|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้าและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนน้อยในระยะนี้ ในขณะที่มีลมตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9-13 ก.พ. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกเกิดขึ้นบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 9 ? 10 ก.พ. 67 หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาค ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งไว้ รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันในเกณฑ์ปานกลางถึงมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมถึงภาคตะวันออกมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์เล็กน้อยถึงปานกลางเนื่องจากมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 7 ? 8 ก.พ. 67 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีหมอกในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ ในขณะที่มีลมตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า สำหรับภาคใต้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9 ? 13 ก.พ. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1 ? 3 องศาเซลเซียส มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาค ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 ? 3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดช่วง และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกในช่วงวันที่ 8 - 9 ก.พ. 67 ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 13 ก.พ. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และฟ้าผ่า ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งไว้ รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ฉบับที่ 2 (24/2567) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 9 - 13 กุมภาพันธ์ 2567) ในช่วงวันที่ 9-13 ก.พ. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาค ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงในระยะนี้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
ทีมวิจัยนานาชาติเผยแมงกะพรุนสายพันธุ์ใหม่มี "กากบาทสีแดง" ที่ท้อง มีการเก็บตัวอย่างแมงกะพรุนสายพันธุ์ใหม่นี้ได้ตั้งแต่ปี 2545 ที่ปล่องภูเขาไฟใต้ทะเลลึกของญี่ปุ่น แต่เพิ่งเผยผลการศึกษาออกมาเมื่อปีที่แล้ว ทีมนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์นานาชาติเพิ่งเผยแพร่รายงานของแมงกะพรุนสายพันธ์ุใหม่ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่นเตะตาอย่างมาก แมงกะพรุนดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่าแมงกะพรุน "ไม้กางเขนของเซนต์จอร์จ" (St. George?s Cross Medusa) ตามชื่อไม้กางเขนที่ปรากฏบนธงชาติของอังกฤษ เนื่องจากลักษณะที่โดดเด่นตรงส่วนท้องที่มีรูปร่างคล้ายไม้กางเขนหรือกากบาทสีแดงสด โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Santjordia pageso (S. Pagesi) เมื่อเทียบกับแมงกะพรุนสายพันธุ์อื่น ๆ แล้ว แมงกะพรุนสายพันธุ์ใหม่นี้มีขนาดเล็กกว่า มีความกว้างของลำตัวโดยเฉลี่ยที่ 4 นิ้ว ความยาวโดยเฉลี่ย 3 นิ้ว และมีหนวด 240 เส้น ส่วนท้องสีแดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมัน จะเห็นได้ชัดว่าเป็นรูปกากบาท เมื่อมองจากด้านบน ที่จริงแล้วมีผู้เก็บตัวอย่างของแมงกะพรุนชนิดนี้ได้ตั้งแต่ปี 2545 โดยอุปกรณ์ควบคุมระยะไกลที่ทำงานใต้ท้องทะเลที่ความลึก 812 เมตร บริเวณปล่องภูเขาไฟใต้ทะเลซูมิสุ ซึ่งเป็นภูเขาไฟใต้มหาสมุทรที่ยังไม่ดับ อยู่ใกล้กับหมู่เกาะโองะซาวาระของญี่ปุ่น? เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะที่เต็มไปด้วยอุปสรรค จึงมีเพียงอุปกรณ์และยานพาหนะเคลื่อนที่พร้อมระบบควบคุมจากระยะไกล (ROV) เท่านั้นที่สามารถลงไปสำรวจได้ การตรวจสอบและค้นหาแมงกะพรุนพันธุ์นี้จึงเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง? นับจากที่มีการเก็บตัวอย่างครั้งแรก ก็ไม่พบแมงกะพรุนไม้กางเขนฯ ?นี้อีกเลยจนกระทั่งในปี 2563 ที่เครื่อง ROV ตรวจพบแมงกะพรุนดังกล่าว แต่ก็ไม่สามารถจับตัวมันไว้ได้ ทีมวิจัยซึ่งนำโดยอังเดร โมแรนดินิ ศาสตราจารย์ด้านสัตววิทยาจากสถาบันวิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยเซาเปาโล ประเทศบราซิล ได้เผยแพร่รายงานการค้นพบของพวกเขาในวารสาร Zootaxa เมื่อเดือนพ.ย. 2566 โดยเป็นผลงานจากการร่วมวิจัยของทีมนักวิจัยของญี่ปุ่นจาก JAMSTEC (Japan Agency for Marine-Earth Science and Technology) และสถาบัน OIST (Okinawa Institute of Science and Technology) ตามรายงานระบุว่าได้มีการจัดประเภทของแมงกะพรุนสายพันธุ์ใหม่นี้อยู่ในวงศ์ย่อยใหม่ที่มีชื่อว่า Santjordiinae โดยชี้ว่ามันมีวิวัฒนาการที่ไม่เหมือนแมงกะพรุนสายพันธุ์อื่นและมีแนวโน้มว่าเป็นการปรับตัวในรูปแบบใหม่? ลักษณะที่แตกต่างไปจากแมงกะพรุนทั่วไปหลายประการยังก่อให้เกิดคำถามว่ามันเป็นสัตว์มีพิษหรือไม่? แต่น่าเสียดายการศึกษาแมงกะพรุนสายพันธุ์นี้กำลังเจออุปสรรค เนื่องจากการวิจัยต้องอาศัยความร่วมมือจากทีมงานหลายฝ่าย อีกทั้งบริเวณที่พบแมงกะพรุนไม้กางเขนแดงนี้มีโมเลกุลตั้งต้นของแร่ธาตุต่าง ๆ ที่อุดมสมบูรณ์มากและอาจได้รับการพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคต? ที่มา : nextshark.com. https://www.dailynews.co.th/news/315...ZRvKTi23sH9tsM
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
หาดูยาก! ฝูง "วาฬบรูด้า" โชว์ระบำใต้น้ำ ต้อนฝูงปลากะตัก ที่ อช.หมู่เกาะอ่างทอง ภาพจากในคลิปของ คุณเล็ก ไกด์เรือซัพพลาย หาชมยากกับภาพสุดประทับใจ เมื่อฝูง "วาฬบรูด้า" จำนวน 5 ตัว ช่วยกันต้อนฝูงปลากะตัก คล้ายโชว์ระบำใต้น้ำ ที่ทะเลอ่าวไทย ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เฟซบุ๊กเพจ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง - Mu Ko Ang Thong National park โพสต์คลิปวิดีโอวาฬบรูด้าเต้นระบำต้อนฝูงปลากะตักที่ได้จากคุณเล็ก ไกด์เรือซัพพลาย พร้อมให้ข้อมูลว่า ตามติดวิถีชีวิต "วาฬบรูด้า" ทะเลอ่าวไทยกันอย่างต่อเนื่อง จากเมื่อวานที่พบวาฬบรูด้า จำนวน 4 ตัว เข้ามาหากิน บริเวณพื้นที่รอยต่อระหว่างเกาะท้ายเพลาและกลุ่มเกาะว่าว ซึ่งเป็นพื้นที่เตรียมการผนวกเป็นอุทยานแแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง วันนี้เรายังได้รับคลิปวีดีโอสุดประทับใจโดยคุณเล็ก ไกด์เรือซัพพลาย ที่ถ่ายไว้ได้เมื่อวาน ( 4 ก.พ.2567) เวลา 11.30 น. ที่พิกัดใกล้เคียงกันคือ 47 P 575115 E 1079019 N และคาดว่าเป็นวาฬบรูด้าฝูงเดียวกัน จำนวน 5 ตัว กำลังช่วยกันต้อนฝูงปลากะตัก เหมือนการเต้นระบำใต้น้ำล้อมกันเป็นวงกลม โดยวาฬบรูด้าจะกินปลาที่รวมกันเป็นฝูงแต่ว่ายน้ำไม่เร็วนัก เช่น ปลากะตัก ปลาอกกะแล้ ปลาอีโกย (ปลาหลังเขียวชนิดหนึ่ง) ปลาทูขนาดเล็ก เป็นต้น ทั้งนี้ ขอประชาสัมพันธ์ผู้ประกอบการนำเที่ยวโดยรอบพื้นที่ฯ ระมัดระวังการเดินเรือและปฏิบัติตามข้อแนะนำในการชม "วาฬบรูด้า" (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนวิถีชีวิตและพฤติกรรมการหากินของวาฬบรูด้าและสัตว์ทะเลหายากอื่นๆ ในท้องทะเลอ่าวไทย https://mgronline.com/travel/detail/...oogle_vignette
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
ตรังชวนคู่รักดำน้ำ งานวิวาห์ใต้สมุทร 2024 ชมไฮไลต์ "พิธีรดทรายสังข์-จดทะเบียนใต้น้ำ" ตรังชวนคู่รักดำน้ำ "งานวิวาห์ใต้สมุทร 2024" ชมไฮไลต์ "พิธีรดทรายสังข์-จดทะเบียนใต้น้ำ" 14 คู่รัก ทั้งคนไทย-ต่างชาติ เข้าร่วมเทศกาลวาเลนไทน์ 13-15 ก.พ.นี้ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ 2567 ทางจังหวัดตรังได้กำหนดจัดงาน "วิวาห์ใต้สมุทร 2024" ขึ้นเป็นปีที่ 27 โดยตั้งเป้าจะมีคู่ดำน้ำร่วมงานวิวาห์ใต้สมุทร 14 คู่ และมีคู่ชาวต่างประเทศ 1 คู่ ปีนี้ใช้งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 2.5 ล้านบาท "จังหวัดตรังได้รับเลือกเป็น 1 ใน 10 จังหวัดเมืองรอง ที่ได้รับการผลักดันเป็นเมืองหลัก มีความหลากหลายทางด้านประเพณี ธรรมชาติ อาหาร เชื้อชาติ ซึ่งทุกอย่างรวมตัวกันอย่างสมดุล ทำให้เหมาะแก่การท่องเที่ยว พักผ่อน สำหรับคนที่ต้องการความสงบ ความเป็นส่วนตัว นอกจากนี้ ตรังมีเอกลักษณ์ทางด้านอาหาร โดยเฉพาะอาหารเช้า ที่มีความหลากหลาย ทั้งอาหารจีน ติ่มซํา โรตีของชาวมุสลิม อาหารพื้นบ้านของชาวตรัง จึงเหมาะเป็นจุดน่าสนใจในการจัดงานแต่ง" โดยกิจกรรมภายในวันงาน เริ่มต้นด้วยคู่บ่าวสาวนั่งรถตุ๊ก ๆ หัวกบชมบรรยากาศรอบเมืองตรังในช่วงเช้า และเข้าสักการะอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ เพื่อเป็นสิริมงคลและเข้าร่วมพิธีรดน้ำสังข์ (น้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ของตรัง) หลังจากนั้นคู่บ่าวสาวจะเดินทางไปถ่ายภาพ Prewedding ภายใต้คอนเซ็ปต์ Love Trang Unless Discover ใน 2 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 ทับเที่ยง Old Town & Gastronomy เส้นทางที่ 2 หมู่บ้านผ้าทอแห่งความรักนาหมื่นศรีและสวนลุงเวศน์ ในช่วงค่ำคู่บ่าวสาวจะได้รับการเลี้ยงต้อนรับฉบับ Exclusive and Romantic Dinner ในบรรยากาศสุดพิเศษอบอวลด้วยธรรมชาติ ณ กะช่องฮิลล์เต็นท์รีสอร์ทตรัง สำหรับพิธีรดทรายสังข์ และจดทะเบียนใต้น้ำ ที่เป็นไฮไลต์ของงาน ในปีนี้จัดขึ้น ณ บริเวณหินก้อนเดียว หน้าถ้ำมรกต อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และช่วงเย็นวันเดียวกันจะมีงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรส ภายในบรรยากาศที่โรแมนติกร้องเสียงเพลงจากนักร้องชื่อดัง "แอน ธิติมา" เจ้าของบทเพลง มากกว่ารักเสียงของหัวใจ พร้อมรับประทานอาหารเมนูคู่รักที่รังสรรค์โดยเชฟที่มากประสบการณ์ ที่สวนทับเที่ยง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง วันสุดท้ายก่อนเดินทางกลับภูมิลำเนา คู่บ่าวสาวจะเดินทางไปไหว้ขอพรเจ้าแม่ทับทิม (พระม๊าจ๊อโป๋) เพื่อเป็นสิริมงคล ณ ศาลเจ้าแม่ทับทิม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง นายทรงกลดกล่าวต่อไปว่า สำหรับพิธีวิวาห์ใต้สมุทรนั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากกิจกรรมดำน้ำเก็บขยะใต้ทะเล ซึ่งจัดขึ้นโดยจังหวัดตรัง หอการค้า ร่วมกับชมรมดำน้ำจากทั่วประเทศ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ได้สร้างความประทับใจและสานสัมพันธ์ให้กับหนุ่มสาวนักดำน้ำคู่หนึ่งที่ได้มาพบกันเมื่อครั้งมาร่วมดำน้ำเก็บขยะใต้ทะเล จนกลายมาเป็นตำนานรักแต่งงานใต้ท้องทะเลตรังในงานพิธีวิวาห์ใต้สมุทรครั้งแรก เมื่อปี 2540 และเมื่อปี 2543 พิธีวิวาห์ใต้สมุทรได้รับการบันทึกเป็นสถิติโลกใน Guinness World Records ซึ่งในรอบ 19 ปีของการจัดงานมีคู่บ่าวสาวที่มาร่วมสร้างตำนานรักใต้ท้องทะเลตรังมากถึง 572 คู่ จากหลายประเทศทั่วโลก และได้สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดตรังและประเทศไทยเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติสำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นโครงการดีเด่นของชาติสาขาพัฒนาเศรษฐกิจประจำปี 2550 https://www.prachachat.net/local-eco...4vDrk7sS0mU10M
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
"เกาะโลซิน" ตัวอย่างเปลี่ยนการพิพาทเป็นข้อตกลงร่วมสร้าง "ก๊าซธรรมชาติ" ให้ไทย เล็กที่สุด ไกลที่สุด แต่สร้างมูลค่ามากที่สุด "เกาะโลซิน" หรือกองหินขนาดเล็กที่อยู่ทางตอนล่างของอ่าวไทย จุดกำเนิดที่สร้างข้อพิพาทของ 2 ประเทศและถูกเปลี่ยนเป็นความร่วมมือทางทรัพยากรธรรมชาติ สร้างมูลค่าที่ประเมินไม่ได้คืนสู่ประเทศไทย ยังเป็นประเด็นไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกันที่ยังไงก็ยังหาคำตอบไม่ได้ กับการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลอ่าวไทยของประเทศไทยและกัมพูชา ที่ต่างฝ่ายต่างถือ "เส้นเขตแดนทางทะเล" คนละเส้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเกิดกับประเทศชายฝั่งแทบทั่วโลก ในอดีตประเทศไทยก็เคยประสบปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลแบบนี้เช่นกัน แต่จากการเจรจาของ 2 รัฐบาล ทำให้ข้อพิพาทกลายเป็นความร่วมมือ และสร้างผลประโยชน์ที่เอื้อต่อกันระยะยาวกว่าครึ่งศตวรรษ แหล่งพลังงานที่เรียกว่า "ก๊าซธรรมชาติ" ในยุคที่มีการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและทะเลอันดามันกันอย่างจริงจังราวปี 2511 ไทยพบว่าบริเวณรอยต่อทางทะเลของไทย-มาเลเซียนั้นเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ที่อาจมีปริมาณถึง 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ทางการไทยได้ประกาศพิกัดแนวเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทย ในเวลาไล่เลี่ยกัน "มาเลเซีย" ก็เริ่มสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติใต้ทะเลของตนเองเช่นกัน "และจุดที่ก่อให้เกิดข้อพิพาทคือ การประกาศเขตแดนทางทะเล-การกำหนดไหล่ทวีป ของทั้ง 2 ประเทศ ที่ทับซ้อนกัน" ด้วยอนุสัญญาว่าด้วย "กฎหมายทางทะเล" ที่แต่ละประเทศสามารถประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะของรัฐชายฝั่งของตนออกมาได้ 200 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 370 กิโลเมตร มาเลเซียที่ลากเส้นมัธยฐาน หรือ เส้นเขตแดนทางทะเลของตัวเองจึงทับอาณาเขตบริเวณแหล่งก๊าซธรรมชาติปริมาณมหาศาลนั้น แต่ด้วยกองหินใต้ทะเลที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมาประมาณ 10 ม. อยู่ห่างออกจากชายฝั่ง จ.นราธิวาส ออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 100 กม. ไม่มีหาดทราย ไม่มีต้นไม้ และไม่มีคนอาศัยอยู่ มีแต่ "ประภาคาร" ที่กองทัพเรือไทยสร้างไว้ให้เป็นจุดสังเกต ป้องกันชาวเรือไม่ให้เดินเรือมาชนกองหิน ได้กลายเป็น "หลักเขต" ของประเทศไทย ทำให้ไทยสามารถประกาศเส้นเขตแดนทางทะเลได้กว้างกว่าหากนับจากแผ่นดิน และพื้นที่นั้นก็ทับอาณาเขตบริเวณแหล่งก๊าซธรรมชาติปริมาณมหาศาล ที่มาเลเซียระบุว่าเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของมาเลเซียเช่นกัน เกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนประมาณ 7,250 ตร.กม. โลซินเป็น "เกาะ" หลังจากที่มาเลเซียรู้เรื่องว่า ไทยนับอาณาเขตจากกองหินโลซิน มาเลเซียจึงไม่เห็นด้วยกับการประกาศของไทย โดยมาเลเซียอ้างถึงแผนที่ 68A หรือแผนที่ ป.1 ของไทยที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับกองหินโลซินแต่แรก ซึ่งจะทำให้เส้นแบ่งเขตของมาเลเซียสามารถลากเอียงขึ้นทางทิศเหนือมากขึ้น แต่ไทยอ้างถึงแผนที่ ป.2 ซึ่งเป็นแผนที่ที่ทำขึ้นใหม่เมื่อต้องทำข้อตกลงเพื่อกำหนดเขตน่านน้ำกับประเทศมาเลเซีย ทางการไทยระบุว่า แผนที่ ป.1 นั้นไทยทำและใช้กันเองภายในประเทศ แต่แผนที่ ป.2 ที่นับกองหินโลซินเข้าเป็น "เกาะ" ที่อยู่ในน่านน้ำทะเลไทยนั้น ถูกปรับและจัดทำขึ้นมาใหม่แล้ว นอกจากนั้นไทยยังอ้างข้อตกลงเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล (Convention on the Law of the Sea) ในอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ.1958 ว่าโลซินเป็น "เกาะ" ตามนิยามในข้อตกลง อีกทั้งยังมี "ประภาคาร" ซึ่งตั้งอยู่มานานมากแล้วด้วย อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1958 (UNCLOS I) ข้อ 10 ตีความว่าโลซินเป็น "เกาะ" เพราะมีพื้นที่ดินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยน้ำ และอยู่เหนือระดับน้ำขณะน้ำขึ้น เมื่อเป็นเกาะจึงสามารถมี ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง เขตเศรษฐกิจจำเพาะ และไหล่ทวีปได้ Win-win Situation 50 ปี คนละ 50% พอเป็นเรื่องของ "ผลประโยชน์" ย่อมไม่มีใครยอมใคร ต่างฝ่ายย่อมต้องพยายามรักษาผลประโยชน์ในพื้นที่ของตนเองให้ได้มากที่สุด หลังจากที่ 2 ฝ่ายจัดทำแผนที่ทางทะเลของตัวเองกันขึ้นมา และพบข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ทับซ้อน 7,250 ตร.กม. ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ประเมินค่ามิได้ ตั้งแต่ปี 2515 ทั้งไทยและมาเลเซียต่างพยายามเจรจาเพื่อหาข้อยุติในพื้นที่เจ้าปัญหานี้ ด้วยสถานการณ์โลกที่ความต้องการพลังงานจากก๊าซธรรมชาติเริ่มมากขึ้น แต่การเจรจาไม่เคยหาข้อสรุปร่วมได้เลยตลอด 7 ปี จนถึงปี 2522 ด้วยความสัมพันธ์อันดีของ 2 นายกรัฐมนตรีของ 2 ประเทศ นายเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และ ดาโต๊ะ ฮุสเซน ออนน์ ที่เห็นว่าหากยังถือเอาการอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เป็นที่ตั้ง ก็รังแต่จะเสียผลประโยชน์กันไปทั้งคู่อีกนาน การเจรจาที่เปลี่ยนจากข้อพิพาทเป็นความร่วมมือจึงเริ่มขึ้นที่ จ.เชียงใหม่ ภายใต้บันทึกข้อตกลงประเด็นสำคัญว่า "2 ประเทศจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว มีอายุ 50 ปี (พ.ศ.2522-2572) ให้สำรวจและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ดังกล่าวภายใต้ชื่อ Malaysia-Thailand Joint Authority (MTJA) โดยทั้ง 2 ประเทศจะแบ่งกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและรับผลประโยชน์จากการดำเนินการคนละร้อยละ 50 และแบ่งปริมาณก๊าซที่ผลิตได้คนละร้อยละ 50 เช่นกัน" แต่การประชุมที่จัดขึ้นที่เชียงใหม่เป็นเพียงการพูดคุยกันเท่านั้น ไทยและมาเลเซียยังต้องใช้เวลาอีก 15 ปีร่วมกัน กว่าที่จะได้ข้อสรุปที่เป็นที่พอใจของทั้ง 2 ประเทศและได้ประกาศลงนามร่วมกันอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 ม.ค.2534 นำไปสู่การจัดตั้ง บริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศมาเลเซีย) จำกัด ในปี 2543 โดยมีบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. และ บริษัทน้ำมันแห่งชาติมาเลเซีย หรือ Petronas เป็นผู้ถือหุ้นแทนรัฐบาล ลงทุนร่วมกันในอัตราส่วน 50:50 แต่กว่าที่จะได้ดำเนินการสำรวจ ขุดเจาะ นำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้จริงก็เรื่อยยาวมาจนถึงปี 2548 หรือกว่า 26 ปีหลังจากที่ตกลงทำ MTJA หรือเปลี่ยนชื่อเป็น JDA (Joint Development Agreement) ในปัจจุบัน และหากนับถอยหลัง เท่ากับว่าข้อตกลงนี้จะเหลืออายุเพียง 5 ปีเท่านั้น พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (Joint Development Area: JDA) ถูกนับเป็นต้นแบบสำคัญที่ใช้เป็นแนวทางให้กับปัญหาข้อพิพาทระหว่างประเทศอีกหลายกรณี ในแง่ของ "ความมั่นคง" ก็ช่วยยืดเวลาที่ประเทศคู่กรณีต้องกลับมาเจรจาเรื่องการแบ่งเขตแดนออกไป อีกทั้งยังสามารถลด "ความขัดแย้ง" ระหว่างประเทศไปได้อีกระยะหนึ่งเช่นกัน "การลดความขัดแย้งระหว่างประเทศลงได้ ย่อมหมายความว่าสร้างความมั่นคงให้กับประเทศได้ด้วยเช่นกัน" หมดสัญญา อนาคตแหล่งก๊าซธรรมชาติไทยไปทางไหน? ในบันทึกความเข้าใจที่ทำร่วมกัน ได้เพิ่มข้อตกลงอีกว่า หากเมื่อถึงเวลา 50 ปีที่ข้อตกลงร่วมกันดังกล่าวหมดอายุแล้วนั้น ถ้ายังไม่มีฝ่ายใดหาข้อยุติเรื่องของไหล่ทวีปได้ ให้ใช้ข้อตกลงที่มีอยู่ต่อไป แต่หากได้ข้อยุติก็ให้ยกเลิกข้อตกลงให้เสร็จสิ้น ส่วนทรัพย์สินที่เกิดจากโครงการร่วมดังกล่าว ให้แบ่งกันคนละครึ่งหรือให้ทำข้อตกลงกันใหม่ได้ มุมหนึ่งอาจจะมองได้ว่า JDA เป็นข้อตกลงที่ประนีประนอมเพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่อีกมุมหนึ่งก็มองได้ว่า JDA อาจเป็นตู้เย็นที่แช่แข็งข้อพิพาทเรื่องเขตแดนทางทะเลของไทยและมาเลเซียไว้ยาวๆ 50 ปี เท่านั้น เพราะตลอดเวลาทั้ง 2 ประเทศก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ว่า "พื้นที่ทับซ้อนที่เกิดขึ้นกว่า 7,000 ตร.กม. นั้น ใครเป็นเจ้าของพื้นที่ที่แท้จริง" โลซิน "ไม่ใช่" เกาะอีกต่อไป มีข้อสันนิษฐานว่า ตลอด 7 ปี (พ.ศ.2515-2522) ที่ทั้งไทยและมาเลเซียพยายามเจรจาหาข้อยุติเรื่องพื้นที่ทับซ้อน ข้อหนึ่งที่ไม่สำเร็จเป็นเพราะ มาเลเซียรอผลการประชุมอนุสัญญาเจนีวาเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลครั้งที่ 3 ที่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการอยู่ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะกำหนดให้เกาะเล็กๆ ไม่มีเขตไหล่ทวีป ซึ่งจะทำให้ไทยไม่สามารถใช้ประโยชน์จาก "เกาะโลซิน" ในการอ้างแนวเขตได้ และก็เป็นดั่งที่มาเลเซียคาดการณ์ไว้ เมื่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (United Nations Convention on the Law Of the Sea 1982) กำหนดนิยามคำว่า "เกาะ (Island)" ไว้ว่า เกาะคือบริเวณแผ่นดินที่ก่อตัวขึ้นตามธรรมชาติ มีน้ำล้อมรอบอยู่เหนือน้ำในขณะน้ำขึ้นสูงสุด ... โขดหินซึ่งโดยสภาพแล้ว "มนุษย์" ไม่สามารถอยู่อาศัยหรือยังชีพทางเศรษฐกิจได้ จะไม่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะหรือไหล่ทวีป "แปลให้เข้าใจคือ เกาะโลซิน ไม่ได้เป็นเกาะอีกต่อไป มีสถานะเป็นเพียง กองหินโลซิน และเมื่อไม่ใช่เกาะ ก็ไม่สามารถนับเป็นไหล่ทวีปได้" แต่เมื่อเซ็นข้อตกลงร่วมกันไปแล้วในปี 2522 โลซินหลุดจากสถานะ "เกาะ" ในปี 2525 วันนี้ไทยจึงต้องลุ้นว่าเมื่อข้อตกลงร่วมระหว่างไทย-มาเลเซียสิ้นสุดลงในปี 2572 แล้วนั้น มาเลเซียจะยื่นกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อนทั้งหมดตามที่แผนที่ที่มาเลเซียเองเคยประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2515 หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น จากกองหินที่เคยพิทักษ์พื้นที่แหล่งก๊าซธรรมชาติมูลค่านับแสนล้านบาทให้ไทยมาตลอดครึ่งศตวรรษ อาจกลับไปเป็นสถานที่หนึ่งที่ส่องแสงสว่างให้กับชาวเรือยามที่กลางทะเลเข้าสู่ความมืดมิด เหมือนที่เคยเป็นมา "โลซินที่เคยสร้างประวัติศาสตร์ อาจเหลือแค่ตำนานหลักเขตสุดท้ายของทะเลไทย" รู้หรือไม่ : สถานภาพปัจจุบัน "โลซิน" เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2565 นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส.ในขณะนั้น เปิดเผยว่า ราชกิจจานุเบกษาได้ออกประกาศกฎกระทรวงกำหนดให้บริเวณเกาะโลซิน ต.บ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เป็นพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2565 โดยได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 31 ม.ค.2565 จะมีผลบังคับใช้วันที่ 28 ก.ค.2565 เป็นต้นไป หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เนื่องจากเกาะโลซินเป็นพื้นที่มีความสำคัญและเปราะบางมาก https://www.thaipbs.or.th/news/conte...tp0nfDgnrP4ja0
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|