|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 28 สิงหาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2?3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1?2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าว เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ควรงดออกจากฝั่ง ในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 28 ส.ค. ? 2 ก.ย. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยในช่วงวันที่ 28 ? 30 ส.ค. 67 บริเวณทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 ส.ค. ? 2 ก.ย. 67 บริเวณทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 28 ? 30 ส.ค. 67 นี้ไว้ด้วย ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ฉบับที่ 6 (154/2567) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2567) ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ ในวันที่ 28 สิงหาคม 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยในช่วงวันที่ 28?29 ส.ค. 67 ทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2?3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าว เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันดังกล่าวนี้ไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ญี่ปุ่นเตือนระวัง โลมาไร้คู่-เก็บกดทางเพศ โจมตีคนบาดเจ็บ โลมาตัวหนึ่งซึ่งอยู่โดดเดี่ยวและมีแนวโน้มความเก็บกดทางเพศ ถูกกล่าวหาว่าทำร้ายนักท่องเที่ยวจำนวนมากในเมืองชายทะเลของญี่ปุ่น โลมาตัวหนึ่งซึ่งอยู่โดดเดี่ยวและมีแนวโน้มความเก็บกดทางเพศ ถูกกล่าวหาว่าทำร้ายนักท่องเที่ยวจำนวนมากในเมืองชายทะเลของญี่ปุ่น เชื่อกันว่าโลมาหัวขวดตัวนี้ อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์โจมตี 18 ครั้ง ใกล้เมืองมิฮามะในปีนี้ โดยเด็กประถมศึกษาคนหนึ่งต้องเย็บนิ้วอย่างน้อย 20 เข็ม ปีที่แล้วมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์โจมตีของโลมาอย่างน้อย 6 คน โดยนักว่ายน้ำคนหนึ่งซี่โครงหัก และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกคนหนึ่งจากเหตุการณ์โจมตีในปี 2022 ส่งผลให้เจ้าหน้าที่เตือนว่า โลมาไม่เพียงแต่สามารถ "กัดคุณด้วยฟันที่แหลมคมและทำให้คุณเลือดออก" เท่านั้น แต่ยังสามารถ "ลากคุณลงไปในทะเลซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้" แม้ว่าพวกมันจะมีชื่อเสียงว่าเป็นสัตว์ที่ดูเป็นมิตร แต่การโจมตีของโลมาอาจทำให้เสียชีวิตได้ ในปี 1994 โลมาตัวหนึ่งในบราซิลโจมตีนักว่ายน้ำชายสองคนที่พยายามขี่มัน ทำให้คนหนึ่งเสียชีวิตและอีกคนได้รับบาดเจ็บ โลมาตัวดังกล่าวซึ่งมีชื่อเล่นว่า Ti?o เชื่อกันว่าเคยทำร้ายผู้คนอย่างน้อย 22 คนก่อนหน้านั้น ทาดามิจิ โมริซากะ ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาทางทะเล จากมหาวิทยาลัยมิเอะของญี่ปุ่น กล่าวว่า ครีบหลังของโลมาที่พบขณะกัดนิ้วชายคนหนึ่งที่ชายหาดในเมืองสึรุกะ เมืองที่อยู่ติดกับเมืองมิฮามะ มีลักษณะเดียวกันกับครีบหลังของโลมาความยาว 2.5 เมตร ที่พบบริเวณนอกชายฝั่งจังหวัดฟุกุอิเมื่อปีที่แล้ว ศาสตราจารย์โมริซากะ กล่าวกับเอ็นเอชเคว่า ครีบหลังเหมือนกับลายนิ้วมือของโลมา เนื่องจากครีบแต่ละอันมีรอยหยัก สันนูน และเม็ดสีที่แตกต่างกัน ทำให้สันนิษฐานได้ว่าครีบหลังนั้น อาจเป็นโลมาตัวเดียวกัน เนื่องจากบาดแผลที่ครีบหางนั้นคล้ายกับของโลมาที่พบเห็นนอกชายฝั่งเมื่อปีที่แล้ว และเป็นเรื่องแปลกที่โลมาซึ่งปกติจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม จะอยู่ตัวเดียวเป็นเวลานานเช่นนี้ เขาเสริมว่า โลมาหัวขวดตัวผู้สื่อสารกันโดย "การกัดเล่นกัน" พวกมันไม่ได้พยายามทำร้ายคน แต่ใช้วิธีการสื่อสารของโลมากับมนุษย์ ขณะที่คนอื่นๆ เสนอทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับสาเหตุที่โลมาอาจอยู่เบื้องหลังการโจมตีเหล่านี้ รวมถึงความต้องการทางเพศด้วย ดร.ไซมอน อัลเลน นักชีววิทยาและหัวหน้านักวิจัยของโครงการวิจัยโลมาชาร์กเบย์ กล่าวว่า โลมาหัวขวดเป็นสัตว์สังคม และสามารถแสดงออกถึงความเป็นสังคมนี้ได้ในรูปแบบทางกายภาพ "เช่นเดียวกับมนุษย์และสัตว์สังคมอื่นๆ ความผันผวนของฮอร์โมน ความหงุดหงิดทางเพศ หรือความต้องการที่จะครอบงำ อาจทำให้ปลาโลมาทำร้ายคนที่มันโต้ตอบด้วยได้ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีพลังมาก สิ่งนี้อาจนำไปสู่การบาดเจ็บสาหัสในมนุษย์ได้" ดร.อัลเลน เสริมว่า โลมาตัวนี้อาจจะ "ถูกแยกออกจากชุมชนของมันเองและกำลังหาเพื่อนใหม่" ดร.แมทเธียส ฮอฟฟ์มันน์-คุนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าวว่า โลมาตัวนี้อาจจะกำลังป้องกันตัวเองด้วย "จากประสบการณ์ พฤติกรรมดังกล่าวมักจะเป็นการป้องกันตัวเองเมื่อมนุษย์เข้าใกล้โลมามากเกินไป และไม่รู้ว่าจะต้องประพฤติตัวอย่างไร" โดยอ้างถึงรายงานที่ผู้คนพยายามขี่โลมา หรือเอานิ้วแหย่เข้าไปในรูหายใจของโลมา ดร.ฮอฟฟ์มันน์-คุนท์ กล่าวว่า "จึงไม่น่าแปลกใจที่สัตว์เหล่านี้จะกลายเป็นสัตว์ก้าวร้าว หรืออย่างน้อยก็ปกป้องมนุษย์ในน้ำ" หรืออาจเป็นไปได้ว่าโลมาตัวนี้เคยพบกับมนุษย์ที่ไม่ดีมาก่อน และตอนนี้โลมาก็แสดงความสัมพันธ์นั้นต่อมนุษย์คนอื่นๆ ที่พบเจอ และกล่าวเสริมว่า "พวกมันมีความจำที่ดี คล้ายกับช้างที่จำได้ว่าใครเคยทำร้ายพวกมันมาก่อน". ที่มา BBC https://www.thairath.co.th/news/foreign/2810877
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
นักวิชาการ สดร.ชี้'โลกหมุนช้าลง-ดวงจันทร์กำลังถอยห่างอย่างช้าๆ' นักวิชาการ สดร.ชี้'โลกหมุนช้าลง-ดวงจันทร์กำลังถอยห่างอย่างช้าๆ ประมาณปีละ 3.8 ซม. แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้มีผลน้อยมากกับช่วงชีวิตของมนุษย์ และเรายังไม่ต้องกังวลที่จะทำการเปลี่ยนนิยามระยะเวลาในหนึ่งวันในเร็วๆ นี้แต่อย่างใด 27 ส.ค.67 ดร.มติพล ตั้งมติธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ข้อมูลที่น่าสนใจในหัวข้อ " โลกหมุนช้าลง-ดวงจันทร์กำลังถอยห่าง "โดยมีรายละเอียดดังนี้ โลกของเรากำลังหมุนช้าลง และดวงจันทร์นั้นกำลังค่อยๆ ถอยออกห่างจากโลกอย่างช้าๆ แต่นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานานแล้ว และมนุษย์เราก็ทราบกันมานานแล้ว นอกไปจากนี้การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นช้ามาก เราจะไม่สามารถสังเกตเห็นผลกระทบของมันได้เป็นระยะเวลาอีกหลายล้านปี ดวงจันทร์นั้นเป็นดาวบริวารของโลก โคจรไปรอบๆ โลกด้วยแรงโน้มถ่วงที่โลกกระทำกับดวงจันทร์ แต่ในขณะเดียวกันนั้นดวงจันทร์ก็มีแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อโลกเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากแรงโน้มถ่วงนั้นขึ้นอยู่กับระยะทาง แรงโน้มถ่วงของผิวโลกบริเวณที่ใกล้และไกลจากดวงจันทร์นั้นจะได้รับแรงโน้มถ่วงที่ต่างจากศูนย์กลางของโลก จึงเป็นสาเหตุให้เกิดแรงที่เรียกว่า "แรงไทดัล" หรือแรงที่ทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงนั่นเอง ในขณะเดียวกัน น้ำขึ้น-น้ำลงนี้ จะค่อยๆ ทำให้เกิดแรงเสียดทาน และจะทำให้โลกค่อยๆ หมุนช้าลง ซึ่งการหมุนช้าลงของโลกนี้ ถูกจารึกเอาไว้ด้วยหลักฐานทางธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยา การศึกษาฟอสซิลของปะการังบริเวณเขตน้ำขึ้นน้ำลง ทำให้พบว่าเมื่อ 400 ล้านปีที่แล้วในยุค Devonian ในหนึ่งปีมีจำนวนวันถึง 400 กว่าวัน นั่นหมายความว่าในยุคนั้นหนึ่งวันจะกินเวลาเพียงแค่ 22 ชั่วโมง แต่กฎอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุมระบุเอาไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่มีวัตถุหนึ่งเปลี่ยนอัตราในการหมุน ก็จะต้องมีอีกวัตถุหนึ่งที่เปลี่ยนอัตราในการหมุนในทิศตรงกันข้าม เนื่องจากดวงจันทร์กำลังกระทำกับโลกให้โลกหมุนช้าลง ผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งก็คือการถอยห่างออกไปของดวงจันทร์ จากการวัดระยะที่แม่นยำด้วยเลเซอร์ทำให้เราพบว่า ดวงจันทร์ของโลกนั้นค่อยๆ ถอยห่างออกไป ประมาณปีละ 3.8 ซม. ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการหมุนช้าลงของโลก 0.002 วินาทีต่อศตวรรษ นั่นก็คือ ทุกๆ หนึ่งล้านปี หนึ่งวันบนโลกจะนานขึ้นประมาณ 20 วินาที ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้มีผลน้อยมากกับช่วงชีวิตของมนุษย์ และเรายังไม่ต้องกังวลที่จะทำการเปลี่ยนนิยามระยะเวลาในหนึ่งวันในเร็วๆ นี้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเวลาดังกล่าวนั้นอาจจะมีผลกับการวัดระยะเวลาอย่างแม่นยำในเวลาสากล ด้วยเหตุนี้เราจึงมักจะมีการปรับเวลาเพื่อชดเชยเวลาที่โลกหมุนช้าลงอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยเราเรียกการเพิ่มเวลาหนึ่งวินาทีเพื่อชดเชยการหมุนช้าลงนี้ว่า "leap second" ปัจจุบัน ทั่วโลกได้มีการปรับเวลาชดเชย leap second นี้มาแล้ว 27 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายเกิดขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2016 อย่างไรก็ตาม การชดเชย leap second นี้นั้นไม่ได้เป็นผลโดยตรงมาจากการหมุนช้าลงของโลกเพียงอย่างเดียว แต่อัตราการหมุนของโลกนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เล็กน้อยเสมอ ด้วยปัจจัยอื่นๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงของมหาสมุทร แกนหลอมเหลวภายในโลก ชั้นบรรยากาศของโลก ขั้วน้ำแข็ง ฯลฯ ซึ่งได้รับการยืนยันและติดตามโดยสม่ำเสมอผ่านทางหน่วยงานเช่น International Earth Rotation and Reference Systems Service (IERS) ขอบคุณข้อมูลเฟซบุ๊ก มติพล ตั้งมติธรรม https://www.naewna.com/likesara/825270
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation
ยูเอ็นส่งสัญญาณ SOS เตือนหายนะเกินจินตนาการจากน้ำทะเลสูงขึ้น เลขาธิการยูเอ็นส่งสัญญาณ SOS ขอความช่วยเหลือฉุกเฉินครั้งใหม่ โดยเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ร่วมกันปกป้องทะเล และเตือนว่า ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจะสร้างหายนะในวงกว้างเกินกว่าจะจินตนาการได้ อันโตนิอู กูแตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ออกคำเตือนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งล่าสุดในการประชุมระดับผู้นำของประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ที่กรุงนูกูอะโลฟา ของประเทศตองกาในวันอังคารว่า ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเป็นวิกฤตที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ทั้งสิ้น และเป็น ?วิกฤตที่จะลุกลามจนแทบจินตนาการไม่ออก ไม่มีเรือชูชีพพาเราไปที่ปลอดภัยได้ แต่หากเราปกป้องทะเลแปซิฟิกไว้ เราก็รักษาชีวิตไว้ได้ โลกต้องลงมือทำ และตอบสนองสัญญาณ SOS ก่อนจะสายเกินไป? เขาบอกด้วยว่า SOS ครั้งนี้ หมายถึง save our seas หรือ ปกป้องทะเลของเรา และ เหตุผลของวิกฤตครั้งนี้ชัดเจนว่าเป็นเพราะก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล กำลังต้มโลกใบนี้ให้เดือด และทะเลก็ร้อนตามไปด้วย และแค่จำกัดอุณหภูมิของโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ก็จะมีโอกาสป้องกันไม่ให้แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกตะวันตกละลาย และหายนะอื่น ๆ ที่จะตามมา เขาระบุว่า โอกาสน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 1 เมตร เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว แต่ขนาดและผลกระทบในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับผู้นำทั่วโลกที่จะต้องเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยเร็ว และเพิ่มการลงทุนอย่างมหาศาลในเรื่องการปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การประชุมครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อวันจันทร์ โดยมีผู้แทนกว่า 1,000 คน จากหลายประเทศเข้าร่วม และจะดำเนินต่อเนื่องจนถึงวันศุกร์ โดยมีวาระสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อประเทศลุ่มต่ำในมหาสมุทรแปซิฟิก รายงานที่เผยแพร่โดยหน่วยงานของยูเอ็น ระบุด้วยว่า ระดับน้ำทะเลในแถบแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้เพิ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกมากกว่า 2 เท่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา กูแตร์เรส เตือนว่า หากไม่มีการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกทั้งหลายจะเผชิญระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างน้อย 15 ซม. ภายในกลางศตวรรษนี้ และจะเผชิญกับน้ำท่วมชายฝั่งรวม 30 วันต่อปีในบางพื้นที่ เขาบอกด้วยว่า ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกไม่ได้มีส่วนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พวกเขามีความชอบธรรมที่จะร้องขอให้ประเทศที่ก่อปัญหาทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น เร่งหยุดยั้งแนวโน้มอันตรายนี้ https://www.nationtv.tv/foreign/378947725
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อระดับน้ำทะเลในแปซิฟิกสูงเกินค่าเฉลี่ยโลก SHORT CUT - องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก แสดงความกังวลต่อระดับน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก - โดยพบว่าระดับน้ำในแปซิฟิกกำลังเพิ่มสูงเกินค่าเฉลี่ยของมหาสมุทรทั่วโลก - ปัญหานี้อาจส่งผลกระทบต่อดินแดนหมู่เกาะ ซึ่งบางแห่งอาจจมหายไปจากแผนที่โลกใน 30 ปี องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เตือน ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกกำลังแซงหน้าค่าเฉลี่ยของโลก ส่งผลให้ดินแดนที่เป็นเกาะกำลังตกอยู่ในอันตราย จากรายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือดับเบิลยูเอ็มโอ ที่เปิดเผยเมื่อวันอังคาร ระบุว่า ระดับน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกำลังจะแซงหน้าค่าเฉลี่ยของโลก ซึ่งจะทำให้ดินแดนที่เป็นเกาะหรืออยู่ระดับต่ำกว่าน้ำทะเลต้องรับผลกระทบอย่างรุนแรง ขณะที่ระดับน้ำทะเลทั่วโลกกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างต่อเนื่อง ทำให้แผ่นน้ำแข็งที่เคยมีขนาดมหึมากำลังละลายลงเรื่อยๆ แต่แม้จะเปรียบเทียบกับการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลก พวกเขาก็ยังพบว่าระดับน้ำทะเลในแปซิฟิกบางส่วนสูงขึ้นถึง 15 เซนติเมตร ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ส่วนค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 9.4 เซนติเมตร จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้ - จะเกิดน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ชายฝั่งบ่อยขึ้น ชุมชนหลายแห่งต้องอพยพย้ายที่อยู่อาศัย - พายุหมุนเขตร้อนอาจมีความรุนแรงมากขึ้น สร้างความเสียหายที่ร้ายแรงกว่าเดิม - เกาะที่มีระดับต่ำ เช่น ตูวาลู อาจจมน้ำจนหายไปจากแผนที่โลกภายใน 30 ปี - ประเทศหรือดินแดนที่มีระดับต่ำหรือสูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่มาก ต้องเอาตัวรอดจากวิกฤติน้ำท่วม - แนวปะการังและห่วงโซ่อาหารในทะเลอาจถูกทำลาย ส่งผลต่อแหล่งอาหารทางทะเลของมนุษย์ในอนาคต โดยเซเลสเต เซาโล เลขาธิการดับเบิลยูเอ็มโอ กล่าวว่า กิจกรรมของมนุษย์กำลังทำให้ความสามารถของมหาสมุทรในการดำรงอยู่เพื่อปกป้องสิ่งมีชีวิตเริ่มอ่อนแอลง และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล กำลังเปลี่ยนสิ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตให้กลายเป็นภัยคุกคาม ที่มา: reuters https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/852374
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|