|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
|
#1
|
||||
|
||||
Sos Saveoursea - Save Our Losin ถิ่นฉลามวาฬ ..... โดย Wachara Au
สรุปผลการปฏิบัติการเก็บกู้อวนล้อม ณ เกาะโลซิน 16 มิ.ย. 64 ... สายเรียกเข้าจากพี่จ่อมเข้ามาตั้งแต่ 8 โมงเช้า "น้องอู สะดวกไปเก็บอวนโลซินไหม วันที่ 18-22 มิย. " ..... ได้ครับ" .....ตอบไปแบบไม่ทันคิด ไม่ว่าจะเรื่องวันลา และโควิด และยังไม่รุ้เรื่องว่าไปโลซินทำไม เพราะเพิ่งออกมาจากป่า โดยทาง SOS ส่งสมาชิกจำนวน 5 คน ประกอบด้วยผม ดร.พร ครูก้อย ครูใต้ และครูติ๊ก ซึ่งในบ่ายวันเดียวกัน ได้มีการเรียกประชุมออนไลน์ร่วมกับคณะทำงานเฉพาะกิจที่มีทั้งภาครัฐทั้งนักวิจัย ดร.หลายคน ทช ทร. และภาคีเครือข่ายนักดำน้ำ เข้าร่วมการประชุมเพื่อสรุปข้อมูลและภารกิจที่จะต้องไปทำในวันที่ 18 - 22 มิย. 17 มิ.ย. 64 ... ได้รับแจ้งจากครูติ๊ก ไม่สามารถเข้าร่วมปฏิบัติการได้แล้วเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโควิด เนื่องจากลูกน้องติดเชื้อ 18 มิ.ย. 64 .... เครื่องบินที่สนามบินหาดใหญ่ช่วงบ่าย โดยมาสมทบกับพี่อัญและ ดร.พร โดยทีมวิจัยสงขลามารับไป รพ. เพื่อทำการสวอบเชื้อกลุ่มที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อคัดกรองคนที่จะเข้าร่วมการปฏิบัติงานร่วมกันบนเรืออิสระตลอดเวลา 3 วัน โดยมีพิธีปล่อยขบวนเรือซึ่งประกอบด้วยเรือรบ 2 ลำ เรืออิสระ และเรือประมง 1 ลำ เมื่อพิธีการเสร็จ แยกย้ายขึ้นเรือตามรายชื่อ สิ่งที่คิดไว้ก็เกิดขึ้น เมื่อจำนวนคนขึ้นเรืออิสระมากกว่ารายชื่อที่ส่งมาตอนแรก บางคนเบื่องบนส่งมา บ้างก็ว่าต้องทำงานเป็นทีม เสียเวลาไปเป็น ชม. กว่าจะเคลียร์กันลงตัวเพื่อให้เรือออกเดินทางได้ ซึ่งในคืนนั้นก็ได้มีการบรีฟวิธี และแผนการทำงาน หน้าที่รับผิดชอบของแต่ละกลุ่ม โดยนักดำน้ำอาสาจำนวน 4 ทีม และมีทีมทหารเรือสนับสนุนอีก 12 นาย หมุนเวียนกันครั้งละ 6 นาย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 24-06-2021 เมื่อ 08:22 |
#2
|
||||
|
||||
19 มิ.ย. 64.... เรือถึงจุดหมายประมาณ 8 โมง โดยภารกิจแรกคือ การลงสำรวจพื้นที่เสียหายและพื้นที่โดยรอบโลซิน กลุ่ม SOS ทำงานร่วมกลุ่มกับทีมวิจัย ทช โดยเป็นกลุ่มที่ 1 และ 2 ซึ่งได้รับหน้าที่ในการสำรวจพื้นที่ปกคลุมของอวนตามภารกิจหลัก ส่วนกลุ่ม 3 สำรวจพื้นที่ด้านทิศเหนือไปตะวันออก และกลุ่มที่ 4 รับไปสำรวจกองลึก
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
จากการลงดำสำรวจพื้นที่อวนปกคลุมพบว่ามีระยะทางเกือบ 300 ม. และช่วงปกคลุมกว้างสุดเกือบ 50 ม. ถือว่างานใหญ่เอาเรือง จากนั้นได้มีการประชุมแบ่งงานและหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยทำการแบ่งพื้นที่อวนตามระดับความลึกตลอดระยะทาง 300 ม. ออกเป็น 6 พื้นที่ โดยกลุ่ม 1 SOS และ กลุ่มที่ 2 (นักวิจัย) รับผิดชอบ 2 พื้นที่ระดับความลึก 18-14 ม. กลุ่ม 3 รับผิดขอบ 2 พื้นที่ ระดับ 18-22 และ 10-14 ม. ส่วนกลุ่ม 4 รับ 2 พื้นที่ ระดับ 26-22 และ 8-10 ม.
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
จากนั้นก็เริ่มปฏิบัติงานกัน ซึ่งในวันแรกสามารถเก็บกู้อวนได้เพียง 1 ไดฟ ได้งานประมาณ 30% เนื่องจากการประสานงาน จำนวนไดฟเวอร์เพิ่มมา (จากไหนไม่รู้) ทำให้เวลาเลทมากจนเย็นมากไม่สามารถทำงานต่อได้ และในระหว่างไดฟเจ้าจุดน้อยขนาดประมาณ 3.5 ม. ก็มาเวียนว่ายอยู่บนหัวพวกเรา (ผมไม่มีหลักฐานใต้น้ำเพราะกล้องไม่ได้เอาลงและเมามันกับการกู้อวน) ซึ่งในเย็นวันเดียวกันน้องก็กลับมาหา วนเล่นอยู่ร่วมๆ 20 นาที เป็นของขวัญให้กับทุกท่านทีอาสามารักษาท้องทะเล ทำให้โลซินยังคงสมกับฉายา "ถิ่นฉลามวาฬ"
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|