|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ประกอบกับพายุโซนร้อน "พระพิรุณ" ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน และเกาะไหหลำ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง พายุโซนร้อน "พระพิรุณ" ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน และเกาะไหหลำ ประเทศจีน คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 22?23 ก.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนหรือฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 22 ? 27 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศเวียดนามตอนบน และประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 22 ? 23 ก.ค. 67 ส่วนพายุโซนร้อนแคมีบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก คาดว่าจะเคลื่อนไปทางด้านตะวันออกของประเทศจีนในช่วงวันที่ 24 ? 26 ก.ค. 67 โดยพายุทั้งสองไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 21 ? 22 ก.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ขอให้เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ ?พระพิรุณ? ฉบับที่ 5 (145/2567) เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (22 ก.ค. 67) พายุโซนร้อน "พระพิรุณ" บริเวณเกาะไหหลำ ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 19.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.7 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนทางเหนือด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 22?23 ก.ค. 67 พายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
ทำไมถึงเรียก "เอเลี่ยนสปีชีส์" ผู้สร้างผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ การพบปลาหมอคางดำที่ถูกจัดเป็น "เอเลี่ยนสปีชีส์ " เพิ่มจำนวนมากขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้มีความกังวลว่าปลาชนิดจะสร้างความเสียหายให้กับระบบในอนาคต แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่ได้มีการพบเพียงแค่ปลาหมอคางดำ ยังมีการพบเอเลี่ยนสปีชีส์ชนิดอื่นๆ ก่อนหน้านี้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น ผักตบชวา ดอกบัวตอง นกพิราบ อิกัวน่าเขียว ปลาซักเกอร์ และทำไมสัตวืและพืชเหล่านี้ ทั้งๆ ที่มีหน้าตาคล้ายกับสัตว์และพืชที่มีในประเทศไทย แต่ทำไมถึงได้ถูกจัดเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์เพราะเหตุใด เอเลียนสปีชีส์ (Alien Species) เป็นคำเรียกของสิ่งมีชีวิตที่เป็น "ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น" (introduced species) คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในถิ่นใดถิ่นหนึ่ง แต่ถูกนำเข้ามาจากถิ่นอื่น และสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจสามารถดำรงชีวิตอยู่และสืบพันธุ์ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของปัจจัยแวดล้อมและการปรับตัวของชนิดพันธุ์นั้นๆ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเหล่านี้ สามารถแบ่งได้ตามบทบาทที่มีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมออกได้เป็น 2 ประเภท 1. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ประเภทที่ไม่รุกราน สำหรับกลุ่มนี้เป็นพันธุ์ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หรือระบบนิเวศโดยตรง หรือชัดเจนนัก เพราะใช้ชีวิตแบบไม่แข่งขันหรือขัดต่อการดำรงชีพของสัตว์ชนิดอื่นหรือสมดุลของระบบนิเวศ มักเป็นชนิดพันธุ์ที่พบน้อยหรือไม่แพร่พันธุ์ในธรรมชาติ อย่างไรก็ตามสภาพของนิเวศที่เปลี่ยนไปอาจมีผลให้ชนิดพันธ์ดังกล่าวเจริญแทนที่ และขัดขวางการฟื้นตัวของสมดุลนิเวศ 2. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ประเภทที่รุกราน เป็นชนิดที่แพร่พันธุ์ได้เร็วและมีความสามารถในการปรับตัวแข่งขันแทนที่ชนิดพันธุ์พื้นเมืองได้ดี มีการเบียดเบียนชนิดพันธุ์ท้องถิ่นดั้งเดิม คือการกินชนิดพันธุ์ที่มีอยู่ดั้งเดิม แย่งอาหาร แย่งชิงพื้นที่สืบพันธุ์ ข่มเหงพันธุกรรมที่มีความใกล้เคียงผสมพันธุ์ออกมากระทั่งลูกที่เกิดมีโอกาสรอดต่ำและเป็นหมันในรุ่นถัดไป ส่งผลทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมเดิมเสื่อมลง หรือบางกรณีเป็นพาหะนำโรคหรือปรสิตเข้าสู่พื้นที่โดยที่ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นอาจไม่สามารถต้านทานได้ หรือการรบกวนสภาพนิเวศ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสมดุลนิเวศวิทยาเดิม ตัวอย่างในประเทศไทย เช่น ปลาซัคเกอร์ หอยเชอรี่ ปลาดุกแอฟริกา กุ้งเครย์ฟิช ผักตบชวา แต่การระบุว่าเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานหรือไม่นั้น จำเป็นต้องมีการสำรวจและเก็บข้อมูลในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งบางระบบนิเวศและพื้นที่ที่ต่างกัน ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นก็ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีเสมอไป ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเหล่านี้ สามารถสร้างปัญหาให้กับระบบนิเวศได้ในวงกว้างซึ่งถ้าหากไม่ได้รับแก้ไขที่ถูกวิธี และอาจถึงขั้นส่งผลกระทบแบบที่ไม่มีที่สิ้นสุด ดังต่อไปนี้ 1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนเอเลี่ยนสปีชีส์ทำให้สัตว์น้ำหรือสิ่งมีชีวิตท้องถิ่นสูญพันธุ์ เพราะถูกแย่งอาหาร บ้างถูกแย่งที่อยู่อาศัยหรือกลายเป็นอาหารของพวกเอเลี่ยนสปีชีส์เสียเอง 2. การรุกรานของเอเลี่ยนสปีชีส์ไม่เพียงแต่สร้างปัญหาหรือเป็นภัยแค่สัตว์น้ำหรือสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น แต่ยังส่งผลกระทบถึงมนุษย์ในการดำรงชีวิตอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ชาวประมง หรือเกษตรกร จนนำไปสู่ความสูญเสียผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจในที่สุด 3. เป็นพาหะและตัวนำเชื้อโรคมามาแพร่กระจายจนทำให้เกิดโรคร้ายใหม่ๆต่อสัตว์ในท้องถิ่น ถ้าหากไม่ได้รับการควบคุมหรือป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากพอ อาจส่งผลเสียในระยะยาวและกลายเป็นโรคที่อันตรายจนทำให้เสียชีวิต 4. เกิดความเสียหายด้านพันธุกรรม นอกจากเอเลี่ยนสปีชีส์จะเข้ามาแย่งอาหารแย่งที่อยู่ พวกมันบางสายพันธุ์อาจเข้ามาสมพันธุ์กับสัตว์ในท้องถิ่น จนทำให้ลูกที่เกิดมาเป็นลูกผสมบางตัวก็อาจจะไม่รอดหรือเป็นหมัน ส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ต้นเหตุการณ์เข้ามาของสัตว์เหล่านี้ล้วนมีต้นตอจากมนุษย์ โดยแบ่งได้ 2 วิธี 1.นำเข้าโดยตั้งใจเป็นการปล่อยเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ โดยตรง เช่น การเลี้ยงเพื่อความสวยงาม การเลี้ยงเพื่อการค้า และมีการนำไปปล่อยทิ้งเนื่องจากความเบื่อที่จะเลี้ยง หรือขาดทุนในการเพาะเลี้ยงเพื่อการค้า 2.การปล่อยโดยความตั้งใจ คือเพื่อการเพิ่มผลผลิตแหล่งน้ำในธรรมชาติและแหล่งน้ำที่ถูกสร้างขึ้น การปล่อยสัตว์เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดปัญหาระบบนิเวศ เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ท้องถิ่นชนิดอื่นมีจำนวนลดลงถึงขั้นสูญหาย เนื่องจากการถูกคุกคามจากสัตว์ต่างถิ่น ข้อมูล ? รูปอ้างอิง - สํานักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - onep.go.th https://mgronline.com/science/detail/9670000061872
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|