|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณมีฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "แลง" (LAN) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 14-15 ส.ค. 66 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าว โปรดตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 12 - 15 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16 ? 17 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 12 ? 17 ส.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนด้านภาคตะวันออกควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 12 ? 15 ส.ค. 66 นี้ไว้ด้วย ****************************************************************************************************** พยากรณ์อากาศเทศกาลวันแม่ ระหว่างวันที่ 12 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
อุณหภูมิของผิวน้ำในทะเล และมหาสมุทรสูงขึ้นจากโลกร้อน ส่งผลกระทบที่น่าเป็นห่วงต่อโลก น้ำในทะเล และมหาสมุทรอุ่นขึ้น จนมีอุณหภูมิที่สูงจนเป็นสถิติ จากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นบนโลกของเรา มีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบนิเวศของโลก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุความแปรปรวนของภัยธรรมชาติที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน และมีผลระยะยาวในอนาคต บนโลกของเรามีพื้นที่ที่เป็นมหาสมุทรอยู่ประมาณ 71 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด ทำให้มหาสมุทรนั้นเป็นตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดสภาพภูมิอากาศของโลก ด้วยการผลิตออกซิเจน และดูดซับอุณหภูมิความร้อนของโลกที่เป็นหน้าที่หลัก ปัจจุบันอุณหภูมิของน้ำทะเลและมหาสมุทรมีการเปลี่ยนแปลงที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เนื่องมาจากการดูดซับความร้อนส่วนเกินจากผิวโลก โดยสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบวงกว้างที่น่าเป็นห่วงในใต้ท้องทะเล ที่อาจส่งผลกระทบถึงมนุษย์บนชายฝั่งอีกไม่ช้า สถานการณ์ล่าสุดมีการจดบันทึกสถิติอุณหภูมิของผิวน้ำโดย Copernicus ผู้ให้บริการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป พบว่า "อุณหภูมิของผิวน้ำพุ่งสูงถึง 20.96 องศาเซลเซียส หรือ 69.73 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยเป็นอย่างมาก" อุณหภูมิที่สูงขึ้นของน้ำทะเล และมหาสมุทรในครั้งนี้มีข้อมูล และผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความเห็นต่อสถานการณ์ดังนี้ รัฐฟลอริดา มีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงถึง 38.44 องศาเซลเซียส (101 องศาฟาเรนไฮต์) มีอุณหภูมิเสมือนอยู่ในอ่างน้ำร้อน โดยอุณหภูมิปกติควรอยู่ระหว่าง 23 องศาเซลเซียส ถึง 31 องศาเซลเซียส ตามข้อมูลของ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) เดือนมิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา น่านน้ำของสหราชอาณาจักรมีค่าเฉลี่ยที่สูง 3 ถึง 5 องศาเซลเซียส จากค่ามาตรฐานเดิม รายงานจาก Met Office และ European Space Agency การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ IPCC รายงานไว้ว่า ในช่วงปี พ.ศ.2525 ถึง พ.ศ.2559 มีคลื่นความร้อนในทะเลเพิ่มเป็นสองเท่า ทำให้อุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าอุณหภูมิของน้ำมหาสมุทรจะใช้เวลานานในการทำให้ร้อนขึ้น แต่ในปัจจุบันนี้มีสัญญาณว่าอุณหภูมิของน้ำทะเล และมหาสมุทรอาจสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ดร.คารินา วอน ชักมันน์ จาก Mercator Ocean International กล่าวว่า มีหนึ่งทฤษฎีที่ระบุว่าความร้อนที่ดูดซับมาจากอากาศจำนวนมากถูกกักเก็บไว้ในชั้นความลึกของมหาสมุทร แล้วค่อยๆ ปะทุออกมา ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์เอลนีโญในปัจจุบัน ถึงแม้ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่าสถานการณ์ของอุณหภูมิที่สูงขึ้นของพื้นผิวน้ำทะเลมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ยังมีการตรวจสอบเพิ่มเติมว่าทำไมผิวน้ำทะเลจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก และรวดเร็วกว่าปีก่อนๆ ดร.ซาแมนธา เบอร์เกส กล่าวว่า อุณหภูมิของน้ำมหาสมุทรสูงขึ้นได้จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงของมนุษย์ ยิ่งมนุษย์เราส่งเชื้อเพลิงฟอสซิลมากเท่าไร ก็จะเป็นตัวแปรที่สำคัญของโลกที่ทำการดูดซับความร้อนส่วนเกินออกไปมากเท่านั้น ซึ่งการที่จะปรับสภาพผิวน้ำมหาสมุทรให้กลับมาเป็นปกติ อาจจะใช้ระยะเวลานานพอสมควร ผลกระทบจากอุณหภูมิของน้ำมหาสมุทรที่สูงขึ้น - อุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผมให้การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง ซึ่งทำให้ภาวะโลกร้อนของเรายิ่งทวีความรุนแรงขึ้น - น้ำแข็งจากขั้วโลกละลายเร็ว ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลนั้นสูงขึ้น - ระบบนิเวศใต้ท้องมหาสมุทรแปรปรวน เช่น คลื่นความร้อนทำให้เกิดการส่งสัญญาณรบกวนไปยังฝูงปลา และวาฬ จนต้องอพยพเพื่อไปหาพื้นที่ใต้สมุทรที่มีอุณหภูมิน้ำที่เย็นขึ้น ทำให้พื้นที่เหล่านั้นมีห่วงโซ่อาหารที่แปรปรวน ทำให้จำนวนปลาลดลง รวมถึงปลาฉลามมีความเกรี้ยวกราดขึ้นจากอุณหภูมิของน้ำที่เปลี่ยนไป - ผลกระทบทางธรรมชาติที่ส่งผลแบบลูกโซ่ต่อระบบนิเวศทั้งหมดบนโลก เช่น ป่าไม้ เทือกเขา ปะการัง ป่าชายเลน และอีกมากมาย จะมีผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด - ความแปรปรวนของสภาพอากาศ ที่อาจทำให้เกิดภัยทางธรรมชาติได้มากและถี่ขึ้น เช่น เอลนีโญ ลานีญา คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และน้ำท่วม จากค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นจนทำลายสถิติเมื่อปี 2016 ทำให้ปรากฏการณ์เอลนีโญนั้นทวีความรุนแรงเป็นอย่างมากในปีนี้ และคาดว่าอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตลอดปี ทำให้ปรากฏการณ์ที่เกิดทางธรรมชาติจะทวีคูณความรุนแรงตามไปด้วย เหตุการณ์นี้จึงเป็นนัยสำคัญที่มนุษย์โลกต้องตระหนักถึงเป็นอย่างยิ่ง. ข้อมูล : bbc https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2716307 ****************************************************************************************************** อาจเป็นสายพันธุ์ แมงกะพรุนเก่าแก่ที่สุด ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการขุดพบฟอสซิลติ่งเนื้อจากหินอายุ 560 ล้านปี ทำให้กระจ่างเกี่ยวกับวิวัฒนาการของปะการังในยุคแรกเริ่ม แต่นักวิจัยก็ยังมีข้อสงสัยถึงต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตทางทะเลโบราณอีกหลายชนิด หนึ่งในนั้นก็คือสัตว์จำพวกแมงกะพรุนที่แหวกว่ายในมหาสมุทรและทะเลอย่างอิสระ แต่เรื่องนี้อาจได้รับการไขคำตอบแล้ว หลังจากนักวิทยาศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์รอยัล ออนทาริโอ ในแคนาดา ได้ศึกษาตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลแมงกะพรุนเกือบ 200 ซากที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ซึ่งขุดพบที่แหล่งฟอสซิลเบอร์เจสส์ เชล (Burgess Shale) ในแคนาดา ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และ 1990 นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ซากดังกล่าวคือแมงกะพรุนสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุด ที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อกว่า 505 ล้านปีก่อน นี่จึงเป็นความคืบหน้าที่ทำให้ได้ข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับต้นกำเนิดของสัตว์ชนิดแรกๆสุดบนโลก แมงกะพรุนสายพันธุ์ใหม่ที่พบนี้มีชื่อว่า Burgessomedusa phasmiformis อยู่ในกลุ่มเมดูโซซัว (medusozoans) มีลักษณะทางกายวิภาคบางประการของแมงกะพรุนว่ายน้ำสมัยใหม่ เช่น เหมือนจานบิน หรือรูปร่างคล้ายกระดิ่ง ระฆัง ตัวอย่างบางตัวอย่างมีความยาวมากกว่า 20 เซนติเมตร ซึ่งสายพันธุ์ Burgessomedusa phasmiformis น่าจะว่ายน้ำได้อย่างอิสระด้วยหนวดของตน ทำให้จับเหยื่อขนาดใหญ่ได้. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2716349 ****************************************************************************************************** สำรวจ "ซากดึกดำบรรพ์ฟันฉลาม" สัตว์ทะเลโบราณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และสำนักงานทรัพยากรธรณี ร่วมกันตรวจสอบ "ซากดึกดำบรรพ์ฟันฉลามวงล้อ" สกุล Helicampodus เพื่อระบุชนิด มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นชนิดใหม่ของโลกที่เก่าแก่สุดในสกุลเดียวกัน วันที่ 11 สิงหาคม 2566 จากกรณีกรมทรัพยากรธรณี พบซากดึกดำบรรพ์ฟันฉลาม สัตว์ทะเลโบราณ ที่เกาะวัวตาหลับ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี หนึ่งเดียวของไทย และหนึ่งเดียวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 4 ได้ร่วมกันตรวจสอบซากดึกดำบรรพ์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ในช่วงเดือนกันยายน 2562 ที่พบชากดึกดำบรรพ์ฟันแกนกลางฐานโค้ง มีความใกล้เคียงกับสกุล Helicampodus หนึ่งเดียวของประเทศไทย ซึ่งพบครั้งแรกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่มซากดึกดำบรรพ์หลายชนิด และสามารถกำหนดให้ฟันปลาฉลามโบราณมีอายุประมาณ 280-275 ล้านปีก่อน ต่อมาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2566 นายประยูร พงศ์พันธ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง นายจิรศักดิ์ เจริญมิตร ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ธรณีวิทยาและธรรมชาติวิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 4 ร่วมกับ ผศ.ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายฟาอิศ จินเดหวา กฟผ. (เหมืองแม่เมาะ) และ Professor Gilles Cuny ผู้เชี่ยวชาญซากดึกดำบรรพ์ปลาฉลาม University Claude Bernard Lyon 1 จากประเทศฝรั่งเศส ได้ทำการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ฟันฉลามวงล้อตรงกลางปากสกุล Helicampodus สำหรับการศึกษาครั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า "น่าจะมีความเป็นไปได้สูงที่ซากดึกดำบรรพ์ชิ้นนี้จะเป็นชนิดใหม่ของโลกที่แก่สุดในสกุลเดียวกัน ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม โดยใช้เครื่องมือ Computerized Tomography Scan (CT-Scan) เพื่อช่วยให้การระบุชนิดเป็นไปอย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้น และสามารถแสดงลักษณะที่อาจถูกบดบังด้วยเนื้อหิน หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ได้". https://www.thairath.co.th/news/local/2716628
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
ภาพล่าสุด 'บางแสน' น้ำทะเลสีเขียวปี๋ เผยสาเหตุเกิดจาก 'แพลงก์ตอนบลูม' วันที่ 11 สิงหาคม 2566 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่ชายหาด 'บางแสน' ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี หลังทราบว่าเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ 'แพลงก์ตอนบลูม' จนทำให้น้ำทะเลมีสีเขียวและมีกลิ่นเหม็นโชยไปทั่วทั้งหาด ซึ่งบรรยากาศในวันนี้ไม่มีนักท่องเที่ยวคนไหนกล้าลงเล่นน้ำเนื่องจากเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อผิวหนังได้ นักท่องเที่ยวรายหนึ่ง เผยว่า ตนตั้งใจพาลูกๆมาเที่ยว 'ทะเลบางแสน' แต่พอมาถึงเปิดประตูรถลงมาก็ได้กลิ่นเหม็นคลุ้งโชยมาเตะจมูก และพอเดินไปใกล้ทะเลก็เห็นว่าน้ำทะเลนั้นมีสีเขียวเข้ม ซึ่งตนก็ไม่กล้าให้ลูกลงเล่นน้ำ เพราะกลัวว่าจะมีผลกระทบต่อผิวหนัง พอถามแม่ค้าก็บอกตนว่าเป็น 'ปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูม' ที่เกิดจากธรรมชาติ ขณะที่พ่อค้าขายเสื้อผ้าริมหาด เล่าว่า ปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมนี้เกิดจากธรรมชาติ หรือสาหร่ายทะเลที่เน่าเสียแล้วเวลาฝนตกหรือมีมรสุมก็จะพัดเอาแพลงก์ตอนขึ้นมาจากใต้น้ำ จนทำให้น้ำทะเลมีสีเขียวดังกล่าว แต่การเกิดแพลงก์ตอนบลูมนี้ไม่มีอันตราย แต่ก็ไม่ควรเล่น และปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมนี้จะหายไปเองในเวลาไม่เกิน 7 วัน เดี๋ยวน้ำทะเลก็กลับมาใสเหมือนเดิม https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1083119
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV
นพ.รังสฤษฎ์ เตือนแพลงตอนบลูม ทำสัตว์น้ำมีพิษ กินแล้วเสี่ยงพิษอัมพาต คุณหมอสายสิ่งแวดล้อม ออกโรงเตือน ปัญหาแพลงตอนบลูมจากไนโตรเจนล้นทะลัก ร้ายแรงกว่าสภาวะโลกร้อน ทำทะเลเป็นพิษ ระบบนิเวศพัง ลามถึงความปลอดภัยอาหารมนุษย์ 11 สิงหาคม 2566 นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ คุณหมอสายสิ่งแวดล้อม และอาจารย์แพทย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์เฟซบุ๊กย้ำเตือน ถึงความร้ายแรงของปัญหาแพลงตอนบลูม ที่กำลังลุกลามรุนแรงอยู่ในบริเวณอ่าวไทยตอนใน แถบ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยได้ถ่ายภาพท้องทะเลเป็นสีเขียว พร้อมโพสต์ข้อความว่า "เพื่อนผม ถ่ายภาพนี้จากเครื่องบิน บริเวณทะเลแถวศรีราชา น้ำทะเลเปลี่ยนสี หรือ Algae bloom เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณของไนโตรเจน ล้นทะลักลงไปในทะเลเป็นจำนวนมาก กระตุ้นให้มีการเติบโตอย่างรวดเร็วของสาหร่ายเซลล์เดียว ขบวนการนี้เรียก Eutrophication" "ในฤดูฝน จะมีการชะล้างสารอินทรีย์ โดยเฉพาะ ปุ๋ยเคมี ลงไปในแหล่งน้ำและทะเล กระตุ้นการเติบโตของสาหร่าย ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวตามฤดูกาลแต่ในช่วงหลังก็พบว่าเกิดบ่อยและรุนแรงขึ้นอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้นจาก climate change และ El Ni?o ก็น่าจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิด algae bloom ขึ้นครับ" นพ.รังสฤษฎ์ อธิบายต่อว่า เมื่อเกิดปรากฎการณ์แพลงตอนบลูม แพลงตอนเหล่านี้จะดึงเอาออกซิเจนในน้ำมาใช้ จนทำให้น้ำทะเลมีค่าออกซิเจนต่ำ จนเกิดเป็น Dead Zone ที่ทะเลขาดออกซิเจนจนสัตว์น้ำขาดอากาศหายใจตาย ยิ่งไปกว่านั้น นพ.รังสฤษฎ์ ยังเตือนว่า แพลงตอนบางชนิด เช่น Cyanobacteria และ Dinoflagellates ซึ่งมีสารพิษ saxitoxin ซึ่งมีฤทธิ์คล้าย tetrodotoxin (TTX) ที่พบใน ปักเป้า แมงดาถ้วย-เหรา เมื่อสัตว์น้ำกินเข้าไปจะสะสมในร่างกาย เมื่อคนกินสัตว์น้ำเหล่านี้ก็จะได้รับสารพิษ จนเกิดเป็นโรค Paralytic Shellfish Poison (PSP) หรือ โรคพิษอัมพาต นพ.รังสฤษฎ์ เตือนแพลงตอนบลูม ทำสัตว์น้ำมีพิษ กินแล้วเสี่ยงพิษอัมพาตสาร Saxitoxin (STX) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดพิษต่อระบบประสาทนี้ เป็นสารพิษที่ละลายได้ในน้ำ และมีสมบัติที่สำคัญคือ สามารถทนต่อความร้อนที่ใช้ในการปรุงอาหารได้ จึงไม่สามารถทำลายสารพิษโดยการหุงต้มได้ เมื่อทานเข้าไป สารพิษนี้จะไปขัดขวางการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท จนเกิดอัมพาตเฉียบพลัน หยุดหายใจได้เลย จากข้อมูลสืบค้นพบว่า สำหรับในเมืองไทยได้มีรายงานการเกิดน้ำแดงที่เป็นพิษ PSP ครั้งแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2526 โดยเกิดที่ปากแม่น้ำปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีผู้ป่วย 63 ราย และเสียชีวิต 1 ราย เนื่องจากกินหอยแมลงภู่ที่จับมาจากบริเวณที่เกิดแพลงตอนบลูม นพ.รังสฤษฎ์ กล่าวย้ำว่า ปัญหาไนโตรเจนล้นทะลัก หรือ nitrogen load นี้ ถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่สุด รุนแรงยิ่งกว่าภาวะโลกร้อนเสียอีก เนื่องจากความรุนแรงของปัญหาที่เกินเลยขีดความสามารถของระบบพยุงชีวิตตามปกติของดาวเคราะห์โลกจะปรับสมดุล ฟื้นตนเองได้ ดังนั้น เขาจึงได้ออกมาย้ำเตือนในทุกๆ รัฐบาล ให้หันมาใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อม และเข้าใจเรื่อง ขีดความสามารถในการรองรับของโลก (Planetary Boundaries) ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการปกป้อง รักษา ดูแลโลก https://www.nationtv.tv/gogreen/378926588
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|