|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2?3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1?2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าว เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "ชานชาน" SHANSHAN ที่ปกคลุมทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางไว้ด้วย โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 29 ? 31 ส.ค. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะเริ่มมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนในช่วงวันที่ 1 ? 3 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคตะวันออก และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ในช่วงวันที่ 28 ? 29 ส.ค. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ส.ค. ? 3 ก.ย. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลงเป็นกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตั้งแต่จ.ระนองขึ้นมา มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตั้งแต่จ.พังงาลงไป และอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 29 ส.ค. 67 และ 1 ? 3 ก.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 29 ส.ค. 67
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
เร่งช่วยชีวิต! โลมาเกยตื้นชายหาดในทอน สภาพอ่อนแรงถูกคลื่นซัดเข้าฝั่ง นักท่องเที่ยวนิวซีแลนด์เจอโลมาขนาดใหญ่ถูกคลื่นซัดเกยตื้นบนชายหาดในทอน ภูเก็ต เจ้าหน้าที่นำส่งศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากอ่าวมะขามให้การช่วยเหลือ เมื่อวันที่ 28 ส.ค. เพจ Phuket Lifeguard Service ได้มีแชร์คลิปภาพนักท่องเที่ยวชาวนิวซีแลนด์เจอโลมาขนาดใหญ่ที่ถูกคลื่นซัดมาเกยตื้นบนชายหาดในทอน ต.สาคู อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ต่อมาเจ้าหน้าที่ไลฟ์การ์ดและชาวบ้านเห็นเหตุการณ์ต่างรีบวิ่งเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวนิวซีแลนด์ที่เจอคนแรกนั่งกันคลื่นและดูอาการเพื่อจะพาโลมาออกข้างนอกฝั่งได้ลองแล้วแต่โลมาเหนื่อยมากโดนคลื่นตีกลับเข้าฝั่งอีกครั้ง ต่อมานายธนพล เกื้อกูล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 ต.สาคู ได้ประสานเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบนเพื่อรับตัวโลมาไปรักษาต่อไป ซึ่งระหว่างรอเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน เจ้าหน้าไลฟ์การ์ด นักท่องเที่ยว และชาวบ้านต่างช่วยกันนำโลมามาไว้บนเรือริมหาดในทอนพร้อมทั้งนำผ้าคลุมแล้วใช้น้ำทะเลลูบและราดตัวโลมา ตามที่เจ้าหน้าที่บอกให้ทำตัวให้โลมาชื้น จากนั้นทีมแพทย์ได้ดูอาการพบว่าโลมาตัวดังกล่าวอยู่ในอาการอ่อนแรงแต่สามารถใช้หางตีน้ำได้เป็นระยะๆ เจ้าหน้าที่จึงได้นำอุปกรณ์ช่วยเหลือนำโลมาดังกล่าวขึ้นฝั่งเพื่อนำไปศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากอ่าวมะขาม ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อทำการช่วยเหลือต่อไป https://www.dailynews.co.th/news/3800779/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
รถหรูไม่ช่วยอะไร สาวใหญ่สุดมักง่ายจอดรถบนสะพานชลมารควิถีทิ้งถุงขยะลงทะเลทำชาวเน็ตถล่มยับ ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชาวเน็ตถล่มยับสาวใหญ่นั่งรถหรูราคาหลายล้าน แต่พฤติกรรมสุดมักง่าย จอดรถบนสะพานชลมารควิถี แลนด์มาร์กท่องเที่ยวสำคัญชลบุรี ทิ้งถุงขยะลงทะเลทั้งที่ถังขยะตั้งอยู่ไม่ไกล นายก อบจ. จี้เทศบาลตำบลบางทราย เอาผิด พ.ร.บ.รักษาความสะอาด จากกรณีที่เฟซบุ๊ก "ข่าวเด็ดชลบุรี" ได้โพสต์คลิปภาพจากกล้องหน้ารถที่บันทึกเหตุการณ์ขณะรถเบนซ์สีดำที่เข้าจอดเทียบเส้นขาวแดง บนสะพานชลมารควิถี สะพานเลียบทะเลที่มีความสวยงามของ จ.ชลบุรี ก่อนที่หญิงแต่งตัวดีอายุประมาณ 40-50 ปี จะเปิดประตูลงจากรถเพื่อนำถุงขยะขนาดเท่าลูกบอลโยนทิ้งลงทะเล พร้อมระบุข้อความ" มักง่ายเกินไปไหม อีก 20 เมตร ถังขยะอยู่ข้างหน้า ขับรถเป็นล้าน แต่ทำแบบนี้ รักรถแต่ไม่รักสภาพแวดล้อมของทะเล" และเมื่อคลิปดังกล่าวถูกเผยแพร่ได้มีชาวเน็ตจำนวนมากแห่เข้ามาแสดงความเห็นในลักษณะตำหนิถึงการกระทำที่ไม่เหมาะสมของหญิงคนดังกล่าว รวมทั้งคนขับรถที่แม้จะใช้รถราคาแพงแต่พฤติกรรมที่แสดงต่อส่วนรวมกลับสวนทาง พร้อมเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีกับคนขับรถคันดังกล่าวเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อสังคม เนื่องจากในคลิปได้เผยให้เห็นทะเบียนรถอย่างชัดเจนนั้น วันนี้ (28 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวได้เดินทางลงพื้นที่จุดที่เกิดเหตุโดยพบว่าจุดที่รถหรูจอดทิ้งขยะลงทะเล เป็นช่วงก่อนถึงร้านอาหารติ่มซำบนสะพานชลมารควิถี และที่สำคัญห่างจากจุดทิ้งขยะไม่เกิน 100 เมตร มีถังขยะวางตั้งให้เห็นอย่างชัดเจน และเมื่อสอบถามนายเอก (นามสมมติ) พ่อค้าขายน้ำบนสะพานเลียบทะเล ทราบว่าเรื่องของคนมักง่ายที่ขับรถมาจอดเพื่อทิ้งขยะลงทะเลนั้นเป็นภาพที่ตนเฝเห็นเป็นประจำ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีทั้งนักท่องเที่ยวและชาวบ้านในพื้นที่ และที่เห็นบ่อยคือกลุ่มผู้ที่นิยมพากันเข้ามานั่งดื่มกินทึ่สะพาน ที่เมื่อพากันรวมตัวสังสรรค์เสร็จจะนำขยะโยนทิ้งลงทะเล "อยากจะฝากถึงนักท่องเที่ยวหรือชาวบ้านที่มักจะพากันขับรถและขี่รถจักรยานยนต์เพื่อนำถุงขยะมาโยนทิ้งลงทะเลให้นำขยะของท่านไปทิ้งลงถังขยะ เพราะการกระทำในลักษณะดังกล่าวบ่งบอกได้ถึงนิสัยและความมักง่ายโดยไม่สนใจต่อความเสียหายที่เกิดกับระบบนิเวศทางทะเล ที่ไม่เพียงแต่จะทำให้น้ำทะเลเกิดการเน่าเหม็นเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อสัตว์ทะเลอีกด้วย" พ่อค้าขายน้ำ กล่าว ด้าน นายวิทยา คุณปลื้ม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เผยว่า สะพานชลมารควิถี ถือว่าเป็นแลนด์มาร์กทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของ จ.ชลบุรี และยังเป็นสะพานที่ใช้ช่วยระบายรถยนต์บนถนนสายหลัก จึงขอความร่วมมือประชาชน ไม่ว่าจะเป็นชาวชลบุรีหรือนักท่องเที่ยว ให้ช่วยกันรักษากฎกติกาทางสังคม "อยากให้ผู้ใช้รถ หรือผู้ที่มาทำกิจกรรมบนสะพานควรนำขยะทิ้งลงถัง ไม่ใช่ทิ้งลงทะเล ซึ่งหลังจากนี้ อบจ.จะได้ประสานไปยังเทศบาลเมืองชลบุรี ให้เพิ่มจุดทิ้งขยะให้มากขึ้น ส่วนกรณีที่เกิดขึ้น อบจ.ชลบุรี จะส่งเรื่องให้เทศบาลตำบลบางทราย ซึ่งเป็นผู้ดูแลพื้นที่ดำเนินการเอาผิดในเรื่อง พ.ร.บ.ความสะอาด" นายก อบจ.ชลบุรี กล่าว https://mgronline.com/local/detail/9670000079664
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
ขับเรือระมัดระวังด้วย! "วาฬบรูด้า" 3 ตัวยังหากินในทะเลบางแสน ศูนย์ข่าว?ศรี?ราชา ?- สถาบันวิทยาศาสตร์?ทางทะเลบางแสน ขอความร่วมมือชาวเรือขับเรือด้วยความระมัดระวัง ไม่ไล่ต้อนน้องวาฬ รวมทั้งให้ดึงเครื่องเรือขึ้นและให้เข้าใกล้จากด้านข้างอย่างน้อย 100 ม. หลังการลงพื้นที่สำรวจเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา พบบรูด้า 3 ตัวกำลังไล่กินปลากระตักอย่างมีความสุข วันนี้ (28? ส.ค.)? เพจสถาบันวิทยาศาสตร์?ทางทะเล? ได้เผยแพร่รายงานการสำรวจวาฬบรูด้าที่เข้ามาในทะเลบางแสน โดย น.ส.รติมา ครุวรรณเจริญ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ และ ดร.อดิสรณ์ มนต์วิเศษ ผู้เชี่ยวชาญศูนย์เรียนรู้โลกใต้ทะเลบางแสน พร้อมภาพวาฬบรูด้าที่ยังคงพากันเล่นน้ำและหาอาหารกินอาหารในทะเลบางแสนอย่างมีความสุข โดยให้ข้อมูลว่า ทีมงานสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ได้ออกสำรวจวาฬบรูด้า ชายหาดบางแสน พบบรูด้าจำนวน 3 ตัว กำลังกินอาหาร ซึ่งช่วงนี้วาฬเข้ามากินอาหารที่เป็นฝูงปลากะตัก จึงขอความร่วมมือขับเรืออย่างระมัดระวัง และไม่ไล่ต้อนน้องวาฬ รวมทั้งให้ดึงเครื่องเรือขึ้นและเข้าใกล้จากด้านข้างห่างอย่างน้อยประมาณ 100 เมตร และดับเครื่องเรือ ทั้งนี้ วาฬบรูด้า หรือวาฬแกลบ (อังกฤษ: Bryde's whale, Eden's whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera edeni) เป็นวาฬขนาดใหญ่ รวมถึงเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ Balaenopteridae โดยชื่อ วาฬบรูด้า เป็นการตั้งเพื่อให้เป็นเกียรติแก่กงสุลชาวนอร์เวย์ ในประเทศแอฟริกาใต้ https://mgronline.com/local/detail/9670000079768
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 29-08-2024 เมื่อ 04:16 |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
ญี่ปุ่นเตือนปชช. ระวังโลมากัด อาจโดนโจมตีถึงชีวิต ญี่ปุ่นออกเตือนประชาชนที่ไปเที่ยวทะเลให้ระวังการถูกโจมตีจากโลมา หลังจากสถานการณ์เช่นนี้เกิดบ่อยครั้งขึ้น ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า โลมาอาจจะเล่นสนุกจนเกินไป โดยหน่วยยามฝั่งในซึรุงะให้ข้อมูลว่า ในปีนี้มีนักว่ายน้ำ 18 รายที่ถูกกัดที่หลายชายหาดในจังหวัดฟุคุอิ แม้รอยกัดส่วนมากจะเป็นรอยเล็ก แต่บ่อยครั้งก็รุนแรงมากกว่ารอยข่วน เขาได้ยกตัวอย่างอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไม่นานนี้ ซึ่งมีเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาโดนโลมากัด และทำให้ต้องเย็บแผลถึง 20-30 เข็ม หน่วยงานท่องเที่ยวท้องถิ่นที่ชายหาดซุยโชฮามะ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หาดไดมอนด์ ประกาศแจ้งเตือนให้นักท่องเที่ยวระมัดระวังในเรื่องนี้ และแนะนำให้หลีกเลี่ยงในการเข้าใกล้หรือสัมผัสโลมา ผ่านเว็บไซต์และใบปลิว "โลมาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ปลอดภัย แต่อาจจะทำให้คุณเสียเลือดได้จากการกัด โดยฟันที่แหลมคม ลากคุณลงน้ำ และร้ายแรงที่สุดคือเป็นภัยต่อชีวิต" หน่วยงานท่องเที่ยวระบุ เจ้าหน้าที่หน่วยยามฝั่งกล่าวว่า ต้นตอของเรื่องนี้ไม่แน่ชัดว่ามีสาเหตุมาจากโลมาตัวเดียวหรือหลายตัว ทั้งนี้ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมิเอะคาดการณ์ว่า อาจจะเป็นโลมาตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งดูได้จากลักษณะครีบและรอยแผล "โลมาอาจจะพยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ ในลักษณะเดียวกับที่มันสร้างปฏิสัมพันธ์กับโลมาด้วยกัน ไม่ใช่พยายามทำร้ายมนุษย์" อาจารย์มหาวิทยาลัยมิเอะกล่าว https://www.matichon.co.th/foreign/news_4760663
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
คนบุกรุกพื้นที่ป่า แย่งที่อยู่สัตว์มากขึ้น โรคระบาดแพร่เชื้อได้ไวกว่าเดิม ........... โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล KEY POINTS - ภายในปี 2070 จะเกิดพื้นที่ทับซ้อนที่มนุษย์และสัตว์ต้องอยู่อาศัยร่วมกันเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคที่มีประชากรมนุษย์หนาแน่นสูงอยู่แล้ว เช่น อินเดียและจีน - ส่วนพื้นที่ป่าในแอฟริกาและอเมริกาใต้จะกลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพหายไป - การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อที่สามารถแพร่จากสัตว์สู่คนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ปัจจุบันมนุษย์ได้เข้าครอบครองและเปลี่ยนแปลงผืนดินทั่วโลกไปแล้วประมาณ 70-75% ของผืนดินทั่วโลก และภายในปี 2070 ประชากรมนุษย์จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเข้ายึดครองพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ เกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่มนุษย์และสัตว์ต้องอยู่อาศัยร่วมกันเพิ่มมากขึ้น ในพื้นที่ 57% ของโลก "เมื่อก่อนโลกของเรามีสถานที่ที่ไม่เคยมีคนอยู่มาก่อน เช่น ป่า อยู่มากมาย แต่ในตอนนี้เราเริ่มเห็นมนุษย์เข้าไปอยู่อาศัยและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่มากขึ้น ขณะเดียวกันกับก็เห็นสัตว์ป่าตอบโต้มนุษย์มากขึ้นเช่นกัน" นีล คาร์เตอร์ หัวหน้าผู้วิจัยการศึกษาและรองศาสตราจารย์ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนกล่าว "เป็นเวลาหลายปีแล้ว ที่มนุษย์สร้างแรงกดดันและผลกระทบเชิงลบต่อสายพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่เราเผชิญอยู่" เนื่องจากมนุษย์และสัตว์กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เดียวกัน จนเกิดความแออัดมากขึ้น ความหนาแน่นในพื้นที่นี้อาจส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้อยากรวดเร็ว ตลอดจนสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่ารุกล้ำพื้นที่ทำกินของเกษตรกร กินพืชผลและปศุสัตว์และสุดท้ายพวกมันก็ถูกมนุษย์ฆ่า การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อ ประมาณ 75% ของโรคอุบัติใหม่ในมนุษย์เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ซึ่งหมายความว่าโรคเหล่านี้สามารถแพร่จากสัตว์สู่คนได้ และโรคต่าง ๆ ที่เกิดการแพร่ระบาดระดับโลก เช่น โควิด-19 ไข้หวัดนก และไข้หวัดหมู มีแนวโน้มว่าจะมีต้นกำเนิดจากสัตว์ป่า ทั้งนี้ความเสี่ยงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากสัตว์ป่า แต่เป็นเพราะพฤติกรรมของมนุษย์และการสัมผัสสัตว์ป่าต่างหากที่ทำให้เกิดความเสี่ยงโรคแพร่ระบาด เพื่อคาดการณ์พื้นทับซ้อนระหว่างมนุษย์และสัตว์ป่าในอนาคต นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนได้เปรียบเทียบการประมาณพื้นที่ที่ผู้คนน่าจะอาศัยอยู่กับพื้นที่กระจายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์เลื้อยคลานบนบกจำนวน 22,374 ชนิด ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ทับซ้อนระหว่างมนุษย์สัตว์จะขยายใหญ่ขึ้นในภูมิภาคที่มีประชากรมนุษย์หนาแน่นสูงอยู่แล้ว เช่น อินเดียและจีน ส่วนพื้นที่ป่าในแอฟริกาและอเมริกาใต้จะกลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมากยิ่งขึ้น นับเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างมาก เพราะพื้นที่เหล่านี้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก และต้องเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้นในอนาคตจากการบุกรุกของมนุษย์ การศึกษายังคาดการณ์ว่าความหลากหลายของสายพันธุ์จะลดลงในป่าหลายแห่งทั่วแอฟริกาและอเมริกาใต้ ในอเมริกาใต้ ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคาดว่าจะลดลง 33% ส่วนสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกลดลง 45% สัตว์เลื้อยคลานลดลง 40% และนกลดลง 37% ส่วนในแอฟริกา ความสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคาดว่าจะลดลง 21% และนกลดลง 26% ขณะที่ในยุโรปพื้นที่ทับซ้อนของระหว่างมนุษย์และสัตว์ป่าคาดว่าจะลดลงมากกว่า 20% แม้ว่าการทับซ้อนจะมาพร้อมกับความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ แต่การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั่นด้วย "ในทศวรรษหน้า ผู้คนจะมีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ป่าทั้งที่ดีและไม่ดีมากขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก และบ่อยครั้งที่ชุมชนสัตว์ป่าของพื้นที่เหล่านั้นจะประกอบด้วยสัตว์ประเภทต่าง ๆ มากกว่าที่อาศัยอยู่ที่นั่นในปัจจุบัน" คาร์เตอร์กล่าว ตัวอย่างเช่น สัตว์กินซาก อาทิ แร้งหรือไฮยีนา ที่มักจะถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามของมนุษย์ แต่ที่จริงแล้วพวกมันอาจช่วยเหลือประชากรมนุษย์ได้ โดยจะมีบทบาทสำคัญในการทำความสะอาดขยะในภูมิทัศน์เมือง สัตว์เหล่านี้สามารถลดการแพร่ระบาดของโรคบางชนิดในมนุษย์ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคแอนแทรกซ์ หรือวัณโรคในวัวได้ ส่วนนกสามารถช่วยกินแมลงศัตรูพืชในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งอาจทำลายพืชผลได้ ในอนาคตรูปแบบการอนุรักษ์จะต้องถูกพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคที่ยังไม่มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาก่อน วิธีการอนุรักษ์แบบดั้งเดิม เช่น การจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองและการจำกัดการเข้าถึงของมนุษย์ อาจทำได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมันอาจจะไม่เป็นธรรมหากในวันหนึ่งจะไล่ชาวบ้านออกจากที่อยู่อาศัยทั้งที่พวกเขาอยู่มาแล้วหลายชั่วอายุคน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาทางให้มนุษย์และสัตว์ป่าอยู่ร่วมกันมากขึ้น "เนื่องจากคาดว่าในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก มนุษย์และสัตว์จะต้องอยู่ร่วมกันมากขึ้น ดังนั้นการวางแผนการอนุรักษ์จะต้องสร้างสรรค์และครอบคลุมให้มากที่สุด" คาร์เตอร์กล่าว นักวิจัยสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกระบวนการอนุรักษ์ เพื่อสร้างความสนใจ ตระหนักรู้ และปรับปรุงผลลัพธ์ ซึ่งอาจรวมถึงการสร้างทางเดินสำหรับสัตว์ป่าเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่คุ้มครองที่มีอยู่กับพื้นที่คุ้มครองใหม่ การสร้างพื้นที่คุ้มครองชั่วคราวในช่วงที่สัตว์ป่ามีอันตราย เช่น ฤดูผสมพันธุ์ และการสำรวจกลยุทธ์การอนุรักษ์ที่สร้างสรรค์อื่น ๆ "เราใส่ใจมากว่าพื้นที่ใดสามารถรองรับประชากรของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เช่น เสือ และชุมชนมีวิธีอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อย่างไร ในบางสถานที่ การทำทุกอย่างพร้อมกันอาจเป็นเรื่องยากมาก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างพื้นที่สำหรับปลูกพืชในเมือง การปกป้องสัตว์ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัย แต่ถ้าเราสามารถเริ่มวางแผนได้ตั้งแต่ตอนนี้ เราก็จะมีวิธีมากมายที่จะช่วยส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน" คาร์เตอร์กล่าว ที่มา: Earth, Euro News, Newsweek, The Guardian https://www.bangkokbiznews.com/environment/1142219
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|