือทำให้เกิดการย้ายถิ่นไปหาที่อยู่ใหม่ได้
นางเบรนแนน ระบุว่า สิ่งมีชีวิตต่างๆ จะเคลื่อนย้ายไปหาสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมกับตัวมันเองมากที่สุด และมีอยู่จำนวนมากต้องที่ต้องล้มเหลวในความพยายามเรื่องนี้ เพราะเจออุปสรรคกีดขวางอยู่ ทั้งเขื่อน การพัฒนา และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ที่อยู่รายล้อมเขตแดนธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้
ผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ยังเรียกร้องให้มีการสร้างเส้นทางเดินสำหรับสัตว์ป่า เพื่อให้สัตว์เหล่านี้สามารถอพยพขึ้นไปทางตอนเหนือของโลกได้มากขึ้น เพราะอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอาจชี้ชะตาการอยู่รอด หรือการสูญพันธุ์ของสัตว์ได้
"เราจำเป็นต้องสร้างให้สัตว์เหล่านี้มีความสามารถในการอพยพ และเมื่อพวกมันอพยพไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม ก็จำเป็นต้องเป็นสถานที่ที่อุดมสมบูรณ์ และมีระบบนิเวศวิทยาที่แข็งแกร่ง" นางเบรนแนน กล่าว
จาก : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 5 ตุลาคม 2551
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
แมลงปอ
|
|
« ตอบ #243 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2008, 11:16:27 AM » |
|
มนุษย์ก็เป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน อีกไม่นานคงสูญพันธ์เหมือนกัน ตามวัฐจักร...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #244 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2008, 12:47:12 AM » |
|
นักวิจัยเผยข้อมูล โลกร้อนขึ้น-วันฝนตกมาก ทำไข้เลือดออกระบาดน้อยลง
นพ.ยง ชี้ภาวะโลกร้อนไม่ทำให้โรคติดเชื้อระบาดมากขึ้นในเขตร้อน แต่มีโอกาสแพร่กระจายสู่เขตหนาวมากขึ้น เพราะอากาศอุ่นขึ้น พร้อมเตือนให้ระวังโรคเก่าอุบัติซ้ำ และต้องเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน แนะให้มีสติ และอย่าตื่นตระหนกจนเกินไป เมื่อวันที่ 29 ต.ค. ที่ผ่านมา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการอภิปรายพิเศษเรื่อง "การแพทย์ในอนาคต" (Medicine in the Future) ในการจัดงาน "ปิยมหาราชรำลึก" เนื่องในโอกาสวันปิยมหาราช ณ ห้องประชุมเฉลิม พรมมาส ตึก อปร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมี ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ นพ.พิชิต ศิริวรรณ หัวหน้าฝ่ายบรรเทาทุกข์ สำนักงานบรรเทาทุกข์ สภากาชาดไทย ศ.นพ.ยง กล่าวถึงภาวะโลกร้อนกับโรคติดเชื้อในอนาคตว่า โลกร้อนขึ้นจริง และมีผลต่อแมลง เช่น ยุง ที่เป็นพาหะของหลายโรค ทั้งไข้เลือดออก มาลาเรีย และไข้เหลือง ทั้งนี้เพราะระบบนิเวศน์เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งบางคนสันนิษฐานว่าโลกร้อนขึ้น ทำให้ยุงเพิ่มขึ้น จริงเท็จอย่างไร ยังไม่มีใครรู้ แต่จากการศึกษาเบื้องต้น โดยร่วมกับ ดร.พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าในช่วง 57 ปีที่ผ่านมา อุณภูมิสูงสุดในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.79 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิต่ำสุดสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 3.75 องศาเซลเซียส นั่นหมายความว่าประเทศไทยไม่ได้ร้อนขึ้นมากเท่าไหร่ แต่ในขณะเดียวกันกลับหนาวน้อยลง นอกจากนี้ยังพบอีกว่า เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น การระบาดของไข้เลือดออกจะลดลง และหากมีจำนวนวันที่ฝนตกมากขึ้น ไข้เลือดออกก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งอธิบายได้ว่า ยุงไม่ออกหากินในวันฝนตก และยุงน่าจะมีอุณหภูมิที่เหมาะสมในการแพร่พันธุ์ ที่ไม่หนาวและไม่ร้อนจนเกินไป ส่วนการระบาดของไข้หวัดใหญ่ก็พบว่า ประเทศเขตหนาวทั้งซีกโลกใต้และซีกโลกเหนือ ไข้หวัดใหญ่จะระบาดเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ขณะที่ประเทศในเขตร้อนจะมีไข้หวัดใหญ่ระบาดตลอดทั้งปี ฉะนั้น การแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน จะส่งผลกระทบกับประเทศเขตหนาวมากกว่า เพราะอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ทำให้เชื้อโรคจากเขตร้อนมีโอกาสแพร่กระจายไปยังเขตหนาวที่อุณหภูมิสูงขึ้น ได้ "อย่างไรก็ตาม การที่ระบบนิเวศน์ถูกทำลายเนื่องจากภาวะโลกร้อน อาจทำให้โรคเก่าหวนกลับมาระบาดได้อีกครั้ง และที่น่าเป็นห่วงอีกคือโรคอุบัติใหม่ที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ เมื่อคนและสัตว์สัมผัสกันมากขึ้น ดังนั้นควรจะต้องมีเครือข่ายเฝ้าระวัง เมื่อไรก็ตามที่มีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้น จะต้องวินิจฉัยได้ทันท่วงที และควบคุมไม่ให้ระบาดได้" ศ.นพ.ยง กล่าวกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ และเตือนประชาชนด้วยว่าอย่าเพิ่งวิตกกังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดมากจนเกินไป แต่จะต้องมีสติและพร้อมรับมือเมื่อเกิดขึ้น ด้าน ศ.นพ.ธีรวัฒน์ กล่าวว่า การสร้างนวัตกรรมสำหรับการแพทย์ในอนาคตนั้นจะต้องพิจารณาปัจจัยในขณะนี้ด้วย ทั้งผลจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว เกิดวิกฤตอาหาร พลังงาน โรคติดเชื้อ รวมถึงสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเมือง แต่คาดการณ์ได้ว่าการแพทย์ในอนาคต มี แนวโน้มไปสู่การแพทย์เฉพาะบุคคล โดยการตรวจจีโนมเพื่อวินิจฉัยโรคหรือการรักษาที่เหมาะสม และการวินิจฉัยโรคจากการตรวจหาโปรตีนหรือไบโอมาร์กเกอร์ รวมถึงนวัตกรรมการแพทย์ด้านประสาทวิทยาศาสตร์ ที่มีการศึกษาวิจัยการทำงานของสมอง โดยมีงานวิจัยหนึ่งพบว่า ลิงสามารถสั่งการให้มือกลเคลื่อนที่ไปหยิบกล้วยได้เพียงแค่นึกคิดว่าจะ เอื้อมแขนไปหยิบกล้วย ซึ่งอาจนำไปใช้กับผู้พิการได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ศ.นพ.ธีรวัฒน์ กล่าวเตือนด้วยว่า การ เลือกใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต ต้องพิจารณาด้วยว่าถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร เพื่อใคร และเราสามารถควบคุมไม่ให้เกิดผลเสียได้หรือไม่ เพราะปัจจุบันมีหลายเทคโนโลยีที่ยังไม่สมบูรณ์พอ ก็มีการนำไปใช้หาประโยชน์ทางการค้ากันแล้ว ส่วน นพ.พิชิต กล่าวถึงมหันตภัยทางธรรมชาติกับการแพทย์ในอนาคตว่า ความรุนแรงของภัยพิบัติไม่ได้ขึ้นกับธรรมชาติเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับศักยภาพสังคมด้วย และการแพทย์ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเมื่อเกิดภัยพิบัต ก็จะเกิดปัญหาในด้านการแพทย์ฉุกเฉิน แลาตามมาด้วยปัญหาสาธารณสุขมูลฐานอีกมากมาย ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น และจะควรมีการแก้ระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่ก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการทางการแพทย์ในยามเกิดภัยพิบัติ
จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 30 ตุลาคม 2551
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #246 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2008, 01:30:18 AM » |
|
รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐเตรียมความพร้อมในกรณีที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน
รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐเริ่มเตรียมความพร้อมในกรณีที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน เพราะคาดว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีประชากรมากที่สุดและมีแนวชายฝั่งติดมหาสมุทรแปซิฟิคยาวกว่า 1,290 กิโลเมตร โดยนายอาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์ ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียได้มีคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาว่า ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นมากน้อยเพียงใด รวมทั้งผลที่เกิดจากภาวะโลกร้อนและการเตรียมพร้อมแก้ปัญหา พร้อมกับเตือนว่า ความล่าช้าในการเตรียมและการปรับตัวให้เข้ากับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจะทำ ให้เกิดปัญหายุ่งยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามลำดับ โดยผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียได้สั่งการให้เสนอผลการศึกษาดังกล่าวภายในปี 2553
จาก : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2551
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #247 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2008, 01:42:51 AM » |
|
10 วิธีลดคาร์บอนฯ ใกล้ตัว-ทำได้ง่าย
ปัญหาการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปัจจุบัน เป็นที่หวั่นวิตกกันทั่วโลก เพราะเป็นปัญหาใกล้ตัวมนุษย์ แต่แนวทางแก้ไขปัญหานี้ง่ายนิดเดียว คือเริ่มจากตัวเราก่อนเป็นอันดับแรก
นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตอังกฤษ ประจำ ประเทศไทย ร่วมกับบริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด สายการบินบริติชแอร์เวย์ และบริติชเคาน์ซิล จัดโครงการประกวดออกแบบโปสเตอร์เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Poster Competition)
ภายใต้หัวข้อ "10 วิธีการลดร่องรอยเท้าคาร์บอนในประเทศไทย" (10 Tips to Reduce Your Carbon Footprint in Thailand) พร้อมทั้งประกาศผลมอบรางวัลให้กับ น.ส.กุลปรียา ตันสิริ อายุ 19 ปี นิสิตชั้นปี 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลชนะเลิศนอกจากได้เดินทางไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในช่วงเดือนมี.ค.2552 แล้ว ยังจะมีโอกาสได้เข้าพบเจ้าหน้าที่ระดับสูง ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่ประเทศอังกฤษด้วย
แต่ก่อนหน้าจะเดินทางไป ทางสถานทูตอังกฤษนำผลงานของ น.ส.กุลปรียา มาจัดแสดงนิทรรศการ และร่วมอธิบายผลงานที่สามารถจับต้อง และสื่อเข้าใจง่ายแก่ผู้พบเห็น
น.ส.กุลปรียาเล่าถึงที่มาของโปรเจ็กต์นี้ว่า เข้าโครงการนี้จากอาจารย์มหา วิทยาลัย ที่จะให้นิสิตทำผลงานเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในวิชาที่เรียน โดยให้ออกแบบโปสเตอร์ขนาดเอ 3 ในหัวข้อ "10 วิธีการลดร่องรอยเท้าคาร์บอนในประเทศ" เป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทยก็ได้ตามแนวคิด โดยเลือกทำเป็นภาษาอังกฤษ เพราะผู้ที่รับการคัดเลือกจะต้องอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ จึงมองว่าถ้าเราสื่อเป็นภาษาอังกฤษคงจะทำให้กรรมการเข้าใจง่าย
"ผลงานที่ส่งตอนแรกที่ได้โจทย์มา ก็คิดว่าจะทำเป็นแบบกราฟิกสวยๆ แต่พอมาทำมันยากไป เลยกลับมามองสิ่งที่ง่ายๆ ใกล้ตัว เช่น รอยเท้าของตัวเองซึ่งเป็นอะไรที่ง่ายที่สุด โดยเหยียบลงบนหมึกสีดำ และย่ำลงบนพื้นสีขาวจากหัวข้อที่ได้มา ตอนแรกคิดอยู่นานว่าจะทำอย่างไร พอเห็นว่า Tips ซึ่งแปลว่า เขย่ง และคำว่า Your Carbon Footprint หมายถึงเท้าของเราที่มีคาร์บอน เลยคิดว่าใช้ฝ่าเท้าของเราเหยียบไปบนหมึกสีดำที่แทนตัวคาร์บอน ลงไปบนพื้นสีขาว จะเห็นว่ารอยเท้าช่วงแรกที่เหยียบจะเป็นแบบเต็มเท้า ช่วงกลางๆ กับปลายจะเป็นแบบเขย่งเท้า"
น.ส.กุลปรียาเล่าต่อว่า ส่วน 10 วิธีที่เป็นหัวข้อย่อยในการลดร่องรอยคาร์บอนฯ ในประเทศไทย ก็คิดแบบง่ายๆ โดยเอาสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว และใช้ในชีวิตประจำวันมาเป็นองค์ประกอบในการนำเสนอ รวมทั้งค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า แต่ละวิธีในการลดก๊าซคาร์บอนฯ มีอะไรบ้าง และมีสถิติ หรือตัวเลขเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จากหนังสือที่เรียนและการค้นหาทางอินเตอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่างประเทศ มีข้อมูลการคำนวณตัวเลขไว้มากมายหลายอย่าง และมาแปลเป็นภาษาไทยให้เข้าใจง่ายขึ้น
จากนั้นก็เรียงลำดับความสำคัญของตัวเลข หรือปริมาณก๊าซคาร์บอนฯ ในสิ่งของแต่ละอย่าง โดยนำเสนอสิ่งของให้ตั้งวางไว้บนแท่นสีขาว ข้างหน้าเขียนข้อความเป็นภาษาไทยและอังกฤษ จำนวน 10 แท่น โดยแต่ละแท่นจะมีความสูงแตกต่างกันแสดงถึงปริมาณก๊าซคาร์บอนในแต่ละชิ้น
เริ่มจาก
1.กระดาษรีไซเคิล นำกระดาษที่ใช้งานแล้วกลับมาใช้งานใหม่ โดยทำเป็นสมุดเซ็นชื่อ สามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนฯได้ 2.5 กิโลกรัมต่อกระดาษ 1 รีม
2.แผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศ ถ้าเราทำความสะอาดสม่ำเสมอ จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนฯ ได้ถึง 80 กิโลกรัมต่อปี สื่อให้เห็นว่าการทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น และยังช่วยลดพลังงานอีกด้วย
3.การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แทนการตั้งสกรีนเซฟเวอร์ให้วิ่งไปวิ่งมา ตรงนี้จะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนฯ ได้ถึง 90 กิโลกรัมต่อปี
4.อาบน้ำให้เร็วขึ้น สื่อถึงนาฬิกาบอกเวลาและฝัก บัวอาบน้ำ เพราะกระบวนการในการผลิตน้ำ ทุกอย่างต้องใช้พลังงานทั้งสิ้น และจะปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ออกมาสู่ชั้นบรรยากาศของโลกเช่นกัน แต่ถ้าเรามีเครื่องเตือนเวลาในการอาบน้ำจะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนฯได้ 160 กิโลกรัมต่อปี เป็นการสื่ออะไรที่ง่ายมาก แต่ได้ผลสูง
5.ขวดน้ำพลาสติก เป็นการสื่อถึง "ขยะ" ว่าขยะเป็นปัญหาในทุกพื้นที่ของประเทศไทยในขณะนี้ ไม่ว่าจะหันไปทางใดก็เจอ แต่ถ้าเราหันมาใช้ขวดแก้วแทน จะเป็นการลดพลังงานได้ถึง 2 ต่อ คือการผลิตน้ำและการลดขยะ สามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ได้ 450 กิโลกรัมต่อปี
6.ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งที่นำมาจัดแสดงคือ โคมไฟที่มีสวิตช์ปิดเปิดและปลั๊กไฟ ถ้าถอดปลั๊กไฟออกเวลาที่ไม่ใช้สามารถลดปริมาณของก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ได้ 450 กิโลกรัมต่อปี เท่ากับขวดน้ำพลาสติกเช่นกัน
7.การใช้ "ถุงผ้า" แทน "ถุงพลาสติก" ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 545 กิโลกรัมต่อปี
8.ทางเดียวกันไปด้วยกัน สื่อรถยนต์และคน คือคนเดินทางออกจากบ้านไปทำงาน หรือไปธุระ หากใช้รถคันเดียวกันไปด้วยกันช่วยประหยัดน้ำมัน และลดการปล่อยควันเสียหรือคาร์บอนฯได้ถึง 580 กิโลกรัมต่อปี
9.สร้างบ้านให้เย็น สื่อให้เห็นถึงตัวบ้าน หากวางแผนโดยใส่ฉนวนกันความร้อน หรือการออก แบบบ้านให้มีหน้าต่างมากๆ และมีทิศทางลมที่ผ่านสะดวก สามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 900 กิโลกรัมต่อปี
วิธีสุดท้าย 10.การปลูกต้นไม้เพียงต้นเดียว ช่วยดูด ซับก๊าซคาร์บอนฯ ในอากาศ และลดก๊าซคาร์บอนฯ ถึง 1,000 กิโลกรัมต่อปี
หากทุกคนเริ่มจากตัวเราเองก่อนโดยวิธีง่ายๆ แค่นี้จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนฯของโลกใบนี้ไม่มากก็น้อย
จาก : ข่าวสด วันที่ 14 ธันวาคม 2551
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 15, 2008, 01:18:23 AM โดย สายน้ำ »
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
ตุ๊กแกผา
|
|
« ตอบ #248 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2008, 02:10:18 AM » |
|
เป็นเช่นนี้เอง เราได้ประหยัดพลังงานแบบไม่รู้ตัวเลยน๊ะเนี่ย 1.กระดาษรีไซเคิล นำกระดาษที่ใช้งานแล้วกลับมาใช้งานใหม่.....ประจำเลยค่ะ ที่หน่วยงานนำกระดาษที่หน่วยอื่นใช้หน้าเดียว นำกลับมาใช้งานอีกหน้า
2.แผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศ ถ้าเราทำความสะอาดสม่ำเสมอ จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนฯ ได้...แหะ มีแอร์ แต่ไม่ได้เปิดใช้ แล้วจะเรียกประหยัดได้มั๊ยเนี่ย!!!!
3.การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แทนการตั้งสกรีนเซฟเวอร์ให้วิ่งไปวิ่งมา ตรงนี้จะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนฯ ได้....ก็ทำอีก เพราะตั้งสกรีนเซฟเวอร์ให้วิ่งไปวิ่งมา ไม่เป็น
4.อาบน้ำให้เร็วขึ้น.....อันนี้ชัวร์ อาบน้ำปกติ 1 ครั้งไม่เกิน 10 นาที ประหยัดค่ะ ประหยัด
5.ขวดน้ำพลาสติก เป็นการสื่อถึง "ขยะ" ว่าขยะเป็นปัญหาในทุกพื้นที่ของประเทศไทยในขณะนี้ ไม่ว่าจะหันไปทางใดก็เจอ แต่ถ้าเราหันมาใช้ขวดแก้วแทน .....อันนี้ ใช้ขวดที่ใช้ประจำแทนน่าจะได้น๊ะค่ะ เพราะซุ่มซ่าม ใช้ขวดแก้ว เสี่ยงต่อการแตก บาดมือแน่ๆเลย หมายถึงตัวเองค่ะ ...
7.การใช้ "ถุงผ้า" แทน "ถุงพลาสติก" .......ปัจจุบันทำอยู่ค่ะ บางที ซื้อของ ที่ใส่กระเป๋าได้ ก็ไม่เอาถุงพลาสติก พนักงานขายบางคน ที่กล้าหน่อยเคยพูดว่า...ไม่เอาถุง ก็ไม่ได้ช่วยให้โลกหายร้อนหรอกคุณ แหม!ทำกันจัง เห่อแป๊บเดียว เดี๋ยวก็เหมือนเดิม...เราได้แต่นิ่ง พูดไปก็มีแต่จะกลายเป็นเถียงกันเปล่าๆได้แต่คิดว่า"ก็คิดกันซะแบบนี้ ถึงได้วิกฤติกันน๊ะสิ..." แต่เพื่อนที่ไปด้วย ทนไม่ไหวแต่ไม่พูดอะไรเหมือนกัน ได้แต่จ้องที่ป้ายชื่อ แล้ว.....ไปพบผู้จัดการร้านเลยค่ะ(ขอบอก เพื่อนติ๋ว มันโหดเหมือนติ๋วเลย)
8.ทางเดียวกันไปด้วยกัน สื่อรถยนต์และคน คือคนเดินทางออกจากบ้านไปทำงาน หรือไปธุระ หากใช้รถคันเดียวกันไปด้วยกันช่วยประหยัดน้ำมัน .....ปัจจุบันไปรถเมล์ฟรีเพื่อประชาชนทุกวันเลย...ตื่นเช้ากว่าเดิม1ชม.สามารถค่ะ
9.สร้างบ้านให้เย็น สื่อให้เห็นถึงตัวบ้าน หากวางแผนโดยใส่ฉนวนกันความร้อน หรือการออก แบบบ้านให้มีหน้าต่างมากๆ และมีทิศทางลมที่ผ่านสะดวก......ข้อนี้เป็นข้อเดียวที่ทำไม่ได้ เพราะพ่อสร้างบ้านไว้นานแล้ว แต่โชคดีที่บ้านมีหน้าต่างรอบๆเลย เป็นบ้านไม้ เย็นสบายอยู่แล้ว เยๆๆๆๆ....
วิธีสุดท้าย 10.การปลูกต้นไม้เพียงต้นเดียว ช่วยดูด ซับก๊าซคาร์บอนฯ ในอากาศ .....ไปปลูกป่ากับพี่ๆน้องๆSOS ดีกว่า เพราะที่บ้านมีคนปลูกประจำอยู่แล้ว ไชโยๆๆๆๆๆ ลดโลกร้อนๆๆๆๆๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #249 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 01:17:55 AM » |
|
บทวิเคราะห์ : ถอดรหัสพลังงานทดแทน ตอนที่ 1 โลกร้อนขึ้น...มนุษย์อยู่ได้หรือไม่ ??
ปัจจุบันภัยพิบัติทางธรรมชาติ เริ่มพบเห็นได้บ่อยครั้ง มีความถี่มากขึ้น และส่งผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั่วโลก หากสังเกตอย่างถี่ถ้วนจะเห็นว่า ภัยพิบัติบางอย่างก็ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือเป็นเวลานานหลายร้อยปีกว่าจะเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง อย่างในประเทศไทยเองที่เกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ จากเหตุการณ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 รวมถึง เมื่อกลางปีที่ผ่านมา พม่าต้องประสบกับ พายุไซโคลนนาร์กิส ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 130,000 ถือเป็นภัยพิบัติอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน รวมถึงแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในจีน พายุไซโคลน พายุเฮอริเคน ที่ถล่มในหลายพื้นที่ทั่วโลก ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ที่ผ่าน มาเกิดพายุหิมะ พัดถล่มพื้นที่ภาคใต้ของสหรัฐ ส่งผลให้พื้นที่บางส่วนของรัฐหลุยเซียนา และทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐเทกซัสมีหิมะปกคลุมหนาถึง 2 นิ้วไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง สร้างความวุ่นวายให้การจราจรทางอากาศและพื้นถนนกลายเป็นน้ำแข็งทำให้เกิดอุบัติเหุตขึ้นหลายจุด เหตุการณ์หิมะที่ตกลงมานี้ นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่าเป็นเรื่องไม่ปกติ เนื่องจากหิมะที่ตกในเมืองฮุสตันครั้งสุดท้ายเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ภัยพิบัติเหล่านี้ เมื่อมองดูแล้วเริ่มส่งผลกระทบต่อมนุษย์มากขึ้นทั่วทุกมุมโลก คำตอบของปรากฏการณ์ดังกล่าว อาจเกี่ยวพันกับสิ่งที่เราเรียกว่า ภาวะโลกร้อน “Global Warming” ซึ่งเป็นคำที่ทุกคนต่างคุ้นหู และตระหนักว่าในไม่ช้ามนุษย์ต้องเผชิญกับภาวะโลกร้อนที่จะเกิดขึ้น มีการพยายามอธิบายปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน ทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์ และในทางการแพทย์ว่า หากมนุษย์ ยังคงไม่ร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม มนุษย์ต้องเผชิญกับสิ่งใดในอนาคตบ้าง ในเชิงวิทยาศาสตร์ ได้อธิบายปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อนว่า เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศโลกที่ระดับพื้นผิวโลกสูงขึ้นเป็นลำดับ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ จากโรงงานอุตสาหกรรมและน้ำมือของมนุษย์ ทำให้เกิดความแปรปรวนทางธรรมชาติ ซึ่งยิ่งอุณหภูมิสูงขึ้น จะมีผลกระทบต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บที่มากขึ้น อาหารการกินที่น้อยลง หรือพูดง่ายๆ ว่า มีผลต่อการดำรงชีพมนุษยชาติโดยตรง ในทางการแพทย์ ได้อธิบายถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนว่า จะส่งผลให้อัตราป่วยและตายเพิ่มสูงขึ้น ที่เห็นชัดเจนคือ คลื่นความร้อนทำให้เด็กทารก ผู้สูงอายุ ที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือดหัวใจ เจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงขึ้น และทำให้เกิดโรคติดต่อทางอาหารและน้ำเพิ่มมากขึ้น จากการขาดแคลนน้ำและอาหารสะอาด รวมทั้งการระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น ไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียก็มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศยากจนที่มีโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุขไม่เข้มแข็ง จะได้รับผลกระทบมากที่สุด มีการรายงานจากกระทรวงสาธารณสุขว่า มีสัญญาณภัยสุขภาพจากภาวะโลกร้อนที่สำคัญหลายประการ อย่างข้อมูลของสำนักระบาดวิทยาพบว่า การระบาดของโรคไข้เลือดออกในรอบ 3 เดือนแรกปี 2551 พบผู้ป่วยสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 30 เนื่องจากแหล่งน้ำมีการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้วงจรการฟักตัวของไข่ยุงเร็วขึ้น ผนวกกับอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคและพาหะนำโรคต่างๆ แนวทางการแก้ไข ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก จึงเร่งทุกประเทศทั่วโลกรณรงค์กระตุ้นประชาชนร่วมกันแก้ไขภาวะโลกร้อน เพราะเริ่มมีผลที่ชัดเจนต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพจิต โรคระบบทางเดินอาหาร ไข้เลือดออก มาลาเรีย โรคทางเดินหายใจมากขึ้น รวมถึงภัยพิบัติต่างๆ ทำให้หวั่นเกรงว่าในระยะยาวจะส่งผลต่อการดำรงชีพของมนุษย์ที่ยากลำบากมากขึ้น สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข เน้นให้ทุกหน่วยงานเร่งศึกษาวิจัยผลกระทบโลกร้อนในคนไทย เพิ่มความเข้มแข็งระบบการเฝ้าระวังโรค และออก 9 มาตรการ ให้หน่วยงานในสังกัดทั่วไทยร่วมลดภาวะโลกร้อนด้วยการงดใช้พลังงาน เช่น ลดการใช้โฟมและพลาสติกที่ไม่ย่อยสลาย ใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า ลดการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ด้านกระทรวงพลังงาน มีแนวคิดในการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปีหรือ Renewable Energy Development Plan (REDP) มุ่งเน้นพัฒนาทดแทนให้ครอบคลุมแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (แผนสภาพัฒน์ฯ 5 ปี) 3 ฉบับ และใช้เพื่อเป็นแผนประกอบคู่กับแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าหรือ PDP ที่มีช่วงเวลา 15 ปีเช่นกัน ในส่วนของพลังงานทดแทนนั้น ประเทศไทยถือว่าเป็นผู้นำในการพัฒนาพลังงานทดแทนในอาเซียน จากสถิติในปี 2550 พบว่ามีการใช้พลังงานทดแทนในรูปแบบเชิงพาณิชย์มากถึง 5.1% โดยกระทรวงพลังงานมีเป้าหมายภายใต้แผนเดิมที่จะเพิ่มสัดส่วนให้ได้ 8% ในปี 2554 การใช้พลังงานทดแทนจึงถือเป็นแนวทางหนึ่งที่ปัจจุบันรัฐบาลมีการประกาศเป็นวาระแห่งชาติที่จะพลักดันการใช้เพื่อลดภาวะโลกร้อน (การใช้พลังงานทดแทนของไทยมีรูปแบบใดบ้าง และมีปัญหา อุปสรรคอย่างไร ติดตามได้ในตอนหน้า) ทั้งหมดนี้ คือ ผลกระทบในภาพรวมของภาวะโลกร้อนที่มีผลต่อมนุษย์โดยตรง หากทุกคนไม่ช่วยกันแก้ไขแม้เป็นเพียงเรื่องง่ายๆ อย่าง ไม่ประหยัดการใช้พลังงาน ไม่ช่วยกันลดปริมาณขยะการใช้พลาสติก หรือโฟม ในอนาคตย่อมส่งผลร้ายต่อมนุษยชาติอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นลมพายุที่รุนแรงถี่ขึ้น อุทกภัย โรคระบาดและความแห้งแล้วต่างๆ ที่กำลังเริ่มปรากฏในปัจจุบัน เสมือนเป็นสัญญาณเตือนว่า โลกกำลังอ่อนแอลงจากน้ำมือของมนุษย์ ดังนั้นหากมนุษย์ยังไม่รู้คุณค่าของการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างประหยัดเสียแต่วันนี้ อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราอาจต้องเผชิญกับภัยพิบัติต่างๆ ที่แท้จริงแล้วมาจากน้ำมือมนุษย์นั่นเอง
จาก : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 14 ธันวาคม 2551
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #251 เมื่อ: มกราคม 06, 2009, 12:12:40 AM » |
|
มหันตภัย "โลกร้อน" คนไม่ตื่น...ฟื้นไม่มี...หนีไม่พ้น
วิกฤติภัยธรรมชาติทั่วโลกในปี 2551 ที่ผ่านมา แม้จะเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง แต่ "ภาวะโลกร้อน" ถือเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์นำมาอธิบายเชื่อมโยงให้เห็นถึงเคราะห์กรรมที่มนุษย์ต้องเผชิญ
เริ่มจากต้นเดือนมกราคมหิมะเริ่มตกคลุมพื้นที่ทั่วภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกของจีน จากหิมะธรรมดาในที่สุดก็กลายเป็นพายุหิมะสำแดงเดชถล่มบ้านเรือน 2.2 แสนหลังพังพินาศยับเยิน และอีก 8.6 แสนหลังได้รับความเสียหาย ชาวจีนกว่า 105 ล้านคน ตกเป็นเหยื่อพายุหิมะระลอกแรกของต้นปี 2551 ประเมินความเสียหายเบื้องต้นอยู่ที่ 2.34 แสนล้านบาท "หวัง ฉีเว่ย" นักพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาจีน วิเคราะห์ว่าภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อากาศแปรปรวนหนักขึ้น พื้นที่ในภาคใต้ของจีนที่ปกติอากาศจะอบอุ่นกว่าภาคอื่นๆ ก็ยังมีหิมะตกได้
โลกผ่านความบอบช้ำจากพายุหิมะได้ไม่นานก็เผชิญกับพายุไซโคลน "นาร์กีส" ที่มีความเร็วลมถึง 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่งผลให้ชาวย่างกุ้งที่หลับสนิทในเช้าตรู่ของวันที่ 3 พฤษภาคม สะดุ้งตื่นขึ้นมาเนื่องจากเสียงดังของหลังคาสังกะสีที่ปลิวว่อนจากแรงพายุ ซึ่งพัดถล่มบ้านเรือน ถนน ต้นไม้ ฯลฯ อย่างไม่ปรานี
เมื่อพายุเริ่มสงบ ประชากรพม่าที่อาศัยอยู่ปากแม่น้ำอิระวดีก็ต้องพบความเศร้าสลดใจที่สุดในชีวิต เมื่อญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเสียชีวิตไปทันที 1.5 หมื่นคน และอีกหลายแสนคนกลายเป็นคนไร้บ้าน ถนนและเส้นทางคมนาคม รวมถึงระบบสื่อสารโดนทำลายลงอย่างสิ้นเชิง การเยียวยาผู้ประสบภัยยังคงทำต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้
ประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากนาร์กีสเช่นกัน โดยฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติจากอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ต.เกาะพระทอง อ.คุระบุรี จ.พังงา ต้องประสานขอความช่วยเหลือจากกองทัพเรือเพื่อกลับเข้าฝั่ง
ผ่านพ้นพายุร้ายนาร์กีสได้ไม่นานนัก เอเชียต้องเผชิญกับพายุโซนร้อน "กัมมูริ" ที่พัดใส่เวียดนามในเดือนสิงหาคม พร้อมกับพายุไต้ฝุ่น "ฮากุปิต" มีศูนย์กลางอยู่ที่ฟิลิปปินส์ ก่อนมุ่งเข้าสู่เกาะฮ่องกง ส่งผลให้พื้นที่ชายแดนของไทยประสบภัยฝนตกน้ำท่วม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปว่ามี 21 จังหวัด 102 อำเภอ 525 ตำบล ได้รับผลจากอุทกภัย ประชาชนเดือดร้อนกว่า 7 แสนคน ถนนเสียหาย 659 สาย พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมประมาณ 1.9 แสนไร่
"สมเกียรติ ขอเกียรติวงศ์" สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและป่าชายเลน จ.ภูเก็ต ให้ข้อมูลว่า นักสมุทรศาสตร์ทั่วโลกกำลังสนใจว่าพายุร้ายที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อนหรือไม่ เนื่องจากพายุเริ่มก่อตัวจากน้ำทะเล ความรุนแรงของพายุขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของน้ำในทะเล ยิ่งอุณหภูมิของผิวน้ำทะเลสูงก็อาจสะสมเป็นพลังงานทำให้พายุลูกใหญ่ขึ้นได้ เหมือนพายุไซโคลนที่ตามปกติจะมาในเดือนตุลาคม แต่ไซโคลนนาร์กีสกลับปรากฏตัวขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
ข้อมูลที่สร้างความตื่นเต้นที่สุดในปี 2551 คงไม่พ้นคำพยากรณ์ของ "ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย" (TCELS) ที่ระบุว่า ภาวะโลกร้อนจะทำให้กรุงเทพฯ ต้องจมลงบาดาลในอีก 35 ปีข้างหน้า โดยเดือนพฤษภาคม ศูนย์ความเป็นเลิศฯ ได้จัดสัมมนาหัวข้อประเทศไทยกับมหันตภัยโลกร้อน เพื่อชี้ว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นเกิดจากก๊าซเรือนกระจก ซึ่งร้อยละ 90 เกิดจากมนุษย์ เช่น การใช้พลังงาน การเดินทางขนส่ง ป่าไม้ และการทำลายป่า อุตสาหกรรม ขยะน้ำเสีย ฯลฯ
ปัจจุบันมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมในชั้นบรรยากาศ 383 พีพีเอ็ม ส่วนในอากาศ 1 ล้านส่วน นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงพยายามหาหนทางป้องกันอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงเกิน 2 องศาเซลเซียสภายในปี 2558 โดยไม่ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมเกิน 450 พีพีเอ็ม หากเพิ่มเกิน 2 องศาเซลเซียสไปแล้ว มนุษย์ต้องเตรียมรับมือมหันตภัยต่างๆ เพราะเพียงโลกร้อนขึ้น 0.8 องศาเซลเซียส ก็ทำให้ทั่วโลกมีฝนตกมากขึ้น น้ำท่วมรุนแรง พายุ ไฟป่า ที่สำคัญคือเมืองที่อยู่ใกล้ทะเลมีโอกาสจมน้ำได้ รวมถึงกรุงเทพฯ
นอกจากความแปรปรวนของภูมิอากาศแล้ว "โลกร้อน" ยังทำให้เกิด "โรคร้อน" ด้วย องค์การอนามัยโลกเชื่อว่าอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช เช่น อหิวาตกโรค ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ ไข้มาลาเรีย ฯลฯ โดยเชื้ออหิวาต์ได้ระบาดหนักในประเทศซิมบับเวแถบแอฟริกาใต้เมื่อเดือนธันวาคม มีคนติดเชื้อแล้วกว่า 6 หมื่นคน และเกือบ 1,000 คนเสียชีวิตภายในไม่กี่เดือน รัฐบาลซิมบับเวต้องประกาศขอความช่วยเหลือจากทั่วโลกอย่างเร่งด่วน องค์การอนามัยโลกเชื่อว่าในแต่ละปีมีประชากรทั่วโลก 1.6 แสนคนเสียชีวิต เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและตัวเลขจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 2 เท่าในอีก 17 ปีข้างหน้า
แม้ภาวะโลกร้อนจะยังไม่ส่งผลเสียหายให้คนไทยอย่างชัดเจน แต่ผลกระทบอาจมาถึงในไม่ช้า เพราะข้อมูลปี 2551 ชี้ว่าคนไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าเดิม 2 เท่า โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) ระบุในดัชนีปริมาณการปล่อยก๊าซต่อจำนวนประชากรว่า คนไทยปล่อยก๊าซทำให้โลกร้อนปีละ 4.2 ตันต่อคน ขณะที่ อินเดีย 1.2 ตัน จีน 3.8 ตัน ยุโรป 8.6 ตัน รัสเซีย 11.8 อเมริกา 19.4 ตัน ทั้งที่เมื่อปี 2543 คนไทย 1 คนปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ เพียง 2.2 ตันต่อคนเท่านั้น
องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) รายงานปิดท้ายว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่วัดได้ในปี 2551 พุ่งระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกประสบความล้มเหลวในการลดภาวะโลกร้อน สนธิสัญญาเกียวโตที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำลังจะหมดอายุในปี 2555 ก็ไม่ช่วยทำให้การปล่อยก๊าซพิษลดลงได้
รัฐบาลเกือบทุกประเทศไม่เคยสนใจต้นทุนสิ่งแวดล้อม และไม่สนใจว่าค่าใช้จ่าย ค่าชดใช้ ค่าชดเชยความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ที่เกิดจากภาวะโลกร้อนในแต่ละปีนั้น อาจเป็นตัวเลขที่มากกว่ากำไรจากการขยายอุตสาหกรรมแบบทำร้ายธรรมชาติก็ได้
สตอร์ม เซิร์จ : คลื่นพายุหมุน
ช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายนปีที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑลนอนหลับไม่ค่อยสนิท หลังจากสื่อมวลชนเผยแพร่ข้อมูลของ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติ ที่คาดการณ์ว่าปลายปี 2551 น้ำทะเลจะยกตัวสูงขึ้นจนท่วม จ.สมุทรปราการ กรุงเทพฯ และสมุทรสาคร ซึ่งเกิดจาก "สตอร์ม เซิร์จ" (Storm surge) หรือคลื่นซัดฝั่งอันเนื่องมาจากพายุไต้ฝุ่นเขตร้อนที่บริเวณอ่าวไทยรูปตัว "ก"
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ปรุงจันทร์ วงศ์วิเศษ ทีมวิจัยด้านแบบจำลองสภาพภูมิอากาศจากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ออกมายืนยันว่า สตอร์ม เซิร์จ ในอ่าวไทยเกิดได้ยากมาก เนื่องจากลักษณะทางกายภาพที่ค่อนข้างแคบ พายุที่เข้ามาถึงอ่าวไทยจึงไม่รุนแรง เป็นเพียงพายุดีเปรสชั่นเท่านั้น เช่นเดียวกับ ดร.วัฒนา กันบัว ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาทางทะเล ที่ออกมาบอกว่าโอกาสจะเกิดสตอร์ม เซิร์จ ในอ่าวไทยมีแค่ 2% เท่านั้น ทำให้ชาวกรุงเทพฯ หายใจโล่งอกขึ้น
สำรองเมล็ดพันธุ์ข้าวไทย...ป้องภัยโลกร้อน
"ประเสริฐ โกศัลวิตร" อธิบดีกรมการข้าว ยอมรับว่า การระบาดของแมลงในนาข้าวมีถี่ขึ้นในทุกภาค และภัยธรรมชาติร้ายแรงขึ้นทุกปี ทุกฝ่ายรู้สึกกังวล เพราะไม่รู้ว่าสาเหตุหลักเกิดจากอะไรกันแน่ หากภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องจริง ประเทศไทยต้องเริ่มสำรองเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อความมั่นคงของชาติ เนื่องจากคนไทยมีอาชีพทำนามากกว่า 3.7 ล้านครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกข้าวปีละกว่า 60 ล้านไร่
ขณะที่ ชาวนาบางกลุ่มนิยมปลูกข้าวเพียงไม่กี่สายพันธุ์ในพื้นที่เดียวกัน โดยเฉพาะภาคอีสานที่นิยมปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวเหนียว กข. 6 ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าว โดยเฉพาะโรคไหม้และเพลี้ยกระโดด การระบาดที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะควบคุมได้ หากปล่อยให้ผลผลิตข้าวเสียหายสะสมไปเรื่อยๆ ไทยอาจเผชิญภาวะขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวได้
โครงการสำรองเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อความมั่นคงแห่งชาติถือเป็นหลักประกัน หากปีใดพื้นที่นาข้าวเกิดมหันตภัยธรรมชาติ เมล็ดพันธุ์ข้าวเหล่านี้จะถูกนำมาช่วยเหลือฟื้นฟูศักยภาพของชาวนาได้ทันท่วงที โดยปีงบประมาณ 2552 กรมการข้าวจะดำเนินการผลิตและสำรองเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีสายพันธุ์ต่างๆ ประมาณ 3,155 ตัน
นาซาวิจัย "เมฆ" ทำอากาศแปรปรวน
ดร.แมทท์ โรเจอร์ส นักวิจัยโครงการดาวเทียมคลาวด์แซต (CloudSat) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ให้ข้อมูลว่า คาร์บอนไดออกไซด์ที่ทุกคนมองว่าเป็นตัวการร้ายทำให้ภูมิอากาศโลกแปรปรวนนั้น ที่จริงแล้วมีตัวการที่ร้ายกว่าคือ "เมฆ" หรือละอองน้ำบนฟ้านั่นเอง
จากการที่นาซาส่งดาวเทียมคลาวด์แซตขึ้นไปในปี 2549 ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลใหม่ จากเดิมที่เข้าใจกันว่าน้ำจากมหาสมุทรระเหยสู่ชั้นบรรยากาศ 8% แต่ข้อมูลดาวเทียมที่เก็บทุกเดือนระบุตัวเลขใหม่คือ 13% และยังพบว่าเมฆมีผลกระทบต่อโลกเยอะกว่าคาร์บอนไดออกไซด์มาก โดยเมฆชั้นต่ำช่วยทำให้โลกเย็น ส่วนเมฆชั้นสูงช่วยทำให้โลกอบอุ่น การเปลี่ยนแปลงของเมฆทั้งสองมีผลต่ออุณหภูมิโลก แต่การเปลี่ยนแปลงของคาร์บอนไดออกไซด์ก็มีผลต่อการเกิดเมฆด้วย
ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี หัวหน้าโครงการและนักวิทยาศาสตร์ที่ปรึกษาโครงการคลาวด์แซต สสวท. บอกว่า ไอน้ำเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน และเมฆยังเป็นที่มาของการเกิดพายุด้วย จากการศึกษาป่าเมฆต้นน้ำพบว่า น้ำจากป่าเมฆเกิดจากการจับละอองฝนของพืชจำพวกมอสและเฟิร์น ลักษณะฝนในป่าจึงไม่ใช่ฝนแนวดิ่งเหมือนฝนตกทั่วๆ ไป แต่เป็นฝนแนวราบที่เกิดจากเมฆถูกพัดเข้าป่า แล้วมอสและเฟิร์นจับละอองน้ำไว้ ถ้าเมฆหายมอสและเฟิร์นก็จะตายหมด และเมื่อเมฆไม่ถูกสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จับไว้ก็จะไหลไปรวมกันที่อื่น แล้วก่อตัวเป็นพายุและตกหนักที่อื่น
สนธิสัญญาลดโลกร้อนเหลว
เมื่อวันที่ 1-12 ธันวาคม 2551 ตัวแทนจาก 192 ประเทศทั่วโลกเดินทางไปยังประเทศโปแลนด์ เพื่อเข้าร่วมการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประจำปีของสหประชาชาติ ครั้งที่ 14 ผลปรากฏว่าแต่ละประเทศไม่สามารถสรุปข้อตกลงร่วมกันในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุสำคัญของโลกร้อนได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์หวั่นเกรงว่า หากยังไม่สามารถร่วมมือกันลดโลกร้อน ที่ดำเนินการอย่างจริงจัง ระบบภูมิอากาศโลกจะเกิดความแปรปรวนจนเกิดเป็นวิกฤติภัยธรรมชาติมากกว่าปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม นายบารัก โอบามา ที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 20 มกราคม 2552 ประกาศว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหรัฐให้ลดลง 80% โดยเน้นการใช้พลังงานหมุนเวียน ขณะที่ นายเควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย หนึ่งในประเทศที่อยู่ในทวีปซึ่งร้อนและแห้งแล้งก็ยืนยันว่าอีก 12 ปีข้างหน้าออสเตรเลียต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 5-15
จาก : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 6 มกราคม 2552
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #252 เมื่อ: มกราคม 15, 2009, 02:05:33 AM » |
|
เตือนอันตรายแฝงเร้นโลกร้อน แนะเร่งลดปล่อยก๊าซเหลือศูนย์
รายงานของสถาบันเวิร์ลด์วอทช์ที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 13 มกราคมระบุว่า ในการหลีกเลี่ยงหายนะที่เกิดจากภาวะโลกร้อน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโลกจะต้องลดลงมาอยู่ที่ระดับเกือบศูนย์ก่อนปี 2593 ซึ่งเป็นระดับที่เกินกว่าข้อเรียกร้องของผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศและผู้กำหนดนโยบายหลายราย
การจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีจุดประสงค์เพื่อรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียส (3.6 องศาฟาห์เรนไฮท์) จากระดับเมื่อยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่วิลเลียม แฮร์ หนึ่งในผู้เขียนรายงาน "ภาวะของโลกในปี 2552" ของเวิร์ลด์วอทช์ระบุว่า แม้แต่ระดับดังกล่าวก็ยังอันตรายเกินไปโดยจะมีความเสี่ยงบางอย่างหลบซ่อนอยู่
แฮร์ระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 0.8 องศาเซลเซียส (1.4 องศาฟาเรนไฮต์) นับตั้งแต่ปี 2393 ดังนั้น การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากเป็นเรื่องจำเป็น เขาระบุว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกควรจะถึงระดับสูงสุดก่อนปี 2563 และจะต้องลดลงจากระดับที่ปล่อยเมื่อปี 2533 ให้ได้ 85 เปอร์เซ็นต์ก่อนหน้าปี 2593 และจะต้องลดลงเรื่อยๆ หลังจากนั้น และควรจะต้องมีระดับความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าที่ปล่อยออกมาให้ได้หลังจากปี 2593 เป็นต้นไป (รอยเตอร์)
จาก : มติชน วันที่ 15 มกราคม 2552
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #253 เมื่อ: มกราคม 18, 2009, 02:27:10 AM » |
|
REDD! ถึงคราไทยเลิกตามก้นฝรั่ง "ชูป่าชุมชน-เกษตรยั่งยืน" ขึ้นเวทีโลกร้อน
การเจรจาตามแผนบาหลี โรดแมฟ เพื่อจัดทำกติกาโลกฉบับใหม่เพื่อการแก้ไขจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัญหาวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่ทั่วทุกมุมโลกเผชิญอยู่ในขณะนี้ ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Reducing Emission from Deforestation and Degradation in Developing Countries (REDD) เป็นอีกประเด็นที่มีการเจรจาของประเทศต่างๆ อย่างเข้มข้น เพราะจากการศึกษาของ UNFCCC พบว่า การทำลายป่าปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก คิดเป็นร้อยละ 20 ของการปลดปล่อยทั้งโลก ซึ่งหัวใจสำคัญการแก้ปัญหาโลกร้อนต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อรักษาระดับของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
REDD ที่มีแนวคิดลดการทำลายป่า ฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของผืนป่า และดูแลรักษาให้อุดมสมบูรณ์ เป็นอีกโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหา สำหรับประเทศไทยที่อยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและมีท่าทีสนับสนุนต่อเรื่อง REDD หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่าเริ่มลงมือเรื่อง REDD แล้ว โดยได้จัดทำข้อเสนอโครงการต่อธนาคารโลกเมื่อธันวาคมปี พ.ศ.2551 ที่ผ่านมา เพื่อขอเงินสนับสนุนเตรียมความพร้อมที่จะทำเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม จากการประชุมนำเสนอ (ร่าง) รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่อง "การศึกษาติดตามการเจรจา เรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้ในประเทศกำลังพัฒนา (REDD) ในเวทีการเจรจาเรื่องโลกร้อนและนัยสำคัญต่อประเทศไทย" ที่จัดโดยชุดโครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมและยุทธศาสตร์โลกร้อน สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ นอกจากนำเสนอรายงานผลการศึกษาเรื่อง REDD ของ ผศ.ดร.ลดาวัลย์ พวงจิตร์ นักวิจัยชุดโครงการฯ แล้ว ได้มีนักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยที่ประชุมนี้มองเห็นร่วมกันว่า หากทำ REDD ต้องทำคำนิยามป่าของประเทศไทยให้มีความชัดเจน ป่าไม่ใช่แค่แหล่งดูดซับคาร์บอน แต่มีความเชื่อมโยงวิถีชีวิต ชุมชน ความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ประโยชน์ไม่ได้จำกัดแค่ตัวเงินเท่านั้น
สมศักดิ์ สุขวงศ์ นักวิชาการศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC) มองว่า คำนิยามป่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของไทย ซึ่งทำโดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพรรณพืช หรือกรมป่าไม้เดิม ไม่เหมาะสมกับการทำ REDD การที่ตั้งคำนิยามป่าไม้ว่า เป็นพื้นที่ที่มีเรือนยอดปกคลุมผิวดินถึง 30% จะทำให้ป่าในเขตอนุรักษ์ ซึ่งมีต้นไม้ขึ้นหนาทึบเท่านั้นที่สามารถทำ REDD ได้ ทั้งที่ภาคการเกษตรที่ยั่งยืน เช่น ป่าวนเกษตร ป่าชุมชน ป่าหัวไร่ปลายนา เกษตรผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ หรือแม้กระทั่งไร่หมุนเวียน ถ้ามีการจัดการที่ดีก็เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนได้เช่นกัน ถือเป็นป่าประเภทหนึ่ง ก็ควรจะอยู่ในคำนิยามป่าไม้ด้วย การนิยามป่าไม้ควรใช้การจัดเก็บคาร์บอนเป็นหลัก อย่างไร่หมุนเวียนมีการศึกษาแล้วสามารถเก็บคาร์บอนได้ 5 ตัน ต่อไร่ต่อปี สวนทางกับความเข้าใจของสังคมว่า การปลูกพืชแบบนี้ทำลายป่า แต่จริงๆ วิถีนี้รักษาระดับคาร์บอนได้
"รู้สึกผิดหวัง เราเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่กลับตั้งคำนิยามป่าไม้ไว้สูง ใช้ Maxima เรือนยอดปกคลุมตามคำจำกัดความของ UNFCC ทั้งที่ควรจะตั้งให้ต่ำไว้ เพียงแค่ 10% ก็พอ เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ เพื่อให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของเรา แต่ถ้าเป็นคำนิยามที่ใช้อยู่ตอนนี้ จะเป็นการจำกัดผู้ขายผู้ซื้อ ก็คือ กรมอุทยานฯ ที่มีป่าผืนใหญ่ ทำ REDD ตามก้นฝรั่งแบบนี้ไม่ได้ประโยชน์ ปิดกั้นการมีส่วนร่วมชุมชน ในเวทีเจรจาโลกร้อน อินเดียเคลื่อนไหวขอแก้คำนิยามป่าไม้ ลดเปอร์เซ็นต์เรือนยอดปกคลุมและขนาดพื้นที่ให้เล็กลง เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยทำ REDD ได้"
อาจารย์สมศักดิ์ขยายความว่า ป่าชุมชนเป็นทางเลือกที่ดีในการลดโลกร้อนด้วยโครงการ REDD เพราะชาวบ้าน เกษตรกรได้รวมผืนป่าที่ถูกทำลาย พลิกฟื้นให้เกิดเป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์อีกครั้ง ขณะเดียวกันก็มีความมั่นคงทางอาหาร ชาวบ้านสามารถยังชีพเก็บหาของป่ากินได้ตามฤดูกาล เช่นเดียวกับเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีการทำเกษตรอินทรีย์ นอกจากต้นไม้ที่ช่วยกักเก็บคาร์บอน ในดินเองก็ดูดซับคาร์บอนเยอะ ในสหรัฐอเมริกามีการขายคาร์บอนเครดิตจากพื้นที่เกษตรกรรม ราคาประมาณ 12 เหรียญต่อตัน ประเทศซึ่งพัฒนาแล้วจะมุ่งขายคาร์บอนเครดิตจาก Organic Farming มากกว่าพื้นที่ป่าไม้ ตนมองว่าการเกษตรที่ยั่งยืนจะเป็นกุญแจสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในวันข้างหน้า รวมทั้งลดโลกร้อน ลดการปล่อยคาร์บอน เกษตรกรได้เงินสนับสนุน และช่วยรักษาความยั่งยืนของวิถีชุมชน ระบบนิเวศ
ด้าน ศจินทร์ ประชาสันติ์ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) และสมาชิกเครือข่ายลดโลกด้วยโลกที่เป็นธรรม มองว่า ถ้าโครงการ REDD ไม่ได้รับการออกแบบมาให้เข้ากับบริบทป่าเขตร้อนที่มีความเชื่อมโยงกับชุมชน ใช้ป่าตอบสนองกับการลดก๊าซ หวังได้รับผลตอบแทนเป็นเงินจากการขายโควตาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือเงินจากแหล่งทุน REED อาจจะทำให้ปัญหาป่าไม้ประเทศไทยมีความซับซ้อนมากกว่าที่เป็นอยู่
"เราต้องการ REDD ที่ดูเรื่องวิถีชีวิตชาวบ้าน ไม่ใช่ดูเฉพาะการอนุรักษ์ป่า ห่วงจะสูญเสียสิทธิชุมชนในการใช้ประโยชน์จากป่า จะทำให้ชาวบ้านหรือชุมชนที่พึ่งพิงป่า แต่ไม่มีเอกสารสิทธิถูกกันออกจากพื้นที่หรือเปล่า เพราะที่ผ่านมาแนวคิดการจัดการป่ามีแนวโน้มแยกคนกับป่าออกจากกัน ทั้งที่ชุมชนใช้ประโยชน์จากป่าอย่างจำกัด และนำมาสู่การอนุรักษ์ ทำให้ป่าอยู่ได้ด้วยซ้ำ ถ้ากระบวนการรับ REDD ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นจะซ้ำรอยปัญหาเดิม"
นักพัฒนาเอกชนหญิงเห็นว่า เราจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องสาเหตุและผลกระทบในมุมมองของประเทศไทย ปัญหาป่าไม้บ้านเรายังแก้ไม่ตรงจุด ถ้าย้อนดูปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าที่ผ่านมาจะพบว่า การทำลายป่ามาจากนโยบายการจัดการป่าไม้ที่หละหลวม และขาดประสิทธิภาพ การที่ไทยจะเข้าร่วมโครงการ REDD หรือไม่นั้น เห็นว่าจะเป็นโอกาสผลักดันให้ภาครัฐยกเครื่องนโยบายด้านป่าไม้ให้มีความเข้มแข็งควบคู่กับการจัดการที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ ศจินทร์มองว่า การแก้ปัญหาโลกร้อนต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม ประเทศพัฒนาแล้วเป็นตัวการหลักในการปล่อยก๊าซ แต่ประเทศกำลังพัฒนา ประเทศยากจน คนชนบท ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าถูกเอาเปรียบ แทนที่ประเทศพัฒนาจะลดการบริโภคพลังงาน ลดการผลิต กลับทำต่อไปได้ ไม่ต้องลดประเทศตนเอง แต่สามารถเอาเงินมาซื้อขายก๊าซคาร์บอน มองว่าเป็นการใช้เงินแลกเปลี่ยนกับฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน สิ่งที่ควรทำคือถามชุมชนว่าต้องการสิทธิในการจัดการฐานทรัพยากรหรือต้องการเงิน ซึ่งตรงนี้จะทำให้ทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม
สำหรับผลกระทบของ REDD ที่มีต่อประเทศไทยนั้น ผศ.ดร.ลดาวัลย์ พวงจิตร คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสาตร์ หนึ่งในนักวิจัยที่ติดตามการเจรจาเรื่อง REDD ในเวทีเรื่องโลกร้อน มองว่า ชุมชมอาจได้รับผลกระทบจากการใช้ประโยชน์จากป่า เพราะเมื่อเข้าโครงการแล้ว การดูแลรักษาป่าจะเข้มงวดยิ่งขึ้น ส่งผลต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านที่อาศัยผลผลิตจากป่าในการดำรงชีวิต รวมทั้งเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอาจะได้รับผลกระทบไม่สามารถใช้พื้นที่ป่า อย่างไรก็ตาม ในแง่บวกไทยจะมีส่วนร่วมกับประชาคมโลกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีงบประมาณในการดูแลรักษาป่าเพิ่มขึ้น และถ้าเข้ากลไกจะเกิดการบริหารจัดการป่าที่โปร่งใส
ในการประชุมนี้ อาจารย์ลดาวัลย์ยังอธิบายด้วยว่า มีข้อเสนอเกี่ยวกับขนาดของโครงการ REDD จากประเทศต่างๆ อยู่หลายแนวคิด คือ REDD ในระดับประเทศ จัดเป็นโครงการขนาดใหญ่ แต่ติดตามประเมินผลทำได้ยาก ถัดมาเป็นระดับเอกชนและชุมชน จะทำได้ง่ายกว่า แต่แนวคิดนี้ยังมีผู้คัดค้าน เพราะเกรงว่าอาจเกิดการรั่วไหลในระดับประเทศ เช่น ไทยเสนอโครงการดูแลรักษาป่าในพื้นที่ภาคอีสาน แต่มีการใช้ประโยชน์ใช้ที่ดินในภาคอื่น จริงๆ ประเด็นนี้ในระดับประเทศก็เช่นกัน ไทยอาจจะดูแลป่าของประเทศตัวเอง แล้วไปใช้ประโยชน์จากผืนป่าไม้ของลาวแทน เพราะลาวไม่ได้เข้าร่วมโครงการ แนวคิดสุดท้ายเป็นการผสมผสานระหว่างสองแนวคิดข้างต้น
ขณะที่ด้านการเงินก็มีแนวคิดการให้เงินสนับสนุน ซึ่งแหล่งเงินทุนใหญ่ คือ กองทุน Forest Carbon Partnership Facility (FCPF) ของธนาคารโลก มีหลายกลุ่มประเทศที่ได้รับการสนับสนุนการเตรียมความพร้อมทำ REDD จากธนาคารโลกไปแล้ว แหล่งทุนอื่นๆ ก็มีนอร์เวย์ ที่ประกาศให้เงิน 600 ล้านเหรียญสนับสนุนกิจกรรมเริ่มต้น REDD ออสเตรเลียให้ปาปัวนิวกินีและอินโดนีเซีย อังกฤษและนอร์เวยให้เงินสนับสนุนการรักษาป่าแถบที่ลุ่มคองโก อีกโครงการของนอร์เวย์ให้บราซิล 1 พันล้านเหรียญทำ REDD ถึงปี พ.ศ.2558
จะสังเกตได้ว่า ประเทศที่มีป่าไม้มาก และมีการทำลายป่าสูง จะได้รับความสนใจจากแหล่งทุนมากกว่า ประเทศขนาดเล็กที่มีพื้นที่ป่าน้อย ก็เรียกร้องกันให้มีความเสมอภาคในทุกประเทศ อีกวิธีด้านการเงินเป็นการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ด้านวิธีการสำรวจก็ใช้เทคนิคการสำรวจระยะใกล้ควบคู่กับการสำรวจภาคพื้นดิน มีการประเมินการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนในป่า การเพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่งข้อมูลจะแม่นยำหรือไม่ขึ้นกับเทคโนโลยีที่ใช้และงบประมาณ ในประเทศกำลังพัฒนาต้องเร่งสร้างศักยภาพถ้าจะเข้าโครงการ
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ยังต้องมีการเจรจาอีกมากที่เกี่ยวข้องกับประเทศเจ้าบ้านที่สนใจร่วมโครงการ เวทีโลกเน้นให้มีนโยบายที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ป่า ทั้งการควบคุมราคาและผลผลิตของสินค้าจากป่า เพราะถ้าสินค้าป่ามีราคาสูงจะจูงใจให้คนเอาของป่ามาขาย รวมทั้งการเพิ่มภาษี ลดการส่งออกสินค้าจากป่า ต้องควบคุมการพัฒนาที่ส่งผลต่อพื้นที่ป่า เช่น การสร้างถนน สร้างเขื่อน แม้แต่การประกาศเขตพื้นที่อนุรักษ์เพิ่มขึ้น หรือการให้เงินตอบแทนแต่ละชุมชนถ้ามีการรักษาป่า
"ความถาวรเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ถกเถียงกัน เพราะ REDD เป็นการดูแล ฟื้นฟูป่า ถ้าโครงการจบลง แล้วหลังจากนั้นการปล่อยก๊าซจะมีอยู่หรือเปล่า ถ้าลดก๊าซได้เพียงชั่วคราว แสดงว่าเป็นโครงการไม่ยั่งยืน" นักวิจัยผู้นี้กล่าว และให้ข้อมูลว่าสิ่งที่ REDD ให้ความสำคัญนอกจากความถาวรของโครงการแล้ว ยังเน้นความสมัครใจของประเทศที่เข้าร่วมโครงการ เอกราชของพื้นที่เจ้าของประเทศ ไม่กระทบชุมชนท้องถิ่น รวมถึงความเสมอภาคและยุติธรรม.
จาก : ไทยโพสต์ วันที่ 18 มกราคม 2552
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
|
|