|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 28 ? 29 ก.ย. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และฝนตกหนักมากบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. ? 4 ต.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านประเทศไทยตอนบนในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ย. 66
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
อันตรายบนท้องฟ้า! นักวิทย์ญี่ปุ่นพบ "ไมโครพลาสติก" ในก้อนเมฆ นักวิจัยในญี่ปุ่น ยืนยันการพบไมโครพลาสติกในก้อนเมฆ ซึ่งมันอาจส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศ ในรูปแบบที่ยังไม่เข้าใจดีพอ สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 28 ก.ย. ว่า การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Chemistry Letters ระบุว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นปีนภูเขาไฟฟูจิ และภูเขาโอยามะ เพื่อเก็บน้ำจากหมอกที่ปกคลุมยอดเขา จากนั้นจึงใช้เทคนิคถ่ายภาพขั้นสูงเก็บตัวอย่างข้างต้น เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี จากการตรวจสอบ ทีมนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า มีพอลิเมอร์ที่แตกต่างกัน 9 ชนิด และยาง 1 ชนิด ในไมโครพลาสติกที่อยู่ในอากาศ ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 7.1-94.6 ไมโครเมตร อีกทั้งน้ำในก้อนเมฆมีเศษพลาสติก 6.7-13.9 ชิ้นต่อลิตรด้วย ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังพบพอลิเมอร์ชนิดชอบน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งบ่งชี้ว่า อนุภาคมีบทบาทสำคัญ กับการก่อตัวอย่างรวดเร็วของเมฆ และส่งผลต่อระบบสภาพอากาศเช่นกัน "หากปัญหา 'มลพิษทางอากาศจากพลาสติก' ไม่ได้รับการแก้ไขเชิงรุก การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และความเสี่ยงทางนิเวศวิทยาต่าง ๆ อาจกลายเป็นจริง จนทำให้เกิดความเสียหายที่ร้ายแรง และแก้ไขไม่ได้ในอนาคต" นายฮิโรชิ โอโคจิ จากมหาวิทยาลัยวาเซดะ กล่าวเตือนในแถลงการณ์ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โอโคจิ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อไมโครพลาสติกขึ้นไปถึงบรรยากาศชั้นบน และสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลต หรือ ยูวี จากแสงอาทิตย์ พวกมันจะสลายตัว และก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ ไมโครพลาสติก คืออนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มม. ซึ่งมาจากของเสียทางอุตสาหกรรม, สิ่งทอ, ยางรถยนต์สังเคราะห์, ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายส่วนบุคคล และอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดถึงกลไกที่ทำให้ไมโครพลาสติกขึ้นสู่อากาศ และการศึกษาดังกล่าว ถือเป็นรายงานฉบับแรก ซึ่งมีการพบไมโครพลาสติกในน้ำของก้อนเมฆ นอกเหนือจากอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง หลักฐานใหม่ยังชี้ให้เห็นว่า ไมโครพลาสติกส่งผลกระทบหลายประการต่อสุขภาพของหัวใจและปอด ตลอดจนเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง https://www.dailynews.co.th/news/2760046/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|