|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เนื่องจากมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางพื้นที่ และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย อนึ่ง พายุไซโคลน "ยาอาส" (YAAS) ที่ปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนบนมีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศอินเดียตอนบนในช่วงวันที่ 26-27 พ.ค. 64 ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ในช่วงวันที่ 25-29 พ.ค. 64 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 25 - 28 พ.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณบริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29 ? 30 พ.ค. ร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางตอนล่าง มีฝนลดลง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรง ตลอดช่วง ทำให้ด้านรับมรสุมบริเวณภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุไซโคลน "ยาอาส" มีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศอินเดียตอนบนในช่วงวันที่ 26 ? 27 พ.ค. 64 ส่งผลทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุไซโคลน "ยาอาส" (YAAS) บริเวณอ่าวเบงกอล" ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 เมื่อเวลา 19.00 น. พายุไซโคลน "ยาอาส" (YAAS) บริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 16.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 89.5 องศาตะวันออก กำลังเคลื่อนตัวทางทิศเหนือค่อนตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 7 กม./ชม. มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กม./ชม. คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศอินเดียตอนบนในช่วงวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2564 ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 24-29 พฤษภาคม 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรงดเว้นการเดินเรือ ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
พบแหล่งท่องเที่ยวใหม่ 'ถ้ำมรกตผาชมพู' เกาะหนูสงขลา พบสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของสงขลา "ถ้ำมรกต ผาชมพู เกาะหนูสงขลา" ผู้ที่ชื่นชอบท่องเที่ยวทางทะเลไม่ควรพลาด unseen ใหม่ของสงขลาอย่างแน่นอน 22 พ.ค.64 จากการเปิดเผยของอาจารย์สืบสกุล ศรีสุข ผู้อำนวยการภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม และเลขามูลนิธิสงขลาสู่มรดกโลก ได้เปิดเผยลงบนเฟสบุ๊คส่วนตัว พร้อมภาพประกอบ "ถ้ำมรกต ผาชมพู เกาะหนูสงขลา" ว่า คืออีกหนึ่งวันที่มีความสุขที่สุดของเมืองสงขลา ที่ได้ชวน..หัวใจทะเลสงขลาหลายดวงนี้..ออกไปดื่ม.. ไปอิ่มความสุขกับถ้ำมรกต "ผาชมพู" ของเกาะหนู ที่แค่พายเรือ SUP ออกไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง.. ก็อิ่มความสุขกันได้เลย.. แล้วจะมีถ้ำที่เมืองไหนบนโลกนี้.. จะสวยเหมือนสวรรค์บนดิน..บนน้ำ.. เหมือนถ้ำผาชมพูที่ตรงนี้ของ.."เกาะหนู".. เกาะแห่งมหัศจรรย์ของสงขลาครับ.. ช่วยกันแชร์ให้ผู้คนได้รู้จักชื่อนี้ "ถ้ำมรกต ผาชมพูเกาะหนูสงขลา" กันนะครับ ให้เป็น unseen ของสงขลา ที่จะต้องมาชมให้ได้สักครั้งหนึ่งของชีวิต.. ขอบคุณผู้สร้างโลกใบนี้นะครับ.. ที่ได้จัดวางความสวยที่สุดนี้ อย่างตั้งใจไว้ตรงจุดริมฝั่งของหาดสมิหลาสงขลา เมืองท่าสำคัญในฝั่งตะวันออกของแหลมมลายู ที่มีชื่อปรากฏบนแผนที่การเดินเรือของโลกโบราณว่า "SINGGORA" เมืองแห่งป้อมปราการของเอเชียอาคเนย์ แล้วถ้าสงขลาได้ขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก ให้ผู้คนบนโลกใบนี้ได้มาเยือนกันมาก.. แล้ว"ถ้ำมรกต ผาชมพู เกาะหนูสงขลา".ตรงนี้อาจจะเป็นที่สนใจกว่าเมืองมรดก.. แล้วถ้ำนี้จะรองรับผู้คน กันไหวมั้ย.. เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนสงขลาต้องมาร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผนกันแล้วละครับ..แล้วทุกท่านพร้อม จะมาอิ่มความสุขกับสงขลากันแล้วยังครับ..โควิดหายไป..สงขลาคงได้มีโอกาสเป็นอีกหนึ่งเมือง ที่ทุกท่านจะมาเยือนกันนะครับ.. สงขลาจะรอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่งครับ โดยอาจารย์สืบสกุล ศรีสุข ได้พายเรือแทดเดิ้นบอร์ด หรือเรือ SUP ไปกับเพื่อนๆในกลุ่ม ก็ได้พายกันออกไปถึงเกาะหนูและพายดูรอบๆเกาะกันใกล้ๆ ด้วยบรรยากาศบริเวณรอบๆ ทำเอาทุกคนต่างตื่นเต้นเพราะด้านหลังของเกาะหนูมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ โดยเฉพาะถ้ำที่อยู่ติดทั้งทะเลและโขดหินที่เป็นสีชมพูนั้นสามารถพายเรือเข้าไปชมความสวยงามที่มีน้ำเป็นสีมรกต ที่สวยงามมาก.. เวลาน้ำที่เป็นสีมรกตอยู่ภายในถ้ำเราสามารถพายเรือเข้าไปได้พร้อมกันเป็นสิบๆลำ สะท้อนผนังถ้ำที่เป็นสีชมพู ดูแล้วเพลิดเพลินจนไม่อยากจะพายออกมาจากถ้ำกันเลย ทั้งนี้ อ.สืบสกุล ได้ถ่ายวีดิโอและถ่ายภาพนิ่งไว้เป็นหลักฐานเพื่อนำไปเผยแพร่ นี่คืออันซีนใหม่ล่าสุดของสงขลาที่ทุกคนสามารถจะพายเรือออกจากฝั่งไปประมาณไม่เกินครึ่งชั่วโมงด้วยระยะทางไม่ถึง 3 กม. และขณะนี้ก็ได้ตั้งชื่อแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของสงขลาที่อยู่ใกล้ๆเมืองตรงนี้ว่า "ถ้ำมรกต ผาชมพู เกาะหนูสงขลา" ผอ.ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม กล่าวว่า คิดไม่ถึงว่าสงขลาจะมี unseen ที่สวยขนาดนี้ ขณะนี้ผมยืนอยู่ที่บริเวณชายหาดสมิหลาใกล้นางเงือก ถ้าท่านมองไปไกลๆจะเห็นเกาะหนู ผมเองเป็นคนสงขลา เห็นเกาะหนูมาตั้งแต่เด็กๆเลย ก็ไม่คิดว่าที่เกาะหนูมันจะมี unseen ที่สวยงามขนาดนั้น เมื่อก่อนเราเพียงแต่เห็นว่า เกาะหนูเกาะแมวเป็นเกาะ 2 เกาะอยู่นอกชายฝั่ง เป็นฉากถ่ายภาพของนางเงือก ออกไปแต่ละครั้ง ก็พายเรือหางยาวไปวนรอบเกาะ แล้วก็กลับกันมา หลายครั้งแล้ว แต่พอวันนึง วันที่สวยงามของสงขลาเรา มีกลุ่มเรือแทดเดิ้นบอร์ด หรือเรือซับบอร์ด ที่เห็นอยู่นี้ ทำให้เราได้มีโอกาสออกไปสำรวจทะเลเยอะ เรามีกลุ่มสำคัญของซับบอร์ดสงขลา ตอนนี้ประมาณ 30-40 คน ที่มีเรือกัน แล้วเราก็ออกไปสำรวจในสภาพทะเลนิ่งๆแบบนี้ ปรากฏว่าเราวนไปสำรวจที่เกาะหนู ไปเจอสิ่งมหัศจรรย์ที่เกาะหนู ซึ่งฝั่งตรงข้ามของเกาะหนู มีถ้ำและมีหินเยอะมากมายที่เรียงรายอยู่ริมเกาะ โดยเฉพาะมีทั้งถ้ำที่อยู่บนฝั่งและถ้ำที่ปริ่มน้ำ ที่สำคัญ มีถ้ำหนึ่งที่อยู่ที่หน้าผาเป็นหินสีชมพู และปริ่มน้ำ เราสามารถพายเรือลอดเข้าไปในถ้ำได้ด้วยเรือซับบอร์ด ครั้งละ 10 กว่าลำ เมื่อเข้าไปอยู่ในถ้ำแล้วเราจะเห็นน้ำสีมรกตที่สวยมากสะท้อนกับผนังถ้ำสีชมพู จึงรู้สึกได้เลยว่า สงขลาตรงนี้เป็น unseen ที่อยู่ใกล้เรามาก แค่พายเรือซับบอร์ดออกไป ประมาณไม่ถึง 3 กิโลเมตรไม่เกิน 30 นาทีก็ถึงแล้ว ซึ่งในสภาพน้ำนิ่งแบบนี้ บริเวณโดยรอบเกาะจะมีปะการัง และหินสวยๆให้เราได้ไปแวะดำน้ำอีกด้วย ซึ่งถือว่า unseen สำคัญ โดยเราตั้งชื่อแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ว่า "ถ้ำมรกต ผาชมพู เกาะหนูสงขลา" เพราะถือว่าการเจอ "ถ้ำมรกต ผาชมพู" ที่เกาะหนู ก็จะเป็น unseen ที่ทำให้คนอยากจะมาเที่ยวสงขลา มีความสุขกับสงขลา เพราะสงขลามีอะไรมากกว่าที่ท่านคิดและสงขลายินดีต้อนรับทุกท่าน https://www.naewna.com/likesara/574918
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก อสมท.
ความลับใต้ผืนน้ำ ปะการัง ปะการัง ผืนป่าแห่งโลกสีคราม ทำหน้าที่เป็นแนวหน้าป้องกันคลื่นลมยามพายุพัดโหม เป็นบ้านของมวลสรรพชีวิตใต้ท้องทะเล เป็นแหล่งอาหารของมวลมนุษยชาติ เพราะว่าวันนี้ป่าใต้ผืนน้ำกำลังถูกใช้ประโยชน์อย่างหนัก วันนึงไม่นานอาจตกอยู่ในสภาพเช่นเดียวกับผืนป่าบนขุนเขา หากวันนั้นมาถึงสรรพชีวิตใต้ท้องทะเลจะเป็นเช่นไร https://www.mcot.net/view/koFQXVXf
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
รัฐบาลผลักดันแหล่งอนุรักษ์ "ทะเลอันดามัน" เป็นมรดกโลก ที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เสนอ พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ ?ทะเลอันดามัน? บรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก 1 ปี ก่อนชงขึ้นเป็นมรดกโลกต่อไป วันนี้ (24 พ.ค.2564) เวลา 10.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ครั้งที่ 1/2564 โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม และมี ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบองค์ประกอบ และท่าทีของราชอาณาจักรไทย ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 ที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 16-31 ก.ค.2564 ผ่านการประชุมวีดิทัศน์ทางไกล ซึ่งราชอาณาจักรไทยดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการมรดกโลก วาระปี พ.ศ.2562-2566 และเห็นชอบการนำเสนอพื้นที่อนุรักษ์ทะเลอันดามัน คือ จ.ระนอง พังงา และภูเก็ต เพื่อบรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ก่อนเสนอขึ้นเป็นมรดกโลกต่อไป ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ทรัพยากรทางบก ปี พ.ศ.2561-2565 ในการผลักดันการนำเสนอพื้นที่อนุรักษ์ทะเลอันดามันเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ การผลักดันการนำเสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติ พื้นที่อนุรักษ์ทะเลอันดามัน เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก นอกจากจะเป็นการสร้างความภาคภูมิใจ ความรัก และความหวงแหนต่อแหล่งมรดกของท้องถิ่นแล้ว ยังทำให้แหล่งดังกล่าวเป็นที่รู้จักและสนใจ ในฐานะแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวของประเทศที่ได้รับการยกย่องในฐานะแหล่งที่อยู่ระหว่างการเตรียมการยกระดับเป็นแหล่งมรดกโลก ตลอดจนจะเป็นการสร้างแรงจูงใจในการท่องเที่ยวและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ให้กับชุมชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย https://news.thaipbs.or.th/content/304620
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|