|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 28 กรกฎาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ ประเทศลาว และเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมามีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ ประเทศลาว และเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันยังคงมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ค. ? 2 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ด้านรับมรสุมของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งอันดามัน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
เบื้องหลัง โหวตแก่งกระจาน ขึ้นมรดกโลก นอร์เวย์หัวชนฝาหนึ่งเดียว ไม่เห็นด้วย 14 ประเทศให้ผ่านฉลุย ผู้สื่อข่าวรายงานการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญครั้งที่ 44 ในปี 2564 นี้ ซึ่งเป็นการจัดประชุมผ่านระบบทางไกล ระหว่างวันที่ 16 -31 กรกฎาคม 2564 โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพ โดยคราวนี้ คณะกรรมการมีมติให้พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ภายใต้เกณฑ์ข้อที่ 10 ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งนับเป็นความสำเร็จในการดำเนินการอนุรักษ์พื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นกำเนิด รวมไปถึงการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ ที่มีคุณค่าโดดเด่นเชิงวิทยาศาสตร์ หรือ เชิงอนุรักษ์ระดับโลก โดยพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานนั้น เป็นแหล่งมรดกโลก แห่งที่ 6 ของประเทศไทย และเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ แห่งที่ 3 ของไทย แหล่งข่าวในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก เปิดเผยว่า บรรยากาศในที่ประชุมผ่านระบบทางไกล เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมานั้น คณะทำงานของประเทศไทยค่อนข้างตื่นเต้น และกระตือรือร้น เพราะครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 4 แล้ว สำหรับการนำเสนอให้พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยระหว่างการพิจารณานั้นเมื่อทางองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ ไอยูซีเอ็น กล่าวเปิดประเด็นเพื่อเสนอให้กลุ่มป่าแก่งกระจานขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั้น ประเทศแรกที่ยกมือสนับสนุน คือ รัสเซีย ต่อมาประเทศนอร์เวย์ ได้ขึ้นกล่าวคัดค้าน ไม่เห็นด้วย เพราะยังติดใจในประเด็นการจัดการเรื่องสิทธิมนุษยชน ของชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ป่าแก่งกระจาน อย่างไรก็ตาม นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในอนุสัญญามรดกโลก กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทย ได้มีการจัดการดูแลความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อยในพื้นที่เป็นอย่างดี และทุกคนก็มีความเป็นอยู่ดีขึ้นตามลำดับ โดยรัฐบาลไทยได้ดำเนินการทุกอย่างตามคำแนะนำที่ไอยูซีเอ็น และประเทศอื่นๆ ที่แสดงความเป็นห่วงติติง จากการประชุมครั้งที่ผ่านมาเป็นอย่างดีแล้ว หลังจากนั้น ก็มีผู้แทนจากประเทศ อียิป เอธิโอเปีย และประเทศโอมานขึ้นกล่าวสนับสนับสนุนให้ป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยผู้แทนจากประเทศโอมานระบุว่า ประเทศไทย เป็น 1 ใน 5 ของโลกที่มีการจัดการพื้นที่ป่าเป็นอย่างดี และมีผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ โดยมีพืชและสัตว์ป่าที่มีความสำคัญมากกว่า 700 ชนิด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประเทศภาคีสมาชิกอื่นๆ ที่สนับสนุนให้กลุ่มป่าแก่งกระจานขึ้นเป็นมรดกโลก ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย สเปน ออสเตรเลีย มาลี บราซิล จีน ไนจีเรีย เมียนมา และกัวเตมาลา มีเพียง ประเทศนอร์เวย์ประเทศเดียวที่คัดค้าน https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_2852248
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
ตื่นตาตื่นใจ "วาฬเพชฌฆาตขาว" โผล่เล่นน้ำ-อวดโฉมคู่ใกล้ฮอกไกโด . ตื่นตาตื่นใจ "วาฬเพชฌฆาตขาว" ? วันที่ 27 ก.ค. เดลีเมล์ รายงานเรื่องราวสุดว้าว..ใน ประเทศญี่ปุ่น หลังพบ วาฬเพชฌฆาตขาว 2 ตัวว่ายน้ำอวดโฉมแปลกตาบริเวณช่องแคบคุนาชิร์สกี ราว 32 กิโลเมตรระหว่างเกาะฮอกไกโดและเกาะคุนาชิร์ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้พบเห็น น.ส.มาอิ พนักงานบริษัททัวร์โกจิไรวะ-คันโกะ เปิดเผยว่างาฬเพชฌฆาตสีขาวทั้งสองตัวว่ายรวมฝูงกับวาฬเพชฌฆาตตัวอื่นๆ ที่มีสีปกติ และยิ่งทำให้พวกมันดูโดดเด่น วาฬเพชฌฆาตสีขาวตัวหนึ่งมีอายุมากกว่าอีกตัว และตนเคยเห็นตัวนี้มาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อราวๆ 2 ปีก่อน โดยวาฬตัวนี้มีสีเข้มกว่าวาฬขาวอีกตัวที่อายุน้อยกว่า และลำตัวยังปรากฏร่องรอยขีดข่วนเห็นได้ชัด "นี่คือวันที่ดีที่สุด" น.ส.มาอิกล่าว และว่านี่คือครั้งแรกที่มีโอกาสได้เห็นวาฬเพชฌฆาตสีขาวพร้อมกันสองตัว รายงานระบุอีกว่าวาฬเพชฌฆาตขาวคู่นี้ไม่ใช่วาฬเผือกที่แท้จริง ซึ่งจะเกิดจากลักษณะทางพันธุกรรมและสัตว์เผือกจะไม่มีการผลิตเมลานิน สัตว์เผือกที่แท้จริงจะเป็นสีขาวทั้งหมดและมีดวงตาสีแดงซึ่งเป็นสีของหลอดเลือดแดงที่อยู่หลังม่านตา ส่วนวาฬสองตัวนี้สันนิษฐานว่ามีภาวะด่างหรือลูซิซึม (Leucism) เป็นลักษณะผิดปกติอีกแบบหนึ่ง สัตว์ที่มีภาวะด่างจะผลิตเมลานินน้อยมากจนมีสีอ่อนกว่าปกติ นั่นอธิบายได้ว่าทำไมแถบสีขาวที่รอบคางและดวงตาของวาฬเพชรฆาตจึงยังคงมองเห็นได้ชัดในวาฬขาวทั้งสองตัว เช่นเดียวกับดวงตาที่ยังมีสีเข้ม ทั้งนี้ วาฬเพชฆาตขาวและวาฬขาวเคยถือเป็นสัตว์ที่หาได้ยากมากจนคิดว่าเป็นตำนาน แต่ปัจจุบันเริ่มพบมากขึ้น และมีอย่างน้อย 5 ตัวที่ยังมีชีวิตอยู่ https://www.khaosod.co.th/around-the...s/news_6533136
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์
ทะเลสาบในอาร์เจนตินาเปลี่ยนเป็นสีชมพู (ภาพโดย DANIEL FELDMAN / AFP) มันไม่มช่ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ แต่ผลมาจากความมักง่ายของมนุษย์ แม้จะสวยงาม แต่ก็เป็นความน่าเศร้าใจในด้านสิ่งแวดล้อม ภาพถ่ายทางอากาศเผยให้เห็นสภาพของของทะเลสาบที่เปลี่ยนเป็นสีชมพูเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ช่วยในการแช่กุ้งให้สดที่ปล่อยมาจากโรงงานประมงใกล้เมืองเตรลิว (Trelew) ในจังหวัดชูบุต (Chubut) ในพื้นที่ปาตาโกเนีย (Patagonian) ของประเทศอาร์เจนตินา เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เฟเดริโก เรสเตรโป วิศวกรสิ่งแวดล้อมและนักไวรัสวิทยา ผู้เชี่ยวชาญชาวโคลอมเบียที่อาศัยและทำงานในอาร์เจนตินา กล่าวกับเอเอฟพีว่า "การย้อมสีเกิดจากสารกันบูดที่เรียกว่า โซเดียม ซัลไฟต์ (sodium sulphite) เป็นสารต้านแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในน้ำในแม่น้ำชูบุตและเมืองต่างๆ ในภูมิภาค (ทั้งๆ ที่) กฎหมายมีคำสั่งให้บำบัดของเหลวดังกล่าวก่อนที่จะถูกทิ้ง" ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ทะเลสาบสีชมพู (Pink Lake) เกิดขึ่้นในบางพื้นที่ของโลกเช่นกัน แต่เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เช่ย ทะเลสาบสีชมพูที่รัฐวิกทอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ที่แต่ก่อนเชื่อว่าสาหร่ายสีแดงนั้นสร้างสีชมพู อย่างไรก็ตาม งานวิจัยล่าสุดที่รายงานโดย Australian Geographic ระบุว่าสีชมพูเป็นผลมาจากเม็ดสีที่ผลิตโดยแบคทีเรีย Salinibacter ruber นอกจากนี้ยังมี ทะเลสาบฮิลเลียร์ ตั้งอยู่บนเกาะมิดเดิล (Middle Island) นอกชายฝั่งทางตอนใต้ของออสเตรเลียตะวันตก ลักษณะที่เด่นที่สุดของทะเลสาบแห่งนี้คือมีสีชมพู เป็นสีที่คงอยู่ถาวร และไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อนำน้ำทะเลสาบใส่ในภาชนะ ที่มาของสีชมพูนี้กล่าวกันว่ามาจากสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า Dunaliella salina https://www.posttoday.com/world/659057
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
'GOOD APP' สุดยอด 'แอพ' พยากรณ์สภาพแวดล้อมมหาสมุทร ทำความรู้จัก "GOOD APP" สุดยอด "แอพ" ที่เปลี่ยนสมาร์ทโฟนของคุณให้เป็นศูนย์ "พยากรณ์" สภาพแวดล้อมทางทะเล ที่รู้ทุกคลื่นลม เตือนภัยได้แม้ภัยพิบัติทางทะเล เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย และมีผลต่อการดำเนินชีวิตมากๆ ตัวช่วยที่ใกล้มือที่สุด ณ ปัจจุบันนี้คงหนีไม่พ้นแอพ พยากรณ์อากาศ เพราะ แอพ ประเภทนี้ซึ่งมีมากมาย ช่วยให้เรารู้ว่าอากาศจะเป็นอย่างไรบ้างในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า เพียงแค่ปลายนิ้วก็รู้ได้อย่างง่ายดาย แต่สภาพแวดล้อมมหาสมุทรซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กันล่ะ มีแอพ "พยากรณ์อากาศ" หรือเปล่า? ล่าสุดผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นได้สร้าง "แอพ" มือถืออย่าง Global Ocean on Desk (GOOD) หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า "GOOD APP" เพื่อให้คนทั่วโลกเข้าถึงการพยากรณ์สภาพแวดล้อมมหาสมุทรได้ง่ายๆ "GOOD APP" เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกดูข้อมูลพยากรณ์สภาพแวดล้อมมหาสมุทรได้โดยตรงตามใจต้องการบนมือถือของตัวเอง โดย "แอพ" นี้พยากรณ์ภัยพิบัติทางทะเล อย่างคลื่นพายุซัดฝั่งและคลื่นสึนามิได้ ทั้งยังช่วยทีมชายฝั่งทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ป้องกันและลดภัยอันตรายทางทะเล บริหารจัดการการประมง และแม้แต่การท่องเที่ยว "แอพ" นี้ใช้งานได้ 3 ภาษา ได้แก่ ไทย มาเล และอังกฤษ โดยเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างไทย มาเลเซีย และจีน ด้วยการสนับสนุนจากกองทุน China-ASEAN Cooperation Fund แอพดังกล่าวแสดงผลการพยากรณ์สภาพแวดล้อมมหาสมุทรเชิงตัวเลขให้เป็นภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นความสูงของคลื่นพื้นผิว ระยะเวลาของคลื่น ระดับน้ำทะเล กระแสน้ำมหาสมุทรแบบสามมิติ อุณหภูมิและความเค็มของทะเล เป็นต้น ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกในช่วง 120 ชั่วโมงข้างหน้า (5 วัน) ผ่านสมาร์ทโฟน แน่นอนว่า "GOOD APP" ไม่ได้ถูกคิดค้นและสร้างขึ้นในคืนเดียว เพราะก่อนที่จะเปิดตัวแอพนี้อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคม 2561 ระบบ Ocean Forecast System (OFS) ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของแอพนี้ ถูกพัฒนาขึ้นเป็นเวลากว่าหลายทศวรรษ และมีการนำไปทดลองใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2555 ไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2561 โดยที่ OFS ใช้โมเดลเชิงตัวเลขที่คอยประสานการไหลเวียน คลื่น และกระแสน้ำพื้นผิว โมเดลใหม่นี้แตกต่างจากโมเดลมหาสมุทรอื่นๆ ที่พยากรณ์คลื่น กระแสน้ำ และการเคลื่อนไหวแยกกันโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบระหว่างกันของปัจจัยเหล่านี้ เพราะโมเดลใหม่ดังกล่าวนำปัจจัยทั้ง 3 นี้มาพิจารณาพร้อมกัน และยกระดับความแม่นยำและประสิทธิภาพของการพยากรณ์มหาสมุทรได้อย่างมาก ตัวอย่างเช่น ข้อผิดพลาดจากการพยากรณ์ความลึกของชั้นผสม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการปกป้องระบบนิเวศทางทะเล การก่อตัวของไต้ฝุ่น และการพยากรณ์สภาพอากาศ นับว่าเป็นจุดติดขัดมาถึงครึ่งศตวรรษ แต่บัดนี้ปัญหาดังกล่าวหายไปกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ศาสตราจารย์ Qiao Fangli หัวหน้าทีมวิจัยจากสถาบัน First Institute of Oceanography (FIO) ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของจีน กล่าวว่า "โมเดลดังกล่าวได้รับการตรวจสอบแล้วจากการสังเกตและการทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยช่วยยกระดับความแม่นยำของการพยากรณ์มหาสมุทรได้ถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์" ย้อนกลับไปยังปี 2551 เมื่อ Qiao Fangli ได้รับเชิญให้กล่าวปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับความสำเร็จของแบบจำลองมหาสมุทรของเขาในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติของ IOC/WESTPAC ครั้งที่ 8 เขาได้พบกับ ศาสตราจารย์ สมเกียรติ ขอเกียรติวงศ์ จากศูนย์ชีววิทยาทางทะเล จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย เป็นครั้งแรก ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานของระบบสังเกตการณ์ในทะเลและมหาสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAGOOS) และ ศาสตราจารย์ Fredolin Tangang จากมหาวิทยาลัย Universiti Kebangsaan Malaysia (UKM) ของมาเลเซีย หลังจากการอภิปรายกันอย่างดุเดือด แนวคิดความร่วมมือระหว่างทีมนักวิจัยจากจีน ไทย และมาเลเซีย ในการพัฒนาระบบพยากรณ์มหาสมุทรแบบใหม่ก็ถือกำเนิดขึ้น โครงการนี้ได้รับการอนุมัติโดย IOC/WESTPAC ในปี 2553 และในอีก 2 ปีถัดมา OFS แบบปฏิบัติการ ก็เปิดตัวเป็นครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2555 ศาสตราจารย์ Qiao กล่าวว่า "ประเทศไทย มาเลเซีย จีน และประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งหมด สามารถได้รับประโยชน์จากโครงการ OFS และความร่วมมือของเราก็เข้ามาเสริมสร้างมิตรภาพและความร่วมมือในระหว่างประเทศต่างๆ ได้อย่างมาก" OFS มีบทบาทสำคัญในการค้นหากู้ภัยในเหตุการณ์เรือล่มที่จังหวัดภูเก็ตเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 ซึ่งเรือท่องเที่ยว 2 ลำ พร้อมนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 130 ราย โดยส่วนมากเป็นชาวจีน จมลงนอกเกาะภูเก็ตทางภาคใต้ของประเทศไทย เนื่องมาจากพายุที่รุนแรงในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากภารกิจค้นหาและกู้ภัยของเจ้าหน้าที่ไทยแล้ว ทีมวิจัยระหว่างประเทศของจีนและไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางวิทยาศาสตร์อย่างแข็งขัน พวกเขาใช้ OFS คาดการณ์กระแสน้ำในมหาสมุทรและคลื่น ตลอดจนลดพื้นที่การค้นหาลงเหลือ 10 เปอร์เซ็นต์ ผ่านการคาดการณ์กระแสน้ำบริเวณรอบเรือที่จมได้อย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยให้ทีมกู้ภัยของไทยปฏิบัติภารกิจกู้ภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ OFS จึงนับเป็นระบบ "พยากรณ์" สภาพแวดล้อมในมหาสมุทรระดับชาติของทั้งประเทศไทยและมาเลเซียในขณะนี้ นอกจากความช่วยเหลือทางทะเลแล้ว ยังมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายๆ ด้าน เช่น การปกป้องแนวปะการัง ความปลอดภัยของการขนส่งทางทะเล การติดตามแหล่งที่มาและการพยากรณ์ขยะที่ลอยอยู่ในทะเล รวมถึงการรั่วไหลของน้ำมัน เป็นต้น สำหรับชาวประมง OFS และ ?GOOD APP? ที่พัฒนาขึ้นมาจาก OFS คาดการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงเพื่อที่จะรับรองความปลอดภัยและการผลิต https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/951272
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก อสมท.
โลกร้อน ทะเลเปลี่ยน ความผันผวนของอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สร้างความหวั่นวิตกให้แก่คนทั้งโลก ขณะที่ข่าวการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ก็ทำให้เกิดคำถามมากมาย น้ำจะท่วมโลกหรือไม่? มนุษย์เราจะอยู่กันที่ไหน? แล้วเราจะมีวิธีป้องกันได้หรือเปล่า... แต่จะมีสักกี่คนที่คิดถึงอีกหลายชีวิตในท้องทะเล ชีวิตที่ได้รับผลของภาวะโลกร้อนไม่น้อยไปกว่าชีวิตที่อยู่บนแผ่นดิน https://www.mcot.net/view/HhSuWnse
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|