เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 09-07-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default รวมเรื่องราวเกี่ยวกับ ..... ปะการังเทียม (2)



ลิ๊งค์จากกระทู้เก่า

http://www.saveoursea.net/boardapr20...hp?topic=941.0

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 09-07-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


วางซั้ง อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล


สำนักราชเลขาธิการ มูลนิธิพระดาบส สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ร่วมกับจังหวัดนราธิวาสและราษฎรบ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส จัดทำโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลตาม พระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้วยการนำซั้งปล่อยลงสู่ทะเลเพื่อเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ

ทั้งนี้ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย และ พลเรือเอกชุมพล ปัจจุสานนท์ องคมนตรี รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และคณะกรรมการมูลนิธิพระดาบส ร่วมทำพิธีปล่อยขบวนเรือกอและ จำนวน 150 ลำ ออกทะเลเพื่อปล่อยซั้งที่ความลึก 5-15 เมตร ห่างจากชายฝั่งทะเล 2-3 กิโลเมตร

ซั้ง หรือปะการังเทียมพื้นบ้าน เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่อดีต เป็นเครื่องมือดึงดูดสัตว์น้ำให้มาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการทำการประมง โดยการนำซั้ง หรือทุ่นปะการังเทียมไปทิ้งไว้ในทะเลอ่าวไทยเพื่อใช้เป็นแหล่งอาศัยและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก โดยชาวบ้านสร้างขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นที่สามารถย่อยสลายในน้ำได้ กล่าวคือ นำไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อน แล้วใช้เถาวัลย์ผูกติดกับใบหรือทางมะพร้าวทำเป็นซั้ง นอกจากนี้ประโยชน์ทางอ้อมของซั้งคือ ป้องกันเรือประมงขนาดใหญ่ เช่น เรืออวนลาก มาทำการประมงในเขตน่านน้ำหวงห้ามได้อีกทางหนึ่งด้วย

ซั้ง หมายถึงอุปกรณ์ที่ทำให้ปลามา อยู่รวมกัน ซึ่งมีที่มาจากสิ่งของลอยน้ำ ต่าง ๆ โดยมีปลาเล็กปลาน้อยอาศัยร่มเงาอยู่ และจะมีปลาขนาดใหญ่กว่าติดตามหาอาหารไปด้วย การวางซั้งก็จะเลียนแบบสิ่งของลอยน้ำ โดยใช้วัสดุต่าง ๆ มาผูกมัดรวมกัน เช่น เศษอวน, เชือกเก่า, ไม้ไผ่ และทางมะพร้าว เหล่านี้เป็นต้น เพียงแต่ซั้งจะถ่วงด้วยก้อนหิน หรือผูกติดกับโขดหินใต้น้ำ ไม่ให้ลอยออกไปจากจุดที่ต้องการ

การจัดทำซั้งจะเลือกใช้วัสดุที่มีราคาถูกสามารถจัดหาซื้อได้ในท้องถิ่น เช่น ลำไม้ไผ่ ใบมะพร้าว เชือก กระสอบ กิ่งไม้ เป็นต้น มาประกอบกันเป็นซั้งแล้วนำไปวางบริเวณชายฝั่งทะเลที่เป็นแหล่งทำการประมงหรือบริเวณแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเล โดยรูปแบบของการทำซั้งจะแตกต่างกันตามภูมิปัญญาของแต่ละชุมชน ส่วนประกอบของซั้งประกอบด้วย ลำไม้ไผ่ 1 ลำ ยาว 7-10 เมตร ซึ่งสั้นกว่าลำไม้ไผ่ที่ใช้ในที่อื่น ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-4 นิ้ว ใช้ใบมะพร้าว เพียง 4 ใบ ขนาดยาว 1.5-2.5 เมตร กิ่งเสม็ดจำนวน 3-4 กิ่ง แทนใบมะพร้าวบริเวณตอนล่างของเชือกซึ่งอยู่ใกล้กับกระสอบทราย ใช้เชือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร และกระสอบ 1 ถุงต่อซั้ง 1 ชุด แหล่งจัดวางซั้งบ้านทอนอยู่ในเขต 3 กิโลเมตรจากฝั่ง

ซั้งอาจจะมีส่วนของการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำได้น้อยกว่าปะการังเทียม แต่ซั้งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับกิจกรรมการตกปลา และอุตสาหกรรมอาหารทะเล โดยเฉพาะกับการทำปลากระป๋อง ซึ่งจะลงทุนทำซั้งเป็นจำนวนมากกลางทะเล เพื่อให้ปลาเล็กเข้าอยู่อาศัย เช่น ปลากุแร, ปลาทูแขก, ปลาสีกุน เป็นต้น แล้วจับปลาเหล่านั้นส่งโรงงานได้คราวละมาก ๆ ปลาเล็กดังกล่าวเป็นอาหารของปลาที่ใหญ่กว่า เช่น ปลาอินทรี, สาก, อีโต้มอญ, กะโทงแทง, กะโทงร่ม เป็นต้น จึงทำให้ซั้งเป็นประโยชน์ต่อวงการตกปลามากกว่าปะการังเทียม

สำหรับหมู่บ้านทอน ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เป็นหมู่บ้านติดชายทะเล คือชายหาดบ้านทอน ซึ่งเป็นชายหาดยาวขาวสะอาด และยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่มาก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ทำการประมงเป็นอาชีพหลัก และใช้เวลาว่างประดิษฐ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านคือ เรือกอและจำลอง.



จาก : เดลินิวส์ วันที่ 9 กรกฎาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 18-08-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


เร่งสร้างปะการังเทียม ช่วยชาวประมงพื้นบ้าน"ปัตตานี-นราธิวาส"


นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ได้สั่งการให้กรมประมง เร่งจัดสร้างปะการังเทียมให้แก่ชาวประมงพื้นบ้านใน จ.ปัตตานี และ นราธิวาส ตามที่ได้เข้าชื่อร้องมา โดยขอความร่วมมือไปยังกระทรวงคมนาคมและกรุงเทพมหานคร เพื่อรับการสนับสนุนตู้รถไฟเก่า และรถขนขยะที่ไม่ใช้งานแล้ว เพื่อนำมาสร้างแหล่งปะการังเทียม

ขณะที่ ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เผยว่า ได้สั่งการให้ประมงจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส พร้อมด้วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง จ.สงขลา ลงพื้นที่พบปะหารือกับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านดังกล่าว เพื่อหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดวางตู้รถไฟ หรือรถขนขยะเพื่อเป็นแหล่งปะการังเทียม เมื่อได้พื้นที่แล้วให้เร่งสำรวจพื้นที่จริงเพื่อดูความเหมาะสมเชิงวิชาการ ด้านระบบนิเวศ พร้อมทั้งลงจุดพิกัดให้แน่นอน โดยให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 สิงหาคม ซึ่งคาดว่าผลจากการสร้างปะการังเทียม จะช่วยทำให้ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 20-30% และยังช่วยจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำได้ผลอย่างยั่งยืน

อธิบดีกรมประมง ยังกล่าวถึงปะการังเทียมที่จัดสร้างโดยใช้วัสดุแท่งคอนกรีตรูปลูกบาศก์ ว่า กรมประมงได้จัดสร้างมาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปัจจุบัน จากผลการจัดสร้างถึงปี 2551 รวมมีทั้งหมด 342 แห่ง เป็นแหล่งปะการังเทียมขนาดเล็กครอบคลุม พื้นที่ 1-2 ตารางกิโลเมตร จำนวน 310 แห่ง ใน 18 จังหวัดชายฝั่งทะเล และแหล่งปะการังเทียมขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 20-30 ตารางกิโลเมตร 32 แห่ง ในเขต 19 จังหวัด สำหรับในปี 2552 มีการจัดสร้าง 20 แห่ง เป็นแหล่งเล็ก 19 แห่ง และแหล่งใหญ่ 1 แห่ง ซึ่งจำนวนนี้อยู่ในพื้นที่ จ.ปัตตานี 3 แห่ง นราธิวาส 3 แห่ง สงขลา 2 แห่ง และสตูล 1 แห่ง




จาก : แนวหน้า วันที่ 18 สิงหาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 27-08-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


กรมประมงเผยได้พื้นที่สร้างปะการังเทียมแล้ว



กรมประมง 26 ส.ค.-กรมประมงเผยความคืบหน้าได้พื้นที่สร้างปะการังเทียมด้วยตู้รถไฟและรถขนขยะในพื้นที่ จ.นราธิวาส

ตาม ที่กรมประมงโดย ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง ได้สั่งการให้ประมงจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส พร้อมด้วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง จ.สงขลา ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับชาวประมงในพื้นที่ จ.ปัตตานีและนราธิวาส เพื่อหารือเกี่ยวกับพื้นที่วางปะการังเทียม ด้วยตู้รถไฟและรถขนขยะที่ไม่ใช้งานแล้ว พร้อมทั้งสำรวจความเหมาะสมเชิงวิชาการ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ผลการดำเนินการ ขณะนี้สามารถหาพื้นที่วางปะการังเทียมดังกล่าวได้แล้ว ได้แก่ พื้นที่ใน จ.นราธิวาส บริเวณชายฝั่งทะเล หมู่ที่ 4 ต.ศาลาใหม่ อ.ตากใบ ซึ่งอยู่ห่างฝั่ง 12.5 กิโลเมตร ที่ระดับน้ำลึก 23 เมตร พื้นท้องทะเลเป็นทรายในโคลน ถือเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม ส่วนพื้นที่ใน จ.ปัตตานี คาดว่า จะได้ผลก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ สำหรับตู้รถไฟและรถขนขยะที่ไม่ใช้งานแล้วกำลังรอการพิจารณาสนับสนุน จากกระทรวงคมนาคมและกรุงเทพมหานคร




จาก : ข่าว อสมท. MCOT News วันที่ 27 สิงหาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 01-09-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


"ปะการังเทียม"ฟื้นฟูทะเลไทย สร้างรายได้ประมงพื้นบ้าน (สกู๊ปแนวหน้า)



สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทรงมีพระราชเสาวนีย์ในหลายโอกาสให้สร้างแนวปะการังเทียมเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ เนื่องจากในหลายพื้นที่ที่สร้างแนวปะการังเทียม พบว่ามีปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น ระบบนิเวศในท้องทะเลดีขึ้น ชาวประมงก็มีรายได้เพิ่มขึ้น

เมื่อวันที่ 11 ส.ค.ที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 77 พรรษา โดยทรงย้ำในเรื่องนี้อีกครั้งว่า...

"ปะการังเทียมนั้นใช้ได้ผลจริงๆ ควรสร้างปะการังเทียมเพิ่ม"

ข้อมูลจาก โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงสนองพระราชเสาวนีย์ของพระองค์ท่าน โดยสั่งการให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจัดทำโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชาย ฝั่งทะเลไทย และวางแนวปะการังเทียมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 77 พรรษา



และหนึ่งในพื้นที่วางปะการังเทียมครั้งนี้ คือชายฝั่งทะเลปัตตานี โดยมี นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินทางมาเป็นประธานเปิดโครงการด้วยตัวเอง

นายวิชาญ ทวิชัย อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า เมื่อแนวปะการังตามธรรมชาติถูกทำลาย ก็เหมือนที่อยู่อาศัยและแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำลดลง ปริมาณสัตว์น้ำก็ลดตาม การสร้างแนวปะการังเทียมจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ทำหน้าที่คล้ายแนวหินหรือแนวปะการังตามธรรมชาติ ซึ่งยอมรับกันว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการอนุรักษ์ทรัพยา กรทางทะเล โดยเฉพาะสัตว์น้ำขนาดเล็กไม่ให้ถูกจับถูกล่าไปก่อน และสามารถดึงดูดสัตว์น้ำนานาชนิดให้เข้ามาอยู่อาศัย หาอาหาร สืบพันธุ์ ตลอดจนสามารถพัฒนาเป็นแหล่งประมงสำหรับทำประมงขนาดเล็กและประมงในเชิงพาณิชย์ได้อีกด้วย

"ประโยชน์ของปะการังเทียมมีหลายด้าน ได้แก่ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาและสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยเฉพาะสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตพวกเกาะติด ทำให้เกิดแพลงตอนพืชในมวลน้ำเพิ่มขึ้น ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำ และเป็นแหล่งตกปลา ซึ่งผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า บริเวณที่มีการวางปะการังเทียมจะมีปริมาณสัตว์น้ำเข้ามาอาศัยทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น มากกว่าบริเวณที่ไม่ได้วางแนวปะการังเทียมเป็นจำนวนมาก"



อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวอีกว่า สำหรับการวางแนวปะการังเทียมครั้งนี้ ได้จัดวางปะการังเทียมในพื้นที่ตามแนวพระราชดำริ โดยพื้นที่จัดวางอยู่ในทะเลห่างจากชายฝั่งบ้านตันหยงเปาว์ หมู่ 4 ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ประมาณ 5-6 กิโลเมตร บริเวณน้ำลึกประมาณ 8-14 เมตร พื้นทะเลเป็นโคลนปนทราย โดยแท่งปะการังเทียมทำจากซีเมนต์รูปทรงลูกบาศก์โปร่งขนาด 1.5 คูณ 1.5 คูณ 1.5 เมตร จำนวน 2,135 แท่ง

โครงการจัดวางปะการังเทียมได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2544 ในหลายอำเภอของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น อ.หนองจิก อ.เมือง อ.ยะหริ่ง อ.ปะนาเระ และ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ช่วยคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับท้องทะเล สร้างรายได้และความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประมงพื้นบ้านได้อย่างยั่งยืน

จากโครงการวางแนวปะการังเทียมเมื่อปี 2545 ในพื้นที่ จ.ปัตตานี พบว่า บริเวณปะการังเทียมมีสัตว์น้ำเข้ามาอาศัยมากขึ้น ได้แก่ ปลาสลิดหิน ปลาอมไข่ ปลาดุกทะเล ปลากะรัง ปลากะพงข้างปาน ปลากะพงแดง ปลาสีกุน และปูม้า ซึ่งจากการศึกษาด้วยเครื่องมืออวนจมกุ้งในอดีต พบว่าจำนวนชนิดสัตว์น้ำที่จับได้ด้วยอวนจมกุ้งมีทั้งหมด 17 ชนิด และเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในปีถัดมา คือสามารถจับสัตว์น้ำได้ทั้งหมด 33 ชนิด ข้อมูลเหล่านี้บ่งชี้ว่า ปะการังเทียมสามารถเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำได้จริง



นายสุไลมาน ทิพย์ยอแล๊ะ รองประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านรูสะมิแล ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี กล่าวว่า ปัจจุบันการทำมาหากินของกลุ่มชาวบ้านที่เป็นประมงพื้นบ้าน ต้องยอมรับว่าทำมาหากินได้ยากขึ้น เนื่องจากทรัพยากรทางทะเลจำพวกสัตว์ทะเลที่เคยจับไปขายเพื่อเลี้ยงชีพมีปริมาณลดน้อยลงกว่าในอดีตมาก การทำมาหากินของชาวประมงค่อนข้างฝืดเคีอง ประกอบกับรายจ่ายในการออกเรือเพื่อทำประมงแต่ละครั้งค่อนข้างสูง ซ้ำเมื่อออกเรือก็จับสัตว์น้ำได้ไม่คุ้ม ต้องออกไปไกลฝั่งมากๆ จึงจะได้

"ในอดีตกลุ่มประมงพื้นบ้านไม่ได้ออกไปจับปลาไกลมากเหมือนทุกวันนี้ เมื่อก่อน ออกไปแค่ไม่กี่ร้อยเมตรก็สามารถทอดแหหรือตกปลาเอาไปขายได้วันละ 300-500 บาทแล้ว ชาวบ้านก็อยู่ได้ เพราะต้นทุนการทำประมงน้อยมาก แต่ปัจจุปันชาวประมงต้องขับเรือออกไปกว่า 3-4 กิโลเมตร ใช้เวลากว่า 40 นาที หนำซ้ำยังจับปลาได้น้อยกว่าในอดีตมาก ไหนจะต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำมันที่ใช้เติมเรือที่มากขึ้น ราคาน้ำมันก็แพง แต่ราคาปลาทะเลที่จับมาได้กลับไม่ได้สูงเหมือนต้นทุน วันนี้ออกเรือไปหาปลาแต่ละครั้งใช้ต้นทุน 400-500 บาท หาปลาได้น้อยลงทำให้ชาวประมงหลายรายต้องหยุดออกเรือ แล้วไปทำงานรับจ้างอย่างอื่นแทน" รองประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านรูสะมิแล บอก

นายสุไลมานกล่าวอีกว่า หลังจากรู้ว่าจะมีโครงการวางแนวปะการังเทียมในพื้นที่ก็รู้สึกดีใจ เพราะเคยทราบจากเครือข่ายประมงในพื้นที่ อ.สายบุรี ที่เคยมีโครงการวางแนวปะการังเทียมมาก่อนว่า ให้หลัง 1 ปี สัตวน้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านสามารถจับปลาและทำมาหากินได้ตามปกติ มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงคิดว่าหากมีการวางแนวปะการังเทียมขึ้นในพื้นที่เขต อ.เมืองและ อ.หนองจิก จะทำให้ชาวประมงพื้นบ้านสามารถทำมาหากินได้ดีขึ้น

"ชาวประมงพื้นบ้านทุกคนรู้สึกซาบซึ้งในพระมหาการุณธิคุณที่พระองค์ท่านทรงมีความห่วงใยประชาชน โดยเฉพาะชาวประมงพื้นบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมมั่นใจว่าหลังจากนี้ชาวประมงพื้นบ้านจะทำมาหากินได้อย่างปกติสุข" นายสุไลมาน กล่าว

โครงการดีๆ เช่นนี้จะช่วยอนุรักษ์ให้ทะเลปัตตานีอุดมสมบูรณ์ไปชั่วลูกชั่วหลาน...



จาก : แนวหน้า วันที่ 31 สิงหาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 09-10-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


โครงการสร้างปะการังเทียมเห็นผลสำเร็จช่วยฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ



โครงการสร้างปะการังเทียมประสบผลสำเร็จหลังดำเนินการต่อเนื่องมา 24 ปี ปัจจุบันสามารถฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ได้ใน ระดับหนึ่ง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กองทัพเรือ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี และกรมประมง ร่วมกันแถลงข่าวถึงความสำเร็จในระดับหนึ่งของโครงการ “ร่วมสร้างบ้านปลาด้วยปะการังเทียม” โดยทั้ง 4 หน่วยงานหลักได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องจับมือร่วมกันสร้างปะการังเทียม เพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและฟื้นฟูความสมบูรณ์ของท้องทะเล โดยนายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่าหลังจากที่ได้มีการจัดวางปะการังเทียมในทะเลแต่ละพื้นที่ไปแล้ว ประมาณ 2-3 ปี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ไปประเมินทุกครั้ง พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำได้จริง เพราะเป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์ทะเลนานาชนิดที่สำคัญช่วยป้องกันการกัดเซาะชาย ฝั่ง ทั้งยังส่งผลให้ชาวประมงมีแหล่งประมงเพิ่มขึ้นด้วย ล่าสุดได้มีการจัดวางปะการังเทียมที่จังหวัดปัตตานีซึ่งก็ประสบความสำเร็จ เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามโครงการนี้จะทำอย่างต่อเนื่องโดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวด ล้อมและพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเล

ด้าน ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่าโครงการดังกล่าวดำเนินการต่อเนื่องมา 24 ปีแล้ว โดยวางปะการังเทียมแล้ว 364 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งการจัดวางในแต่ละพื้นที่ทุกครั้งทำถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล โดยมีการสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสม เลือกใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือมีสิ่งเจือปน ที่ผ่านมาได้มีการเลือกใช้วัสดุคือแท่งคอนกรีตและตู้รถไฟ ซึ่งมีหน่วยงานเป็นผู้มอบให้ ส่วนงบประมาณที่ดำเนินการไปแล้วปะมาณกว่า 3,100 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มีแผนเตรียมสร้างประการังเทียมอีก 23 แห่ง คาดจะดำเนินการประมาณกลางปีหน้าในช่วงที่มีสภาพอากาศที่เหมาะสม




จาก : ข่าว อสมท. วันที่ 8 ตุลาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 23-07-2010
koy's Avatar
koy koy is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Jun 2009
ข้อความ: 652
Default

เห็นข่าวนี้เหมือนกัน และมีข้อสงสัยตามประสาคนความรู้น้อย การที่เอารถถังลงไปอย่างนี้ มันจะสร้างมลพิษอะไรให้กับทะเลบ้างมั๊ยครับ อย่างสนิมจากตัวรถถัง ส่วนพวกน้ำมันเครื่อง จารบีอะไรต่างๆ คาดว่าเขาคงจะชำระทำความสะอาดก่อนเอาลงไปไว้ัในทะเลนะครับ ไม่ทราบว่ามีการศึกษาทำวิจัยผลดี/ผลเสียจากการทำปะการังเทียมอย่างนี้มั๊ยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 23-07-2010
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



คงต้องทำความสะอาดตามขบวนการปฏิบัติเหมือนกับรถไฟและเครื่องบินที่นำไปทิ้งลงทะเลมาแล้วน่ะค่ะน้องก้อย ส่วนจะสะอาดจริงหรือไม่ ยากจะรู้ จนกว่าจะนำไปจมแล้วน้ำมันลอยฟ่องหรือไม่นะคะ

ผลดี....ก็น่าจะมีปลามาอาศัยกันมากขึ้น....ส่วนผลเสียก็น่าจะเป็นส่วนที่เป็นสนิม จะทำให้มีมลพิษเพิ่มขึ้นในท้องทะเล เหมือนกับตู้รถไฟ ที่ผุพัง กองเป็นขยะอยู่ก้นทะเลในเวลานี้...


ได้ยินเรื่องนี้มาจากนักเรียนที่เป็นนักข่าวช่อง 9 แต่ไม่นึกว่าจะนำไปลงที่นราธิวาส ถ้าไม่ไกลจากโลซิน เราน่าจะไปแวะดูนะคะ..

__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 23-07-2010 เมื่อ 10:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #9  
เก่า 23-07-2010
KENG@SK's Avatar
KENG@SK KENG@SK is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2010
ข้อความ: 234
Default

แล้วมันจะอยู่ได้นานซักเท่าไหร่เหรอครับแบบที่ยังพอเป็นโครงอยู่
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #10  
เก่า 23-07-2010
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

โบกี้รถไฟ ที่มีไม้เป็นโครงหลักกับเหล็กที่เป็นสนิมได้ง่าย.... 5 ปี ก็กองเป็นขยะอยู่ที่พื้นทราย


ถ้าเป็นเหล็กกล้าอย่างเรือครามก็อยู่ได้นานค่ะ ไม่ผุง่ายๆ 7 ปีแล้วก็ยังดีอยู่ (ยกเว้นหอบังคับการ ที่ต่อในไทย ยุบไปเรียบร้อย)...


แต่ไม่ทราบว่ารถถังเป็นเหล็กประเภทไหน เลยตอบไม่ได้ค่ะ...
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 18:21


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger