|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงรวมทั้งระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ที่ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันมากขึ้น เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง และมีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 29 ธ.ค. 66 ? 1 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็น ส่วนส่วนในช่วงวันที่ 2 ? 3 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลง กับมีลมแรง ในช่วงวันที่ 28 ธ.ค. 66 ? 1 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะเริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2 ? 3 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 29 ? 30 ธ.ค. 66 ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
สลด ฉลามขย้ำหนุ่มวัยรุ่นดับคาหาดออสเตรเลีย หนุ่มวัยรุ่นถูกฉลามทำร้ายจนเสียชีวิต ที่ชายหาดซึ่งเป็นสถานที่โต้คลื่นยอดนิยมในภาคใต้ของออสเตรเลีย โดยเจ้าหน้าที่ยังตามหาฉลามที่ก่อเหตุไม่พบ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หนุ่มวัยรุ่นถูกฉลามจู่โจมในทะเลนอกหาด เอเธล บีช (Ethel Beach) ในอุทยานแห่งชาติ อินเนส (Innes) บริเวณคาบสมุทรยอร์ค (Yorke) ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 ธ.ค. 2566 โดยเจ้าหน้าที่สามารถเก็บกู้ศพของเขากลับมาได้สำเร็จแล้ว ตามแถลงการณ์ของสำนักงานตำรวจรัฐ เซาท์ออสเตรเลีย เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งเหตุฉลามทำร้ายคนในเวลาประมาณ 13.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยตำรวจยืนยันว่าผู้ตายเป็นหนุ่มวัยรุ่น แต่ไม่ได้เปิดเผยอายุของเขาแต่อย่างใด ด้านนาย มาร์ตี กูดี ชาวบ้านท้องถิ่นซึ่งมาเล่นโต้คลื่นที่หาดเอเธล บีช มานานหลายทศวรรษแล้ว บอกกับสำนักข่าว เอบีซี นิวส์ ว่า ผู้เสียชีวิตน่าจะอยู่ห่างจากชายฝั่งราว 30-40 ม. เขาเผยด้วยว่า ทะเลแถบนี้มีฉลามให้เห็นอยู่เป็นประจำ แต่ดูเหมือนว่าพวกมันเริ่มปรากฏตัวบ่อยขึ้นมาก ทั้งนี้ เอเธอล บีช เป็นหาดที่มีความยาว 400 ม. เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม โดยเฉพาะสำหรับนักโต้คลื่น เนื่องจากทะเลแถบนี้มีคลื่นสูงเฉลี่ยถึง 1.5 ม. ชาวบ้านท้องถิ่นบอกด้วยว่า นี่นับเป็นเหตุฉลามทำร้ายคนจนเสียชีวิตครั้งแรกที่เกิดขึ้นที่หาดเอเธล บีช แต่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เกิดเหตุการลักษณะนี้ขึ้นในรัฐเซาท์ออสเตรเลียหลายครั้งแล้ว โดยในเดือนพฤษภาคมมีนักโต้คลื่นถูกฉลามทำร้ายเสียชีวิตที่คาบสมุทรเอร์ (Eyre) และก่อนหน้านั้นในเดือนกุมภาพันธ์ เด็กผู้หญิงคนหนึ่งถูกฉลามขย่ำในแม่น้ำของเมืองเพิร์ธ https://www.thairath.co.th/news/foreign/2751353
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
2023 ปีที่ร้อนเร็วที่สุดของประวัติศาสตร์อาร์กติก ผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากรายงานของ Seung Ki Min ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์โพฮัง ประเทศเกาหลีใต้ ที่ได้เผยแพร่ในวารสารออนไลน์ Nature communications ว่า น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ?เขตอาร์กติก? อาจหายไปหมดภายในปี 2030 นี้ เพราะผลจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้เกิดภาวะโลกร้อนจนสภาพอากาศในพื้นที่เขตอาร์กติกไม่สามารถสร้างน้ำแข็งเองได้ และถึงแม้มนุษย์จะหยุดปล่อยมลพิษทันที ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ในปี 2023 นี้ หน่วยงานติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโคเปอร์นิคัสของสหภาพยุโรป C3S (Copernicus Climate Change Service) ได้เผยข้อมูลว่า ฤดูร้อนปี 2023 ทั่วโลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดเท่าที่เคยมีการบันทึกสถิติไว้ ช่วงเวลาสามเดือนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมปี 2023 นี้ อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ระดับ 16.8 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าค่ามัธยฐานราว 0.66 องศาเซลเซียส และในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อุนหภูมิความร้อนยังสร้างสถิติใหม่เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นการทำลายสถิติใหม่สามเดือนติดต่อกัน หลังจากที่เดือนมิถุนายนและกรกฎาคมต่างทำสถิติเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดทั้งสองเดือน สภาพอากาศที่ร้อนของปี 2023 ยังส่งผลให้เป็นหนึ่งในปีที่อุ่นที่สุดอันดับ 6 ของพื้นที่เขตอาร์กติก หรือ บริเวณขั้วโลกเหนือ และในการเก็บข้อมูลสภาพอากาศในปีนี้ ได้มีการเผยข้อมูลว่า ปีนี้ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดของขั้วโลกเหนือ นักวิทยาศาสตร์ประเมินกันว่าภูมิภาคนี้มีอุณหภูมิสูงขึ้นเร็วกว่าที่อื่นๆ ของโลกถึง 4 เท่า ทำให้ปีนี้กลายเป็นปีที่ร้อนเร็วที่สุดของประวัติศาสตร์อาร์กติกเท่าที่มีการบันทึกไว้ตั้งแต่ปี 1900 นักวิทยาศาสตร์ได้เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของอุณหภูมิในเขตขั้วโลกเหนือเป็นตัวบ่งชี้เบื้องต้น เมื่อดาวเคราะห์มีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น รายงาน Arctic Report Card ของ NOAA เผยว่าจุดร้อนที่สุดในเขตอาร์กติกนั้นแตกต่างกันไปตลอดทั้งปี โดยเมื่อต้นปีทะเลทางตอนเหนือของนอร์เวย์และรัสเซียสูงขึ้นถึง 5?C ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีระหว่างปี 1991-2020 ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดาก็ร้อนขึ้น 5?C เช่นเดียวกัน อุณหภูมิที่สูงในช่วงฤดูร้อนจะทำให้หิมะและน้ำแข็งละลาย ข้อมูลดาวเทียมสำรวจชี้ให้เห็นว่า ปี 2023 ขอบเขตของน้ำแข็งปีในทะเลนั้นต่ำสุดเป็นอันดับ 6 นับตั้งแต่เริ่มบันทึกในปี 1979 และการละลายในปัจจุบันนั้นมีปริมาณที่มากกว่าการเกิดขึ้นใหม่ Rick Spinrad ผู้อำนวยการของ NOAA กล่าวว่า .... "อาร์กติกมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของมนุษย์มากขึ้น แม้สิ่งที่เกิดขึ้นจะเกิดในพื้นที่ขั้วโลก แต่ก็สามารถส่งผลกระทบเป้นวงกว้างไปสู่พื้นที่อื่นๆ ทั่วโลกได้ ไม่จำกัดอยู่แค่ในอาร์กติกเท่านั้น" นอกจากการละลายของน้ำแข็งแล้ว ความร้อนยังส่งผลให้พืชและดินในพื้นที่ถัดมาจากเขตขั้วโลกมีความแห้งมากขึ้น ส่งผลให้เกิดไฟป่าได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ในปีนี้ ประเทศแคนาดา หนึ่งในประเทศที่มีพื้นที่อยู่ในเขตอาร์กติก ถูกไฟป่าเผากว่า 25 ล้านไร่ ประชาชนหลายหมื่นคนต้องอพยพ อีกทั้งควันไฟป่าก็สร้างมลพิษลงไปถึงตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา กลายเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ฤดูไฟป่าของประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง :www.ethz.ch , www.npr.org FB : Environman https://mgronline.com/science/detail/9660000116584
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
ระทึกอีก! ทะเลสตูล กระแสน้ำแรง พัดนักท่องเที่ยวหายจากจุดดำน้ำ 6 คน 28 ธ.ค.2566 - ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล(ศรชล.จว.สต.) ว่า วันนี้ เวลา 11.30 น. ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล (ศรชล.จว.สต.)/หน่วยเฉพาะกิจพื้นที่ตอนใต้ จว.สตูล ศรชล.ภาค 3 (นก.พตต.ศรชล.ภาค 3) ได้รับแจ้งขอความช่วยเหลือจากเจ้าของเรือหัวโทง ซึ่งนำนักท่องเที่ยวดำน้ำลึก บริเวณหัวแหลมทิศตะวันตกของเกาะหลีเป๊ะ (แลต. 06.28.48ลิปดาเหนือ ลอง. 99.17.20ลิปดาตะวันออก) ว่านักท่องเที่ยวดำน้ำลึก หายไปจากจุดดำน้ำ จำนวน 6 คน ในการนี้ นายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล /ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล (ผอ.ศรชล.จว.สต./ผวจ.สตูล) มอบหมายให้ น.อ.แสนย์ไท บัวเนียม รอง ผอ.ศรชล.จว.สต./ผบ.นก.พตต.ศรชล.ภาค ๓ สั่งการให้ เรือ ศรชล.2906 พร้อมเจ้าหน้าที่ ชปพ.นสร.กร. พร้อมทั้งประสาน น.ท.น้ำน่าน บุญนาค ผบ.นป.สอ.รฝ.491 นำกำลังพลพร้อม เรือยางท้องแข็ง และบูรณาการกำลังกับ อุทยานแห่งชาติ ตะรุเตา (อช.ตะรุเตา )ร่วมในการค้นหาผู้สูญหาย จนกระทั่งเวลาประมาณ 12.10น. จึงพบนักท่องเที่ยวที่สูญหายทั้ง 6 คน ห่างจากจุดดำน้ำ ประมาณ 1ไมล์ ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวทั้ง 6 คนปลอดภัย สาเหตุที่พลัดหายจากจุดดำน้ำ เนื่องจากกระแสน้ำแรง ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย https://www.thaipost.net/district-news/509184/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|