|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก อ่าวไทย และภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน โดยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 9 ? 11 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่มีคลื่นกระลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12 ? 14 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดลง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับในช่วงวันที่ 9 - 11 พ.ย. 66 คลื่นลมบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 14 พ.ย. 66 บริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
หน่วยงานในยุโรปเผยข้อมูลใหม่ ชี้ปี 2023 โลก 'ร้อนสุด' ในรอบ 125,000 ปี หน่วยงานดูแลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในยุโรป เผยข้อมูลใหม่ ชี้ ?ค่อนข้างแน่นอน? ปี 2023 เป็นปีที่โลก 'ร้อนสุด' เป็นประวัติการณ์ อุณหภูมิสูงสุดในรอบ 125,000 ปี เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2566 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หน่วยงานดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป คาดการณ์ว่า อุณหภูมิโลกในปี 2566 จะเป็นปีที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยอ้างอิงจากสถิติอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สูงขึ้น 0.4 องศาเซลเซียส สูงกว่าสถิติสูงสุดเดิมที่เคยบันทึกได้เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2562 ส่งผลให้เดือนตุลาคมปีนี้กลายเป็นเดือนที่มีอุณหภูมิสูงสุดเท่าที่เคยมีการเก็บบันทึก '?Copernicus Climate Change Service' (C3S) หน่วยงานดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป แจ้งว่า ปัจจัยที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นสูงสุดเประวัติการณ์ มีสาเหตุมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอน หรือก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับอิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้ในปีนี้ทั่วโลกต้องเผชิญอากาศร้อนสุดขั้วถึง 5 เดือนติดต่อกัน นอกจากนี้ หน่วยงานดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ ยังคาดการณ์ว่า สถานการณ์อุณหภูมิโลกในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้ก็ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากนัก และได้พยากรณ์ว่าทั่วโลกจะต้องเผชิญอุณหภูมิที่อุ่นกว่าปกติในเดือนพฤศจิกายน ขณะที่ปัญหาคลื่นความร้อนจะลากยาวไปจนถึงปี 2567. ที่มา : BBC, Reuters https://www.thairath.co.th/news/foreign/2738974
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
'เอลนีโญ' ส่อลากยาวถึงเมษาฯ หน้าเป็นอย่างน้อย ยูเอ็นคาดปรากฏการณ์เอล นีโญ ที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นจะอยู่ถึงเดือน เม.ย.2567 เป็นอย่างน้อย สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติ (WMO) แถลงว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างเดือน ก.ค.-ส.ค.ปีนี้ มีแนวโน้มถึงจุดสูงสุดตั้งแต่ตอนนี้ไปจนถึงเดือน ม.ค. "มีความเป็นไปได้ 90% ที่จะอยู่ไปตลาดฤดูหนาวที่กำลังมาถึงในซีกโลกเหนือและฤดูร้อนที่กำลังมาถึงในซีกโลกใต้" คาดว่าจะอยู่ไปถึงเดือน เม.ย.เป็นอย่างน้อย เอลนีโญเป็นสภาพอากาศที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ปกติเกี่ยวข้องกับความร้อนเพิ่มขึ้นทั่วโลก เกิดภัยแล้งในบางพื้นที่และฝนตกหนักในที่อื่นๆ ปรากฏการณ์ทางอากาศแบบนี้ปกติเกิดขึ้นทุกๆ สองถึงเจ็ดปี และมักทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น แต่แม้ผลกระทบจากเอลนีโญจะรู้สึกได้ในปี 2567 WMO ย้ำว่า ปรากฏการณ์นี้กำลังเกิดขึ้นจากบริบทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็ว ปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่บันทึกได้คือปี 2559 หลังจากเอลนีโญก่อตัวขึ้นอย่างรุนแรงไม่เคยมีมาก่อน ?แต่ปีนี้กำลังจะเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ไปแล้ว ผลจากอุณหภูมิที่สูงและผิวน้ำทะเลสูงสุดทุบสถิติตั้งแต่เดือน มิ.ย.? เพตเทอรี ทาลาส ผู้อำนวยการ WMO ระบุในแถลงการณ์พร้อมเตือนว่า ?ปีหน้าอาจร้อนกว่านี้ ชัดเจนมากเนื่องมาจากความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น สภาพอากาศรุนแรงอย่างคลื่นความร้อน ภัยแล้ง ไฟป่า ฝนตกหนัก และน้ำท่วมจะรุนแรงขึ้นในบางภูมิภาคและส่งผลกระทบสำคัญ?พร้อมย้ำถึงความสำคัญของระบบเตือนภัยอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เอลนีโญเกิดขึ้นครั้งล่าสุดในปี 2561-2562 ตามด้วยลานีญา อากาศเย็นแบบตรงข้ามกับเอลนีโญ ซึ่งยุติลงเมื่อไม่กี่เดือนก่อน การคาดการณ์ผลกระทบเอลนีโญล่าสุดบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้สูงที่เส้นศูนย์สูตรแปซิฟิกกลาง-ตะวันออกยังคงร้อนต่อเนื่องไปจนถึงเดือน เม.ย.ปีหน้า อุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรส่วนใหญ่สูงเกินระดับปกติเช่นเดียวกับอุณหภูมิเหนือผืนดินส่วนใหญ่ https://www.bangkokbiznews.com/world/1097843
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
"กรมทะเลชายฝั่ง" ช่วยพะยูนเกยตื้นสำเร็จ บริเวณแหลมจูโหย จังหวัดตรัง ตรัง 7 พ.ย.- กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วยเหลือพะยูนเกยตื้นมีชีวิตอยู่บริเวณแหลมจูโหย ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ต. เกาะลิบง อ. กันตัง จ. ตรัง โดยพบว่า มีบาดแผลที่โคนหางซึ่งเกิดจากการถูกเชือกพันรัด แต่ขอบแผลเป็นเนื้อตายสมานกัน คาดเป็นแผลเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานาน จึงนำเชือกออกให้ เมื่อประเมินว่า สามารถตอบสนองและทรงตัวว่ายน้ำได้ดี จึงปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง ( ศวอล.) ได้รับแจ้งจากนายกฤษณะ ผ่องศรี เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จังหวัดตรังว่า พบพะยูนเกยตื้นมีชีวิตอยู่บริเวณแหลมจูโหย ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ต. เกาะลิบง อ. กันตัง จ. ตรัง ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ ศวอล. ร่วมกับเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงนำเรือยางขนาดเล็กและเรือพาดหางยาว 4 ลำ เพื่อสำรวจและติดตามช่วยเหลือพะยูนตัวดังกล่าว พบว่า พะยูนมีเชือกรอบปูพันอยู่ที่โคนหาง เจ้าหน้าที่ ศวอล. จึงได้ทำการช่วยเหลือพะยูนและทำการปลดเชือกบริเวณโคนหางโดยทันที จากการตรวจร่างกายเบื้องต้นพบว่า เป็นพะยูนเพศเมียอยู่ในช่วงวัยรุ่น ขนาดตัวประมาณ 2 เมตร มีเพรียงเกาะตามลำตัวเล็กน้อย มีบาดแผลที่โคนหางซึ่งเกิดจากการถูกเชือกพันรัด แผลบาดลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ ขอบแผลเป็นเนื้อตายสมานกัน เนื่องจากเป็นแผลเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานาน เมื่อประเมินว่า พะยูนสามารถตอบสนองและทรงตัวว่ายน้ำได้ดี จึงปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ นางสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ ศวอล. นำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการสำรวจ พร้อมทั้งให้เร่งประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนชายฝั่งในพื้นที่ให้เฝ้าระวังการเกยตื้นซ้ำของพะยูนตัวดังกล่าว นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ ศวอล. ดำเนินการประชาสัมพันธ์นำคู่มือและแผ่นพับการช่วยชีวิตสัตว์ทะเลเบื้องต้นแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลเพื่อสร้างความเข้าใจในการช่วยเหลือการเกยตื้นหรือการได้รับบาดเจ็บของสัตว์ทะเลหายากให้ปลอดภัยทันท่วงที https://tna.mcot.net/environment-1268159 ****************************************************************************************************** กรมประมงเร่งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายรองด้านประมง 11 ฉบับ กรุงเทพฯ 8 พ.ย.- กรมประมงขานรับนโยบายรัฐมนตรีเกษตรฯ เร่งสางปมปัญหาประมง เดินหน้าผลักดันการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลำดับรอง 11 ฉบับเพื่อลดอุปสรรคการประกอบอาชีพ โดยได้หารือชาวประมงจนได้ข้อยุติ พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นออนไลน์ 15 วัน ก่อนออกประกาศบังคับใช้ นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า กำลังเร่งรัดปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลำดับรองเกี่ยวกับการประมง โดยเป็นผลจากการประชุมของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาประมงทะเล ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 โดยมีร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลำดับรองที่ได้ผ่านการหารือชาวประมงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงตามที่ได้เคยเรียกร้องมาจนได้ข้อยุติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 11 เรื่อง ประกอบด้วย 1. เรื่องการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงสำหรับเรือประมงพาณิชย์ในน่านน้ำไทย โดยปรับปรุงระยะเวลาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมง หรือก่อนออกไปทำการประมง 2. เรื่องการกำหนดเครื่องมือที่ห้ามใช้ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล จะมีการกระจายอำนาจให้คณะกรรมการประมงประจำจังหวัด เป็นผู้กำหนดความเหมาะสมตามบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยผ่านการอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3. เรื่องวิธีการบันทึกข้อมูลในสมุดบันทึกการทำประมง (Logbook) จะมีการปรับปรุงวิธีการบันทึกเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและการปฏิบัติ และกรมประมงจะเป็นผู้จัดพิมพ์ Logbook เพื่อแจกจ่ายให้พี่น้องชาวประมงเอง 4. เรื่องการแจ้งเข้าแจ้งออกท่าเทียบเรือ ให้เจ้าของเรือเป็นผู้แจ้งและสามารถมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนได้ โดยจะมีการเพิ่มช่องทางในการแจ้งให้ง่ายขึ้น และขยายระยะเวลาการขอแก้ไขข้อมูลการแจ้งออกเป็น 24 ชั่วโมง 5. เรื่องเกี่ยวกับการตรวจมาตรฐานสุขอนามัยในเรือประมงพาณิชย์และเรือประมงนอกน่านน้ำ ตามมาตรฐานปีละ 1 ครั้ง และกำหนดระยะเวลาการรับคำขอนัดตรวจ และการออกหนังสือรับรองให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 6. เรื่องการออกประกาศข้อกำหนดการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง (VMS) จาก 5 ฉบับ ผนวกให้เป็นฉบับเดียว โดยปรับปรุงข้อกำหนดให้เหมาะสม อาทิ ให้มีการส่งสัญญาณทุก 1 ชั่วโมง กรณีเรือที่ไม่พร้อมออกทำการประมงให้สามารถนำใบอนุญาตประมงพาณิชย์มายื่นขอปิดสัญญาณชั่วคราวต่อ ศูนย์ PIPO ได้ กรณีสัญญาณขาดหาย หากเรืออยู่ห่างจากฝั่งหรือแนวเขตปิดอ่าว 30 ไมล์ทะเล ให้มีระยะเวลาในการแก้ไขได้ 8 ชั่วโมง ฯลฯ เพื่อลดความยุ่งยากและความเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย 7. เรื่องการเปรียบเทียบปรับให้คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับสามารถพิจารณาเจตนาของการกระทำความผิดตามข้อเท็จจริง ความร้ายแรง ตามหลักทั่วไปในกฎหมายอาญา และกำหนดหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบปรับให้มีความเหมาะสม 8. เรื่องการขอและการออกใบอนุญาตใช้เรือตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ได้มีการบูรณาการร่วมกับกรมเจ้าท่า ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกฎหมายดังกล่าว ซึ่งกฎหมายเดิมกำหนดให้มีการขอต่อใบอนุญาตใช้เรือต้องมีหนังสือรับรองจากกรมประมง จึงทำให้ประชาชนเกิดภาระและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบกับข้อกำหนดในการออกหนังสือรับรองใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการขอใบอนุญาตใช้เรือ ซึ่งตามกฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือเป็นหลัก จึงเป็นงานที่ซ้ำซ้อนและเกินความจำเป็น จึงเห็นควรให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือเป็นหลัก โดยกรมเจ้าท่าจะเร่งรัดดำเนินการต่อไป 9. เรื่องการออกหนังสือคนประจำเรือของแรงงานต่างด้าว (Seabook) จะมีการบูรณาการร่วมกันกับกรมจัดหางาน ในการเพิ่มสัญชาติแรงงานต่างด้าวที่จะมาทำงานบนเรือประมงได้มากขึ้น อีกทั้ง ยังจะเปิดให้มีการขอ Seabook ได้ทั้งปี นอกจากนี้ แรงงานกลุ่มที่อยู่ในประเทศไทยเกินกว่ากำหนด สามารถไปยื่นขอตรวจอัตลักษณ์ กับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อนำมาประกอบการขอ Seabook ได้ รวมถึงตัดลดเงื่อนไขที่แรงงานจะต้องตรวจโควิดออกไป 10. เรื่องการวางประกันแทนการยึดเครื่องมือทำการประมงหรือการกักเรือประมง โดยให้เรือประมงที่ถูกจับกุมหรืออยู่ระหว่างการดำเนินคดี สามารถวางประกันแล้วนำเรือประมง เครื่องมือประมง ไปทำการประมงได้ สำหรับหลักประกันที่ใช้แทน ได้แก่ เงินสด ที่ดิน พันธบัตร หุ้น หรือ บุคคลค้ำประกัน 11. เรื่องการงดจดทะเบียนเรือประมงชั่วคราวจากเดิมที่ได้งดจดทะเบียนเรือ กรมประมงได้หารือร่วมกับกรมเจ้าท่า ให้ออกประกาศการจดทะเบียนเรือประมงพาณิชย์ที่ต่อขึ้นใหม่เพื่อทดแทนลำเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ไฟไหม้ อับปาง และการจดทะเบียนเรือประมงพื้นบ้านที่ไม่มีทะเบียนเรือเดิมเพิ่มเติมได้ และการจดทะเบียนเรือประมงพาณิชย์เพื่อทำการประมงนอกน่านน้ำได้ ซึ่งขณะนี้กรมเจ้าท่าอยู่ในระหว่างดำเนินการออกประกาศ สำหรับการปรับปรุงกฎหมายที่ได้ข้อยุติทั้ง 11 เรื่องนี้ เป็นการช่วยแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องชาวประมง ส่วนในเรื่องอื่นๆ นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เน้นย้ำให้หาแนวทางออกร่วมกัน โดยมุ่งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายให้เหมาะสมควบคู่ไปกับการบริหารจัดการทรัพยากรประมงทะเลอย่างยั่งยืน ตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรีให้ไว้ โดยเฉพาะกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อชาวประมง เจตนารมณ์หลักคือ มุ่งมั่นพลิกฟื้นอุตสาหกรรมประมงไทยให้กลับมาเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศและประชาชน การประมงทะเลมีเสถียรภาพ โดยเปลี่ยนมุมมองจากที่กฎหมายเป็นอุปสรรคเปลี่ยนเป็นรัฐสนับสนุน ทั้งนี้ การดำเนินการที่กล่าวมา จะไม่ลดประสิทธิภาพในการคงไว้ซึ่งการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนและไม่กระทบกับหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ในขณะนี้ กรมประมงได้ลงระบบกลางทางกฎหมายเพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์กองกฎหมาย กรมประมง www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/law เพื่อเป็นการเปิดรับฟังการวิเคราะห์ทางกระบวนการตามกฎหมาย เป็นเวลา 15 วัน ต่อจากนั้นจะเร่งดำเนินการเพื่อออกประกาศระเบียบดังกล่าวนำมาใช้โดยเร็วที่สุด https://tna.mcot.net/agriculture-1268831
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|