ดูแบบคำตอบเดียว
  #7  
เก่า 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,403
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


เผยชื่ออาหาร ปนเปื้อนไมโครพลาสติกมากที่สุด เสี่ยงต่อสุขภาพ แถมหาซื้อง่าย

อย่ามองข้าม เผยรายชื่ออาหาร ปนเปื้อนไมโครพลาสติกมากที่สุด ภัยเงียบซ่อนตัว เสี่ยงต่อสุขภาพ ซึมเข้ากระแสเลือดได้



สำนักข่าวต่างประเทศ เผยบทความวิจัยกรณีศึกษาเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาพบว่า ร้อยละ 90 ของตัวอย่างอาหารประเภทโปรตีนจากพืชและสัตว์ มีการปนเปื้อนไมโครพลาสติก ภัยเงียบอันตรายต่อร่างกาย โดยมีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งในต่อมลูกหมาก และยังส่งผลต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ในร่างกายอีกด้วย

โดยวารสาร Environmental Research ทีมนักวิจัยได้ทดสอบอาหารแช่แข็งประเภทโปรตีนที่คนนิยมรับประทานกันโดยทั่วไปหลายชนิด ได้แก่ เนื้อวัว กุ้งและกุ้งชุบแป้งทอด อกไก่ และนักเก็ตไก่ เนื้อหมู อาหารทะเล เต้าหู้และอาหารประเภทแพลนต์เบสต่างๆ

อย่างไรก็ตาม จากผลการตรวจสอบพบว่า กุ้งชุบแป้งทอดพบไมโครพลาสติกปนเปื้อนมากที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วจะมีอยู่ราว 300 ชิ้นต่อมื้อ ส่วนอันดับที่ 2 ได้แก่ นักเก็ตแพลนต์เบส มีไมโครพลาสติก 100 ชิ้นต่อมื้อ ต่อมาคือนักเก็ตไก่ ตามมาด้วยชิ้นปลาคลุกแป้งขนมปัง เนื้อกุ้งสดและปลาแพลนต์เบสคลุกแป้งขนมปัง

ส่วนอาหารที่มีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกน้อยที่สุด คือ เนื้ออกไก่ ตามด้วยเนื้อหมูสันในและเต้าหู้

ขณะเดียวกัน นักวิจัยจาก University of Catania ประเทศอิตาลี พบเศษชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กในผลไม้และผักบางชนิด ซึ่งพบไมโครพลาสติกในแอปเปิล 1 กรัม เฉลี่ย 195,500 ชิ้น

ในขณะที่ลูกแพร์มีปริมาณไมโครพลาสติกเฉลี่ย 189,500 ชิ้น ต่อ 1 กรัม ส่วนบร็อกโคลี และแคร์รอต เป็นผักที่พบไมโครพลาสติกมากที่สุด เพราะพบไมโครพลาสติกในปริมาณมากกว่า 100,000 ชิ้นต่อผัก 1 กรัม

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมามีผลวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เผยผลทดสอบในการสุ่มตรวจสอบตัวอย่างน้ำดื่มบรรจุขวดทั่วไป จำนวน 5 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 3 ยี่ห้อ รวมทั้งหมด 15 ตัวอย่าง ผลการศึกษานี้พบว่า มีอนุภาคไมโครพลาสติกระหว่าง 110,000-400,000 ชิ้นต่อลิตร โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 240,000 ชิ้น

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำสำหรับการบริโภคอาหารเพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะรับไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายไว้ว่า ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่บรรจุภัณฑ์แบบพลาสติก ถ้าเป็นไปได้ในการเลือกซื้ออาหารที่บรรจุในขวดแก้วหรือห่อกระดาษฟอยล์ดีกว่า

นอกจากนี้ หลีกเลี่ยงอาหารแช่แข็งหรืออาหารที่ผ่านการแปรรูป และไม่ควรใช้ภาชนะพลาสติกอุ่นอาหารให้ร้อนด้วยไมโครเวฟ แต่ควรเปลี่ยนถ่ายอาหารใส่ภาชนะประเภทแก้วเสียก่อน หรืออุ่นอาหารด้วยเตาประเภทอื่นแทน


https://www.khaosod.co.th/around-the...s/news_8200886

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม