|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมอ่าวไทย ประเทศไทย และทะเลอันดามัน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางพื้นที่ในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากมีฝนตกหลายพื้นที่ และการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 14 ? 16 พ.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมอ่าวไทย ประเทศไทย และทะเลอันดามัน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 17 ? 19 พ.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 14 ? 16 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 17 ? 19 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
เร่งปลูกโกงกาง 1 แสนต้น ทำคันหิน 4.7 กม. แก้ทะเลเซาะบางขุนเทียน นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผอ.สำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กทม. ว่า โครงการปลูกป่าชายเลนในพื้นที่เขตบางขุนเทียน ดำเนินการโดย สนน.เตรียมแผนการก่อสร้างคันหิน ความยาว 4.7 กม. ตลอดแนวชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล รวมถึงเป็นแนวป้องกันและที่ดักดินตะกอนที่จะช่วยให้พันธุ์ไม้ป่าชายเลนเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ หลังจากก่อสร้างคันหินแล้วเสร็จ จะปลูกป่าตามแนวชายเลนหลังคันหินให้เต็มพื้นที่ 572 ไร่ โดยใช้เวลาปลูกภายใน 2 ปี พร้อมกับดูแลซ่อมเสริมต่ออีก 5 ปี เพื่อให้ป่าชายเลนแผ่ขยายรวดเร็วขึ้น ขณะเดียวกัน ยังมีเนื้องานปักไม้ไผ่ ซึ่งพื้นที่รอยต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดสมุทรปราการ ความยาวข้างละ 1 กม.รวมระยะทาง 2 กม. เพื่อลดความเร็วและความแรงของกระแสน้ำที่อาจสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ข้างเคียง ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว ปัจจุบัน กทม. อยู่ระหว่างขอความเห็นชอบเพิ่มวงเงินผูกพันงบประมาณจากสภา กทม. เนื่องจาก สนน.ได้รับงบประมาณตามข้อบัญญัติว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2567 แต่ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนในสัดส่วนของงบประมาณรัฐบาล คาดว่า ในปี 2567 จะสามารถดำเนินตามแผนการก่อสร้างได้ หลังจากได้รับความเห็นชอบจากสภา กทม.แล้ว นอกจากนั้น ยังได้ประสานความร่วมมือระหว่าง สนน.สำนักงานเขตบางขุนเทียน ภาครัฐ เอกชน และประชาชน จัดกิจกรรม ?เพาะพันธุ์ รักษ์ป่าชายเลนบางขุนเทียน? เพื่อปลูกต้นโกงกางในท่อซีเมนต์ ใช้ช่วยชะลอคลื่น หรือช่วยลดความแรงของคลื่นทะเลได้ นางภัสรา นทีทอง ผอ.เขตบางขุนเทียน กล่าวว่า การปลูกป่าชายเลนเพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2559-2567 โดยมีภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมสนับสนุน มีการปักไม้ไผ่ทำแนวชะลอคลื่นหน้าทะเลระยะทาง 2,200 เมตร ทำแปลงปลูกป่าชายเลน 12 แปลง ปลูกต้นกล้า 107,000 ต้น ปัจจุบันเพิ่มพื้นที่ได้ 233 ไร่ อย่างไรก็ตาม ประสบปัญหาความแรงของคลื่นลมทะเล จึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการปลูก โดยใช้การปลูกในท่อชีเมนต์ ขนาดสูง 2 เมตร ปากกว้าง 6 นิ้ว เพื่อยกระดับให้ต้นกล้าพ้นน้ำทะเล มีหน่วยงานให้การสนับสนุนท่อซีเมนต์ 90 หน่วยงาน รวม 27,139 ท่อ ทั้งนี้ ในปี 2567 ได้กำหนดเป้าหมายบำรุงรักษาต้นกล้าโกงกางให้เจริญเติบโต เพื่อคงพื้นที่ให้ได้ 233 ไร่ เพาะพันธุ์ต้นกล้าสำหรับซ่อมแซมและปลูกเสริมอย่างน้อย 70,000 ต้น. https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2785113
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
ยูทูบเบอร์ลงทุนพิสูจน์ความเชื่อ ฉลามดมกลิ่นเลือดได้ แม้อยู่ห่างเป็นกิโลเมตร อดีตวิศวกรหนุ่มจาก "นาซา" ตัดสินใจทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ความ "จมูกไว" ต่อกลิ่นเลือดของฉลามร้ายกลางทะเล เครดิตภาพ : YouTube / Mark Rober ฉลามได้ชื่อว่าเป็นนักล่าแห่งท้องทะเล จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีความเชื่อต่าง ๆ นานาเกี่ยวกับนิสัยที่ดุร้ายของมัน อีกทั้งการที่ได้รับบทบาทเป็น "ตัวร้าย" ในภาพยนตร์หลายเรื่องที่โด่งดัง เช่น Jaws หรือแม้กระทั่งแอนิเมชันอย่าง Finding Nemo ทำให้ยิ่งตอกย้ำว่ามันเป็นสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลที่ไม่ควรเข้าใกล้ ภาพลักษณ์ที่ดูกระหายเลือดของฉลาม ทำให้คนมีความเชื่อมันเป็นสัตว์ที่รับรู้กลิ่น "เลือด" ในท้องทะเลได้ไว แม้อยู่ในระยะห่างระดับกิโลเมตร แต่ข้อเท็จจริงนั้นเป็นอย่างไร กลับไม่ค่อยมีคนรู้มากนัก มาร์ค โรเบอร์ ยูทูบเบอร์คนดังผู้มีดีกรีเป็นถึงอดีตวิศวกรจาก "นาซา" เป็นคนหนึ่งที่ข้องใจในเรื่องนี้มานานและในปี 2562 เขาก็ทำการทดลองขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อพิสูจน์ว่าความเชื่อดังกล่าวมีมูลความจริงหรือไม่ ปฏิบัติการของ โรเบอร์ เป็นการทดลองแบบจริงจัง มีการเตรียมการและตั้งสมมุติฐาน ประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อเก็บข้อมูลอย่างเป็นขั้นตอน? หลังจากเตรียมการต่าง ๆ เรียบร้อย โรเบอร์ ก็นำเรือพร้อมอุปกรณ์ทดลองและ ลุค ทิปเปิล นักชีววิทยาทางทะเลควบตำแหน่งนักประดาน้ำ ออกไปยังจุดที่มีฉลามชุกชุมแถวหมู่เกาะบาฮามาส์ ซึ่งอยู่นอกชายฝั่งไปประมาณ 30 กม.เศษ? นอกจากจะพิสูจน์ความเชื่อเรื่องความ ?จมูกไว? ของฉลามแล้ว เขายังอยากพิสูจน์ว่าฉลามจะคลุ้มคลั่งในทันทีที่ได้กลิ่นเลือดตามที่คนทั่วไปเชื่อกันหรือไม่ จึงมีการเตรียมของเหลวอย่างอื่น นอกเหนือจากเลือดสด ๆ ไปด้วย เพื่อเปรียบเทียบกัน อุปกรณ์ในการทดลองของ โรเบอร์ จะติดตั้งอยู่บนกระดานโต้คลื่น 4 แผ่น ทั้งหมดควบคุมจากระยะไกล แต่ละชิ้นจะสามารถปั๊มของเหลว 4 ชนิด แต่ละชนิดมีจำนวน 2 ลิตร ซึ่งได้แก่ น้ำมันปลา, เลือดวัว, น้ำทะเลและน้ำปัสสาวะ ลงสู่ทะเลเป็นระยะ ๆ พร้อมกัน โดยกินเวลาประมาณ 1 ชม.? ระหว่างนั้น โรเบอร์ และ ทิปเปิล จะเฝ้าสังเกตการณ์อยู่บนเรือ โดยมีโดรนติดกล้องคอยบันทึกภาพจากมุมสูงว่ามีฉลามเข้ามายังกระดานโต้คลื่นแต่ละแผ่นเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด ผลจากการทดลองใน 10 นาทีแรก พบว่าไม่มีความเคลื่อนไหวมากนักจน โรเบอร์ กล่าวว่า ต่อไปนี้คงไม่ต้องกังวลเวลาประสบเหตุจนมีเลือดออกในทะเล หรือในกรณีที่แอบปัสสาวะลงในทะเล ว่าจะกลายเป็นสาเหตุที่ดึงดูดให้ฉลามเข้ามาหา เมื่อเวลาผ่านไปราว 20 นาที โรเบอร์ ก็พบว่าไม่ได้มีฉลามสนใจจะว่ายเข้ามาในบริเวณที่พวกเขาปล่อยของเหลวมากเท่าไหร่ จนกระทั่งถึงตอนสุดท้ายของการทดลอง พวกเขาจึงพบฉลาม 4 ตัว ว่ายเข้ามาสำรวจอุปกรณ์ที่ปล่อยน้ำมันปลา และไม่มีฉลามตัวไหนสนใจจุดที่ปล่อยน้ำทะเลและน้ำปัสสาวะ แต่อุปกรณ์ที่ปล่อยเลือดวัวลงทะเลนั้น มีฉลามเข้ามาแวะเวียนสำรวจดูถึง 41 ตัว ก่อนจะจากไปด้วยความผิดหวังเมื่อพบว่าสิ่งที่ปล่อยเลือดออกมาไม่ใช่สิ่งมีชีวิต โรเบอร์ จึงสรุปได้ว่า ฉลามสนใจเลือดมากกว่าของเหลวประเภทอื่นจริง ๆ แต่คำถามต่อไปก็คือ ต้องมีเลือดในปริมาณมากขนาดไหนจึงจะดึงดูดความสนใจของพวกมันได้ ต่อมา โรเบอร์ ได้ทำการทดลองชุดที่ 2 คราวนี้เขาใช้เลือดของตัวเองและทีมงานแทนการใช้เลือดวัวเหมือนตอนแรก เขาติดตั้งเลือดคน 4 ถุงเข้ากับกระดานโต้คลื่น 2 แผ่น คล้ายกับการติดตั้งในรอบแรก โดยมีอุปกรณ์ปล่อยน้ำทะเลอยู่ตรงกลางระหว่างเลือด 2 ชุด เพื่อแยกกลุ่มทดลอง โรเบอร์ อธิบายในคลิปว่า กระดานทางซ้ายจะปั๊มเลือดคนลงทะเลอย่างช้า ๆ ในอัตรา 1 หยดต่อ 1 นาที ส่วนกระดานฝั่งขวาจะทำงานเร็วกว่าในอัตรา 1 หยดต่อ 4 วินาที ผลของการทดลองครั้งที่ 2 พบว่า ไม่มีฉลามตัวไหนให้ความสนใจกระดานที่ติดตั้งอุปกรณ์ปล่อยเลือดทั้ง 2 จุดเลย ขณะที่มีฉลามมากมายว่ายวนอยู่รอบเรือ โรเบอร์ สรุปว่า อาจกล่าวได้ว่าหากมีเลือดออกในอัตรา 15 หยดต่อนาทีเมื่ออยู่ในทะเล เราก็ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะกลายเป็นตัวล่อฉลามหรือทำให้ฉลามเกิดคลุ้มคลั่งและไล่ทำร้ายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในน้ำได้ นอกจากนี้ ในปีต่อมา โรเบอร์ ยังทำการทดลองเกี่ยวกับฉลามอีกครั้ง และคราวนี้เขาพบว่าฉลามชอบกลิ่นเลือดของปลาด้วยกันมากกว่ากลิ่นเลือดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในช่วงท้ายเขายังลงไปอยู่กรงล่อฉลามพร้อมกับปล่อยเลือดปลา ซึ่งทำให้ฉลามจำนวนมากเข้ามารุมกรงที่มีเขาอยู่ข้างใน ที่มา : ladbible.com https://www.dailynews.co.th/news/3429129/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
"กรมเจ้าท่า" ทุ่มงบฯ 1.4 พันล้าน เสริมทรายชายหาดชะอำ ถูกกัดเซาะหนัก 6 กม. "กรมเจ้าท่า" ใช้งบฯ ปี 67 กว่า 1.4 พันล้าน ลุยเสริมทรายชายหาดชะอำ ถูกกัดเซาะหนัก 6 กม. เติมทราย 1.4 ล้านลบ.ม. เพิ่มความกว้างชายหาด 50-80 เมตร ฟื้นชายหาดให้สวยงาม "มนพร" สั่งศึกษาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนกันคลื่น ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่เหมาะสมอย่างยั่งยืน นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินโครงการเสริมทรายชายหาดและป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง และสำรวจพื้นที่จุดที่มีการขอรับงบประมาณก่อสร้างท่าเทียบเรือบ้านแหลม ซึ่งที่ผ่านมาได้รับข้อร้องเรียนจากประชาชน และผู้ประกอบการในพื้นที่ชายหาดชะอำเรื่องปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งได้รับการร้องขอจากกลุ่มชาวประมงบริเวณวัดไทรย้อย ให้ดำเนินการปรับปรุงเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง ให้สามารถกำบังคลื่นลมได้ดียิ่งขึ้น เพื่อยกระดับความสะดวก และปลอดภัยต่อการประกอบอาชีพประมง และการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านหลังเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง ทั้งนี้พื้นที่บริเวณชายหาดชะอำ เป็นพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะมากที่สุด โดยกรมเจ้าท่า (จท.) อยู่ระหว่างดำเนินโครงการเสริมทรายชายหาดและป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทางรวม 6.05 กิโลเมตร (กม.) ใช้งบประมาณ 1,442.87 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 บริเวณร้านอาหารปลาทู?ถนนโยธาธิการ (กม.1+500-กม.3+200) ระยะทางประมาณ 1.7 กม. งบประมาณ 554.94 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ระยะทาง 800 เมตร งบประมาณ 270 ล้านบาท โดยเสริมทรายชายหาดกว้างเฉลี่ย 50-80 เมตร ซึ่งได้รับงบประมาณปี 67 อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และตอนที่ 2 ระยะทาง 900 เมตร งบประมาณ 284.94 ล้านบาท ประกอบด้วย เสริมทรายชายหาดกว้างเฉลี่ย 50 เมตร ก่อสร้างกำแพงหินบริเวณปากคลองบางควาย พร้อมทั้งขุดลอกคลอง และปรับปรุงเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งเดิมบริเวณหน้าวัดไทรย้อย และปรับปรุงระบบระบายน้ำ ระยะที่ 2 (ซอยร่วมจิตร?ลานชมวิวหาดชะอำ) (กม.6+800-กม.9+800) ระยะทางประมาณ 3 กม. งบประมาณ 598.61 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ระยะทาง 1.5 กม. งบประมาณ 299.305 ล้านบาท โดยเสริมทรายชายหาดกว้างเฉลี่ย 50 เมตร และตอนที่ 2 ระยะทาง 1.5 กม. งบประมาณ 299.305 ล้านบาท โดยเสริมทรายชายหาดกว้างเฉลี่ย 50 เมตร และระยะที่ 3 (ลานชมวิวหาดชะอำ-บริเวณร้านอาหารไอ เลิฟ สวีต) (กม.9+800-กม.11+150) ระยะทาง 1.35 กม. งบประมาณ 289.32 ล้านบาท โดยเสริมทรายชายหาดกว้างเฉลี่ย 50 เมตร นางมนพร กล่าวต่อว่า บริเวณชายหาดชะอำมีการถูกกัดเซาะเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อเนื่องในอนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของอำเภอชะอำ ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งคนไทย และต่างชาติเดินทางมาจำนวนมาก เนื่องจากมีชายหาด และทะเลที่สวยงาม รวมทั้งมีการคมนาคมที่สะดวก ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงจากกรุงเทพฯ ทั้งนี้โครงการเสริมทรายชายหาดชะอำ จะเริ่มดำเนินการภายในปี 67 โดยปริมาณทรายที่ใช้ในการเสริมทรายทั้ง 3 ระยะ ประมาณ 1,439,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ภายหลังโครงการฯ แล้วเสร็จ จะทำให้ชายหาดมีความกว้างเฉลี่ย 50-80 เมตร พร้อมแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่ง ฟื้นฟูระบบนิเวศและช่วยบูรณะให้ชายหาดชะอำกลับมาสวยงาม รองรับกิจกรรมสันทนาการบนชายหาด และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชน และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย นางมนพร กล่าวอีกว่า ได้มอบให้ จท. ศึกษาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนกันคลื่น เพื่อหาแนวทางป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่เหมาะสมอย่างยั่งยืน สำหรับโครงการเสริมทรายชายหาดฯ บริเวณชายหาดชะอำ ฝั่งด้านเหนือ ได้สั่งการให้ จท. ประสานหน่วยงานส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดทำข้อมูลเป็นโครงการเร่งด่วนในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ในครั้งนี้ เพื่อพิจารณาขอรับการจัดสรรงบประมาณจากงบกลาง เพื่อเร่งดำเนินการ นอกจากนี้มอบนโยบายให้ จท. ปรับปรุงและออกแบบภูมิทัศน์ชายหาดให้สวยงามเหมาะกับการทำกิจกรรมทางน้ำ และกิจกรรมสันทนาการบนชายหาดสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว โดยใช้ชายหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี เป็นต้นแบบ นางมนพร กล่าวด้วยว่า ในโอกาสนี้ได้ลงพื้นที่ตำบลบ้านแหลม เพื่อรับฟังปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ โดยสมาคมประมงอำเภอบ้านแหลม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหลม และเทศบาลตำบลบ้านแหลม ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างท่าเทียบเรือบ้านแหลม เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับขนถ่ายสัตว์น้ำ รวมทั้งรองรับการเทียบท่าของเรือประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน โดยที่ผ่านมา จท. ได้ดำเนินการขุดลอกร่องน้ำบ้านแหลม เพื่อให้เรือสามารถเข้าเทียบท่าที่ตำบลบ้านแหลมได้ ทั้งนี้จากที่ชุมชนขอรับการสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างท่าเทียบเรือนั้น กระทรวงคมนาคมพร้อมผลักดันโครงการเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน โดยมอบให้ จท. พิจารณาใช้งบเหลือจ่ายประจำปีงบประมาณ 67 เพื่อศึกษาและออกแบบโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือฯ จากนั้นจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณก่อสร้าง และขอรับการจัดสรรงบประมาณต่อไป ซึ่งท่าเทียบเรือดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกต่อการทำอาชีพประมง รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางและขนส่ง ทำให้ประชาชนในพื้นที่สามารถสัญจรได้สะดวกขึ้น และเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วย https://www.dailynews.co.th/news/3429150/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
"พะยูน" ทะเลอันดามันวิกฤตหนัก สั่งกำหนดพื้นที่ป้องกันตายเพิ่ม ศูนย์ข่าวภูเก็ต ? สถานการณ์ "พะยูน" อันดามันวิกฤตหนัก พบตายจากอุบัติเหตุ และไม่ทราบสาเหตุ แล้วกว่า 20 ตัว รมว.ทส. สั่งกำหนดพื้นที่เฝ้าระวัง ป้องกัน "พะยูน" ตายเพิ่ม จากกรณีเกิดเหตุ พะยูน สัตว์ทะเลหายาก ตายจากอุบัติเหตุ และตายโดยไม่ทราบสาเหตุจำนวนหลายตัว โดบในปี 2657 พบว่าตายไปแล้วกว่า 20 ตัว ล่าสุด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) มีห่วงใยวิกฤติพะยูน จึงได้สั่งการกรมทช.และ กรม อส. กำหนดแนวทางสำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุของพะยูน และ กำหนดพื้นที่การแพร่กระจายของพะยูนและแหล่งหญ้าทะเล ที่เริ่มมีการเปลี่ยนจากถิ่นเดิม เนื่องด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันจากสภาวะโลกร้อน ทำให้แหล่งหญ้าทะเลเกิดการเสื่อมโทรมและสูญหายเป็นจำนวนมาก พะยูนบางส่วนที่อาศัยอยู่บริเวณจังหวัดตรัง และ จังหวัดกระบี่ มีการเคลื่อนย้ายถิ่นไปหากินแหล่งหญ้าทะเลตามแนวชายฝั่งในพื้นที่จังหวัด อื่น ๆ ใกล้เคียง จำนวนพะยูนที่เพิ่มมากขึ้นจากการอพยพย้ายถิ่น ยังไม่มีการปรับตัวที่ดีพอ ประกอบกับปริมาณการสัญจรทางน้ำและกิจกรรมประมง ที่มีมากในพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณอ่าวพังงา ส่งผลให้พะยูนมีอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางน้ำ และ อุปกรณ์ทางการประมงมากขึ้น จึงมอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) กำหนดพื้นที่การแพร่กระจายของพะยูนและแหล่งหญ้าทะเล บริเวณอ่าวพังงา จำนวน 12 พื้นที่ ได้แก่ 1.อ่าวตังเข็น ภูเก็ต 2.อ่าวป่าคลอก ภูเก็ต 3.อ่าวบ้านคลองเคียน พังงา 4.เกาะหมาก พังงา 5.ช่องหลาด เกาะยาว พังงา 6.อ่าวท่าปอม กระบี่ 7.อ่าวนาง กระบี่ 8.อ่าวน้ำเมา กระบี่ 9.เกาะศรีบอยา เกาะปู กระบี่ 10.เกาะลันตา กระบี่ 11.แหลมไทร กระบี่ และ 12.เกาะยาวใหญ่ใต้ พังงา โดยมีมาตรการดังนี้ 1. หากมีการพบเห็นพะยูน ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ให้โทรแจ้งสายด่วนหมายเลข 1362 เพื่อ ทช. และอส. จะประสานเจ้าหน้าที่ในบริเวณใกล้เคียงเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อนำส่งศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายาก ของทช. ที่มีอยู่ในพื้นที่ 2. ประกาศให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและประชาชนที่ใช้ยานพาหนะในการสัญจรทางน้ำ เดินเรือตามแนวร่องน้ำหลัก โดยขอความร่วมมือให้งดการเดินเรือในบริเวณแหล่งหญ้าทะเล และหากจำเป็นต้องเดินเรือผ่านแนวเขตหญ้าทะเล ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 3 น๊อต และไม่เกิน 20 น๊อต ในพื้นที่ชายฝั่งที่เป็นเขตการแพร่กระจายพะยูน 3. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงในพื้นที่หญ้าทะเลและแหล่งแพร่กระจายของพะยูน หมั่นตรวจเช็ค ดูแลเฝ้าระวังเครื่องมือประมงขณะทำการอย่างต่อเนื่อง หรือหลีกเลี่ยงการทำประมงในพื้นที่ดังกล่าว https://mgronline.com/south/detail/9670000041313
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
ขอความร่วมมืองดเดินเรือบริเวณแหล่งหญ้าทะเล เพื่อปกป้องชีวิตพะยูน เพจ "ประชาสัมพันธ์จังหวัดกระบี่" ได้โพสต์ข้อความขอความร่วมมือนักเดินเรืองดเดินเรือบริเวณแหล่งหญ้าทะเล เพื่อไม่เป็นอันตรายต่อพะยูน หรือให้เรือชะลอความเร็วลงและเว้นระยะห่างจากสัตว์ทะเลหายาก เมื่อวันที่ 12 พ.ค. เพจ "ประชาสัมพันธ์จังหวัดกระบี่" ได้โพสต์ข้อความขอความร่วมมือนักเดินเรืองดเดินเรือบริเวณแหล่งหญ้าทะเล เพื่อไม่เป็นอันตรายต่อพะยูน โดยทางเพจระบุข้อความว่า "มาร่วมปกป้องพะยูน หรือเจ้าหมูทะเล สัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ ขอความร่วมมือ งดการเดินเรือในบริเวณแหล่งหญ้าทะเล พื้นที่เสี่ยงในการอพยพเคลื่อนย้ายพะยูน หรือหากจำเป็นให้ชะลอความเร็วเรือ และงดการใช้เครื่องมือประมงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตพะยูนในแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน หากมีการพบเห็นพะยูน หรือสัตว์ทะเลหายาก ให้เรือชะลอความเร็วลงและเว้นระยะห่างจากสัตว์ทะเลหายาก แจ้งเหตุช่วยเหลือพะยูน ได้ที่สายด่วน 1362" https://mgronline.com/onlinesection/.../9670000041312
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|