|
#1
|
|||
|
|||
ถ่ายรูปใต้น้ำ ยากขนาดนั้นเชียวหรือ
หลังจากหยุดถ่ายภาพใต้น้ำมา เกือบสิบปี ตั้งแต่ดิจิทัลมาแทนฟิล์ม
ก็ไม่เคยมีโอกาสได้จับกล้อง dSLR ลงน้ำเลย ได้เห็นความกระตือรือล้นในการถ่ายภาพของนักดำน้ำกันแล้ว อยากเสนออีกมุมมองหนึ่ง ที่ออกแนว LIY หรือ Learn It by Yourself กันดู แบบไม่เครียด แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nudie : 03-07-2009 เมื่อ 15:09 |
#2
|
|||
|
|||
หากจะบอกว่า ถ้าถ่ายรูปบนบก Mode Manual + Fill in Flash ได้ดี ก็ถ่ายรูปใต้น้ำได้ดี เพราะเป็นหลักการเดียวกัน
หากถ่ายบนบกแล้วไม่ระวัง เหยียบหญ้า เหยียบสวนพัง หรือ Abuse ธรรมชาติ ลงใต้น้ำก็คงเหมือนกัน ดังนั้น ไม่ว่าจะมี Artistic skill แค่ไหน หากยังคุมการลอยตัวได้ไม่ดี หรือไม่เคารพธรรมชาติ ก็ไม่ควรถือกล้องลงน้ำ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nudie : 30-06-2009 เมื่อ 13:51 |
#3
|
|||
|
|||
การใช้ Mode Manual เพื่อหัดวัดแสงด้วยตนเอง โดยอาศัย Shutter speed กับ f Stop ในการคุมแสงธรรมชาติ ให้พอดี หรือ พอใจ ส่วน Fill in Flash ก็เพื่อเปิดเงา และเติมแสงที่ขาดหายไปเนื่องจากการดูดซับแสงของมวลน้ำ
ดังนั้น หากใช้ Mode Manual บนบกได้ดี ใต้น้ำก็สบาย การถ่ายภาพบนบก จึงควรฝึกใช้ Mode Manual + fill in Flash อยู่เสมอ ภาพนี้ที่ความลึก 25 เมตร แสงสีแดงหายไปแล้ว ใช้ fill-in flash Slide provia ASA 100 f16 Shutter speed 125 มีกระแส และไม่สัมผัส โปลิป ทำให้โปลิปเปิดบานเหมือนดอกไม้ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nudie : 30-06-2009 เมื่อ 14:04 |
#4
|
|||
|
|||
ส่วนคนที่ยังไม่ได้ใช้ SLR กล้อง Compact เกือบทุกรุ่นเดี๋ยวนี้ก็มี Mode Manual ลองเปิดใช้ดูให้ชำนาญ หัดวัด Ambient light และคุม Shutter speed กับ F Stop ให้เข้าใจหลักการ และชำนาญ ก็จะประหยัดเวลาลงไปคลำใต้น้ำ ที่จะมีตัวแปรอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น กระแส ตะกอน การลอยตัว ฯลฯ
ภาพ Flambouyant Cuttlefish ออกจากไข่ f 32 Shutter speed 125 Slide velvia ASA 50 แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nudie : 30-06-2009 เมื่อ 14:06 |
#5
|
|||
|
|||
ใช้กล้องก็ไม่ต่างจากมีด
แต่ละชนิดมีข้อจำกัด เช่น เอามีดหั่นปลามาหั่นเนื้อ ก็ไม่เข้า เอามีดหั่นเนื้อมาหั่นปลา ก็ แหลก กล้องคอมแพค ก็มีข้อดี มีข้อจำกัดเช่นเดียวกับ slr และ slr หากใช้ไม่ชำนาญ ก็อาจจะเละกว่า คอมแพค |
#6
|
|||
|
|||
ชอบรูปแรก กับรูปปลากระเบนอันสุดท้ายจังค่ะ ได้ความรู้สึกของการเหนิหนีของปลากระเบนเลย ชอทพอดีจริงๆค่ะ
|
#7
|
|||
|
|||
การใช้ External Flash สำหรับภาพมุมกว้างก็ไม่ต่างกับบนบก เพียงแต่ต้องหลบตะกอนบ้าง เนื่องจากดรรชนีหักเหของแสงในน้ำ ต่างจากในอากาศ จึงต้องฝึกโดยชะโงกมาดูว่าไฟ ตกบนตำแหน่งที่ต้องการหรือยัง เพราะมักเห็นแฟลชคอพับ คออ่อน ไม่ตกลงในตำแหน่งที่ต้องการ
|
#8
|
|||
|
|||
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่อง เทคนิค การวัด ตวง ชั่ง แสง ให้ได้ตามใจที่อยากได้ เต็มความสามารถที่อุปกรณ์ ให้ได้ ส่วน Artistic skill หรือ Composition เป็นเรื่องสองคน ยลตามช่อง ใครชอบแบบใหนก็ปรุงตามกิเลศก็แล้วกันครับ
|
#9
|
|||
|
|||
บางรูปที่นำมา Post อาจดูโทรมสักหน่อย เพราะ สแกนจากสิ่งพิมพ์ จำไม่ได้แล้วว่า สไลด์ เก็บไว้มุมไหน เผอิญไปรื้อหนังสือที่เก็บไว้ แล้วเจอ ก็นำมาเล่าสู่กันฟัง ว่า อาจไม่ยากอย่างที่คิด และอย่างที่หลายอาจารย์ ทำให้ดูเหมือนยาก อย่างน้อย ก็ไม่ใช่แค่ ให้ปลาเป็นปลา เท่านั้น
สมัยก่อน เน้นว่า ถ่ายอย่างไร ได้อย่างนั้น โฟโตชอบแบบ sili'cone' valley หรือสวยด้วยมือหมอ ยังไม่เป็นที่ยอมรับเท่าเดี๋ยวนี้ ภาพนี้ที่ความลึก 30 เมตร ทั้ง Seafan ดูซีดไม่มีสี แต่เมื่อเติมไฟ ก็เห็นสีสดใส แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nudie : 30-06-2009 เมื่อ 14:08 |
#10
|
|||
|
|||
สุดท้ายเป็น โกบี้ บน หอยมือเสือยักษ์ มาฝากคนรักหอยมือเสือ
|
|
|