|
#1
|
||||
|
||||
กรุงเทพฯจะ จมน้ำ (2)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
เตรียมรับมือ กรุงเทพฯจมน้ำ รอ 10 ปีก็สายเสียแล้ว จากคำทำนายในแง่โหราศาสตร์ที่ฟอร์เวิร์ดเมลกันว่อนในเวลานี้ ว่าปี 2553 น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่หนักยิ่งกว่าครั้งใดๆ ประกอบกับมีข้อมูลทางวิชาการออกมาว่าปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นสาเหตุที่ทำให้สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลง จนมีผลกระทบจะทำให้เกิดน้ำท่วมโลก พื้นดินหลายแห่งจะจมอยู่ใต้น้ำ รวมทั้งกรุงเทพมหานครของประเทศไทยด้วย ได้กลายมาเป็นประเด็นร้อนที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลแก่ประชากรโลก โดยเฉพาะ "คนกรุงเทพฯ" และปริมณฑล "เพราะหากเป็นเช่นนั้นจริง แน่นอนว่านอกจากความเสียหายใหญ่หลวงทางเศรษฐกิจที่รออยู่เบื้องหน้าแล้ว สุขภาพจิตของคนไทยคงต้องอยู่ในสถานการณ์อันตรายยิ่ง!" จะเป็นเช่นที่กล่าวหรือไม่- -มีคำอธิบายจาก "ดร.เสรี ศุภราทิตย์" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้ศึกษาวิจัยประเด็นนี้เสร็จหมาดๆ แล้วส่งเปเปอร์ให้กับธนาคารโลก (World Bank) ในฐานะเจ้าของเงินทุนการวิจัยไปเมื่อเดือนมีนาคม 2552 นี้เอง ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เล่าความเป็นมาก่อนว่า ได้ใช้เวลาในการศึกษาเรื่องนี้ 2 ปี โดยศึกษาเฉพาะกรณีของประเทศไทย เหตุเพราะว่าธนาคารโลกสนใจเรื่องนี้มาก และศึกษามาอย่างต่อเนื่องจนได้ข้อมูลว่า 4 เมืองหลักในทวีปเอเชีย ได้แก่ เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย, เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม, เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และกรุงเทพฯ ประเทศไทย ภาพเปรียบเทียบชายฝั่งของเดิมและปัจจุบันที่ถูกน้ำท่วมเข้าไปลึกมากแล้ว "อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะจมน้ำในปี พ.ศ.2563" ดังนั้น จึงให้ทุนมาศึกษาวิจัยว่าความเสี่ยงมีมากขนาดไหน ประชาชนจะได้รับผลกระทบกี่ครอบครัว และความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจะเป็นมูลค่าเท่าไหร่ "วิธีการศึกษาผมได้ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ เป็นคอมพิวเตอร์ทั้งหมด สร้างเมืองกรุงเทพฯจำลองขึ้นมา ซึ่งกรุงเทพฯ ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองต่างๆ ระดับความสูงของพื้นดิน ระดับน้ำทะเลบริเวณเขตบางขุนเทียน จากนั้นใส่ปริมาณน้ำเหนือ น้ำหนุน และปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ใส่ข้อมูลต่างๆ ลงไปให้ครบ และใช้เหตุการณ์น้ำท่วมปี 2538 เป็นฐาน.." "ผล.. เราพบว่าถ้าเหตุการณ์อย่างปี 2538 เกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง อนาคตเราหนีไม่พ้นแน่ กรุงเทพฯรับไม่ได้กับเหตุการณ์นี้ ต้องโดนน้ำท่วมหนัก" คำว่า ""กรุงเทพฯรับไม่ได้กับเหตุการณ์นี้"" ของอาจารย์เสรีมีความหมายว่าผืนดินบริเวณริมทะเลทั้งหมด โดยวัดจากริมชายทะเลเข้าไปในแผ่นดินประมาณ 10 กิโลเมตร จะถูกน้ำท่วม "โดยมีระดับความสูงของน้ำ 1.8-2.00 เมตร"!! - ลักษณะของบ้านอนาคตประเทศไทยต้องมีใต้ถุนสูง ส่วนบ้านแพลอยน้ำเป็นของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ขณะนี้ได้ออกแบบเตรียมรับมือน้ำท่วมไว้แล้ว - สภาพน้ำท่วมชายฝั่งด้านสมุทรปราการปัจจุบัน ""เราพบว่าพื้นที่กรุงเทพฯ จะถูกน้ำท่วมรุนแรง แน่นอนว่าขึ้นอยู่กับว่าจะติดกับชายฝั่งขนาดไหน ถ้าอยู่ติดชายฝั่งระดับน้ำจะท่วมสูง 1.8-2.00 เมตร ถ้าลึกเข้าไปก็ลดหลั่นกันไป แต่ริมชายฝั่งอย่าง จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร บริเวณปากแม่น้ำจมแน่ๆ"" "สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือเหตุการณ์ปี 2538 น้ำเหนือมาหนักมาก มันไหลมา 4,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะที่กรุงเทพฯรับน้ำได้ 3,000 ลูกบาศก์เมตร เพราะฉะนั้นหากเกิดเหตุการณ์เช่นปี 2538 อีกครั้งเมื่อน้ำมาสี่พันกว่าลูกบาศก์เมตรเขาจำเป็นต้องผลักน้ำออกไปทางซ้ายและทางขวา ก่อนเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งหมายความว่าน้ำจะท่วมชนบทอย่างมโหฬาร พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม จะโดนหนักมาก แล้วมาทาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เขตหนองแขม และเขตลาดกระบัง กทม. ก็ไม่รอด.." สำหรับสาเหตุที่น้ำท่วมกรุงเทพฯในปี 2563 จะหนักหนาสาหัสมาก ดร.เสรีบอกว่า ตัวการสำคัญ คือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะผังเมือง "พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ว่างเปล่า ลดลงไปจากเดิมถึงครึ่งหนึ่ง" "แต่ก่อนผมจำได้ว่ามีพื้นที่ว่างเปล่าหรือพื้นที่ชุ่มน้ำของ กทม. 1,500 ตร.กม. เป็นพื้นที่สีเขียวประมาณ 40% ปัจจุบันเหลือเพียง 20% เท่านั้น และขณะนี้เรากำลังสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ รุกล้ำไปในพื้นที่ชุ่มน้ำมาก เช่น สร้างหมู่บ้านจัดสรรขวางทางระบายน้ำ ซึ่งเป็นทางน้ำไหลลงทะเลไปทางทุ่งตะวันออก บริเวณหนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง บริเวณนี้หมู่บ้านเกิดขึ้นเยอะมาก รวมทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะฉะนั้นจึงเป็นปัญหา" อาจารย์เสรีบอกว่า ภายในปี 2563 หากเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นและถ้ารัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ได้ดำเนินการอะไร ไม่ได้สร้างคันดินที่จะกั้นน้ำไม่ให้ทะลุเข้ามา หรือการขุดลอกคลองระบายน้ำ ทำพื้นที่แก้มลิง หรือหาพื้นที่แก้มลิงเพิ่มเติม "น้ำจะท่วมกรุงเทพฯแน่นอน" โดยมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 50,000 ล้านบาท" ที่สำคัญหากรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่คิดหาวิธีป้องกัน หรือมีมาตรการใดๆ ออกมาอย่างชัดเจน คนกรุงเทพฯและปริมณฑลจะต้องเผชิญกับสภาพน้ำท่วมขังบ้านเรือนเป็นเวลา 1 เดือน "โปรดเตรียมตัวเตรียมใจพร้อมที่จะเผชิญกับมัน!!!" จาก : มติชน วันที่ 19 มิถุนายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
.....
เตรียมตัว.....เตรียมใจ.....เตรียมรับน้ำท่วมกรุงเทพฯและปริมณฑลกันหรือยังคะ..... ถ้าเป็นไปตามที่ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ไว้....ก็อีกไม่นานเลยล่ะค่ะ.......
__________________
Saaychol |
#4
|
||||
|
||||
ถ้าแถวบ้านติ๋วท่วม.........ฝั่งธนฯมิดแน่ๆเลยค่ะ
เพราะแถวบางซื่อเป็นที่ดอนกว่าฝั่งธนฯ.....ตอนที่ฝั่งธนท่วมหนักๆ บางซื่อยังไม่ท่วมเลย แต่ก็ไม่ประมาทหรอกค่ะ.......แม่บอกว่าเตรียมการแล้ว5555 |
#5
|
|||
|
|||
จริงๆมีหลายโครงการที่รัฐเตรียมงานไว้ครับ แบบเคยผ่านตามาบ้าง
แต่ต้องใช้เวลาเพราะเป็น Mega project ทั้งนั้น แต่เริ่มทำไปบ้างแล้ว อย่างคลองระบายน้ำสุวรรณภูมิ และพวกประตูน้ำหลายที่ ใกล้ๆบ้านก็ประตูน้ำพระโขนง อย่างที่ฮอลแลนด์ ประเทศนี้อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่เอาระบบทางวิศวกรรมมาจัดการปัญหาได้ดี แฺ่ฮ่ แต่บ้านเราจะรอความหวังให้มีฮีโร่มาแก้ คงยากหน่อย ถ้าแก้ได้ก็แล้วไป ถ้าไม่แก้นี่ คนลำบากก็ประชาชน เต็มๆ ขนาดซื้อบ้านใหม่ ยังซื้อแถวกรุงเทพฯด้านเหนือเลยครับ ไม่ต้องไปลุ้นอีกสิบปียี่สิบปีข้างหน้า ^^ |
#6
|
||||
|
||||
มัวแต่ทะเลาะกันอยู่............น้ำจะท่วมหรือไม่ท่วม.............ทำไม่ทำ..............ทำอย่างนี้ดีกว่าอย่างโน้น.........ความคิดเธอฉันไม่สนับสนุน....และอีกสารพัดความขัดแย้ง.......
การจัดการดูแลป้องกันน้ำท่วมก็เลยไม่ค่อยจะขยับไปไหน.... ตอนนี้อยากจะสร้างเขื่อนป้องกันน้ำทะเลท่วมเมืองเหมือนเนเธอร์แลนด์บ้าง......เงินก็หายากขัดสนไปหมด จะไปเอาเงินจากที่ไหน มาทำโครงการใหญ่ยักษ์ขนาดนั้นได้ล่ะคะ... หนีไปสร้างบ้านทางด้านเหนือเมืองกรุง อย่านึกว่าจะพ้นนะคะ แถวๆนั้นน่ะตัวดี เป็นที่ระบายน้ำ ถ้ามีน้ำเหนือหลากมาเสริม ก็คงได้พายเรือเข้าบ้านกันสนุกสนาน.....
__________________
Saaychol |
#7
|
|||
|
|||
ถ้ารัก(หรือจำเป็น?) จะอยู่เมืองกรุงฯแบบใ้ห้บ้านพ้นน้ำ
สงสัยต้องหาอยู่คอนโดล่ะครับ:d |
#8
|
||||
|
||||
อ่านเเล้วเครียดครับ ..
10 ปี ถ้าเริ่มต้นทำตั้งแต่วันนี้ น่าจะยังทัน แต่เห็นในสภาแล้วก็ปลง มัวแต่ทะเลาะกันอยู่จริงๆอย่างพี่น้อยว่า .. ถ้าน้ำท่วม คนในสภาคงย้ายบ้านหนีไปหมด ชาวบ้านตาดำๆเท่านั้นที่จะเดือดร้อน ..
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon |
#9
|
||||
|
||||
กทม.วอนคนเมืองกรุงอย่าตระหนกสถานการณ์น้ำท่วมจากสภาวะโลกร้อน ยืนยันมีความพร้อมรับมือได้ " ประกอบ จิรกิติ" รองผู้ว่าฯกทม. ชี้เหตุการณ์น้ำท่วมจากสภาวะโลกร้อนยังไม่เกิดขึ้นเร็วๆนี้ ยันถ้าน้ำสูงมีมาตรการรับมือ ระบุถ้าจะเพิ่มความสูงของเขื่อนหรือระบายน้ำออกทะเล ต้องคำนึงถึงผู้ได้รับผลกระทบด้วย นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวถึงกรณีที่นายพิจิตต รัตตกุล ผู้อำนวยการบริหารศูนย์เตรียมความพร้อมภัยพิบัติแห่งเอเชีย และอดีตผู้ว่าฯกทม. มีข้อกังวลว่า มาตรการรับมือน้ำท่วมของกทม.จะใช้ไม่ได้ผล เนื่องจากเกิดสภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝนและมีน้ำในทะเลเพิ่มสูงขึ้น ว่า การออกมาเตือนดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพื่อที่ตนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ บรรเทาสาธารณภัยของกทม.อีกครั้ง อาทิ เครื่องสูบน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพในการระบายน้ำในพื้นที่กทม. อย่างไรก็ตามตนไม่อยากให้คนกรุงเทพฯตื่นตระหนกกับการคาดการณ์ที่ว่ากทม.จะ ไม่สามารถระบายน้ำท่วมขังในพื้นที่ออกสู่ทะเลได้ เนื่องจากระดับน้ำทะเลหนุนสูงเกินไป เพราะตนมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะยังไม่มาถึงในช่วงเวลาอันใกล้นี้ อย่างไรก็ตาม กทม.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยระหว่างนี้กทม.โดยสำนักการระบายน้ำได้ประสานในยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำหริ (กปร.) กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมอุตุนิยมวิทยา รวมไปถึงจังหวัดใกล้เคียง อาทิ จ.พระนครศรีอยุธยา จ.อ่างทอง เพื่อรับทราบถึงสถานการณ์น้ำและนำข้อมูลดังกล่าววางแผนในการรับมือและป้องกันต่อไป นายประกอบ กล่าวถึงข้อเสนอที่ว่าให้เพิ่มความสูงของเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาอีก 50 เซนติเมตร รวมถึงการสร้างคันกั้นน้ำนั้น คงต้องนำประเด็นดังกล่าวพิจารณากับคณะทำงานของสำนักการระบายน้ำ(สนน.)อีก ครั้งหนึ่ง เบื้องต้นต้องพิจารณาตามความเหมาะสม อาทิ เขื่อนกั้นน้ำเจ้าพระยามีความสูงเฉลี่ย 2.5 เมตร หากจะสร้างเพิ่มอีก 50 ซม. นั้นจะสามารถทำได้หรือไม่ หากพิจารณาตามโครงสร้างฐานรากของเขื่อน เพราะหากสร้างสูงกว่านั้นประชาชนที่อยู่หลังเขื่อนจะได้รับความเดือดร้อน รวมไปถึงนำข้อมูลระดับน้ำสูงสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมานำมาวิเคราะห์ ซึ่งหากพบว่าในอนาคตระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงเกินระดับเขื่อน อาจจะมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น นำกระสอบทรายเสริมความสูงให้กับเขื่อน เป็นต้น รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวด้วยว่าตนคาดว่าช่วงปลายปี 2552 นี้ หากสถานการณ์ฝนตกไม่มีพายุเกิดขึ้น ระดับน้ำทะเลไม่หนุนสูง กทม.น่าจะรับมือกับสถานการณ์ได้ ทั้งนี้จากรายงานของสนน.เรื่องปริมาณฝนตกในเดือนสิงหาคมพบว่ามีปริมาณ 93 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าลดลงเมื่อเทียบกับสถานการณ์รอบ 30 ปีที่ คือ 114.2 มิลลิเมตร แม้การรายงานปริมาณน้ำฝนจะไม่ถึงขั้นวิกฤต กทม.ก็ได้เตรียมรับมือเบื้องต้น คือ พร่องน้ำในคลองแสนแสบ และคลองอื่นๆ รวมไปถึงระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาออกไปแล้วส่วนหนึ่ง เพื่อเตรียมการหากมีฝนตกในปริมาณมากก็จะสามารถระบายลงคลองได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับการระบายน้ำออกสู่ทะเลนั้น กทม.ได้คำนึงถึงประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่งด้วย เนื่องจากหากระบายน้ำจืดออกสู่ทะเลมากเกินไป ก็อาจกระทบต่อการประมงชายฝั่งได้ จาก : มติชน วันที่ 19 สิงหาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#10
|
||||
|
||||
เตือนภัยแผ่นดินปากแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้จมทะเล วารสารด้านธรณีวิทยาระบุอ้างจากภาพถ่ายดาวเทียม หากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน พื้นที่ปากแม่น้ำหลายแห่งทั่วโลกมีอัตราการทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพื้นที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทยด้วยเช่นกัน... สำนัก ข่าวเอเอฟพีรายงานวันนี้ ( 21 ก.ย. ) อ้างข้อมูลจากวารสารด้านธรณีวิทยา “เนเชอร์ จีโอไซน์” ระบุทำนายพื้นที่แถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำสายสำคัญๆ ของโลกราว 2 ใน 3 ซึ่งเป็นถิ่นพำนักของผู้คนรวมมากเกือบ 500 ล้านคน จะถูกน้ำทะเลท่วมในที่สุด รวมถึงพื้นที่แถบปากแม่น้ำเจ้าพระยาของไทย รายงานฉบับดังกล่าวอ้างอิงข้อมูลจากภาพถ่ายผ่านดาวเทียม แสดงให้เห็นพื้นที่แถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของโลก 33 แห่ง พบว่า 85 เปอร์เซ็นต์ เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยภาวะน้ำท่วมกระทบผืนแผ่นดินบริเวณกว้างมากกว่า 260,000 ตารางกม. และภายในสิ้นศตวรรษนี้สถานการณ์น้ำท่วมจะขยายตัวขึ้นอีก 50 เปอร์เซ็นต์ หากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ออสเตรเลียกับแอนตาร์คติกา เผชิญหายนะภัยลักษณะดังกล่าวไปแล้ว แต่พื้นที่แถบนั้นไม่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น ผิดจากพื้นที่แถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำของเอเชีย ซึ่งแต่ละแห่งมีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น ไล่ตั้งแต่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด 3 ใน 11 แห่ง คือ ปากแม่น้ำเหลืองหรือแม่น้ำหวงเหอทางภาคเหนือของจีน ปากแม่น้ำแยงซีใกล้มหานครเซี่ยงไฮ้ และปากแม่น้ำมุกใกล้เมืองกวางโจว ส่วนพื้นที่เสี่ยงอื่นๆ อาทิ ปากแม่น้ำไนล์ในอิยิปต์ ปากแม่น้ำเจ้าพระยาของไทย ปากแม่น้ำไรน์ของฝรั่งเศส ปากแม่น้ำคงคาในบังกลาเทศ ปากแม่น้ำอิระวดีในพม่า ปากแม่น้ำโขงในเวียดนามและปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ในสหรัฐ ถ้ามนุษย์ไม่แทรกแซงจัดการแก้ปัญหาหรือปล่อยให้สถานการณ์เป็นไปตามสภาวะ จะก่อให้เกิดน้ำท่วมแผ่นดินกินบริเวณกว้าง ทั้งนี้ ตามรายงานของสหประชาชาติ ระบุภายในปี 2643 หรือสิ้นศตวรรษนี้ ระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย18-59 ซม. ขณะที่พื้นที่ปากแม่น้ำหลายแห่งทั่วโลกมีอัตราการทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างพื้นที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยามีอัตราทรุดตัวลงเฉลี่ยปีละ 5-15 ซม. เนื่องเพราะการสูบน้ำบาดาลมาใช้อย่างกว้างขวาง ส่วนพื้นที่ปากแม่น้ำโพในอิตาลี ตลอดช่วงศตวรรษที่แล้วแผ่นดินทรุดลงมากถึง 3.7 เมตร เพราะการทำเหมืองเจาะก็าซมีเทนใต้ดิน และพื้นที่ปากแม่น้ำอิระวดีของพม่าหลังเผชิญพายุไซโคลนนาร์กีซพัดถล่มเมื่อ ปีที่แล้ว ทำให้บางพื้นที่เกิดน้ำท่วมเหนือระดับน้ำทะเลลึกถึง 6 เมตร นั่นคือเหตุผลทำให้มีผู้เสียชีวิตหรือสูญหายมากถึง 138,000 ราย. จาก : ไทยรัฐ วันที่ 22 กันยายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|