|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 16 ? 17 ก.ย. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมเข้าปกคลุมประเทศเมียนมาในวันที่ 17 ก.ย. 66 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร บริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18 ? 21 ก.ย. 66 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีกำลังอ่อนลง และจะเลื่อนลงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 16 ? 17 ก.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
16 กันยายน "วันโอโซนโลก" ร่วมกันพิทักษ์ เห็นความสำคัญของเกราะป้องกันโลก - วันที่ 16 กันยายน "วันโอโซนโลก" ร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญของ "โอโซน" ที่ทำหน้าที่ปกป้องโลก - ความสำคัญของ "โอโซน" ทำหน้าที่ปกป้องโลก หากไม่มีโอโซนจะส่งผลกระทบอย่างไร - เริ่มที่ตัวเรา แนะวิธีง่ายๆ เปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันมาร่วมกันปกป้องโอโซน ทุกวันที่ 16 กันยายน ถูกกำหนดให้เป็น "วันโอโซนโลก" เพื่อให้ทุกคนร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญของ "โอโซน" ที่ทำหน้าที่ปกป้องโลก แต่ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา โอโซนถูกทำลายไปมหาศาลจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะจากการปล่อยสาร CFCs ซึ่งเป็นตัวการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ จนเกิดเป็นช่องโหว่โอโซนขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วโลก ทำให้รังสีจากดวงอาทิตย์ผ่านมายังโลกได้โดยตรง ด้วยเหตุนี้ นานาประเทศจึงร่วมกันจัดทำ "อนุสัญญาเวียนนา" ในปี พ.ศ. 2528 และพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน และจัดให้ลงนามในพิธีสารมอนทรีออลขึ้นในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2530 โดยประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยกันลดใช้สาร CFCs ซึ่งเป็นตัวทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ความสำคัญของโอโซน โอโซน (Ozone หรือ O3) เป็นก๊าซในชั้นบรรยากาศที่ประกอบด้วยออกซิเจน 3 อะตอม เป็นก๊าซสีฟ้าจางๆ มีกลิ่นฉุน พบมากในชั้นสตาโตสเฟียร์ มีหน้าที่สำคัญ คือ ช่วยกรองรังสีอัลตราไวโอเลต หรือยูวี จากดวงอาทิตย์ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก รวมทั้งช่วยป้องกันระบบนิเวศวิทยาไม่ให้เสียสมดุล CFCs ตัวร้ายทำลายโอโซน เป็นที่ทราบดีว่า CFCs หรือ Chlorofluorocarbons เป็นตัวการทำลายโอโซน ซึ่งส่วนมากมาจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์ให้ความเย็นในชีวิตประจำวัน อาทิ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศในบ้านหรือรถยนต์ กระป๋องสเปรย์ฉีดพ่นต่างๆ รวมทั้งในขั้นตอนการผลิตโฟม มีองค์ประกอบเป็น คลอรีน ฟลูออไรด์ และโพรวีน เมื่อโอโซนถูกทำลายมากเข้าจะทำให้เกิดเป็นช่องโหว่โอโซน (Ozone hole) ขนาดใหญ่ในหลายแห่งทั่วโลก ส่งผลให้รังสียูวีผ่านมายังโลกได้โดยตรง ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ผลกระทบจากช่องโหว่โอโซน "โอโซน" ทำหน้าที่เหมือนโล่ป้องกัน เมื่อเกิดช่องโหว่โอโซน จะทำให้รังสียูวีจากดวงอาทิตย์ผ่านมายังโลกในปริมาณที่เข้มข้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก หากมนุษย์ได้รับรังสียูวีมากเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง โรคต้อกระจก หรืออาจอันตรายถึงขั้นตาบอด รวมทั้งทำให้ผิวเหี่ยวย่นก่อนวัย รวมไปถึงส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน นอกจากรังสียูวีที่ผ่านลงมายังโลกมากขึ้น ยังส่งผลต่อพืชพันธุ์บนโลก เช่น กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ทำให้ลักษณะทางกายภาพของพืชเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งทำให้เกิดโรคพืช วิธีช่วยกันปกป้องโลก ดังนั้นเราสามารถช่วยโลก ด้วยการเลือกซื้อและใช้เครื่องปรับอากาศที่มีสัญลักษณ์ Non CFCs, หมั่นตรวจเช็กระบบแอร์รถยนต์ในอู่ที่ได้มาตรฐาน หมั่นล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศในบ้าน, เลิกใช้อุปกรณ์ที่เป็นลักษณะกระป๋องสเปรย์ รวมทั้งวัสดุที่ทำจากโฟม https://www.thairath.co.th/news/sustainable/2725548 ****************************************************************************************************** เลี้ยงราชินีคอลลาเจน ขั้นต่ำ กก.ละ 1,000 บาท .................... โดย ชาติชาย ศิริพัฒน์ เป๋าฮื้อ...ชื่อหอยทะเล มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ทั้งระบบประสาท สมอง กระดูก ข้อต่อ จึงมีมูลค่าทางการตลาดสูง เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ หอยเป๋าฮื้อยังมีคอลลาเจนที่มีคุณภาพสูง จึงถูกขนานนามว่าเป็น "ราชินีแห่งคอลลาเจน" ละถูกนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ แต่หอยเป๋าฮื้อของไทยเข้าสู่ตลาดได้น้อยมาก เนื่องจากที่ผ่านมาหอยเป๋าฮื้อของไทยได้มาจากการจับจากธรรมชาติทั้งหมด ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมให้ได้ขนาด คุณภาพและปริมาณที่แน่นอนอย่างต่อเนื่องได้ กรมประมงจึงได้เริ่มทำการศึกษาวิจัยการเพาะและอนุบาล หอยเป๋าฮื้อพันธุ์ไทยชนิด Haliotis asinina จนประสบผลสำเร็จในปี 2531 โดยศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จ.ระยอง และกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ ได้พัฒนาเทคนิคการเพาะพันธุ์หอยเป๋าฮื้อพันธุ์ไทย จนสามารถควบคุมการผสมพันธุ์ ผลิตลูกพันธุ์หอยได้ปริมาณตลอดทั้งปี นอกจากนั้น กรมประมงยังได้พัฒนาเทคนิคในการเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อพันธุ์ไทยชนิด H. asinina และถ่ายทอดเทคนิคการเพาะเลี้ยงให้แก่เกษตรกรได้นำไปประกอบเป็นอาชีพในการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อตามพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน "หอยเป๋าฮื้อ หรืออะบาโลน (abalone) ที่พบทั้งหมดในโลกมีประมาณ 70-80 ชนิด แต่ชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมีประมาณ 22 ชนิด แต่ในส่วนของประเทศไทยจากการสำรวจพบว่ามีหอยเป๋าฮื้ออยู่ 3 ชนิด ได้แก่ Haliotis asinina, H. ovina และ H. varia สำหรับหอยเป๋าฮื้อพันธุ์ไทยชนิด H. asinina ที่กรมประมงเพาะพันธุ์ได้ จะมีลักษณะเด่นคือมีเปลือกติดกับกล้ามเนื้อเท้าขนาดใหญ่แข็งแรง ไม่มีฝาปิดเปลือก มีลักษณะคล้ายจานรี มีสีเขียวเข้ม น้ำตาลหรือแดงคล้ำ ตามขอบเปลือกมีรูเล็กๆ เรียงเป็นแถวยาวไปจนถึงขอบปาก" ส่วนวิธีการเพาะเลี้ยง นางสุทธินี ลิ้มธรรมมหิศร ผอ.กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง บอกว่า จะใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 1 ปี พ่อแม่พันธุ์หอยจะมีความสมบูรณ์เพศตลอดทั้งปี แต่ไข่จะมีปริมาณมากที่สุดในช่วง ม.ค.-ก.พ. โดยการปล่อยไข่ในแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่กับขนาดของแม่หอย หากมีขนาดเล็ก จะให้ปริมาณไข่น้อย แต่เพศเมียที่เหมาะสมกับการนำมาเพาะจะมีขนาดตั้งแต่ 5.5 ซม.ขึ้นไป จะให้ไข่ครั้งละ 200,000-600,000 ฟอง มีอัตราการฟัก 60-80% และพัฒนาถึงระยะเกาะวัสดุประมาณ 30% มีอัตรารอดเป็นลูกหอยขนาด 1-2 มม. 0.5% "ขั้นตอนการเลี้ยงที่สำคัญ คือ เตรียมสถานที่จะเพาะเลี้ยง ต้องอยู่ใกล้ทะเลเพราะจะต้องมีการสูบน้ำให้ไหลหมุนเวียนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งยังควรเป็นสถานที่ที่อยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อป้องกันผลผลิตเสียหายได้ เมื่อได้สถานที่แล้วเตรียมบ่อสำหรับเลี้ยงพันธุ์หอย และที่หลบซ่อนของตัวหอยเป๋าฮื้อ เช่น กระเบื้องมุมโค้ง หรือแผ่นพีวีซีงอเป็นรูปตัว ?V? จากนั้นสูบน้ำเข้าบ่อพัก โดยน้ำจากบ่อพักจะผ่านเข้าสู่บ่อกรอง ซึ่งมีวัสดุจำพวกกรวดและทรายช่วยกรองน้ำก่อนแล้วจึงใช้ถุงกรอง ซึ่งเป็นผ้าสักหลาดมีขนาดช่องตา 5-10 ไมครอน กรองอีกครั้งที่ปลายท่อส่งน้ำก่อนเปิดลงสู่บ่อเลี้ยง" เมื่อเตรียมบ่อเรียบร้อยแล้ว ผอ.กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบอกว่า สามารถหาพันธุ์หอยเป๋าฮื้อมาเลี้ยงลงในบ่อได้ ส่วนอาหารที่ให้แก่หอยมีทั้งสาหร่ายผมนาง สาหร่ายสีแดงชนิดต่างๆ และอาหารสำเร็จรูป โดยให้สาหร่ายไม่เกินร้อยละ 20 ของน้ำหนักหอย ทุกๆ 2 วัน หรืออาหารสำเร็จรูปไม่เกินร้อยละ 3 ของน้ำหนักหอย โดยให้วันละครั้ง พร้อมทั้งควรจัดการคุณภาพน้ำในบ่อให้ดีอยู่เสมอ ป้องกันไม่ให้เกิดน้ำเน่าเสีย โดยใช้เวลาเพาะเลี้ยงประมาณ 1 ปี สามารถเก็บผลผลิตไปขายได้ จากการสำรวจราคาหอยในตลาดปัจจุบันพบว่า หอยเป๋าฮื้อขนาด 3?5 ซม. ราคาขาย กก.ละ 1,000 บาท และขนาด 7 ซม. ราคาขายขั้นต่ำ กก.ละ 1,500 บาท อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อถึงจะได้ราคาดี แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนาน ทำให้ระหว่างการเพาะเลี้ยง เกษตรกรจะไม่มีรายได้เข้าสู่ฟาร์ม ขณะที่เกษตรกรต้องมีรายจ่ายค่าไฟฟ้าและค่าแรงงานอยู่แล้ว และจากการที่หอยเป๋าฮื้อเป็นสัตว์กินพืช ทำให้สิ่งขับถ่ายมีความเป็นพิษต่ำ นางสุทธินี แนะนำว่า ดังนั้น การทำฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อแบบผสมผสาน เป็นแนวทางที่จะทำให้เกิดรายได้เข้าสู่ฟาร์ม และเป็นการใช้ทรัพยากรในฟาร์มอย่างคุ้มค่าและกระจายความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจอีกด้วยหากมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี จากการศึกษาสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ที่สามารถเพาะเลี้ยงแบบผสมผสานในฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อได้ดี ควรเป็นสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว ใช้พื้นที่ในการอนุบาลไม่มากและตลาดมีความต้องการสูง เช่น หอยหวาน ชนิด Babylonia areolata ปูม้า สาหร่ายทะเล หรือปลาทะเลสวยงามชนิดต่างๆ เป็นต้น สำหรับเกษตรกรผู้สนใจเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ โทร.0-3266-1398 หรือกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โทร.0-2579-4496. https://www.thairath.co.th/news/local/central/2725218
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
เขตมรณะ! ผศ.ดร.ธรณ์ เตือนปัญหา 'ทะเลเขียว' ชลบุรีวิกฤติยาวถึงสิ้นต.ค. ทะเลชลบุรี จ่อวิกฤตหนัก หลัง อาจาร์ธรณ์ เตือนปัญหา 'ทะเลเขียว' ซ้ำซากกลายเป็น "เขตมรณะ" สัตว์ตายเกลื่อน ระบุสถานการณ์ลากยาวถึงปลายตุลาคม เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" เกี่ยวกับทะเลเขียว ในจ.ชลบุรี ระบุข้อความว่า "อยากอธิบายเรื่องเหตุการณ์น้ำเขียวปลาตายครั้งใหญ่ที่บางแสน โดยใช้ผลสำรวจล่าสุดของคณะประมง มก. ปลานานาชนิดตายจากแพลงก์ตอนบลูม เรื่องนี้คงเป็นที่ทราบกันแล้ว แพลงก์ตอนบลูมเกิดนอกชายฝั่ง มวลน้ำที่เต็มไปด้วยแพลงก์ตอนพืชเคลื่อนที่ไปตามคลื่นลม ลมฤดูนี้พัดเข้าฝั่งบางแสนศรีราชา แต่จะมีจังหวะลมแรง/ลมนิ่ง ยังเกี่ยงข้องกับกระแสน้ำชายฝั่งที่ขึ้นกับน้ำขึ้น/น้ำลง ในภาพคือชายฝั่งวอนนภา/บางแสน จุดที่มีน้ำเขียวปลาตายเมื่อ 2-3 วันก่อน ดูจากภาพจะเห็นว่าริ้วน้ำถูกพัดไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป๊ะๆ ตามตำราหาดบางแสนถึงวอนนภา ยื่นออกมาจากชายฝั่ง จึงกลายเป็นเขตรับมวลน้ำเขียวจากทะเล รวมถึงปลาตายที่ลอยมาตามกระแสน้ำ/คลื่นลม มวลน้ำเขียวยังไหลเข้าสู่แพเพาะเลี้ยงริมชายฝั่ง หากอยู่ขอบนอกก็เจอเยอะหน่อย แพลงก์ตอนไม่เป็นพิษ แต่เมื่อมีเยอะมากๆ จะทำให้แสงส่องลงไปในน้ำได้น้อยมาก แพลงก์ตอนพืชในน้ำชั้นล่างจึงตายพร้อมกัน เกิดการย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ทำให้ออกซิเจนในมวลน้ำชั้นกลาง/ใกล้พื้นทะเลลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว ออกซิเจนในน้ำจะต่ำลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ บางหนถึงขั้นไม่รอด ปัจจัยว่าน้ำเขียวเข้าที่ไหน จึงเกี่ยวข้องกับทิศทางของน้ำ (คลื่นลม/กระแสน้ำ/น้ำขึ้นน้ำลง) และลักษณะชายฝั่ง หากลมเปลี่ยนทิศนิดเดียว หรือกระแสน้ำชายฝั่งเปลี่ยนแปลง จุดน้ำเขียวปลาตายก็อาจเขยิบไป แต่ช่วงนี้ยังไงก็วนเวียนอยู่แถว บางแสน/บางพระ/ศรีราชา เมื่อลมเบาลง มวลน้ำเขียวก็อาจไม่ลอยเข้าไป อีกทั้งแพลงก์ตอนไม่ได้บลูมต่อเนื่อง จะมาเป็นช่วงๆ จึงมีเวลาให้ชายฝั่งพักหายใจบ้าง แต่ตอนนี้ความถี่ในการบลูมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เวลาพักเบรคจึงมีน้อยลง วันนี้พรุ่งนี้ลมแถวนั้นก็เริ่มแรงขึ้น ทิศทางคล้ายเดิม ชายฝั่งอาจเจอน้ำเขียวระลอกใหม่ สถานการณ์เป็นเช่นนี้ไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม จากนั้นจะถึงช่วงบางแสนน้ำใส พักปิดเทอมกันยาวๆ จนถึงหน้าฝนปีหน้า แล้วเราทำอะไรได้บ้างล่ะ ? แพลงก์ตอนบลูมที่ถี่ขึ้น กลายเป็นภัยคุกคามรุนแรงของชายฝั่งแถบนี้ หากคิดจะสู้ เราต้องยกระดับการรับมือ ภาพที่นำมาให้เพื่อนธรณ์ดู คือหนึ่งการทดลองการยกระดับของคณะประมง ใช้เทคโนโลยีและการสำรวจร่วมกันหลายรูปแบบ เพื่อเข้าใจและเตือนภัยล่วงหน้า แต่จะไปต่อได้แค่ไหน ก็ต้องรอดูความจริงจังในการสนับสนุนช่วยกันของทุกฝ่าย เหมือนกับที่เคยบอกเพื่อนธรณ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าครับ" https://www.dailynews.co.th/news/2722221/ ****************************************************************************************************** เมนูสยอง! หนุ่มวัย 30 เปิบ 'หอยนางรมสด' ติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อดับสลด หนุ่มเท็กซัส วัย 30 ปี กินหอยนางรมสด ป่วยเข้าโรงพยาบาล 2 วัน เสียชีวิต คาดติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อ ในกระแสเลือด เกิดแผลพุพองผิวหนังรุนแรง เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ "World Forum ข่าวสารต่างประเทศ" โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า "สหรัฐ : แบคทีเรียกินเนื้อเยื่อ พบเคสมากขึ้นในสหรัฐ" ชายชาวเท็กซัส วัย 30 ปีเสียชีวิต (11/09/2023) ติดเชื้อจากกินหอยนางรมสด ปรุงจากร้านอาหารในเท็กซัส หลังเขากินไปหลายตัว เขาป่วยและเข้าโรงพยาบาล 2 วันต่อมาเขาเสียชีวิต เขามีโรคประจำตัวคือโรคตับ แพทย์ได้ตรวจสอบอาหารที่เขาทาน ติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio vulnificus การติดเชื้อ Vibrio ส่วนใหญ่ที่เกิดจากหอยนางรมสด จะส่งผลให้เกิดอาการท้องเสียและอาเจียน แต่การติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio vulnificus อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดและทำให้เกิดแผลพุพองที่ผิวหนัง อย่างรุนแรง CDC รายงานประมาณ 15 ? 30% ของผู้ติดเชื้อเสียชีวิต แบคทีเรียหรือไวรัสที่มีอยู่ในหอยนางรมอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้เมื่อทานหอยนางรมดิบหรือปรุงไม่สุก ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น มะเร็ง โรคตับ เบาหวาน หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น และรุนแรงหากติดเชื้อ แบคทีเรีย Vibrio vulnificusสามารถพบได้ในอาหารทะเลดิบหรือปรุงไม่สุก แต่ก็พบตามธรรมชาติในน้ำเค็มและน้ำกร่อย เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล พบได้ทั่วไปในพื้นที่ชายฝั่งทะเลและปากแม่น้ำ แม้ว่าแบคทีเรียจะไม่กินเนื้อจริงๆ แต่การติดเชื้อVibrio vulnificus อาจทำให้เกิดเนื้อตาย ซึ่งสร้างความเสียหายหรือทำลายเนื้อเยื่อรอบแผลได้ อุณหภูมิของน้ำที่เพิ่มขึ้นและ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศสุดขั้ว (เช่น คลื่นความร้อน น้ำท่วม และพายุรุนแรง) ทำให้โอกาสการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น สถิติในสหรัฐต่อปี 80,000 คน และเสียชีวิตประมาณ 100 คน โพสเมื่อ 30 สิงหาคม 2023 นางแบบติดเชื้อแบคทีเรีย และต้องสูญเสียขา (vibrio vulnificus พัฒนาเป็น necrotizing fasciitis) อ่านในลิงก์ https://m.facebook.com/story.php?sto...ibextid=Nif5oz ขอบคุณข้อมูล ? ภาพ เพจ "World Forum ข่าวสารต่างประเทศ". https://www.dailynews.co.th/news/2722244/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
สาวแชร์อุทาหรณ์ ดำน้ำอยู่ดี ๆ มือแสบร้อน เป็นตุ่มน้ำพองปริศนา อุทาหรณ์! สาวแชร์ "เที่ยวดำน้ำ" อยู่ๆ มือแสบร้อน เป็นตุ่มน้ำพองหนักมาก กลายเป็น "แผลปริศนา" ชาวเน็ตช่วยหาคำตอบ แนะระวังความสวยท้องทะเลซ่อนอันตราย กลายเป็นเรื่องราวที่ชาวเน็ตบนโลกออนไลน์ต่างพากันให้ความสนใจ หลังผู้ใช้ TikTok "zepiaaa" ได้ออกมาโพสต์เตือนภัยใกล้ตัว และเป็นอุทาหรณ์ให้เธอจำไปอีกนาน โดยระบุแคปชั่น "ขอให้ไม่มีใคร เจอเรื่องร้ายๆแบบนี้.. #ดำน้ำ" พร้อมเล่าเรื่องราวไปดำน้ำ จากนั้นไปถ่ายรูปกับปลาการ์ตูนอย่างสวยงาม แต่หลังจากนั้นไม่นาน เธอรู้สึกปวดแสบร้อนที่มือ จนทนไม่ไหว ต้องกลับขึ้นฝั่งแบบด่วน ๆ ทว่า ผ่านไปครู่เดียว ก็เกิด "แผลปริศนา" ขึ้นที่มือ เป็นตุ่มน้ำพองหนักมาก เธอจึงรีบหาน้ำส้มสายชูมาราด ก่อนจะหายาขี้ผึ้งมาทา และคิดเอาเองว่าคงเป็นแผล กินยาแก้แพ้ และสเตียรอยด์เดี๋ยวก็คงดีขึ้น แต่สุดท้ายหลังจากผ่านไป 1 วัน ก็มีอาการบวมรวมด้วย จึงตัดสินใจไปหาหมอเฉพาะทาง โดยหมอระบุว่า น่าจะโดนพิษสัตว์ใต้ทะเล ถ้าแผลแฉะแล้ว เข็มพิษยังอยู่ที่ผิวหนัง มันจะยัง Active กระจายพิษต่อไปได้อีก ซึ่งตอนนี้เธอใช้เวลาหลายเดือนในการรักษา และมีอาการดีขึ้นตามลำดับ จนผิวบริเวณที่โดนพิษเริ่มกลับมาเกือบปกติ งานนี้เมื่อแชร์ออกไป ชาวเน็ตเข้ามารับชมคลิปกว่า 4 ล้านวิว พร้อมคอมเมนต์กันสนั่น หลายคนได้เข้ามาแชร์ประสบการณ์ ว่าเคยโดนเหมือนกัน คาดว่าน่าจะโดนพิษดอกไม้ทะเล จริง ๆ เพราะพวกปลาการ์ตูนจะชอบอยู่ใกล้พวกพืชทะเลมีพิษ ขณะเดียวกันเจ้าของคลิปก็ได้เข้ามาอธิบายเพิ่มเติมว่า "หมอบอกว่าโดนสิ่งมีชีวิตที่มีพิษใต้ทะเล แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นตัวอะไร แต่เจ้าหน้าที่อุทยานฯ บอกว่าอาจจะเป็นดอกไม้ทะเล" https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_7868537
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV
งานวิจัยเผย แม่น้ำทั่วโลกคุณภาพย่ำแย่ลง เพราะโลกร้อนขึ้น มหาวิทยาลัย University of Adelaide ประเทศออสเตรเลีย เผยว่า โลกร้อนมีส่วนทำให้แม่น้ำลำคลองทั่วโลกมีคุณภาพแย่ลงจริง อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จากสภาวะโลกร้อน นอกจากจะสร้างความปั่นป่วนให้กับสภาพอากาศโลกแล้ว ยังมีส่วนทำให้แม่น้ำหลายสายทั่วโลกมีคุณภาพแย่ลง จากทั้งผลกระทบน้ำร้อน การบลูมของตะไคร่น้ำ และค่าความเค็มที่สูงขึ้นเพราะภัยแล้ง งานวิจัยเผย แม่น้ำทั่วโลกคุณภาพย่ำแย่ลง เพราะโลกร้อนขึ้นใครจะไปคิด ว่าที่เห็นแม่น้ำหลายสายคุณภาพย่ำแย่ลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสภาวะโลกร้อน ผลงานจากการรวบรวมงานศึกษาวิจัยกว่า 1,000 ฉบับที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำทั่วโลก โดยมหาวิทยาลัย University of Adelaide ประเทศออสเตรเลีย เผยว่า โลกร้อนมีส่วนทำให้แม่น้ำลำคลองทั่วโลกมีคุณภาพแย่ลงจริง โดยหลายๆ งานวิจัย ชี้ว่า 56% ของรายงานที่พบผลกระทบคุณภาพแม่น้ำลดต่ำจากสภาวะโลกร้อน ล้วนแล้วรายงานเกี่ยวกับปริมาณออกซิเจนในน้ำที่ลดต่ำลง เพราะอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้น ร่วมกับการบลูมของตะไคร่และสาหร่ายในน้ำ งานวิจัยเผย แม่น้ำทั่วโลกคุณภาพย่ำแย่ลง เพราะโลกร้อนขึ้นนอกจากนี้ หลายๆ งานวิจัยยังพบว่า "สภาวะภัยแล้ง" จากผลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีผลทำให้ค่าความเค็มของน้ำในแม่น้ำพุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบนิเวศที่เป็นระบบนิเวศน้ำจืด ระดับน้ำที่แห้งงวดลง ยังทำให้ปริมาณสารพิษและมลภาวะที่ละลายในน้ำมีความเข้มข้นขึ้นด้วย ยิ่งสร้างผลเสียต่อคุณภาพน้ำในแม่น้ำทบเท่าทวีคูณ จากการรีวิวงานวิจัยกว่าพันฉบับที่ว่า พบว่า ปัจจัยความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีผลต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำ นั่นก็คือ อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น จนทำให้ระบบนิเวศของแม่น้ำเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเมื่อ น้ำร้อนขึ้นและปริมาณตะไคร่น้ำและสาหร่ายในน้ำเพิ่มขึ้น จนทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำลดต่ำลง งานวิจัยเผย แม่น้ำทั่วโลกคุณภาพย่ำแย่ลง เพราะโลกร้อนขึ้นหนึ่งในตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบชัดเจนของสภาวะโลกร้อนที่มีต่อความเสื่อมโทรมของแม่น้ำ มาจากกรณีที่พบว่า แม่น้ำ Murray ในออสเตรเลียต้องพบกับสภาวะคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมลงอย่างเห็นได้ชัด ระหว่างช่วงภัยแล้งแห่งสหัสวรรษระหว่างปี 2007 ? 2020 ซึ่งพบว่า น้ำในแม่น้ำลดต่ำจนเกิดค่าความเค็มและค่าความเป็นกรดในน้ำพุ่งสูง จนเป็นเหตุให้เกิดปลาตายเป็นจำนวนมากในปี 2019 "จากผลงานวิจัยหลายๆ ฉบับ ระบุตรงกันว่าผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนส่งผลต่อคุณภาพน้ำในแม่น้ำอย่างชัดเจนและน่ากังวลขึ้นเรื่อยๆ ตรงกับหลายๆ การคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่เคยเตือนไว้ถึงผลกระทบโลกร้อนต่อระบบนิเวศแม่น้ำทั่วโลก" Luke Mosley หนึ่งในคณะนักวิจัย กล่าว Mosley กล่าวเตือนว่า แม่น้ำมีความสำคัญต่อทั้งการดำรงชีวิตของมนุษย์และความอยู่รอดของโลกธรรมชาติมาก เพราะนอกจากแม่น้ำเป็นระบบนิเวศสำคัญที่สุดระบบหนึ่ง แม่น้ำยังเป็นแหล่งทรัพยากรล้ำค่าที่ให้ น้ำจืด สำหรับการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ตลอดจนทรัพยากรสัตว์น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน หากเรายังปล่อยให้แม่น้ำของเราเสื่อมโทรมลงจากผลสภาวะโลกร้อน สุดท้ายแล้วผู้ที่จะได้รับผลกระทบตามมานั่นคือมนุษย์เรานั้นเอง https://www.nationtv.tv/gogreen/378930309
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|