|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
|
#1
|
||||
|
||||
"โพงพาง-ไซนั่ง-ไอ้โง่" เหตุใดเครื่องมือประมงพื้นบ้านจึงกลายเป็นสิ่งผิดกฎห มาย
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
รู้จัก "โพงพาง-ไซนั่ง-ไอ้โง่" เหตุใดเครื่องมือประมงพื้นบ้านจึงกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ตลอดสัปดาห์นี้ เจ้าหน้าที่พยายามรื้อถอนเครื่องมือทำประมงผิดกฎหมาย อย่างเช่น โพงพาง ไซนั่งและไอ้โง่ หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเครื่องมือทำประมงพื้นบ้านเหล่านี้ถึงเป็นสิ่งผิดกฎหมายทั้งๆ ที่เริ่มต้นมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้าน แต่เมื่อขยายเป็นการทำประมงเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ไร้อย่างไร้การควบคุม เครื่องมือประมงเหล่านี้จึงกลายเป็นเครื่องมือที่ทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ ขณะที่ชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดสมุทรสาครร้องเรียนว่ามาตรการนี้ทำให้เขาเดือดร้อนอย่างหนักและมองว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด "ไซนั่ง" และไอ้โง่ เป็นเครื่องมือประมงผิดกฏหมาย ก็คือ การใช้อวนตาถี่ต่ำกว่า 2.5 ซม. และทำประมงอย่างไร้การควบคุมเกินศักยภาพของทรัพยากรทางทะล สัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อน อย่างเช่นปลาทูตัวเล็กๆ ทั้งที่ยังไม่ตัวเต็มวัย เครื่องมือเหล่านี้ถูกประกาศห้ามใช้มานานกว่า 20 ปีแล้ว แต่ก็ยังฝ่าฝืน จน คสช.ออกคำสั่งเด็ดขาดอีกครั้ง วันนี้ (8 ต.ค.2558) เจ้าหน้าที่กรมประมงได้ปฏิบัติการรื้อเครื่องมือทำประมงผิดกฎหมายในลำคลองและริมตลิ่งใน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ต่อเนื่องจนถึงรอยต่อ อ.อัมพวา จ. สมุทรสงคราม โพงพางเป็นอุปกรณ์ที่ชาวบ้านทำขึ้น เพื่อปักไว้ดักสัตว์น้ำ อยู่กลางลำคลอง มีขนาดกว้าง 5 วา คูณ 5 วา / การปักเสา เพื่อให้ยึดอยู่กับดินใต้น้ำ ชาวบ้านให้ข้อมูลว่า จะต้องปักที่ความลึกประมาณ 6 ศอก ที่ผ่านมามีการต่อสู้ระหว่างชาวบ้านที่นี่ และ ภาครัฐ มาหลายปี และการฟ้องร้องคดีในชั้นศาลปกครองสูงสุด ซึ่งยังไม่มีคำพิพากษา ทัดทรวง พิกุลทอง ชาวประมงพื้นบ้าน อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ไม่เห็นด้วยกับการรื้อถอนโพงพางของชาวประมง เธอตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใดเจ้าหน้าที่ไทยจึงต้องปฏิบัติตามสิ่งที่สหภาพยุโรปต้องการให้ทำ ทั้งที่การทำเช่นนี้ทำให้ชาวประมงรายย่อย รวมทั้งผู้ที่ทำธุรกิจต่อเนื่องเดือดร้อน ไม่ใช่ประมงเชิงพาณิชย์ ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ไม่ใช่ครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่รื้อถอนโพงพาง แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อประมาณ 2 เดือนก่อน ระหว่างนั้น ชาวบ้านเสนอให้ตั้งคณะกรรมการไตรภาคี มีตัวแทนชาวบ้าน กรมประมง และนักวิชาการ่วมด้วย เพื่อให้ศึกษาว่า โพงพาง ส่งผลกระทบต่อสัตว์ขนาดเล็กจริงตามที่มีการตั้งข้อสังเกตหรือไม่ แต่จนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีผลศึกษาดังกล่าว และการรื้อถอนวันนี้ บัณฑิต สิทธิไทย ชาวประมงพื้นบ้าน อ.อัมพวา ถามว่าเมื่อเจ้าหน้าที่รื้อถอนเครื่องมือประมงไปแล้วเขาจะประกอบอาชีพได้อย่างไร "เมื่อรื้อถอนไปแล้วผมจะไปทำอะไรกิน ผมก็ทำอาชีพประมงอยู่อย่างเดียว ใช้โพงพางมานานแล้ว" นายบัณฑิตกล่าว โพงพางในจังหวัดสมุทรสงครามมีประมาณ 82 ปาก อยู่ในเขต ตำบลคลองเขิน และ อัมพวา 57 ปาก ส่วนอำเภอเมืองมี 25 ปาก วันที่ 9 ต.ค.2558 เจ้าหน้าที่กรมประมง จะรื้อถอนในลำคลองจังหวัดสมุทรสงครามอีกหนึ่งวัน และหลังจากนี้ หากพบว่า ปักเสาโพงพางใหม่ จะมีโทษปรับ ตั้งแต่ 1 แสนบาท ถึง 5 แสนบาท และมีโทษจำคุก 5 ปี พร้อมยึดอุปกรณ์ http://news.thaipbs.or.th/content/%E...B8%B2%E0%B8%A2
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 03-08-2022 เมื่อ 16:57 |
#2
|
||||
|
||||
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|