กระดานข่าว Save Our Sea.net
ธันวาคม 26, 2024, 07:55:43 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธนาคารปะการัง เพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน  (อ่าน 4304 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: เมษายน 01, 2008, 01:17:00 AM »


ธนาคารปะการัง เพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน


ชายหาดเกาะหวาย ที่มีการทดลองปลูกปะการังอยู่ในพื้นที่อ่าวแห่งนี้
 
       แม้ทะเลไทยจะได้ชื่อว่าสวยงามและโด่งดังไปไกลทั่วโลก แต่ในวันนี้สภาพการณ์ของท้องทะเลไทยหลายๆแห่งกลับตกอยู่ในสภาวะน่าเป็นห่วง ทั้งทรัพยากรชายฝั่ง ใต้น้ำ รวมไปถึง “ปะการัง” หนึ่งในทรัพยากรสำคัญแห่งท้องทะเล ที่ปัจจุบันปะการังบ้านเราถูกทำลายลงไปเป็นจำนวนมากจากหลายๆปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การทำประมงผิดวิธี การถูกทำลายจากนักท่องเที่ยวทั้งที่ตั้งใจและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การทิ้งขยะ-น้ำเสียลงทะเล สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ภัยธรรมชาติ(ดังกรณีสึนามิ)ฯลฯ นอกจากนี้สภาวะโลกร้อนที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในทุกวันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเสื่อมสภาพของปะการัง
       
       ด้วยเหตุนี้ทางมูลนิธิวัฒนธรรมและการศึกษานานาชาติ(International Cultural and Education Foundation : ICEF) โดย ดร.คริสโตเฟอร์ คิม (ดร.คิม) ผู้ก่อตั้งมูลนิธิฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูแนวปะการังใต้ท้องทะเล จึงได้ร่วมมือกับ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน(อพท.)และอีกหลายหน่วยงาน จัดทำ “โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน”ขึ้น ซึ่งทาง ICEF และ อพท. ได้ทำการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมไปเมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา
       
       ทั้งนี้ ดร.คิม ผู้ก่อตั้ง ICEF ได้เปิดเผยถึงที่มาของโครงการนี้ว่า เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาการทำงานของ ICEF ที่เน้นในการทำประโยชน์สุขต่อสังคม ต่อสาธารณะ ซึ่งหลังจากได้รับรู้ถึงสภาพความเสื่อมโทรมของแนวปะการังหลายๆจุดในหมู่เกาะช้าง และในอ่าวเกาะหวายที่ตนมีโอกาสได้มาสัมผัสโดยตรง จึงคิดว่าน่าจะทำโครงการเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางทะเลขึ้นมาในบริเวณ เกาะหวาย ปะการัง รีสอร์ท อันเป็นที่ดินที่ได้ครอบครองมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2548
       
       ดร.คิม เล่าต่อว่า ช่วงแรกของการฟื้นฟูก็เป็นไปในแนวทางทั่วไป อาทิ การทำความสะอาดพื้นที่ การเก็บขยะในทะเล ในป่า และหน้าหาด ไปทิ้งบนฝั่ง จนต่อมาได้มีโอกาสรู้จักกับ อาจารย์ประสาน แสงไพบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์สัตว์น้ำ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ซึ่งเชี่ยวชาญในเรื่องการอนุรักษ์ปะการัง และเป็นผู้ริเริ่มการปลูกปะการังในท่อพีวีซี

   
นำกิ่งปะการังกิ่งเล็กจากต้นแม่พันธุ์มายึดในท่อพีวีซี จากนั้นจึงนำไปยึดในแปลงพีวีซีแล้วนำไปปลูกใต้ทะเลต่อไป   
 
       หลังจากนั้นทาง ICEF กับ อ.ประสาน จึงร่วมมือกันจัดทำโครงการทดลองปลูกปะการังขึ้นในราวปี 2549 ซึ่ง สุพรชัย สุทธิมาก ผู้จัดการโครงการนี้ได้เปิดเผยว่า ช่วงแรกของการเข้ามาอยู่เกาะหวาย(ปี 48) บนเกาะนี้มีขยะอยู่เกลื่อนไปหมด ทั้งบนบกและในทะเล ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้ง แมลงวันก็เยอะ จึงต้องใช้เวลา 6 เดือนแรกที่มาอยู่บนเกาะหวายให้คนงานเก็บขยะอย่างเดียว
       
       “หลังเก็บขยะทำความสะอาดเราก็เริ่มโครงการทดลองปลูกปะการังขึ้นในปี 2549 ที่บริเวณอ่าวบริเวณหน้าเกาะหวาย ปะการัง รีสอร์ท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมเต็มไปด้วยซากปะการัง ผิดกับในอดีตที่ปะการังบริเวณนี้สมบูรณ์สวยงาม” สุพรชัย เล่าความหลังให้ฟัง
       
       สำหรับ อ.ประสาน แสงไพบูลย์ ผู้มีบทบาทสำคัญในโครงการปลูกปะการัง เท้าความถึงที่มาของโครงการปลูกปะการังในท่อพีวีซี ว่า เมื่อมนุษย์สามารถขยายพันธุ์ต้นไม้ได้ก็น่าจะขยายพันธุ์ปะการังได้ จึงได้ทำการทดลองเพาะเลี้ยงปะการังที่อยู่ในสภาพแตกหักด้วยท่อพีวีซีขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกใน ปี พ.ศ. 2538 ณ บริเวณหาดแสมสาร ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ซึ่งก่อนหน้านั้นตนได้คิดค้นหาวิธีการปลูกปะการัง และวัสดุที่ใช้รองรับคล้ายกระถางในการปลูกพืชมาอย่างหลากหลาย แต่สุดท้ายก็มาลงตัวที่ท่อพีวีซี
       
       “ที่ผ่านมามีคนตั้งคำถาม วิพากษ์ วิจารณ์มากมายเกี่ยวกับการปลูกปะการังในท่อพีวีซี แต่จากการทดลองพบว่า พีวีซีมีคุณสมบัติที่ดีที่สุด คงทน อยู่ได้นาน ประหยัด ทำง่าย และสามารถนำแปลงพีวีซีเพาะปะการังนำกลับมาใช้ได้หลายหน ในขณะที่วัสดุอื่นที่ดูกลมกลืนกับธรรมชาติอย่างไม้ไผ่ ดินเผา กลับมีปัญหาต่อการปลูกปะการัง ไม้ไผ่ปลูกแล้วผุกร่อนง่าย ส่วนดินเผาแตกหักง่าย ที่สำคัญคือ เท่าที่ทดลองมาพบว่าปะการังจะไม่เกาะ ไม่เติบโตในวัสดุใดๆได้ดีเท่ากับพีวีซีที่ถือว่ามีความเสถียร เมื่อนำไปขยายพันธุ์ในทะเล ไม่เพียงปะการังเท่านั้นที่เติบโต แต่พีวีซียังเป็นวัสดุที่มีหอย ฟองน้ำ และตัวอ่อนของสัตว์อื่นๆมาเกาะ อาศัยอยู่เร็วที่สุดหากเทียบกับวัสดุอื่นๆ”

   
นักดำน้ำนำแปลงปะการังพีวีซีไปปลูกใต้ทะเลอ่าวเกาะหวาย    
 
       อ.ประสาน อธิบาย ถึงข้อดีของพีวีซีในการปลูกปะการัง ซึ่งปัจจุบันแนวคิดนี้มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่สำหรับ อ.ประสาน เขายังคงเดินหน้าทำการวิจัย ทดลอง และพิสูจน์ให้เห็นว่ามนุษย์สามารถทำการขยายพันธุ์ปะการังในท่อพีวีซีได้ โดยหลังเริ่มทดลองปลูกอย่างจริงจัง ต่อมาเขาได้ทำการปลูกและอนุบาลปะการังเขากวางขึ้นในปี 2541 ก่อนจะจัดตั้งเป็นโครงการขยายพันธุ์ปะการังจำนวน 10,000 ต้นขึ้นในปี 2546 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีปะการังเพียงพอในการฟื้นท้องทะเลไทยและเก็บบางส่วนไว้เป็นต้นพันธุ์สำหรับการขยายพันธุ์ต่อไป
       
       “มีหลายๆคนแสดงความเป็นห่วงท้วงติงว่า มนุษย์ไม่น่าที่จะปลูกปะการังแต่น่าที่จะปล่อยธรรมชาติคอยฟื้นฟูปะการังที่เสียหายเสื่อมโทรมด้วยตัวของมันเอง ซึ่งสำหรับผมเห็นว่ากว่าจะรอให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวของมันเองก็คงไม่ทันการณ์ เพราะปัจจุบันการทำลายสิ่งแวดล้อมของมนุษย์นั้นอยู่ในขั้นรุนแรงและรวดเร็ว ฉะนั้นการปลูกปะการังจึงเป็นการช่วยเร่งให้ปะการังฟื้นตัวและขยายพันธุ์มากขึ้น จะว่าไปมันก็เป็นแนวทางเดียวการปลูกป่าที่มนุษย์เป็นตัวช่วยเร่งการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้โลก”
       
       หลังจากทำการทดลองปลูกปะการังในท่อพีวีซี จนมีชื่อเสียงและมีคนยอมรับ อ.ประสานกับทีมงานนักวิจัยและลูกศิษย์ จึงได้ร่วมกับ ICEF ทำการทดลองปลูกปะการังในสถานที่จริง(นอกแปลงทดลอง)ขึ้นที่อ่าวหน้าเกาะหวายปะการัง รีสอร์ท แห่งเกาะหวาย หมู่เกาะช้าง จ.ตราด โดยการขยายพันธุ์ปะการังในแปลงพีวีซีในขั้นต้นนี้จะเลือกขยายพันธุ์เฉพาะแต่ปะการังเขากวางเท่านั้น

   
ภาพแสดงพัฒนาการเติบโตของปะการังจากการปลูกด้วยพีวีซีที่เกาะหวาย 
 
       “อันที่จริงจากการทดลอง ณ วันนี้ นอกจากปะการังเขากวางแล้ว ยังมีปะการังอีกหลายชนิดสามารถขยายพันธุ์ได้ดีในท่อพีวีซี แต่เหตุที่เลือกปลูกเฉพาะปะการังเขากวาง เพราะนี่เป็นปะการังนำร่อง เนื่องจากปะการังเขากวางสามารถเติบโตขยายพันธุ์ด้วยตัวมันเองได้เร็ว เมื่อปะการังเขากวางโต ก็จะมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น ปู ปลา กุ้ง หอย เข้ามาอยู่อาศัย นอกจากนี้การเติบโตของปะการังเขากวางยังกระตุ้นให้ปะการังชนิดอื่นในพื้นเติบโตตามอีกด้วย โดยปะการังเขากวาง 1 ต้น สามารถขยายพันธุ์เพิ่มได้ถึง 28-30 ต้น เลยทีเดียว”
       
       อ.ประสานกล่าว พร้อมกับบอกว่า สำหรับการแปลงทดลองขยายพันธุ์ปะการังในท่อพีวีซีที่เกาะหวายมี 2 แบบ คือแปลงกิ่งพันธุ์เพื่อการฟื้นฟู จะมี 43 ต้นต่อแปลง และแปลงกิ่งพันธุ์ที่ใช้เป็นแม่พันธุ์จะมี 14 ต้นต่อแปลง ซึ่งการปลูกปะการังในท่อพีวีซีนั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆ เริ่มจากการนำปะการังขึ้นมาจากแปลงอนุบาล แล้วตัดหรือหักกิ่งปะการัง(กิ่งเล็กๆ)ที่จะใช้ขยายพันธุ์ ทำรหัสประจำปะการัง(เพื่อใช้ในการสืบค้นในอนาคต) จากนั้นจึงปักกิ่งปะการังในท่อพีวีซีแล้วทำการยึดด้วยน้อต ก่อนนำไปยึดในแปลงพีวีซี แล้วจึงให้นักดำน้ำนำไปจัดเรียงและปลูกใต้ท้องทะเลต่อไป
       
       และด้วยความที่อ่าวหน้าเกาะหวาย ปะการังฯ มีสภาพน้ำใส สะอาด อุณหภูมิเหมาะสม คลื่นลมไม่แรง จึงทำให้แปลงปะการังเขากวางที่ปลูก ได้ผลเติบโตสมบูรณ์เกิดคาด โดยระยะเวลา 2 ปีที่ปลูก ปะการังจะโตเฉลี่ยถึงราวๆ 1 ฟุต ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สุพรชัย(ผู้จัดการโครงการ)และ อ.ประสานมีความคิดว่า ในอนาคตอันใกล้นี้น่าที่จะมีการจัดทำโครงการธนาคารปะการัง(Coral Bank)ขึ้น โดยใช้ปะการังจากแปลงที่เกาะหวายและที่หาดแสมสาร เพื่อใช้สำหรับการทดลองขยายพันธุ์ตามพื้นที่ต่างๆทั้งในพื้นที่และต่างพื้นที่

   
อ.ประสาน แสดงต้นปะการังที่เติบโตขึ้นใน 2 ปีจากการปลูกในท่อพีวีซี(จุดที่ชี้คือแนวกิ่งปะการังที่เติบโตขึ้นจากเมื่อครั้งแรกปลูก)  
 
       “เมื่อมีธนาคารปะการังเกิดขึ้น ใครที่ต้องการทดลองขยายพันธุ์ปะการังขอสามารถติดต่อขอมาได้ แต่เมื่อนำปะการังที่เพาะไว้ไปปลูกทางฝั่งอันดามันหรือพื้นที่อื่นๆ บางทีอาจจะไม่เติบโต หรืออาจจะเติบโตได้ดีกว่าทะเลทางเกาะช้างก็ได้ เพราะมันมีสภาพพื้นที่ต่างกัน ซึ่งหากใครจะนำไปปลูกควรทำการศึกษาวิจัยสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้นเสียก่อน”สุพรชัยกล่าว
       
       นอกจากการขยายพันธุ์ปะการังแล้ว โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ฯ ยังมีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางทะเลอีกหลายอย่าง อาทิ การอนุบาลสัตว์น้ำหายาก การปล่อยเต่าทะเล ปลาการ์ตูน หอยเป๋าฮื้อ ดอกไม้ทะเล และอื่นๆ รวมไปถึงการจัดสร้างศูนย์เพื่อการศึกษาเรียนรู้ทรัพยากรทางทะเลขึ้น
       
       สำหรับศูนย์แห่งนี้เป็นอาคาร 8 เหลี่ยม เปิดโล่ง อันถือเป็นสัญลักษณ์ใหม่แห่งเกาะหวาย สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ อบรม จัดนิทรรศการ อบรม และให้ข้อมูลต่างเกี่ยวกับทรัพการทางทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่อุทยานฯ นักวิชาการ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ดำน้ำ นักท่องเที่ยว เยาวชน และประชาชนที่สนใจ

   
ศูนย์เรียนรู้ทรัพยากรทางทะเล เกาะหวาย เพื่อการปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทะเลต่อนักท่องเที่ยว 
 
       โดย วรสิทธิ์ โรจนพานิช ผู้อำนวยการ อพท. กล่าวว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทางอพท. จึงให้การสนับสนุนการจัดสร้างศูนย์เพื่อการศึกษาเรียนรู้ทรัพยากรทางทะเลขึ้นในหมู่เกาะช้าง 2 แห่ง คือที่ เกาะหวาย และเกาะรัง โดยในอนาคต ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะไปดำน้ำ จะเปิดให้คณะที่สนใจมาทำการเรียนรู้เกี่ยวกับการดำน้ำที่ถูกวิธี การอนุรักษ์ ทรัพยากรทางทะเลในศูนย์ทั้ง 2 แห่ง โดยใครใกล้จุดไหนก็ไปที่นั่น ซึ่งเมื่ออบรมเสร็จแล้วก็จะมีประกาศนียบัตรให้เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ
       
       “ศูนย์แห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดศึกษาเรียนรู้ทรัพยากรทางทะเล เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์และหวงแหนธรรมชาติต่อนักท่องเที่ยว เพราะสิ่งสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติว่า ก็คือ การปลูกจิตสำนึกนั่นเอง” ผู้อำนวยการ อพท.กล่าวทิ้งท้าย
 
 

จาก                     :                  ผู้จัดการออนไลน์  วันที่ 1 เมษายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
Sri_Nuan.Ray
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1808



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 01, 2008, 01:48:28 AM »

เป็นอีกโครงการหนึ่ง ที่น่าสนใจ แต่ว่า จะต้องนำไปวางในระดับน้ำลึก หรือวางในแนวน้ำตื้น อย่างใดน่าจะดีกว่ากัน

เพราะที่หมู่เกาะสุรินทร์ ปะการังเขากวางก็จะอยู่ในแนวน้ำตื้น  ยกเว้น แต่ ในน้ำลึก ปะการังโต๊ะ น่าจะอยู่ได้ดีกว่านะคะ 


  

อยากขอความรู้เรื่อง ประเภทของปะการัง เพิ่มเติม จาก พี่ๆ ผู้รู้ค่ะ   
บันทึกการเข้า

~~~ หากเราหยุดนิ่ง ทุกอย่างที่ผ่านมา คือ อดีต.... ทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อมันจะได้เป็นอดีตที่มีค่าแก่ ความทรงจำของเรา  ~~~
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 01, 2008, 05:14:32 AM »


ถ้าท่านอาจารย์สุรพล สุดารา ยังอยู่เป็นมิ่งขวัญของเรา.....ท่านได้เห็นภาพและรับรู้เรื่องราวนี้แล้ว ท่านจะเอ่ยวิจารณ์ให้เราได้ฟังว่าอย่างไรหนอ.....

แต่สำหรับสายชล....เห็นกิ่งปะการังติดอยู่ที่ปลายท่อพลาสติกสีฟ้าแจ๋นอย่างนี้แล้ว ทำใจไม่ได้สักที....
บันทึกการเข้า

Saaychol
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #3 เมื่อ: เมษายน 01, 2008, 05:41:06 AM »

 
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
หอยกะทิ
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 155


บุ๋งๆ จงกลายเป็นวงๆๆๆ


« ตอบ #4 เมื่อ: เมษายน 12, 2008, 04:57:55 PM »

เคยมีการทดลองใช้ปลูกในแท่งคอนกรีต ซึ่งก็ได้ผล แต่ราคาแพง นานวันปัญหาที่ตามมาคือ มีไทยเนียนครับ เจอมาเองเลย ไทยเนียนพี่แกทุบรีสอร์ทสร้างใหม่ ขี้เกียจขนคอนกรีตทิ้งบนฝั่งเอาเรือขนทิ้งทะเลเฉย บอกว่าเนียน ใช้ปลูกปะการัง หน้ามึน ทำบ้านปลา เจอแถว พีพี นั่นหล่ะครับ

ส่วนท่อพีวีซี คงหาคุณเนียนยากหน่อยเพราะมันมีราคา

คือผมมองอีกมุมนึงน่ะครับ

ส่วนที่พี่Sri_Nuan.Ray  ว่าไว้ก็ขึ้นกับชนิดปะการังครับ แต่การปลูกวิธีนี้ก็ใช้ไม่ได้กับปะการังทุกชนิด ปะการังบางชนิดต้องใช้การปลูกแบบ cover base ทำฐานคอนกรีตใหญ่ ให้ปะการังโตเกาะคลุมพื้นที่ซะหน่อยและค่อย วางในที่ๆควรอยู่ ใช้กับพวกปะการังโขด ก้อน ยังไม่เห็นในไทยอ่ะครับ ไม่รู้มีรึยัง หรือเพราะผมหลังเขา เลยไม่เคยเห็น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.149 วินาที กับ 20 คำสั่ง