|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมด้านตะวันตกของภาคเหนือยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ และอ่าวไทยตอนล่าง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย อนึ่ง พายุโซนร้อน "เอวิเนียร์" บริเวณทะเลฟิลิปปิน มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางมหาสมุทรแปซิฟิกในช่วงวันที่ 27?31 พ.ค. 67 โดยพายุทั้งสองนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 27 พ.ค. ? 1 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุไซโคลน "ริมาล" บริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน คาดว่า จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศบังคลาเทศในช่วงวันที่ 26?27 พ.ค. 67 ส่วนพายุโซนร้อน "เอวิเนียร์" บริเวณตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางมหาสมุทรแปซิฟิกในระยะต่อไป โดยพายุทั้งสองนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
เราจะสอนเด็กเรื่องโลกร้อนยังไง? ในวันที่โลกรวนเกินกว่าจะสอนแค่ในหนังสือเรียน .......... โดย ณัฏฐ์นรี เฮงสาโรชัย Summary - ความสำคัญของโลกร้อนกลายเป็นที่พูดถึงในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยสภาพภูมิอากาศที่ร้อนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและความแปรปรวนต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยากที่จะคาดเดาอนาคตของโลกนี้ได้ - เหล่าเด็กน้อย ผู้เป็นอนาคตของชาติกลับต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วจากสิ่งที่มนุษย์รุ่นก่อนกระทำไว้โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ พวกเขาคือกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด - 2 ชั่วโมงต่อปี นั่นคือจำนวนเวลาที่ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมต้นกว่าครึ่งหนึ่งใช้การสอนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และครูส่วนหนึ่งไม่สอนเรื่องนี้เลย จากการสำรวจของศูนย์ศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา - ช่วงเวลาเรียนอันน้อยนิดกับปัญหาที่ใหญ่ระดับโลกและมีเนื้อหาซับซ้อน ทำให้การถ่ายทอดความรู้เหล่านี้ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ ตามมาด้วยคำถามว่าแล้วเราจะสอนเด็กเรื่องโลกร้อนกันอย่างไรดี เชื่อว่าหลายคนในโลกนี้ไม่มีใครไม่รู้จักคำว่า 'โลกร้อน' คำคำนี้ถูกพูดถึงอยู่หลายครั้งจนบางคนเริ่มเบื่อกันไปบ้างแล้ว ความสำคัญของโลกร้อนกลายเป็นที่พูดถึงในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยสภาพภูมิอากาศที่ร้อนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและความแปรปรวนต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยากที่จะคาดเดาอนาคตของโลกนี้ได้ ขณะเดียวกัน เหล่าเด็กน้อยผู้เป็นอนาคตของชาติกลับต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วนี้จากสิ่งที่มนุษย์รุ่นก่อนกระทำไว้โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ พวกเขาคือกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่เด็กยุคนี้เข้าใจเรื่องโลกร้อนดีแค่ไหนกันแน่นะ? 2 ชั่วโมงต่อปี นั่นคือจำนวนเวลาที่ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมต้นกว่าครึ่งหนึ่งใช้การสอนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยที่ครูส่วนหนึ่งไม่สอนเรื่องนี้เลย จากการสำรวจของศูนย์ศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ปัญหาโลกร้อนยังคงถูกละเลยจากหลายคนรวมถึงเด็กด้วย เป็นภาพสะท้อนที่เห็นได้ชัดว่าการสอนเรื่องนี้กับเด็กเป็นเรื่องสำคัญมากๆ แต่ช่วงเวลาเรียนอันน้อยนิดกับปัญหาที่ใหญ่ระดับโลกที่มีเนื้อหาซับซ้อน ทำให้การถ่ายทอดความรู้เหล่านี้ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ ตามมาด้วยคำถามว่าแล้วเราจะสอนเด็กเรื่องโลกร้อนกันอย่างไรดี ทำไมเราต้องเรียนเรื่องโลกร้อนด้วย? คำถามที่ไม่ว่าเด็กคนไหนก็ต้องเคยสงสัย แม้จะได้รับคำตอบเพียงแค่ว่ามันเป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งผลต่อมนุษย์ทุกคน แต่หากเด็กไม่เข้าใจหรือไม่มีความรู้ ในอนาคตปัญหาโลกร้อนนี้ก็ไม่อาจแก้ไขหรือบรรเทาลงได้อย่างแน่นอน โรงเรียนส่วนใหญ่มักเริ่มสอนหลักสูตรเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วงมัธยมศึกษาตอนต้น เช่นในหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย แต่นอกจากการเรียนเพื่อท่องจำไปสอบ วิชานี้มีบทบาทสำคัญมากต่อสิ่งมีชีวิตทั่วโลก และวิธีการสอนของครูจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เด็กๆ ยุคนี้เข้าใจปัญหาโลกร้อนอย่างแท้จริง เช่น วิธีการสอนของ แบร์ธา วาซเกซ (Bertha Vazquez) ครูชั้นมัธยมต้น ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ที่มอบหมายให้นักเรียนชั้น ม.1 ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลังจากเกิดเหตุการณ์พายุเฮอริเคนเอียนเข้าถล่มที่สหรัฐอเมริกา โดยให้นักเรียนค้นหาข้อมูลตามเว็บไซต์ออนไลน์ว่าสาเหตุที่เกิดจากมนุษย์คืออะไรบ้าง และเว็บไซต์เหล่านั้นได้รับการสนับสนุนโดยใครหรือองค์กรใด แบร์ธา กล่าวว่านี่เป็นแบบฝึกหัดที่ซับซ้อนสำหรับเด็กอายุ 12 ปี โดยสอนให้พวกเขาแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศจากการบิดเบือนข้อมูลทางออนไลน์จำนวนมาก แต่เธอก็คิดว่ามันเป็นจุดสำคัญ เธอจึงทุ่มเทการสอนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แนวทางแก้ไข และอุปสรรคต่างๆ สำหรับแบร์ธา ครูที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี แม้นักเรียนของเธอจะเห็นผลกระทบจากโลกร้อน แต่คำว่า ?การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ? ก็ยังไม่ปรากฏในหลักสูตรการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือประถมศึกษา ส่วนรัฐอื่นๆ เช่น รัฐเทกซัสกำหนดหลักสูตรให้เรียนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3 หัวข้อหลักตามมาตรฐานจำนวนทั้งหมด 27 หน้า และรัฐมากกว่า 40 รัฐ ให้เรียนหลักสูตรการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพียงหัวข้อเดียว เวลาสอนอันน้อยนิดในยุคโลกรวน "โรงเรียนมัธยมต้นเป็นที่ที่เด็กๆ เหล่านี้เริ่มมีทิศทางทางศีลธรรมและสนับสนุนทิศทางนั้นด้วยตรรกะ โรงเรียนมัธยมต้นจึงเป็นโอกาสที่จะให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น" คือคำพูดของ ไมเคิล ปาดิลลา (Michael Padilla) ศาสตราจารย์กิตติคุณจากมหาวิทยาลัยเคลมสัน (Clemson University) และอดีตประธานสมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ด้วยมาตรฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นหลายแห่งไม่ได้ระบุหลักสูตรการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่การสอนเรื่องนี้จึงตกเป็นหน้าที่ของครูและเขตการศึกษา เพื่อหาวิธีบูรณาการเรื่องนี้เข้ากับบทเรียน ซึ่งมักจะต้องเจอกับอุปสรรค 2 ข้อหลัก คือ 1. เวลาอันจำกัด และ 2. การสนับสนุนที่ไม่เพียงพอ "เวลาเรียนแทบจะไม่เพียงพอที่จะสอนเรื่องจำเป็นต่างๆ อย่างน้อยที่สุดเด็กๆ จำเป็นต้องเรียนรู้พื้นฐานของวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ รวมถึงบทบาทของมนุษย์ ผลที่ตามมาของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ตลอดจนวิธีแก้ปัญหา" เกล็นน์ บรานช์ (Glenn Branch) รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งชาติกล่าว ผู้ปกครองชาวอเมริกันประมาณร้อยละ 80 คิดว่าโรงเรียนควรสอนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งนักเรียนก็เห็นด้วยเช่นกัน เห็นได้ชัดว่าเราต่างเห็นความจำเป็นของการทำความเข้าใจเรื่องนี้ "เด็กๆ ต่างเรียกร้องให้สอนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้นและต้องการรู้มากกว่านี้" ซาราห์ รุกจิเอโร (Sarah Ruggiero) ครูวิทยาศาสตร์ประจำเขตการศึกษายูจีน (Eugene School District) ในรัฐโอเรกอน กล่าว ประเทศไทยเองก็มีการกำหนดหลักสูตรเรื่องโลกร้อนให้เด็กเรียนเช่นกัน แต่รวมอยู่ในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีเนื้อหาอื่นๆ ที่บังคับเรียนอยู่มาก จึงมีแค่ช่วงเวลาไม่กี่คาบเรียนเท่านั้นที่เด็กไทยจะได้เรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง รวมถึงวิธีสอนของครูแต่ละคนก็แตกต่างกันทำให้เด็กๆ เรียนเพื่อท่องจำไปสอบมากกว่าศึกษาปัญหานั้นจริงๆ เราควรสอนเด็กเรื่องโลกร้อนอย่างไร? แคลร์ ซีลีย์ (Claire Seeley) ที่ปรึกษาด้านการศึกษา ให้คำแนะนำไว้ 6 ข้อว่าเราควรสอนเด็กเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร ได้แก่ 1.ทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีคำศัพท์มากมายที่เกี่ยวข้องกับการสอนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องแจกแจงแนวคิดเหล่านั้นและใช้เวลาในการสอนแนวคิดหลัก เช่น 'ภาวะเรือนกระจก' เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อก๊าซในชั้นบรรยากาศของโลกกักเก็บความร้อนของดวงอาทิตย์ 'การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' เป็นการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในระยะยาวและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดสภาพอากาศที่รุนแรงและภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ความแห้งแล้ง พายุ และความอดอยาก 2. แสดงให้เด็กๆ เห็นความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมของมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นำข้อมูลที่เห็นภาพแสดงให้เด็กๆ เห็น เช่น กราฟแสดงแนวโน้มอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาพถ่ายดาวเทียม แหล่งข้อมูลออนไลน์ต่างๆ อย่าง แหล่งสังเกตการณ์โลก ซึ่งใช้ภาพถ่ายของนักบินอวกาศในยุคแรกและภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อแสดงให้เห็นว่าลักษณะต่างๆ บนโลกเมื่อมองจากอวกาศเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถวัดการเติบโตของเมืองและการหดตัวของธารน้ำแข็งได้ ในช่วงล็อกดาวน์ เราเห็นอย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราเห็นแวบหนึ่งชั่วขณะสั้นๆ ว่าหากมนุษยชาติลดการปล่อยก๊าซ โลกก็สามารถเริ่มฟื้นตัวได้ สังเกตได้จากข้อมูลของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ กิจกรรมโดยเฉลี่ยบนถนนทั่วโลกลดลงเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปี 2019 ซึ่งส่งผลให้คุณภาพอากาศดีขึ้นชั่วคราว 3. เปิดช่วงให้นักเรียนสนทนาเรื่องโลกร้อน หาเวลาให้ผู้เรียนพูดคุยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้โอกาสพวกเขาแสดงข้อกังวล ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสของเราที่จะรับรู้ถึงความกังวลของเด็กๆ ต้องจัดช่วงเวลาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เด็กเรียนรู้และพูดคุยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ไม่ใช่แค่เพียงครั้งเดียว เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดประเภทต่างๆ เช่น การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดรอบปัญหา และการคิดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างแนวทางแก้ไขปัญหาใหม่ๆ 4. สร้างแรงจูงใจ ครูควรสนับสนุนให้ผู้เรียนคิดวิธีเชิงบวกที่พวกเขาสามารถช่วยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ เตือนพวกเขาว่านี่คือความรับผิดชอบของทุกคน ภาระนี้ไม่ควรรับผิดชอบเพียงแค่เด็กๆ กลุ่มเดียว สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กๆ รู้สึกควบคุมสถานการณ์ได้มากขึ้นและให้ความหวังแก่พวกเขา เพราะการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยก็สามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ได้ นอกจากนี้ควรสนับสนุนให้เด็กๆ เข้าร่วมโครงการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงเรียนต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจและทำงานเพื่อปรับปรุงท้องถิ่น ทำให้เด็กๆ พัฒนาความคิดในโลกที่กว้างขึ้น 5. สัมผัสกับธรรมชาติ จากการวิจัยพบว่ามนุษย์จะได้รับผลดีจากการใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทำให้เราสังเกตเห็น คิด และชื่นชมสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และส่งผลให้เรามีสุขภาพทางอารมณ์ จิตใจ และร่างกายที่ดี ครูและผู้ปกครองจึงควรสนับสนุนให้นักเรียนใช้เวลานอกบ้านและมีส่วนร่วมกับโลกหรือธรรมชาติ เช่น การนั่งเงียบๆ ใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดเพื่อมองโลกรอบตัว หรือให้เด็กๆ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ผ่านงานศิลปะ บทกวี การเต้นรำ หรือดนตรี เกี่ยวกับธรรมชาติ 6. นำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) บรรจุลงในหลักสูตรการเรียน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้โลกเป็นที่ที่ดีขึ้น หากนำหลักสูตรนี้มาผสานร่วมกันจะทำให้เด็กๆ เรียนรู้ด้วยมิติที่เป็นสากลมากขึ้นและช่วยให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ แนวทางทั้งหมดนี้เป็นเพียงภาพรวมหลักสูตรโดยย่อที่พอจะนำไปใช้ได้ แม้ครูหลายคนอาจขาดความมั่นใจ เมื่อพูดถึงโลกร้อน เพราะมันดูเป็นเรื่องใหญ่โตและกังวลว่าจะสอนผิด แต่เด็กๆ จำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะเรี่องนี้ส่งผลต่อเราทุกคน และเด็กๆ เหล่านี้คือผู้ที่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดีขึ้น อ้างอิง: nytimes.com (1, 2), bbc.co.uk https://plus.thairath.co.th/topic/naturematter/104445
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
แมงกะพรุนสดกับฟอร์มาลดีไฮด์ แมงกะพรุน อาหารจากท้องทะเลที่มีเนื้อสัมผัสกรุบกรอบ เคี้ยวเพลิน มักใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารหลายเมนู เช่น ยำแมงกะพรุน แมงกะพรุนผัดน้ำมันงา แมงกะพรุนย่างหมาล่า แมงกะพรุนลวกจิ้มในร้านชาบู สุกี้ แมงกะพรุนดองซีอิ๊ว หรือใช้เป็นเครื่องของก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ สิ่งหนึ่งที่ขอเตือนผู้ที่ชื่นชอบการทานแมงกะพรุนให้ระมัดระวังคือ การปนเปื้อนของสารฟอร์มาลดีไฮด์ หรือฟอร์มาลิน สารชนิดนี้มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อรา ปกติฟอร์มาลดีไฮด์ถูกนำมาใช้ด้านการแพทย์ เช่น ใช้ดองศพ ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ ด้านการเกษตรแต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร การตกค้างของฟอร์มาลดีไฮด์ในแมงกะพรุนสดอาจเกิดจากผู้ประกอบการหรือชาวประมงนำฟอร์มาลดีไฮด์มาผสมน้ำแล้วราดหรือแช่แมงกะพรุนสด เพื่อป้องกันการเน่าเสีย คงความสดของแมงกะพรุน ทำให้สามารถเก็บไว้ขายได้นานๆ ทว่าฟอร์มาลดีไฮด์เป็นสารอันตราย หากได้รับฟอร์มาลดีไฮด์เข้าสู่ร่างกายจากการทานอาหารในปริมาณน้อย ร่างกายจะกำจัดออกได้เองทางเหงื่อและปัสสาวะ แต่หากได้รับปริมาณมากๆ หรือมากเกินไปจะทำให้ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดท้อง ปากและคอจะแห้ง หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก อาจท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการเพลีย เหงื่อออก ตัวเย็น คอแข็ง อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ที่สำคัญฟอร์มาลดีไฮด์เป็นสารก่อมะเร็งโดย IARC จัดให้อยู่ใน Group 1 (เป็นสารก่อมะเร็งโพรงจมูก) ตามกฎหมายไทยกำหนดให้อาหารหรือส่วนประกอบของอาหารที่มีฟอร์มาลดีไฮด์ หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย สถาบันอาหารเก็บตัวอย่างแมงกะพรุนสดจำนวน 5 ตัวอย่าง จากร้านค้าในตลาดสด 5 ร้าน ในเขตกรุงเทพฯ และ จ.ปทุมธานี เพื่อนำมาวิเคราะห์ฟอร์มาลดีไฮด์ปนเปื้อน ผลการวิเคราะห์พบว่า แมงกะพรุนสดทั้ง 5 ตัวอย่างไม่พบฟอร์มาลดีไฮด์ตกค้างเลย เห็นผลอย่างนี้แล้ว ทานแมงกระพรุนกันได้อย่างสบายใจ แต่ก่อนซื้อควรดมกลิ่น หากมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ไม่ควรซื้อ ควรล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง และปรุงให้สุกก่อนทานทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย. https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/2787734
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
จีนสำรวจแม่น้ำแยงซี พบโลมาไร้ครีบ 1,249 ตัวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ จีนสำรวจระบบนิเวศแม่น้ำแยงซี แม่น้ำที่ยาวที่สุดในจีน เพื่อศึกษาถึงความหลากหลายทางชีวภาพ พบว่าปัจจุบันจำนวนโลมาไร้ครีบในแม่น้ำแยงซี มีถึง 1,249 ตัว มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ นักวิจัย 11 กลุ่ม จากกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม (MEE) กําลังวิจัยสภาพทางนิเวศวิทยาของแม่น้ำแยงซี? แม่น้ำที่ยาวที่สุดในจีน โดยเก็บตัวอย่างใน 16 มณฑล ที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำแยงซี ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนปีนี้ นักวิจัยเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในทะเลสาบโปหยาง (Poyang) ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุด ที่เชื่อมต่อแม่น้ำแยงซี ตอนกลางและตอนล่าง บริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่รวมความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งวางไข่และแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาหายากหลายชนิด เช่น โลมาไร้ครีบ เป็นต้น Hu Sheng วิศวกรอาวุโส สํานักกํากับดูแลและบริหารระบบนิเวศ ลุ่มแม่น้ำแยงซีกล่าวว่า การศึกษาจําเป็นต้องตรวจสอบคุณภาพน้ำขั้นพื้นฐาน แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสิ่งมีชีวิตหน้าดิน โดยเก็บตัวอย่างจากด้านล่าง ตรงกลาง และพื้นผิว เพื่อศึกษาถึงการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิต? จากการสำรวจ พบว่า ปัจจุบันจำนวนโลมาไร้ครีบในแม่น้ำแยงซีมีจํานวนถึง 1,249 ตัว มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ Zhang Jing วิศวกรอาวุโส สํานักกํากับดูแลและบริหารระบบนิเวศ ลุ่มแม่น้ำแยงซีกล่าวว่า โลมาไร้ครีบเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หลักในแม่น้ำแยงซี ที่อยู่ด้านบนของห่วงโซ่อาหาร เมื่อมีอาหารมากขึ้น โลมาก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน การศึกษาระบบนิเวศของแม่น้ำแยงซีมีระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2565-2567 Xu Chong หัวหน้าสํานักกํากับดูแลและบริหารระบบนิเวศ ลุ่มแม่น้ำแยงซีกล่าวว่า ขั้นตอนต่อไปคือ การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินระบบนิเวศของแม่น้ำแยงซีต่อไป? เครดิต China Media Group (CMG) https://www.dailynews.co.th/news/3471416/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
นักวิทย์เผย ระดับน้ำอาจสูงขึ้นถึง 3 เมตร ผลจากน้ำแข็งแอนตาร์กติกส่วนสำคัญกำลังละลายจากข้างใต้ เนื่องจากน้ำอุ่นไหลเข้าไป แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกมีส่วนสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา การสูญเสียมวลไม่ได้เกิดจากการที่หิมะตกลดลง แต่เกิดจากตัวแปรต่างๆ ที่เร่งความเร็วในการละลายของธารน้ำแข็งในแอนตาร์กติกา โดยในปัจจุบันทีมนักวิทยาศาสตร์ได้เผยข้อมูลว่า ธารน้ำแข็ง Thwaites ซึ่งเป็นธารน้ำแข็งขนาดกว้างกว่า 120 กิโลเมตร กำลังละลายจากข้างใต้เนื่องจากน้ำทะเลอุ่นที่ไหลเข้าไปจนทำให้เกิดโพลงด้านใต้ ซึ่งหากการละลายนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นได้ถึง 3 เมตร ธารน้ำแข็ง Thwaites เป็นหนึ่งในธารน้ำแข็งสำคัญของบริเวณขั้วโลกใต้ ตั้งอยู่ในแอนตาร์กติกาตะวันตก มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า Doomsday Glacier ? ?ธารน้ำแข็งวันโลกาวินาศ? เนื่องจากหากธารน้ำแข็งแห่งนี้ละลายจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นได้มากถึง 3 เมตร และอาจจะเป็นอย่างนั้นจริง เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ข้อมูลเรดาร์ดาวเทียมความละเอียดสูง โดยรวบรวมไว้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงมิถุนายนในปี 2022 เพื่อตรวจสอบรังสีเอ็กซ์ของธารน้ำแข็ง สิ่งนี้ช่วยให้นักวิจัยสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับฐานของธารน้ำแข็ง ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่คอยยึดและสร้างความมั่นคงให้กับธารน้ำแข็งในบริเวณนี้ทั้งหมด น้ำทะเลที่อุ่นเป็นตัวเร่งความเร็วการละลายของธารน้ำแข็ง น้ำอุ่นนี้สามารถไหลเข้าถึงไหล่ทวีป ทำให้เกิดเป็นโพรงใต้น้ำแข็ง การตรวจสอบด้วยข้อมูลเรดาห์จากอวกาศเผยให้เห็นว่าธารน้ำแข็งสำคัญแห่งนี้กำลังถูกละลายจากด้านล่าง การสำรวจพบว่าน้ำทะเลได้ดันตัวเองเข้าไปอยู่ใต้ธารน้ำแข็งแล้วเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร แล้วก็เคลื่อนตัวออกมาตามจังหวะของกระแสน้ำ เมื่อน้ำไหลเข้าไปก็จะยกพื้นของธารน้ำแข็งให้ลอยสูงขึ้นหลายเซนติเมตร น้ำที่อยู่ข้างใต้จะกระตุ้นให้เกิดการละลายมากยิ่งขึ้น น้ำจืดที่ถูกชะล้างออกไปก็จะถูกแทนที่ด้วยน้ำทะเลที่อุ่นกว่าทันที การสำรวจก่อนก่อนหน้านี้ได้เผยว่า ธารน้ำแข็งวันโลกาวินาศเริ่มละลายอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 1980 ทำให้น้ำปริมาณน้ำหลายแสนล้านตันถูกปลดปล่อยออกมา และเพิ่มระดับน้ำทะเลแล้วทั่วโลกประมาณ 4% จากระดับก่อนหน้า ศาสตราจารย์ Christine Dow ผู้เชี่ยวชาญด้านธารน้ำแข็ง และผู้ร่วมเขียนงานวิจัย จาก University of Waterloo CANADA กล่าวว่า?ธารน้ำแข็งแห่งนี้เป็นเหมือนเขื่อนธรรมชาติที่คอยป้องกันไม่ให้น้ำแข็งโดยรอบละลายตามไปด้วย การละลายที่รวดเร็วนี้จึงเป็นสิ่งที่น่ากังวล นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามหาข้อมูลว่าว่า ธารน้ำแข็ง Thwaites กำลังเสี่ยงต่อการละลายมากแค่ไหน หากเรากำลังประเมินความเร็วของธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย ต่ำเกินไปก็จะสร้างความเสียหายให้กับชุมชนชายฝั่งทั่วโลกได้? แม้ในปัจจุบันนี้ จะยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะบอกได้ชัดเจนว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหน ก่อนที่การบุกรุกของกระแสน้ำทะเลจนละลายธารน้ำแข็งจากข้างใต้ จะส่งผลมากแค่ไหนและจะถึงจุดที่ไม่สามารถย้อนกลับ แต่ด้วยการปรับปรุงแบบจำลองและมุ่นเน้นการวิจัยเกี่ยวกับธารน้ำแข็งที่สำคัญเหล่านี้ จะทำให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนว่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ หรืออีกหลาย 10 ปี หรืออีก 100 ปี ข้อมูล ? รูปอ้างอิง - www.pnas.org - www.iflscience.com - www.livescience.com - fb : Environman https://mgronline.com/science/detail...45122?tbref=hp
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
"ดร.ธรณ์" พาทำความรู้จัก "เกาะร้องไห้" ลั่นไม่ใช่เกาะร้องไห้เอง แต่เป็นเกาะที่ใครเห็นก็อยากร้องไห้ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ โพสต์ข้อความ เผยภาพเกาะร้องไห้ ลั่นไม่ใช่เกาะร้องไห้เอง แต่เป็นเกาะที่ใครเห็นก็อยากร้องไห้ เพราะรอบเกาะเต็มไปด้วยความตายสีขาวของปะการังที่กำลังตายในยุคทะเลเดือด วันนี้ (26 พ.ค.) เฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" หรือ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ระบุข้อความว่า ?วันนี้จะแนะนำ เกาะร้องไห้ ให้เพื่อนธรณ์รู้จัก ไม่ใช่เกาะร้องไห้เองได้ แต่เป็นเกาะที่ใครเห็นก็อยากร้องไห้ เพราะรอบเกาะเต็มไปด้วยความตายสีขาว ขาวตั้งแต่ที่ตื้น น้ำลึกแค่เอว เรื่อยไปจนถึงน้ำมิดหัว ลงไปลึก 3-4 วา ก็ยังเห็นเป็นสีขาว นั่นคือสีของปะการังที่กำลังตายในยุคทะเลเดือด ปะการังแทบทุกชนิด แทบทุกก้อนที่ดำน้ำดู ตอนนี้เป็นสีขาว มีบ้างที่ไม่ขาวแล้ว กลายเป็นสีน้ำตาลคล้ำหรือสีเขียวขุ่น ไม่ใช่เธอฟื้น แต่เธอตายสนิท จนสาหร่ายเกาะหรือตะกอนทับถม การสำรวจเกาะร้องไห้ นักวิทยาศาสตร์ต้องกล้าพอเจอกับความตายถี่ๆๆ ลองมองดูภาพอีกที ขนาดจากฟ้ายังขาวเพียงนี้ ในน้ำจะแค่ไหน NOAA คาดการณ์ว่า ตั้งแต่วันนี้ต่อไปอีก 3-4 สัปดาห์จะเป็นช่วงปะการังฟอกขาวโหดสุดของทะเลไทย หากเทียบกับ 8 ปีก่อน ในบางพื้นที่ หนนี้โหดกว่า เกาะร้องไห้แบบนี้ไม่ได้มีแห่งเดียว แต่มีเพียบเลย ภาคตะวันออก เรื่อยไปถึงชุมพร สุราษฎร์ฯ ยาวไปถึงสงขลา เกาะที่อยู่ใกล้ฝั่งเกือบทั้งหมดกำลังร้องไห้ ข้ามไปอันดามัน ตรัง กระบี่ สตูล หลายเกาะชายฝั่งเจอฟอกขาวรุนแรง และอาจมีแรงกว่าติดตามมา ช่วงนี้ผมอยู่กับแนน ผู้เชี่ยวชาญปะการังฟอกขาวของกรมทะเล และผู้จัดทำแพลตฟอร์มของไทย เราเพิ่งขึ้นจากน้ำ เรามองหน้ากัน เราก็แค่กลั้นน้ำตาและพยายามต่อไป โลกร้อนเพราะมนุษย์ เพราะก๊าซเรือนกระจกจริงหรือไม่? ผมตอบคำถามนี้มากว่า 30 ปีแล้ว ผมไม่ตอบแล้ว ใครอยากเชื่ออย่างไรก็ตามสบาย แต่ผมตอบได้ว่า ตั้งแต่ทำงานมา ผมไม่เคยเห็นเกาะแล้วอยากร้องไห้เหมือนที่เห็นในวันนี้ และคงไม่มีวันหน้าที่ผมอยากจะร้องไห้หนักกว่านี้ เพราะวันหน้า พวกเธอคงตายหมดแล้ว ไม่ต้องร้องแล้ว ใช่ไหมธรณ์" https://mgronline.com/onlinesection/...45247?tbref=hp
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|