|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 8 มีนาคม 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงมีฟ้าผ่าที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีตกหนักบางแห่ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 7 - 8 มี.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณเกาะสุมาตรา ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 13 มี.ค. 65 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณ์เช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมทั้งฟ้าผ่าที่จะเกิดขึนได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย" ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 08 มีนาคม 2565 บริเวณประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นต่อไปอีก 1 วัน โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบดังนี้ ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก และกำแพงเพชร ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ทีมวิจัยญี่ปุ่นพบครั้งแรกในโลก "พะยูน" หาวใต้น้ำได้ ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยมิเอะ ประเทศญี่ปุ่นค้นพบครั้งแรกในโลก พะยูน "หาว" ใต้น้ำได้ ส่วนใหญ่เป็นช่วงที่มันกำลังพักผ่อน เป็นการเคลื่อนไหวค่อยๆ โดยอ้าปาก และปิดปาก ซึ่งเรียกว่าการหาวนั่นเอง เพจ Japan Guide Book โพสต์ข้อมูลจากเว็บไซต์ news.tv-asahi.co.jp เกี่ยวกับผลการวิจัยล่าสุดของ "พะยูน" สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ มีความยาวกว่า 3 เมตร หนักกว่า 400 กิโลกรัม จากทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น (ที่ที่มีพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำโทบะ (Toba Aquarium) โดยทีมวิจัยค้นพบว่า ในช่วงเวลา 20 ชั่วโมง พบการเคลื่อนไหวในลักษณะที่คล้ายๆ กันถึง 14 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นช่วงที่มันกำลังพักผ่อน การเคลื่อนไหวนั้นก็คือ พะยูนจะค่อยๆ อ้าปาก และปิดปาก ซึ่งเรียกว่า "การหาว" นั่นเอง รองศาสตราจารย์โมริซากะ ทาดามิจิ จากภาควิชาทรัพยากรชีวภาพ มหาวิทยาลัยมิเอะ ได้ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวที่ว่า หลักเกณฑ์การตัดสินว่าพะยูนหาว มันจะมาถูกทางรึเปล่า? ทางรองศาสตราจารย์ ได้ตอบว่า "ไม่ได้คำนึงถึงว่าจะมีการหายใจเกิดขึ้นหรือไม่ในเวลานั้น แต่ดูที่วิธีการอ้าปากของมันเป็นสำคัญ หรือก็คือการที่มันค่อยๆ อ้าปาก ค้างปากกว้างเอาไว้สักพัก แล้วสุดท้ายก็ปิดปากสนิท การเคลื่อนไหวแบบนั้นสามารถนิยามได้ว่าเป็นอาการหาวของพะยูน" ทั้งนี้การหาวของสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล ยังพบได้ในโลมาปากขวด ส่วนพะยูนเป็นการค้นพบในลำดับที่สอง ทางด้านรองศาสตราจารย์โมริซากะ ยังได้บอกเพิ่มเติมว่า หลังจากนี้จะต้องวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหาวใต้น้ำของสัตว์ประเภทนี้ต่อไปด้วย https://mgronline.com/travel/detail/9650000022482
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|