สายน้ำ
|
|
« เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2008, 12:50:48 AM » |
|
เตรียมแผนปลดระวาง 200 แท่นเจาะน้ำมันในอ่าวไทย ทำปะการังเทียม
กรมทรัพยากรทางทะเลฯ เผยเตรียมเชิญหน่วยงานเกี่ยวกับทางทะเล หารือเพื่อเตรียมปลดระวางแท่นเจาะน้ำมันอ่าวไทย 200แท่นที่จะหมดสัมปทานในอีก 5 ปี หวังสร้างปะการังเทียม
เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2551 นายสำราญ รักชาติ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดเผยว่า ทาง ทช.ร่วมกับสถาบันการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทะเล เช่น กรมประมง กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กองทัพเรือ กรมอุทกกศาสตร์ กองเรือภาคที่ 1 และกองเรือภาคที่ 2 กรมยุทธการทหารเรือ รวมทั้ง กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) รวมทั้งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล หารือเกี่ยวกับแนวทางการสร้างปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะผลิตปิโตรเลียม
เนื่องจากพบว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมในอ่าวไทย จะเริ่มทยอยหมดอายุสัมปทานลงหากไม่ได้รับการต่ออายุสัมปทาน ดังนั้น จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี เพราะต้องมีเทคนิคการรื้อถอน ที่ไม่ก่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางทะเล ความปลอดภัย รวมทั้งได้รับการยอมรับจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง
นายสำราญ กล่าวว่า จากตัวเลขเมื่อปี 2550 พบว่ามีแท่นผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยทั้งสิ้น 225 แท่น รวมทั้งท่อขนส่งปิโตรเลียมระหว่างแท่นต่างๆ ในพื้นที่ผลิตมีความยาวกว่า 1,000 กม. กำลังจะหมดอายุสัมปทาน ทั้งนี้ ตามพ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2550 มาตรา 80/1 ระบุว่าเจ้าของสัมปทานต้องรับผิดชอบในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ออกจากท้องทะเล
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีการคุยถึงการใช้ประโยชน์จากแท่นขุดเจาะเหล่านี้ โดยการสร้างปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะและแท่นผลิตปิโตรเลียม ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น เนื่องจากจะช่วยลดปริมาณวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว แต่มีความจำเป็นจะต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในภาพรวมทั้งหมด โดยเฉพาะผลกระทบต่อกระแสน้ำที่อาจจะสร้างปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมากขึ้น
นายวิชัย ธารณเจษฎา ที่ปรึกษาด้านสำรวจและผลิตปิโตรเลียม สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ทางสถาบันฯมีการคาดการณ์ว่าอีก 5-10 จะมีเพิ่มแท่นขุดเจาะอีก 400 แห่ง เนื่องจากการใช้ต้องการใช้พลังงานมีสูงขึ้น ส่วนตัวเลขแท่นสำรวจเดิมที่จะปลดระวางนั้น อยู่ระหว่างการประเมินตัวเลขว่ามีกี่แห่ง เนื่องจากบางแห่งก็ได้ต่ออายุสัมปานต่อไปอีก 10 ปีแล้ว
ส่วนข้อเสนอการนำแท่นขุดเจาะไปสร้างปะการังเทียมนั้น อยู่ในขั้นตอนการจัดทำรายละเอียดการรื้อถอนแท่นขุดเจาะฯตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงของกฎหมายปิโตรเลียม เนื่องจากแท่นขุดเจาะและแท่นผลิตในอ่าวไทย มีหลายประเภทและมีการติดตั้งในทะเลที่มีความลึกตั้งแต่ไม่ต่ำกว่า 50-60 เมตร
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึงในการรื้อถอนมี 6 ส่วนทั้งเชิงเทคนิค ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่าย กากของเสีย ด้านสุขภาพ เป็นต้น แต่ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในอ่าวเม็กซิโกนั้นมีแท่นขุดเจาะน้ำมันที่สร้างแหล่งปะการังเทียม 190 แท่น
ส่วน ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ขณะนี้ทช.จัดทำแผนแม่บทการวางปะการังเทียมแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นคู่มือให้กับหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งอบต. เนื่องจากขณะนี้มีการเสียงบประมาณปีละไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทในการสร้างแหล่งปะการังเทียม
ทั้งเพื่อแหล่งสำหรับบ้านปลา แหล่งท่องเที่ยว แต่ในอดีตมีการใช้ยางรถยนต์ไปสร้างแหล่งปะการังแล้วสร้างผลกระทบกลาย เป็น ขยะในท้องทะเล ดังนั้น ทช.จึงต้องกำหนดความเหมาะสมของวัสดุ ตลอดจนพื้นที่ที่เหมาะสม คาดว่าจะแล้วเสร็จและส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ได้ภายในอีก 2 เดือน
จาก : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 22 พฤษภาคม 2551
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2008, 12:49:00 AM โดย สายน้ำ »
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
WayfarinG
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2008, 01:28:24 AM » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home. -- > James Michener
|
|
|
|
WayfarinG
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2008, 02:37:06 AM » |
|
เราจะมีโอกาสไปดำดูมันมั๊ยอะคะ..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home. -- > James Michener
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2008, 12:20:20 AM » |
|
สร้างปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม
นายสำราญ รักชาติ รองอธิบดี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยว่า ประเทศไทยจำนวนสิ่งก่อสร้างในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในทะเลจะเริ่มทยอยหมดอายุสัมปทานในอีก 5 ปีข้างหน้า จำนวน 225 แท่น รวมทั้งท่อขนส่งปิโตรเลียมระหว่างแท่นต่าง ๆ ในพื้นที่ผลิตมีความยาวกว่า 1,000 กม. ซึ่งตามกฎหมาย พ.ร.บ. ปิโตรเลียม 2550 มาตรา 80/1 ระบุว่า เจ้าของสัมปทานต้องรับผิดชอบในการ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ออกจากท้องทะเล กรมฯ จึงร่วมกับสถาบันการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัด การทะเล หารือเกี่ยวกับแนวทางการสร้างปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม โดยเฉพาะ เทคนิคการรื้อถอนที่ไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวด ล้อมทางทะเล ตลอดจนข้อควรระวังจากแนวคิด การสร้างปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะผลิตปิโตร เลียมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและการยอมรับจากผู้มีส่วน ได้ส่วนเสีย เบื้องต้นทุกฝ่ายมีความเห็นร่วมกันให้เร่งศึกษาพื้นที่บริเวณอ่าวไทยที่เหมาะสมในการ จัดวางปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะผลิตปิโตร เลียมควบคู่ไปกับการสำรวจข้อมูลและผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นกับแนวปะการังธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ การกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาเรื่องสารปนเปื้อน และความปลอดภัยทางการเดินเรือฯ จากนั้นจะนำข้อมูลที่ ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย และร่วม กันประเมินความเป็นไปได้ในการสร้างปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะผลิตปิโตรเลียมบริเวณอ่าวไทย ก่อนจะนำไปขยายผลเป็นส่วนหนึ่งของแผน แม่บทปะการังเทียมของประเทศ เพื่อให้การบริหารจัดการด้านงานวิจัยและการใช้ประโยชน์จากปะการังเทียมมีประสิทธิภาพมากขึ้น รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกล่าว.
จาก : เดลินิวส์ วันที่ 4 มิถุนายน 2551
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2008, 01:10:41 AM » |
|
"ทช."เตรียมเนรมิต 225 แท่นขุดน้ำมัน กลางทะเลอ่าวไทย ทำ"ปะการังเทียม"
นายสำราญ รักชาติ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) เปิดเผยว่า จำนวนสิ่งก่อสร้างในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในทะเลของประเทศไทย จะเริ่มทยอยหมดอายุสัมปทานในอีก 5 ปีข้างหน้า จำนวน 225 แท่น รวมทั้งท่อขนส่งปิโตรเลียมระหว่างแท่นต่างๆ ในพื้นที่ผลิตมีความยาวกว่า 1,000 กิโลเมตร ซึ่งตามกฎหมาย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2550 มาตรา 80/1 ระบุว่า เจ้าของสัมปทานต้องรับผิดชอบในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ออกจากท้องทะเล ดังนั้น ทช.จึงร่วมกับสถาบันการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทะเล หารือเกี่ยวกับแนวทางการสร้างปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม โดยเฉพาะเทคนิคการรื้อถอนที่ไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ตลอดจนข้อควรระวังจากแนวคิดการสร้างปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะผลิตปิโตรเลียมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสีย
"เบื้องต้นทุกฝ่ายมีความเห็นร่วมกันให้เร่งศึกษาพื้นที่บริเวณอ่าวไทย ที่เหมาะสมในการจัดวางปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะผลิตปิโตรเลียม ควบคู่ไปกับการสำรวจข้อมูลและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นกับแนวปะการังธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ การกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาเรื่องสารปนเปื้อน และความปลอดภัยทางการเดินเรือ จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย และร่วมกันประเมินความเป็นไปได้ในการสร้างปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะผลิตปิโตรเลียมบริเวณอ่าวไทย ก่อนจะนำไปขยายผลเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทปะการังเทียมของประเทศ เพื่อให้การบริหารจัดการด้านงานวิจัยและการใช้ประโยชน์จากปะการังเทียมมีประสิทธิภาพมากขึ้น" รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าว
จาก : แนวหน้า วันที่ 17 มิถุนายน 2551
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2008, 01:34:21 AM » |
|
นักวิจัยไทย พัฒนาปะการังเทียมแก้ปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะ
นักวิจัยไทย พัฒนาปะการังเทียมแก้ปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะ หลังพบชายฝั่งทะเลสาบสงขลาเสียหายกว่า 200 ไร่ พร้อมนำร่องติดตั้งปะกะรังเทียมชายหาดสมิหลา จังหวัดสงขลา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พยอม รัตนมณี วิศวกรชายฝั่งทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า จากผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงของตะกอน ทั้งชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน พบว่า พื้นที่ดังกล่าวกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะรวมเป็นความยาวกว่า 600 กิโลเมตร จากพื้นที่ชายฝั่งทะเลของไทยทั้งหมดกว่า 2,650 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด ในบางพื้นที่ถูกกัดเซาะถึง 80 เมตรต่อปี โดยเฉพาะชายฝั่งทะเลสาบสงขลา ทั้งนี้ ทะเลสาบได้รับความเสียหายจากการถูกกัดเซาะอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่ชายฝั่งหายไปเกือบ 200 ไร่ ถือเป็นภัยพิบัติระดับชาติที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน และนอกจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การกัดเซาะชายฝัง ยังส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพ ดังนั้น ทีมวิจัยจึงได้ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี ศึกษาการใช้ปะการังเทียมป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยออกแบบเป็นรูปทรงโดมฐานเปิดให้สามารถลดพลังงานคลื่นได้ ซึ่งทำให้เกิดการตกตะกอนของดินทรายเพิ่มขึ้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พยอม รัตนมณี กล่าวด้วยว่า การวางปะการังเทียมดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อชายหาดข้างเคียงและไม่ทำลายทัศนียภาพบริเวณชายหาด ทั้งนี้ จะนำร่องวางปะการังเทียมในชายหาดสมิหลา จังหวัดสงขลา ก่อนที่จะวางในพื้นที่อื่นต่อไป เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง คาดว่าจะเริ่มในเดือนเมษายน พ.ศ.2552
จาก : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 26 มิถุนายน 2551
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2008, 01:08:06 AM » |
|
อบจ.ชลบุรี ทุ่มกว่า 3 ล้านบาท สร้างปะการังเทียมที่เกาะสีชัง
ศูนย์ข่าวศรีราชา -อบจ.ชลบุรี สร้างปะการังเทียม มูลค่ากว่า 3 ล้านบาท ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำบริเวณเกาะสีชังและใกล้เคียง วันนี้ (30 ก.ค.) เวลา 11.00 น.นายวิทยา คุณปลื้ม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ได้เป็นประธานในพิธีปล่อยปะการังเทียมสู่ทะเลเกาะสีชัง เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและฟื้นฟูระบบนิเวศน์ เพื่อให้เกิดความสมดุลตามธรรมชาติ เกิดแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์แก่ประชาชนในชุมชนและใกล้เคียง นายวิทยา เปิดเผยว่า อบจ.ชลบุรี ได้ตระหนักถึงความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่งในจังหวัดชลบุรี ที่ส่งผลให้ระบบนิเวศทางทะเลเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะบริเวณเกาะสีชัง ซึ่งเคยเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีสัตว์น้ำนานาชนิดมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันปรากฏว่า สภาพแวดล้อมทางทะเลได้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ปะการังถูกทำลาย น้ำทะเลสกปรก ส่งผลให้ระบบนิเวศไม่เอื้ออำนวยต่อการวางไข่ และการเลี้ยงตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน ทำให้สัตว์น้ำลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของชาวประมงในพื้นที่ อบจ.ชลบุรี จึงได้จัดทำปะการังเทียม แบบ คสล.ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร สูง 1 เมตร ในครั้งนี้ จำนวน 1,014 ลูก ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 3,015,000 บาท ปล่อยลงสู่ทะเลบริเวณเกาะสีชัง เพื่อปรับปรุงแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ฟื้นฟูระบบนิเวศ เพื่อให้เกิดความสมดุลตามธรรมชาติ และเกิดแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของประชาชน
จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 30 กรกฎาคม 2551
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2008, 12:27:26 AM » |
|
ตรังใช้เรือเก่าทำปะการังเทียม
ตรัง - นายอานนท์ มนัสวานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ เข้าร่วมประชุมหารือตามโครงการใช้เรือชำรุดทำปะการังเทียมในท้องทะเลตรัง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ พล.อ.อ.กานต์ สุระกุล อดีตส.ว.จังหวัดตรังยื่นเสนอมาทางศูนย์การท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการจังหวัดตรัง เพื่อเป็นการอนุรักษ์และเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ ในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ซึ่งเคยมีประวัติในการใช้รบเมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพา ตามเส้นทางทะเลระหว่างอำเภอกันตัง กับจังหวัดภูเก็ต ณ บริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ และทางด้านใต้ของเกาะกระดาน จังหวัดตรัง
ทั้งนี้ ในเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดยุทธนาวีขึ้นระหว่างเรือดำน้ำพันธมิตร กับกองเรือญี่ปุ่นปรากฏว่าเรือรบและเรือลำเลียงของทหารญี่ปุ่น ถูกเรือดำน้ำพันธมิตรทำลายและจมลงบริเวณดังกล่าวจนกระทั่งปัจจุบันยังมีชาวญี่ปุ่นเดินทางมาโปรยดอกไม้เพื่อเป็นการรำลึก แก่ทหารเรือที่เสียชีวิตในบริเวณดังกล่าวเป็นประจำทุกปี รวมทั้งยังเป็นการสร้างทัศนียภาพที่สวยงามบริเวณชายฝั่ง โดยการนำเรือที่ชำรุดผุพังที่วางอยู่บริเวณชายฝั่งกลับมาใช้ประโยชน์ด้วยการสร้างปะการังเทียม เพื่อจะได้ส่งผลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดต่อไปในอนาคต
สำหรับโครงการใช้เรือชำรุดทำปะการังเทียมในท้องทะเลตรัง จะมีการใช้เรือจับปลาหรืออาจเป็นเรืออื่นๆ ที่ชาวประมงหรือเจ้าของเรือไม่สามารถใช้งานได้แล้ว นำไปวางไว้ใต้ท้องทะเลเพื่อทำปะการังเทียม
จาก : ข่าวสด วันที่ 30 สิงหาคม 2551
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: กันยายน 11, 2008, 01:13:09 AM » |
|
สร้างปะการังเทียมหาดสมิหลา-กันคลื่นเซาะฝั่ง
สงขลา - ผศ.พยอม รัตนมณี อาจารย์ประจำภาควิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) เปิดเผยว่า คณะวิจัยได้สำรวจพื้นที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบว่าการแก้ปัญหานิยมใช้มาตรการแบบแข็ง บางครั้งมีผลกระทบทำให้เกิดการกัดเซาะพื้นที่ข้างเคียง นอกจากทำให้ทัศนียภาพของชายหาดเสียแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลด้วย คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะหาแนวทางในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ปะการังเทียมป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
ผศ.พยอม เปิดเผยว่า การศึกษาวิจัยได้ออกแบบปะการังให้มีรูปทรงและขนาดที่สามารถต้านทางแรงคลื่นได้ ผลที่คาดว่าจะได้รับคือบรรเทาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและฟื้นฟูหาดทราย อีกทั้งยังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน โดยมีการออกแบบแล้วมีการจัดวางปะการังเทียมที่หาดสมิหลา ที่ระดับความลึก 3-4 เมตร ขนาดฐานกว้าง 2 เมตร สูง 1.8 เมตร หนักประมาณ 3-4 ตัน วางขนานกับชายฝั่ง ห่างจากฝั่งประมาณ 250-400 เมตร สามารถกรองพลังงานคลื่นได้ประมาณร้อยละ 60-70 ชะลออัตราการกัดเซาะได้ในระดับที่น่าพอใจ รวมมูลค่าประมาณ 80 ล้านบาท
นายอุทิศ ชูช่วย นายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลา กล่าวว่า การวางปะการังเทียมจะช่วยแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ถาวร เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่นๆ นอกจากไม่ทำลายทัศนียภาพแล้วยังช่วยให้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนด้วย
จาก : ข่าวสด วันที่ 11 กันยายน 2551
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 11, 2008, 01:16:20 AM โดย สายน้ำ »
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: กันยายน 27, 2008, 02:58:37 AM » |
|
กรมทะเลวางมาตรฐานปะการังเทียม ใช้ระบบสารสนเทศชี้ตำแหน่งฟื้นฟู
กรมทะเล เตรียมจัดมาตรฐานการวางปะการังเทียม ใช้ระบบสารสนเทศปรับปรุงฐานข้อมูลปะการัง ชี้ตำแหน่ง ฟื้นฟูปะการังเสื่อมโทรม เพื่อการจัดการอนุรักษ์
นายวิชิต พัฒนโกศัย รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาการจัดวางปะการังเทียมส่วนใหญ่ของ ประเทศไทยจะเน้นการใช้ประโยชน์ด้านประมง คือ แหล่งอนุบาลและที่พักอาศัยของสัตว์น้ำ ทำให้ฐานข้อมูลปะการังเทียมที่มีอยู่จะระบุให้ทราบเพียงตำแหน่งของปะการังเทียมเท่านั้น แต่ไม่เคยมี การประเมินผลด้านทรัพยากร และผลกระทบด้านเศรษฐกิจรวมทั้งใช้ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทดแทนระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการด้านงานวิจัยและการใช้ประโยชน์จากปะการังเทียมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทช.จึงเห็นควรที่จะ ระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันจัดโครงการศึกษาข้อมูลการใช้ประโยชน์ และจัด ทำแผนแม่ บทปะการังเทียมของประเทศ โดยอาศัยเทคโนโลยีด้านสารสนเทศเข้ามาจัดทำฐานข้อมูล ทั้งระบบให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ชุดเดียวกัน เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถสืบค้น และ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้ง่ายขึ้น
ดังนั้นเพื่อให้การจัดวางแนวปะการังเทียมไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลโดยเฉพาะแนวปะการังธรรมชาติ รวมทั้งเอื้อประโยชน์ต่อการทำประมงพื้นบ้าน และเป็นแหล่งเพาะ พันธุ์สัตว์น้ำอย่างยั่งยืนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลปะการังเทียมทั่วประเทศ รองอธิบดี ทช.กล่าว
นายวิชิต กล่าวอีกว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นควรให้เร่งดำเนินการจัดทำฐานแผนแม่บทปะการังเทียมของประเทศ ในเบื้องต้นกรมฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดวางปะการัง เทียมของประเทศ จึงเตรียมส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อประเมินผลด้านทรัพยากร และผลกระทบด้านเศรษฐกิจของปะการังเทียมทั่วประเทศ ทำการรวบรวมข้อมูล ใช้ประโยชน์การจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการปะการังเทียมของประเทศ
จาก : กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 5 มีนาคม 2551
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2008, 01:23:20 AM » |
|
บินปะการังจมแน่ พ.ย.พ้นมรสุม
ได้ฤกษ์วางฝูงบินปะการังเพื่อการท่องเที่ยวดำน้ำที่อ่าวบางเทาเดือนหน้า หลังเจอโรคเลื่อนเนื่องจากมรสุมเข้า
วันที่ 21 ตุลาคมนี้ ที่ห้องประชุมสึนามิ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายวรพจน์ รัฐสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมโครงการจัดสร้างปะการังเทียมเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำ น้ำจังหวัดภูเก็ต (ฝูงบินปะการังเพื่อทะเล) โดยมีการติดตามความคืบหน้าและการเตรียมพร้อมในการจมซากเครื่องบิน ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้ โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เช่น นายพรหมโชติ ไตรเวช ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต นายมาแอน สำราญ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เชิงทะเล อ.ถลาง ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 จังหวัดภูเก็ต ตัวแทนจากสมาคมดำน้ำ TDA (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อทะเล เป็นต้น
นายวรพจน์กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางจังหวัดภูเก็ตได้ร่วมกับ อบต.เชิงทะเล สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 จังหวัดภูเก็ต การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต สมาคมดำน้ำ TDA (ประเทศไทย) และมูลนิธิเพื่อทะเล จัดทำโครงการจัดสร้างปะการังเทียมเพื่อเป็นแหล่งท่อง เที่ยวดำน้ำจังหวัดภูเก็ต โดยนำซากเครื่องบินซึ่งปลดประจำการ 10 ลำ มาจมในทะเลบริเวณอ่าวบางเทา ต.เชิงทะเล เพื่อเป็นแหล่งปะการังเทียมและแหล่งดำน้ำใหม่ ใช้ชื่อโครงการว่าฝูงบินปะการัง เพื่อลดการใช้และฟื้นฟูแหล่งปะการังธรรมชาติ ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตอีกทางหนึ่ง
เดิมทางผู้จัดได้กำหนดที่จะนำซากเครื่องบินลงจมทะเลเมื่อประมาณต้นเดือน พฤษภาคมที่ผ่านมา และได้มีขนย้ายเครื่องบินและชิ้นส่วนต่างๆ จาก จ.ลพบุรี มายัง จ.ภูเก็ต เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันซากเครื่องบินทั้ง 10 ลำ มีการประกอบแล้วเสร็จ และวางไว้ที่ด้านหลังบริเวณท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต ซึ่งในการขนย้ายและจัดทำฐานรองได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบต.เชิงทะเล จำนวน 4 ล้านบาท แต่ในครั้งนั้นไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเกิดมรสุมทำให้คลื่นลมในทะเลแรง จึงได้มีการกำหนดวันจมซากเครื่องบินใหม่ กำหนดให้มีการจมซากเครื่องบินในวันที่ 29 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้
นายวรพจน์กล่าวว่า ในการดำเนินการครั้งนั้นผู้รับผิดชอบคือ สมาคมดำน้ำ TDA (ประเทศไทย) ได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อใช้ในการขนย้าย การทำฐานรองรับเครื่องบิน สำรวจตำแหน่งวางซากเครื่องบิน และอื่นๆ ที่จำเป็นไปแล้ว คิดเป็นเงิน 3.5 ล้านบาท โดยยังมีเงินเหลืออีกประมาณ 640,600 บาท และจะต้องของบเพิ่มเติมจาก อบต.เชิงทะเล เพื่อดำเนินการต่อไป.
จาก : ไทยโพสต์ วันพุธที่ 22 ตุลาคม 2551
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
|
|