ดูแบบคำตอบเดียว
  #7  
เก่า 31-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,403
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


นักวิชาการเตือนอนาคตคลื่นความร้อนประเทศไทยรุนแรง อาจร้อนจัดเกินครึ่งปี


SHORT CUT

- มนุษย์นั้นเป็นส่วนทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะกิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น

- ภายใน 10-20 ปี ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงกว่าภูมิภาคอื่นๆ หนุกสุดอาจทำให้ร้อนจัดเกินครึ่งปี




ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ โพสต์เตือนภายใน 10-20 ปี ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเผชิญกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงกว่าภูมิภาคอื่นๆ อาจทำให้ประเทศไทยร้อนจัดเกินครึ่งปี!

ปัจจุบันเราจะสังเกตได้ว่าสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจนเรารู้สึกได้ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนที่เห็นชัดสุด ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าหลายๆปีที่ผ่านมา ซึ่งมนุษย์นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ด้วยกิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน

ล่าสุด รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ โพสต์ข้อความเตือน เกี่ยวกับอนาคตคลื่นความร้อนของประเทศไทยที่คาดว่าจะรุนแรงมากกว่านี้หากไม่ทำอะไร ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า คลื่นความร้อน (Heat wave) ตามความหมายที่ใช้โดยทั่วไป เป็นเหตุการณ์ที่อุณหภูมิช่วง 3 วันติดกันมากกว่าค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 90 ของอุณหภูมิสูงสุดรายวัน รายงานการประเมิน IPCC ฉบับที่ 5 และ 6 (AR5, AR6) ระบุว่าในระยะอันใกล้ภายใน 10-20 ปี ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงกว่าภูมิภาคอื่นๆ

เมื่อพิจารณา จำนวนวันในรอบปีที่เกิดคลื่นความร้อน (HWF) ตั้งแต่ปัจจุบันจนอนาคตที่อุณหภูมิเฉลี่ยโลกจะเพิ่มขึ้น 1.5 oC - 4.5 oC พบว่าเมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพิ่มขึ้น 1.5 oC (ปัจจุบัน 1.1-1.2 oC) จะทำให้ประเทศไทยเกิดคลื่นความร้อนประมาณ 20-30 วัน (ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง และตอนบน) และ 30-40 วัน (ในภาคกลาง รวม กทม. ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง) ในกรณีที่ อุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพิ่มขึ้น 2.0 oC จำนวนวันในรอบปีที่เกิดคลื่นความร้อนจะเพิ่มเป็น 50-60 วัน และ 60-80 วันตามลำดับ

สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด หากโลกไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามข้อตกลงปารีส (1.5-2.0 oC) อุณหภูมิเฉลี่ยโลกจะเพิ่มขึ้น 4.5 oC จำนวนวันในรอบปีที่เกิดคลื่นความร้อนจะเพิ่มเป็น 180-220 วัน และ 220-240 วันตามลำดับ กล่าวคือร้อนกว่าครึ่งปี ภัยคุกคามอื่นๆจะตามมาแบบ 6-6-2 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ลูกหลาน เหลนจะอยู่กันอย่างไร ถ้ารุ่นเราไม่ทำอะไร ? และต้องทำเดี๋ยวนี้น่ะครับ


https://www.springnews.co.th/keep-the-world/849035

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม