|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
|
#1
|
||||
|
||||
รายงานผลโครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ/เก็บขยะ/ตัดอวน อันดามันใต้ เดือนมีนาคม 2553
รายงานผลโครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ/เก็บขยะ/ตัดอวน อันดามันใต้ เดือนมีนาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 09-04-2010 เมื่อ 06:15 |
#2
|
||||
|
||||
ทริปนี้ สองสายต้องเดินทางล่วงหน้าไป 1 วัน เพื่อไปรับปลาและม้าน้ำจาก Mr.Can ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ พบว่า บริเวณของศูนย์ฯเปลี่ยนแปลงไปมาก จากการปรับปรุงพื้นที่เพื่อให้ดูน่าสนใจและน่าชมสำหรับบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณบ่อใหญ่ที่เลี้ยง ปลาหมอยักษ์ ปลาฉลาม ปลาช่อนทะเล ฯลฯ ที่ได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่เสียจนจำแทบไม่ได้
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ในบ่อเพาะเลี้ยง ก็มีพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด เปิดให้ชะโงกชมกันอย่างใกล้ชิด วันที่สองสายไปไม่ใช่วันหยุดราชการ แต่มีผู้สนใจพาลูกจูงหลานเข้ามาเดินชมกันไม่ขาดสาย ทั้งหมดดูเหมือนจะเป็นคนในท้องถิ่นภาคใต้ทั้งนั้น ..... เห็นแล้วชื่นใจแทนเจ้าหน้าที่ีของศูนย์ฯทุกคน
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ทักทายกันได้สักพัก Mr.Can ก็พาสองสายไปชมสัตว์ชนิดหนึ่งที่ Mr.Can ภูมิใจนำเสนอ .... ..... Alligator Pipefish ... มีคำว่า Alligator ซึ่งแปลว่า จระเข้า แต่ชื่อเป็นทางการกลับเรียกว่า ปลาจิ้มฟันจระเข้ท้องคม จาก www.thaibiodiversity.org อธิบายว่า ลักษณะของ Alligator Pipefish มีปล้องลำตัว 15-18 ปล้อง ปล้องส่วนหาง 40-45 ปล้อง ทั้งสันส่วนบนและส่วนล่างของลำตัวต่อเนื่องกับสันของส่วนหางที่อยู่ในแนว เดียวกัน ส่วนท้ายของสันด้านข้างลำตัวโค้งขึ้นสู่ด้านหลังและสิ้นสุดใกล้กับฐานครีบ หลัง ลำตัวแบนจากบนลงล่าง ส่วนกลางของช่วงลำตัวกว้างที่สุด ปลายหัวตามแนวกลางมีสันแข็งไม่สูงและขอบเรียบ สันแข็งบริเวณท้ายทอยมักมีหนามแหลมเล็กๆบนขอบ จุดกำเนิดครีบหลังอยู่บนปล้องลำตัว ไม่มีครีบครีบหาง โดยส่วนของปลายหางเรียวและม้วนได้ สีสัน : มักมีสีเขียวจนถึงสีน้ำตาลหรือเทา และมีแต้มสีเข้มรูปแบบไม่แน่นอน ปลาเพศเมียมีกมีจุดดำอยู่ตามขอบล่างของปล้องลำตัว การแพร่กระจาย : พบตามแนวชายฝั่งน้ำตื้น บริเวณที่ปิดบังจากแรงคลื่น-ลม มักพบตามพื้นที่มีสาหร่ายหรือหญ้าทะเล หรือตามสาหร่ายที่ล่องลอยในน้ำ กินแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร พบได้ในมหาสมุทรอินเดียและฝั่งตะวันตก และมหาสมุทรแปซิฟิก
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
สถานที่ที่ Mr.Can พบตัวพ่อแม่พันธุ์คือ บริเวณชายทะเลของศูนย์ฯ ในช่วงน้ำลงนั่นเอง ที่ภูมิใจนำเสนอมากคือ Mr.Can สามารถนำมาผสมพันธุ์และเพาะเลี้ยงจนเติบโตขึ้นมาได้
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ที่น่ารักคือ สามารถเลี้ยงรวมในบ่อเดียวกับลูกม้าน้ำได้ แถมยังไปไหนไปด้วยกัน งอหางมาเกี่ยวกัน เหมือนจูงมือกันเดิน ลากกันไปเรื่อยๆ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#7
|
||||
|
||||
ตามมาชมแบบประชิด....ติดขอบจอกันเลยทีเดียวเชียวคั๊บ
แฮะๆๆๆๆๆๆน่ารักจัง อยู่กันได้ไม่ตีกัน แถมมีจูงไม้จูงมือกันไปอีก......อืมมมมมน่ารักๆๆๆๆๆ คิดถึงสาวน้อยและหนุ่มน้อย ผู้ติดตาม พี่Mr.CAN จังเลย....ป่านนี้คงจะตัวโตขึ้นอีกโขแล้ว |
#8
|
|||
|
|||
เก่งที่ซู้ดดดดดดดดด Mr.Can ของเรา อิอิ สถานที่น่ารัก น่าสนใจมากๆ ...
ว่าแต่ Mr.Can ไม่ได้เจอกันไม่กี่วัน ทำมายยยย ผมเปลี่ยนสีไปแยะเชียว อย่าคิดมากนะจ๊ะค่อยๆ ผสมพันธุ์กันไปไม่ต้องรีบร้อน ยังไงพี่สองสายก้คงไปรบกวนไม่เกินปีละ 10 ครั้งหรอกจ๊ะ...อิอิ
__________________
คิดดี ทำดี ชีวีเป็นสุข |
#9
|
||||
|
||||
พี่กุ้งฮ่ะ ติ๋วว่าสำนวนมันแปลกๆน๊า......ลองดูใหม่มั๊ยฮ่ะพี่สาว
|
#10
|
|||
|
|||
เริ่มต้นก็น่าสนใจแล้ว
โอยยย...น่ารักมากๆเลยค่ะ ม้าน้ำกับเจ้า Alligator Pipefish แล้วปูยักษ์เนี่ย มันใหญ่ขนาดไหนเหรอคะ? |
|
|