|
#1
|
||||
|
||||
แมงกะพรุนกล่อง Box Jellyfish
ภาพจาก Nation TV วันที่ 1 สิงหาคม 2558 นักเที่ยวถูกพิษแมงกะพรุนกล่องจนเสียชีวิต ที่เกาะพงัน เมื่อช่วงเวลา 15.00น. วันที่ 1 ส.ค. ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี หลังจากทราบข่าวกรณีการเสียชีวิตของนักท่องเที่ยวสาว ชาวไทยที่ถูกพิษแมงกะพรุนกล่องเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 31ก.ค.ที่ผ่านมา ที่เกิดเหตุอยู่บริเวณชายหาดริ้น ม.6 ต.บ้านใต้ อ.เกาะพะงัน ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานฟูลมูนปาร์ตี้ในค่ำวันนี้ พบว่ายังมีนักท่องเที่ยวมานอนอาบแดดและลงไปเล่นน้ำทะ เลเป็นจำนวนมาก โดยไม่ตกใจกรณีที่มีผู้เสียชีวิตจากแมงกะพรุนกล่อง ส่วนผู้เสียชีวิตทราบชื่อว่าน.ส.ชญานันท์ สุรินทร์ อายุ 31 ปี อยู่บ้านเลขที่ 17/2 ม.6 ต.ไทรน้อย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี ขณะนี้ศพได้ถูกแช่ห้องเย็นรักษาไว้ที่หน่วยกู้ภัยเกา ะพะงัน โดยมีทางแม่และพี่สาว ได้เดินทางมารับศพของ น.ส.ชญานันท์ ในวันนี้และจะนำศพไปประกอบพิธีกรรมบำเพ็ญกุศลทางศาสน าในวันนี้ จากการสอบถาม น.ส.กิตติยา โอเจริญ อายุ 21 ปี เพื่อนผู้ตายที่อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่า ก่อนเกิดเหตุตน พร้อมกับผู้ตาย และเพื่อนๆ รวม 4 คน ได้เดินทางจากกรุงเทพฯ มาท่องเที่ยวที่เกาะพะงัน มาถึงในช่วงบ่ายของวันที่ 31 ก.ค. เข้าพักที่บังกะโลแห่งหนึ่งบริเวณหาดริ้น ตอนเย็นผู้ตายพร้อมเพื่อนๆได้ลงไปเล่นน้ำทะเลที่ชายห าดริ้น ขณะเกิดเหตุเวลา 19.40 น.วันเดียวกัน ระหว่างที่ผู้ตายเล่นน้ำได้ร้องขอความช่วยเหลือและพู ดว่า ไม่รู้ถูกอะไรกัดที่ลำตัวและขา รู้สึกปวดแสบปวดร้อน สักพักเดียวผู้ตายเกิดวูบหมดสติ ตนเองพร้อมกับเพื่อนจึงเข้าไปช่วยร่างของ น.ส.ชญานันท์ ขึ้นจากน้ำ และขณะที่เข้าไปช่วยเหลือตนเองและเพื่อนก็ถูกเหมือนต ัวอะไรกัดเช่นกันที่ข้อมือและหลัง จนรู้สึกอาการปวดแสบปวดร้อน ซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นแมงกะพรุนกล่อง ต่อมาได้มีผู้ช่วยเหลือนำร่างที่หมดสติของ น.ส.ชญานันท์ส่งคลินิกที่หาดริ้น แต่ว่าอาการของ น.ส.ชญานันท์ สาหัสมากจึงได้นำตัวส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเกาะพะ งัน แต่ได้เสียชีวิตในระหว่างทาง นายแพทย์ฐาณุวัฒน์ ทิพย์พินิจ แพทย์ผู้ทำการรักษาโรงพยาบาลเกาะพะงัน กล่าวว่า หลังจากที่รักษานักท่องเที่ยวที่ได้รับบาดเจ็บจากการ ถูกพิษของแมงกะพรุนจำนวน 4 ราย ซึ่งแต่ระคนมีบาดแผลตามร่างกายจากการถูกหนวดพิษของแม งกะพรุนกล่องได้รับบาดเจ็บ ในเบื้องต้น น.ส.ชญานันท์อาการไม่มีชีพจร หัวใจไม่เต้น จีงได้ทำการปั๊มหัวใจใส่เครื่องช่วยหายใจ ปรากฎว่าคนไข้ได้รับพิษและมีการการตอบสนองกับพิษของแ มงกระพรุนมากเลยทำให้เสียชีวิต ส่วนอาการของผู้บาดเจ็บอีก 3 ราย ได้แก่ น.ส.กิตติยา โอเจริญ อายุ 21 ปี นายเกลิโอ ทาเทฟ อายุ 22 ปี สัญชาติแคนาดา และนายเอ็ดวอร์ด พาว์เลนโฮ อายุ 26 ปี สัญชาติแคนาดา ได้รับบาดเจ็บจากพิษของแมงกะพรุนกล่องเพียงเล็กน้อย อาการปลอดภัยแพทย์ให้ออกจากโรงพยาบาลได้ สำหรับแมงกะพรุนกล่อง ชื่อภาษาอังกฤษว่า บ๊อกเจลลี่ฟิช มีพิษรายแรงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก พบได้ในชายฝั่งน้ำตื้น ที่เป็นลักษณะอ่าว สำหรับผู้ที่ถูกพิษของแมงกระพรุนกล่องให้รีบนำขึ้นจา กน้ำมาในที่ปลอดภัยจากนั้นให้เรียกขอความช่วยเหลือเร ียกรถพยาบาลแล้วให้ล้างบริเวณบาดแผลด้วยน้ำส้มสายชูถ ้าหาไม่ได้ให้ล้างด้วยน้ำทะเลเพื่อให้พิษบริเวณบาดแผ ลเจอจาง ในกรณีที่หัวใจหยุดเต้นไม่มีชีพจรให้พยายามปัีมหัวใจ ช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ทางด้านนายทวิช สมหวัง ประธานที่ปรึกษาชมรมหาดริ้น กล่าวว่า จากกรณีที่นักท่องเที่ยวชาวไทยถูกพิษของแมงกะพรุนกล่ องจนเสียชีวิตนั้น ทางชมรมหาดริ้นได้จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เตือนนักท่อ งเที่ยวที่จะลงเล่นน้ำบริเวณหาดริ้นแล้ว พร้อมกับจัดเตรียมน้ำสมสายชูบริเวณจุดที่ติดป้ายเตือ นไว้สำหรับปฐมพยาบาลพิษของแมงกะพรุนกล่องในเบื้องต้น นอกจากนี้พบว่าเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมามีเด็กชา ยชาวฝรั่งเศสก็เสียชีวิตจากพิษของแมงกระพรุงกล่องเช่ นกันที่หาดขวดเกาะพะงัน ซึ่งแมงกะพรุนกล่องในทะเลอ่าวไทยมีจำนวนน้อย แต่จะเข้ามาใกล้ชายฝังหลังจากที่ฝนตกใหม่ๆ เพราะแมงกะพรุนประเภทนี้ชอบอยู่น้ำกร่อยและมักจับสัต ว์ขนาดเล็กกินเป็นอาหาร เมื่อนักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำทะเลแล้วไปถูกตัว มันจะใช้หนวดที่มีเข็มพิษจำนวนมากพัน แล้วปล่อยพิษเข้าสู่ร่างกาย ถ้าผู้ที่ถูกพิษแล้วใช้น้ำสมสายชูราดจะทำให้พิษเบาลง .......... ข่าวจาก มติชน วันที่ 2 สิงหาคม 2558
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ข้อความที่โพสต์โดย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อ่านเพิ่มเติมที่เพจ https://www.facebook.com/thon.thamrongnawasawat ในเรื่องนักเที่ยวที่ถูกพิษแมงกะพรุนที่เกาะพงัน ขอแสดงความเสียใจกับผู้เคราะห์ร้ายครับ มีสื่อโทรมาสอบถามอยู่บ้าง ก็คงต้องตอบกันจริงจังว่า 1) ในปัจจุบัน แมงกะพรุนกล่องเริ่มมีมากขึ้น ข้อมูลจากการสำรวจพบอยู่ทั่วอ่าวไทย ตั้งแต่ภาคตะวันออกถึงภาคใต้ แม้ในบริเวณหาดทรายแหล่งท่องเที่ยว ทั้งในฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน แต่มีรายงานผู้โดนในอ่าวไทยมากกว่า แมงกะพรุนกลุ่มนี้มีขนาดเล็ก หัวใหญ่ประมาณกำปั้น แต่สายยืดยาวได้ถึง 3 เมตร แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ สายเดี่ยว (ในแต่ละมุม) และสายเป็นกลุ่ม ปรกติสายเดี่ยวจะมีพิษน้อยกว่าพวกสายกลุ่ม พบในไทย 10-11 ชนิด กะพรุนกล่องมีพิษต่างกันไป ขึ้นกับชนิดและปริมาณที่โดน ยังขึ้นกับคนที่แพ้พิษระดับใด ไม่ขึ้นกับความแข็งแรงของร่างกาย 2) สาเหตุที่กะพรุนกล่องเพิ่มขึ้นจากอดีต อาจเกิดจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงหรือจากระบบนิเวศได้รับผลกระทบจากมนุษย์ แต่การแก้ที่ต้นเหตุยังทำไม่ได้ เราก็ต้องเรียนรู้หาทางเลี่ยงเองครับ 3) กะพรุนกล่องพบได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ในน้ำตื้นก็เป็นไปได้ พบในเขตชายฝั่งหรือเกาะใกล้ฝั่ง เช่น สมุย พงัน เกาะล้าน มากกว่าในเกาะไกลฝั่ง เช่น สิมิลัน 4) เนื่องจากมีขนาดเล็ก (เท่ากำปั้น) เคลื่อนที่เร็ว ตัวใส และพบในน้ำขุ่น โอกาสที่คนเล่นน้ำมองเห็นก่อนเป็นเรื่องยากมาก แต่ถ้าเป็นนักดำน้ำ อาจมองเห็น นอกจากนี้ นักดำน้ำสวมเว็ทสูท โอกาสเป็นอันตรายน้อย เท่าที่มีรายงานผู้เสียชีวิตในประเทศไทย (นับจากปี 41 มากกว่า 10 ราย เท่าที่ทราบ ไม่เคยมีนักดำน้ำเสียชีวิต ทั้งหมดเป็นคนเล่นน้ำ) 5) หากโดนเฉียดๆ อาจบาดเจ็บ แต่ถ้าโดนอย่างจัง หนวดพันไปมาและแพ้พิษ มีโอกาสเสียชีวิต 6) ทางป้องกันคือใส่ชุดมิดชิดลงเล่นน้ำ นั่นก็เป็นไปได้ยากเหมือนกัน ในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย มีชุด stinger suit สำหรับใส่เล่นน้ำ หนือมีจุดเล่นน้ำแบบมีตาข่ายกั้น ในเมืองที่ผมเคยอยู่ก็ต้องเล่นน้ำเฉพาะในที่กั้นครับ 7) หากโดนจะรู้ตัวทันที เพราะเหมือนโดนไฟฟ้าชอตหรือแส้ฟาด ให้ตะโกนบอกคนอื่นและขึ้นจากน้ำให้เร็วที่สุด อาการรุนแรงอาจเกิดภายใน 5-6 นาที 8) ใช้น้ำทะเลสาดหรือล้างบริเวณนั้นเพื่อกำจัดเศษหนวดที่อาจติดมา อย่าใช้มือแตะโดยเด็ดขาด อย่าใช้น้ำจืดล้างเพราะน้ำจืดจะทำให้เข็มพิษทำงานมากขึ้น 9) ราดด้วยน้ำส้มสายชูปริมาณมาก และนำส่งแพทย์ให้เร็วที่สุด พร้อมบอกแพทย์ว่าโดนแมงกะพรุนกลุ่มนี้ หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง รีบนำส่งแพทย์เป็นอันดับแรก ควรแยกกันช่วย คนหนึ่งวิ่งไปหาถังมาตักน้ำทะเลสาด คนหนึ่งวิ่งเข้าครัวไปหาน้ำส้มสายชูมาเยอะๆ อีกคนรีบหารถและโทรหาแพทย์โดยด่วน ควรมีผู้ที่ปั๊มหัวใจเป็นอยู่ในรถด้วย โดยปรกติ หากผู้ป่วยรอดเกิน 10 นาที โอกาสเสียชีวิตมีน้อยมาก นี่เป็นสถิติจากออสเตรเลียครับ 10) หน่วยงานทางการแพทย์ในพื้นที่ชายฝั่ง โดยเฉพาะในอ่าวไทย ควรมีการอบรมเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง โดยกรมทรัพยากรทางทะเล ควรเป็นหน่วยหลัก เพราะเมื่อดูจากสถิติร้ายแรงแล้ว เราเริ่มอยู่ในภาวะเสี่ยงอย่างมาก 11) หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องกับการท่องเท่ียวและหน่วยงานท้องถิ่น ควาพิจารณาการจัดทำแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์และจัดเตรียมกล่องน้ำส้มสายชูสำหรับกรณีฉุกเฉินไว้ตามชายหาดแหล่งท่องเที่ยว เท่าที่คิดออกตอนนี้ครับ สุดท้าย ขอแสดงความเสียใจอีกครั้งครับ หมายเหตุ หลังจากเช็คข่าวหลายแห่งแล้ว ช่วงนี้กะพรุนกล่องในอ่าวไทยมีรายงานหลายที่ครับ แถวตะวันออกก็มีคนเจอ ชุมพรก็มี ไปถึงพงันและแถบนั้น อยากให้เพื่อนธรณ์ระวังไว้นิด น้ำทะเลตามชายฝั่งช่วงนี้ขุ่น เด็กเล็กหากอยากลงน้ำจริง ให้เล่นตรงแนวคลื่นซัด อย่าออกไปหลังแนวคลื่นเลยครับ หมายเหตุเพิ่ม ตอนนี้มีงานวิจัยใหม่จาก JCU (ม.ที่ผมเรียน) บอกว่าน้ำส้มสายชูอาจไม่ดีนะ แต่ผมค้นดูแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับกันถ้วนทั่ว จึงแนะนำให้ใช้ไปก่อนครับ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
Clip อธิบายเรื่องวิธีที่หนวดแมงกระพรุนฉีดพิษยังไง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
Box Jellyfish ที่พบในทริปของ SOS เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ก.ค. 58 ..... - ตัวแรกพบที่กองหิน SOS Pinnacle II เกาะร้านไก่ ในไดฟ์เช้า และ - อีกตัวหนึ่งพบที่หินกองสามเหลี่ยม ในไดฟ์บ่าย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
อ่านเรื่องแมงกะพรุนกล่องที่ SOS รวบรวมไว้ได้ที่นี่... http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=277
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
Thon Thamrongnawasawat เพื่อนธรณ์สนใจเรื่องแมงกะพรุนกล่องกันมาก หนนี้ผมจึงจัดเต็ม นำขั้นตอนหลีกเลี่ยงและขั้นตอนปฏิบัติเรื่องแมงกะพรุนกล่องมาบอกไว้ให้ชัด จะนำไปใช้กับแมงกะพรุนชนิดอื่นก็ได้ เพื่อความปลอดภัยต่อเราและคนที่เรารัก แม้จะยาวนิด แต่ลองอ่านให้จบ อาจเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในเวลาฉุกเฉินครับ #แมงกะพรุนกล่องคืออะไร แมงกะพรุนทุกชนิดมีเข็มพิษ โดยเข็มพิษอยู่ในเซลล์ยิงเข็มพิษ จะอยู่ตามหนวดของแมงกะพรุน แมงกะพรุนกล่องเป็นแมงกะพรุนขนาดเล็ก พบในทะเลเขตร้อนในอินโด-แปซิฟิก (ออสเตรเลียเขตร้อน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรายงานไปถึงฮาวาย) มีอยู่ 10-11 ชนิดในเมืองไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือหนวดเดี่ยว (พิษน้อยหน่อย) กับหลายหนวด (พิษแรง) หนวดของแมงกะพรุนกล่องบางชนิดอาจยาวถึง 3 เมตร ยืดหดได้ #เรามีวิธีป้องกันอย่างไร แมงกะพรุนกล่องพบได้ทั่วไปในทะเลไทย ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน แต่พบในฝั่งอ่าวไทยมากกว่า อยู่ตามชายฝั่งและเกาะใกล้ฝั่ง สามารถพบในเขตน้ำตื้นบริเวณที่คนเล่นน้ำได้ แมงกะพรุนกลุ่มนี้มักพบในช่วงหน้าฝน (เหมือนแมงกะพรุนทุกชนิด) พบทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มีรายงานจากออสเตรเลียว่าส่วนใหญ่คนจะโดนตอนบ่ายไปถึงตอนเย็น แต่ยังไม่มีการอธิบายสาเหตุแน่ชัด แมงกะพรุนชนิดนี้ไม่ค่อยล่องลอยอยู่บนผิวน้ำ มักอยู่ใต้ผิวน้ำ เนื่องจากน้ำทะเลชายฝั่งเมืองไทยค่อนข้างขุ่น แมงกะพรุนตัวใส ขนาดเล็ก โอกาสที่จะมองเห็นมีน้อย นอกจากนี้ กะพรุนกล่องยังเป็นแมงกะพรุนที่เคลื่อนที่เร็วเมื่อเทียบกับกะพรุนชนิดอื่น การป้องกันคือสังเกตทะเล หากเป็นช่วงหน้าฝน น้ำขุ่น อย่าลงน้ำหรือถ้าอยากลงจริง อยากให้อยู่บริเวณติดฝั่งตรงคลื่นซัด อย่าออกไปหลังแนวคลื่น ควรใส่ชุดปกปิดให้มิดชิด ในต่างประเทศมี Stinger Suit แต่เมืองไทยหายากราคาแพงมาก การใส่ชุดอื่น เช่น กางเกงวอร์ม ฯลฯ อาจป้องกันได้ แต่ระวังทำให้เราจมน้ำนะจ๊ะ อ่านแล้วเพื่อนธรณ์คงเกาหัว จะไปป้องกันอย่างไร ? ผมเองก็ตอบยาก เอาเป็นว่าเพิ่งไปทะเลมา ดูแล้วน้ำขุ่นไม่น่าวางใจ ผมบอกให้ธราธรรธอยู่บนฝั่ง จะให้เล่นน้ำก็เฉพาะตรงชายคลื่นที่ซัดเข้ามา ไม่ยอมให้ออกไปถึงเอวถึงไหล่ครับ #เมื่อเราโดนแมงกะพรุนควรทำอย่างไร ทันทีที่โดนแมงกะพรุนกล่อง เราจะเจ็บจี๊ดขึ้นมา คล้ายโดนแส้ฟาดหรือไฟฟ้าชอต ควรตั้งสติ ตะโกนบอกเพื่อนให้รู้ตัว อย่าเอามือปัดป่ายไปมาเพราะจะยิ่งทำให้มือและแขนโดนหนวดแมงกะพรุนหนักขึ้น สังเกตว่าผู้ที่โดนแมงกะพรุนกลุ่มนี้มักมีริ้วรอยทั้งตามลำตัวและมือแขน เพราะตกใจจึงพยายามปัดไปให้พ้นตัว ค่อยๆ เดินออกมาจากตรงนั้น เพื่อป้องกันยิ่งวิ่งยิ่งโดนหนัก สำหรับคนที่จะเข้าไปช่วย ให้ระวังอย่างมาก เพราะอาจโดนแมงกะพรุน ถ้าเขาเดินมาหาเราได้ ให้เรารออยู่ตรงนั้น หรือถ้าเขามีท่าทางไม่ดี ควรเข้าไปช่วยเพียงคนเดียว (คนที่แข็งแรงพอ) และหาทางปกปิดร่างกายมากที่สุด ตั้งสติเตรียมรับมือหากโดนกะพรุน คนโดนต้องพยายามขึ้นฝั่งให้เร็วที่สุด เมื่อมาถึงฝั่งบนหาดทราย ให้นั่งบนพื้นแล้วดูบาดแผล หากโดนจนเกิดเส้นสายคล้ายรอยไหม้เป็นบริเวณกว้าง ให้เพื่อนโทรศัพท์หาโรงพยาบาลใกล้ที่สุดและให้รีบบอกคนแถวนั้น เพื่อเตรียมรถไปส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ระหว่างนั้น ให้อีกคนไปหาถังหรืออะไรก็ได้ที่ตักน้ำได้ ตักน้ำทะเลริมฝั่ง (ยิ่งน้ำอุ่นยิ่งดี) สาดใส่บริเวณที่โดนโดยแรง ตักสาดไปเรื่อยๆ เพื่อกำจัดเข็มพิษให้มากสุด เข็มพิษของแมงกะพรุนจะทำงานไปเรื่อยๆ แม้ว่าจะหลุดจากตัวมาแล้ว เซลล์เข็มพิษบางส่วนอาจยิงเข็มไปแล้ว บางส่วนอาจยังไม่ได้ยิง การใช้น้ำทะเลสาดจะช่วยให้เซลล์เข็มพิษหลุดไป อย่าใช้น้ำจืดเด็ดขาด เพราะปรกติเข็มพิษอยู่ในทะเล เมื่อราดด้วยน้ำจืด จะเกิดปฏิกิริยาทำให้เซลล์ยิงเข็มพิษ ต้องใช้น้ำทะเลเท่านั้น ห้ามใช้ปัสสาวะหรือน้ำยาอื่นๆ รวมถึงเหล้าหรือน้ำยาที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม จำง่ายๆ ว่าอะไรที่ไม่ใช่น้ำทะเล จะทำให้เข็มพิษทำงานหนักขึ้น หากมีเศษหนวดติดอยู่ ต้องรีบเอาออก แต่อย่าใช้มือสัมผัสโดยเด็ดขาด ใช้น้ำสาดใส่ หรือใช้กิ่งไม้เศษไม้เขี่ยออก หรือหากมีเครดิตการ์ด จะใช้ขูดออกก็ได้ (อย่างระมัดระวังนะฮะ) มีรายงานบอกว่า ใช้ครีมโกนหนวดเทใส่บริเวณแผลก็ช่วยได้ หน่วยงานทางการแพทย์บางแห่งยอมรับ สำหรับผม หากโดนจริงก็คงใช้ (แต่ไม่มั่นใจนะครับ) การนำเศษหนวดและเซลล์เข็มพิษออกจากผิวหนังเป็นเรื่องสำคัญสุด เซลล์เข็มพิษพวกนี้อาจติดอยู่ตามเสื้อผ้าชุดว่ายน้ำและยิงไปเรื่อย เพราะฉะนั้น หาทางถอดชุดพวกนั้นออก อย่าทิ้งไว้คาตัวผู้ป่วย ปัญหาคือน้ำส้มสายชูที่ยอมรับกันมานานว่าใช้ได้ ตอนนี้ดันมีงานวิจัยบอกว่าไม่แน่แล้วนะ แม้น้ำส้มสายชูจะหยุดการทำงานของเข็มพิษที่ยังไม่ยิงออกมา แต่จะทำให้พิษของเข็มที่ยิงออกมาแล้วยิ่งออกมาใหญ่ สรุปแล้วเอาไงกันเนี่ย ? บอกตามตรง ในโลกยังมี 2 กระแส บ้างก็ยังใช้อยู่ บ้างก็ไม่แนะนำให้ใช้แล้ว สำหรับผม ยังไงก็ใช้ครับ แต่ไม่หมกมุ่นร้อยเปอร์เซ็นต์ ย้ำเตือนอีกครั้ง การทำให้เศษแมงกะพรุน รวมทั้งเซลล์เข็มพิษที่อาจติดอยู่จนมองไม่เห็น ออกจากร่างกายผู้เคราะห์ร้ายให้เร็วที่สุด เป็นวิธีดีที่สุดในการช่วยชีวิต ถอดเสื้อผ้า เอาน้ำทะเลอุ่นๆ สาดใส่ นั่นคือสิ่งที่ยอมรับทั่วโลก สำหรับน้ำส้มสายชูหรือครีมโกนหนวด ยังเป็นที่สงสัย แต่ห้ามใช้น้ำจืดหรือน้ำยาอะไรก็ตามโดยเด็ดขาด จากนั้นก็นำส่งแพทย์โดยด่วน ต้องมีผู้ที่ปฐมพยาบาลฉุกเฉิน ในกรณีที่ผู้ป่วยหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นไปด้วย โดยปรกติแล้ว หากนำเซลล์เข็มพิษออกหมด ภายใน 5-10 นาที อาการเจ็บปวดน่าจะทุเลา อาจใช้น้ำแข็งประคบก็ได้ครับ แต่ต้องมั่นใจว่าเซลล์เข็มพิษหมดแล้ว โดยปรกติแล้ว ผู้ป่วยที่โดนมาก จะเกิดอาการรุนแรงใน 10 นาที หากหลังจากนั้น โอกาสเสียชีวิตมีน้อยครับ สำหรับคุณที่โดนแมงกะพรุนธรรมดา เมื่อขจัดเซลล์เข็มพิษหมดแล้ว ต้องการรักษาแผลหรือแก้ปวด กินยาพาราได้ครับ ใช้น้ำอุ่น (น้ำจืดก็ได้แล้ว เพราะขจัดเซลล์เข็มพิษหมดแล้ว) ใช้น้ำอุ่นทำความสะอาดแผล วันละ 3 ครั้ง ควรปิดพลาสเตอร์ติดแผลกันอักเสบ หรือใช้ยาพวก Neosporin ทาก็ได้ฮะ บางกรณีที่หายากมาก พิษจากแมงกะพรุนอาจทำให้เกิดอาการแพ้ภายหลัง อาจเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ แผลอาจมีอาการผิดปรกติ ก็ไปหาหมอแล้วบอกว่าโดนแมงกะพรุนแล้วไม่หาย ทั้งหมดนี้ ให้เพื่อนธรณ์ระวังไว้ และหากเจอกรณีโดนแมงกะพรุนบนชายหาด จะได้ช่วยเหลือเพื่อนๆ กันได้จ้ะ สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมทะเล กระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานท่องเที่ยว และองค์กรท้องถิ่น คงต้องมีการประชุมพูดคุยเรื่องนี้เพื่อหาแนวทางปฏิบัติอย่างชัดเจน เพราะดูจากสถิติที่ผ่านมา เราอยู่ในภาวะเสี่ยงกับการโดนแมงกะพรุนพวกนี้แล้วครับ คงต้องมีการทำอะไรสักอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรม เช่น จัดตั้งจุดปฐมพยาบาลฉุกเฉิน (กล่องใส่อุปกรณ์และแนวทางปฏิบัติ) อบรมคนในพื้นที่ให้ทราบข้อมูลและแนวทางช่วยเหลือ ฯลฯ โลกเรากำลังเปลี่ยนแปลง ทะเลไทยมีอะไรโผล่มาเรื่อยๆ เราต้องรอบรู้และเท่าทันครับ หมายเหตุ ศูนย์แพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) โทร 1669 ครับ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 02-08-2015 เมื่อ 13:33 |
|
|