|
#1
|
||||
|
||||
ปลาไหลสวนลายจุด
ปลาไหลสวนลายจุด ..................... โดย วินิจ รังผึ้ง ช่วงนี้ชาวสังคมออนไลน์โดยเฉพาะสมาชิกเฟสบุ๊คทั้งหลายคงจะคุ้นหน้าคุ้นตากับเจ้า “ปลาไหล” หัวมนๆหน้าตาน่ารักสีสันสดใสสวยงาม แถมยังมีลวดลายหลากหลายไม่ซ้ำแบบกัน หลายคนถึงกับนำขึ้นมาเป็นรูปประจำตัวแทนรูปหล่อๆสวยๆที่ใช้กันอยู่ประจำเลยทีเดียว หลายคนอาจจะสงสัยว่าเจ้าปลาไหลหน้าตาน่ารักพันธุ์นี้เข้ามาอาละวาดอวดความน่ารักไปทั่วได้อย่างไร หรือมากับมวลน้ำก้อนใหญ่ที่กำลังถล่มกรุงเทพฯและปริมณฑลอยู่หรือเปล่า ซึ่งความจริงแล้วเจ้าปลาไหลน่ารักที่กำลังได้รับความนิยมในโลกออนไลน์ตัวนี้มาจากเว็บไซต์ญี่ปุ่นที่ชื่อ anaco.crap.jp ซึ่งจัดทำแอพลิเคชั่นให้คนที่เข้าไปชมสามารถจะออกแบบตกแต่งสีสันลวดลายของเจ้าปลาไหลน่ารักที่โผล่หัวขึ้นมาตามที่ใจต้องการ ภายในรูปปลาไหลแบบเดียวกัน ปลาไหลของแต่ละคนจึงมีสีสันและลวดลายไม่ซ้ำกันสักตัว เมื่อตกแต่ปลาไหลของตัวเองแล้วก็สามารถจะดาวน์โหลดไปใช้เป็นรูปประดับในที่ต่างๆได้ ซึ่งก็ได้กลายเป็นเทรนด์ยอดฮิตในแวดวงสมาชิกเฟสบุ๊คโดยเฉพาะจากประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนผู้เข้าไปเล่นเข้าไปโหลดเจ้าปลาไหลกันมากกว่าชาวญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าตำรับเสียอีก ความจริงจะว่าไปแล้วคนไทย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ๆนั้นอาจจะไม่มีความคุ้นเคยและผูกพันกับปลาไหลสักเท่าไหร่ หรืออาจจะไม่ค่อยรู้จักปลาไหลตัวจริงๆเสียด้วยซ้ำไป ซึ่งต่างกับชาวญี่ปุ่นที่รู้จักคุ้นเคยและมีความผูกพันกับปลาไหลเป็นอย่างดี ด้วยชาวญี่ปุ่นนั้นนิยมชมชอบในการกินปลาไหล โดยเฉพาะปลาไหลย่างซอสที่นำมาทำเป็นข้าวหน้าปลาไหล โดยชาวญี่ปุ่นนั้นชอบบริโภคทั้งปลาไหลน้ำจืด(Unagi)และปลาไหลทะเล (Anago) ซึ่งชาวญี่ปุ่นนั้นนิยมกินปลาไหลมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ซึ่งความชอบและความผูกพันกับปลาไหลของชาวญี่ปุ่นนั้นผมเคยประสบมากับตัวเอง เพราะเคยไปพบเห็นอนุสาวรีย์ปลาไหลของชาวญี่ปุ่นที่อ่าวมัสซุชิตะมาแล้ว ซึ่งถ้าชาวบ้านที่นั่นถ้าไม่มีความรักความผูกพันกับปลาไหลมากมายถึงขนาดแล้วคงไม่สร้างเป็นอนุสาวรีย์เพื่อยืนยันความระลึกถึงปลาไหลกันเป็นแน่ นอกจากจะชอบกินปลาไหลแล้วชาวญี่ปุ่นยังชอบดำน้ำดูปลาไหล ซึ่งก็คงจะเหมือนนักดำน้ำชาวไทยนั่นแหละที่เมื่อพบเห็นเจ้าปลาไหลใต้ท้องทะเลแล้ว ก็อดที่จะแวะเวียนเข้าไปชมเข้าไปสังเกตความน่ารักของมันใกล้ๆไม่ได้ ซึ่งปลาไหลทะเลที่พบในท้องทะเลไทยนั้นจะมี 2 กลุ่มหลักๆได้แก่กลุ่มปลาไหลมอเรย์ (Moray eels) อยู่ในวงศ์ Muraenidae และกลุ่มปลาไหลสวน (Garden eels) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Congridae ปลาไหลทั้งสองกลุ่มนั้นจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง โดยปลาไหลมอเรย์ที่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าและมีลำตัวยาวแต่ออกจะแบนรีนั้น มักจะชอบอาศัยอยู่ตามซอกโพรงใต้ปะการัง ชอบโผล่หัวออกมาอ้าปากโชว์เขี้ยวยาวแหลมอยู่หน้าปากโพรง ซึ่งขนาดของลำตัวที่ใหญ่โดยเฉพาะเจ้า Giant moray ที่มีขนาดลำตัวเท่าต้นขาและยาวกว่า 2 เมตร ทั้งยังมีน่าตาดูน่ากลัวนั้น อาจจะสร้างความน่าเกรงขามให้กับผู้คนที่พบเห็นได้ไม่น้อย แต่ปลาไหลมอเรย์ก็เป็นปลาที่รักสงบ เป็นปลานิสัยดีที่ไม่ก้าวร้าว ปรกติจะไม่กัดไม่ทำร้ายใคร นอกจากจะเข้าไปจับเนื้อต้องตัวจนมันตกใจ หรือบางคนอาจจะนำเหยื่อปลาติดไม้ติดมือลงไปป้อนอาหารมัน แล้วเกิดการงับพลาดโดยงับนิ้วคนเอาอาหารลงไปให้เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ปลาไหลมอเรย์จะออกหากินในเวลากลางคืน กลางวันจะหลบนอนอยู่ในโพรงเป็นส่วนใหญ่ แต่ปลาไหลมอเรย์ขนาดเล็กลงมาก็มีรูปร่างและลวดลายสวยงามน่ารักก็มี เช่นปลาไหลมอเรย์หน้าปาน ปลาไหลมอเรย์ม้าลาย ปลาไหลมอเรย์ลายจุด ปลาไหลมอเรย์ตาขาวเป็นต้น ส่วนเจ้าปลาไหลในกลุ่มปลาไหลสวน ซึ่งเป็นปลาไหลขนาดเล็กตัวเท่าๆนิ้วก้อย ลักษณะตัวกลมยาว ชอบอาศัยอยู่ตามลานทราย โดยแทรกตัวอยู่ในพื้นทราย และโผล่หัวขึ้นมามองดูความปลอดภัยรอบข้าง ซึ่งหากเป็นช่วงที่กระแสน้ำนิ่งไม่ค่อยไหลเวียน ไม่ค่อยมีอาหารเล็กๆล่องลอยมาตามน้ำ เจ้าปลาไหลสวนก็จะหดตัวลงไปอยู่ในรูตามพื้นทรายอาจจะโผล่หัวขึ้นมาแค่ให้ดวงตาพ้นปากรูขึ้นมานิดหน่อยเท่านั้น แต่ในช่วงที่กระแสน้ำไหลแรง พัดพาเอาแพลงก์ตอน พัดพาเอาอาหารเล็กๆล่องลอยมาตามกระแสน้ำ ในยามนั้นจะเป็นเวลาแห่งความเริงร่าของบรรดาปลาไหลสวน ซึ่งจะยืดตัวโผล่ขึ้นมายาวเกือบ 1 ฟุตเพื่อจับกินอาหารที่ล่องลอยมา ปลาไหลสวนนั้นชอบอาศัยอยู่บริเวณลานทรายใกล้เคียงกัน และจะโผล่หัวขึ้นมาเป็นสายเรียงรายราวกับเป็นต้นไม้ที่ปลูกไว้ในลานสวน มันจึงได้ชื่อว่าปลาไหลสวน ด้วยเป็นปลาไหลที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปลาไหลมอเรย์ จึงทำให้ปลาไหลสวนมีสัญชาติญาณในการระแวงภัยสูง โดยเมื่อนักดำน้ำเคลื่อนตัวเข้าไปใกล้ในระยะราว 3-4 เมตร ปลาไหลสวนเหล่านี้ก็จะค่อยๆ หดตัวลงไปใต้พื้นทรายทีละน้อยๆ และถ้านักดำน้ำยังเคลื่อนเข้าไปใกล้ มันก็จะหลบหายลงไปใต้พื้นทรายจนหมด ดังนั้นเมื่อเราจะเข้าไปชมหรือเข้าไปถ่ายภาพเจ้าปลาไหลสวนในระยะใกล้ๆ หรือระยะที่สามารถจะถ่ายภาพได้นั้น จะต้องใช่ความนิ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยค่อยๆรักษาอาการเคลื่อนไหวให้ค่อยๆคืบคลานเข้าไป โดยเมื่อเจ้าปลาไหลสวนเริ่มจะหดตัวลงไปใต้พื้นทราย เราก็อาจจะต้องหยุดนิ่งอยู่เฉยๆสักพักจนเจ้าปลาไหลตัวจิ๋วเริ่มให้ความไว้วางใจแล้วค่อยๆโผล่ตัวสูงขึ้นมา จึงค่อยๆเคลื่อนตัวกระชับพื้นที่ใกล้เข้าไปอีกทีละน้อยๆ และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการสูดลมหายใจและการปล่อยลมหายใจออกซึ่งจะกลายเป็นฟองอากาศออกไปนั้น ต้องทำให้แผ่วเบาที่สุด โดยอาจจะกลั้นหายใจนิ่ง ๆ ขณะเคลื่อนใกล้เข้าไปก็จะเป็นการช่วยให้มีโอกาสจะถ่ายภาพเจ้าปลาไหลสวนได้มากขึ้น ซึ่งหากมีโอกาสเข้าไปเพ่งสังเกตใกล้ๆ ก็จะเห็นรายละเอียดเล็กๆของเจ้าปลาไหลสวนที่มีลำตัวสีขาวเทา มีดวงตากลมโตเหลือบมองไปมาอย่างน่ารัก และมีจุดดำๆขนาดเล็กๆบนลำตัว ซึ่งเจ้าปลาไหลสวนลายจุดตัวจิ๋วหน้าตาน่ารักชนิดนี้นี่เอง ที่เป็นต้นแบบของปลาไหลการ์ตูนหน้าตาน่านักที่กำลังอาละวาดอวดโฉมไปทั่วในเฟสบุ๊คอยู่ในขณะนี้ จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 25 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 26-10-2011 เมื่อ 07:51 |
#2
|
||||
|
||||
เวลามันอยู่ในรูผลุบๆโผล่ๆ น่ารักดีออก แต่เวลาลง Night dive ที่มอเรย์ ออกกินอาหารนี่เหมือนดูสารคดี 4 มิติเลยครับ สยองใช่เล่น
แต่มีปลาไหลผมไม่ชอบคือปลาไหลต้มเปรต กินกันเข้าไปได้ยังไง
__________________
Defend our territory Defend our Sea..!! |
#3
|
||||
|
||||
ฮ่าๆๆ...เอิ๊กๆ...เขากินป่าไหลต้มเปรต เพราะเขาอยากเป็น "เปรต" มั้งคะ น้องจา...
__________________
Saaychol |
#4
|
||||
|
||||
ที่หน้าเกาะหนึ่งก็มีอยู่เพียบ ตอนทำงานกับพี่ก้องเกียรติ จำได้ว่า ไปทีไรแวะดูได้ทุกครั้ง อยู่ที่เดิมเป็นลานเลย ราวๆ 100 ตารางเมตรเห็นจะได้
อยากไปอีกกกกกกกกกกกกกกกกก
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ |
#5
|
||||
|
||||
โครงการไปอันดามันเหนือเปิดแล้วนะคะน้องเอก...ว่างก็ไปลงชื่อได้เลยค่ะ..
__________________
Saaychol |
#6
|
||||
|
||||
ขาเดี้ยงอยู่ครับพี่ เดี๋ยวปลายเดือนนี้ หมอนัดผ่าตัด เอ็นหัวเข่าครับ คงกายภาพบำบัด หลายเดือนเลยครับ
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ |
#7
|
||||
|
||||
ขอให้หายเร็วๆค่ะน้องเอก..
__________________
Saaychol |
#8
|
||||
|
||||
ขอบคุณครับ
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ |
|
|