|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 19 มิถุนายน 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 18 - 19 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20 ? 24 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 21 ? 24 มิ.ย. 67 จะมีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 20 - 24 มิ.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
เขตอันตราย! เตือนระวัง ทะเลกลืนกินหาดทรายนาจอมเทียน ยุบหาย 400 เมตร ชายหาดนาจอมเทียนได้รับผลกระทบจากคลื่นลมมรสุม และน้ำทะเลหนุนสูง ดูดกลืนทรายกลับลงไปในทะเล และกัดเซาะทำให้พื้นที่ชายหาดได้รับความเสียหายระยะทางยาว 400 เมตร เจ้าหน้าที่ติดป้ายเตือนพื้นที่อันตราย เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวได้เดินทางลงพื้นที่ไปสำรวจบริเวณชายหาดนาจอมเทียน ม.1 ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ภายหลังได้รับผลกระทบจากคลื่นลมมรสุม และน้ำทะเลหนุนสูง ดูดกลืนทรายกลับลงไปในทะเล และกัดเซาะ ทำให้พื้นที่ชายหาดได้รับความเสียหายหนัก ชายหาดนาจอมเทียน เดิมเป็นลักษณะหาดทรายขาว มีหน้ากว้างชายหาด จากขอบถนนยื่นลงไปในทะเล 50 เมตร ด้านติดทะเลลักษณะเป็นที่ราบสโลพ หลังได้รับผลกระทบทำให้เป็นลักษณะสูงชัน บางจุดความสูงเกือบ 2 เมตร ไล่ระดับลงมาสูงชันไม่เท่ากัน ตั้งแต่ช่วงหน้าร้านอาหารลุงไสวไปจนถึงร้านอาหารปูเป็น ระยะทางราว 400 เมตร จากระยะทาง 1,000 เมตร ซึ่งอาจส่งผลเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงน้ำขึ้น และในยามค่ำคืนที่มีแสงสว่างน้อย ล่าสุด น.ส.ระพีพรรณ รัตนเหลี่ยม นายกเทศมนตรีตำบลนาจอมเทียน ได้นำป้ายมาติดประกาศเตือนเป็นพื้นที่อันตรายให้นักท่องเที่ยวโปรดใช้ความระมัดระวัง ส่วนการดำเนินการแก้ไขในขณะนี้หน่วยงานเจ้าท่าได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบแล้ว อยู่ในระหว่างการหาข้อสรุป เพื่อดำเนินการแก้ไขในโอกาสต่อไป https://www.dailynews.co.th/news/3549849/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
ผลศึกษาพบหิมะบนหิมาลัยลดลงต่อเนื่อง หวั่นกระทบความมั่นคงทางน้ำ เครดิตภาพ : AFP. ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาภูเขาแบบบูรณาการ (ไอซีไอเอ็มโอดี) รายงานว่า จำนวนของหิมะสะสมที่น้อยลงบนเทือกเขาหิมาลัย อาจกระทบต่อภัยความมั่นคงทางน้ำของประชาชนที่ต้องพึ่งพาแม่น้ำ ที่มีน้ำแข็งจากหิมาลัยเป็นแหล่งต้นน้ำที่สายหลัก สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ว่า นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า ประชากรหลายล้านคนที่ต้องอาศัยน้ำ ซึ่งละลายมาจากหิมะบนเทือกเขาหิมาลัย จะเผชิญกับความเสี่ยงที่ ?ร้ายแรงมาก? จากการขาดแคลนน้ำในปีนี้ เนื่องจากหิมะตกน้อยที่สุดครั้งหนึ่ง ธารน้ำแข็งที่ละลายเป็น 1 ใน 4 ของแหล่งน้ำทั้งหมดในลุ่มแม่น้ำหลัก 12 แห่ง ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาหิมาลัย "นี่เป็นการแจ้งเตือนแก่นักวิจัย, ผู้กำหนดนโยบาย และชุมชนปลายน้ำ" นายเชอร์ มูฮัมหมัด จากศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาภูเขาแบบบูรณาการ กล่าว "จำนวนหิมะสะสมที่ลดลงและระดับของหิมะที่ผันผวน ส่งผลต่อความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะปีนี้" เนื่องจากหิมะและน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัย เป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับผู้คนประมาณ 240 ล้านคนในพื้นที่ และอีกประมาณ 1,650 ล้านคนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับแม่น้ำ ที่ไหลผ่านจากหุบเขาลงสู่เบื้องล่าง แม้ระดับหิมะจะผันผวนในแต่ละปี แต่นักวิทยาศาสตร์มองว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทำให้ปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอน และรูปแบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และการคงอยู่ของหิมะบนพื้นต่ำกว่าปกติร้อยละ 18.5 ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดเป็นอันดับ 2 ในรอบ 22 ปีที่ผ่านมา เป็นรองเพียงสถิติปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 19 นอกจากเนปาล องค์กรไอซีไอเอ็มโอดียังร่วมมือกับรัฐบาลประเทศอื่น ๆ อาทิ อัฟกานิสถาน, บังกลาเทศ, ภูฏาน, จีน, อินเดีย, เมียนมา และปากีสถาน ล้วนเตือนว่า การสังเกตการณ์และคาดการณ์ มีข้อบ่งชี้ถึง ?การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในด้านเวลาและความเข้มข้นของกระแสน้ำ? โดยมีหิมะเป็นส่วนสำคัญในการรับรองว่ามีน้ำเพียงพอตามฤดูกาลหรือไม่ มากไปกว่านั้น มีการเตือนว่า สถานการณ์ปีนี้มีความเลวร้ายมากที่สุดครั้งหนึ่ง รวมไปถึงในประเทศสมาชิก ซึ่งไอซีไอเอ็มโอดีได้ทำการสำรวจ อาทิ ลุ่มแม่น้ำคงคาในอินเดีย มีหิมะสะสมต่ำกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 17, ลุ่มแม่น้ำเฮลมันด์ในอัฟกานิสถาน ที่ร้อยละ 32 และลุ่มแม่น้ำสินธุร้อยละ 23 ขณะที่ลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ซึ่งสิ้นสุดในบังกลาเทศ มีหิมะต่ำกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัดถึงร้อยละ 15 นางมิเรียม แจ็กสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำแข็งบนโลก หรือหิมะภาค เรียกร้องให้รัฐบาลของทุกประเทศ "ใช้มาตรการเชิงรุก" เพื่อแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้น https://www.dailynews.co.th/news/3548996/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|