|
#1
|
||||
|
||||
แนะนำเรื่องดำน้ำ ตอนที่ 5 : ภัยที่แก้ไขได้ ในการดำเรือจม
กระทู้เดิมได้โพสต์ไว้ใน Webboard 1 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2546
แนะนำเรื่องดำน้ำ ตอนที่ 5 : ภัยที่แก้ไขได้ ในการดำเรือจม การดำน้ำลงไปชมซากเรือใต้ทะเล จะถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งสำหรับนักดำน้ำ ที่ให้รสชาติของชีวิตมากกว่าการดำน้ำชมปะการังเฉยๆ เนื่องจากซากเรือส่วนมากมักจะจมอยู่ที่ความลึกตั้งแต่ 50 ฟุตขึ้นไป และอยู่ในที่ที่มักจะมีกระแสน้ำแรง นอกจากนี้ บรรยากาศอันอึมครึมของซากเรือแต่ละแห่งล้วนมีเสน่ห์ที่แตกต่างกันไป ทำให้นักดำน้ำที่มี Log Dive ขนาดอยู่ในวัยละอ่อนไปจนถึงขั้นปรมาจารย์นิยมใช้เวลาว่างไปออกกำลังดำน้ำชมซากเรือกันเป็นจำนวนมาก ซากเรือที่นิยมไปกันก็มี เรือจมสุทธาทิพย์ เรือเพชรบุรีเบรเมน เรือคราม และข้ามฟากไปถึงเรือคิงส์ครุยเซอร์ทางฝั่งอันดามันด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ต้องถือเป็นความโชคดีของวงการดำน้ำของไทยที่ไม่มีรายงานถึงการสูญเสียชีวิตจากการประสบอุบัติเหตุระหว่างการดำชมซากเรือ ทั้งๆที่เชื่อได้ว่าบรรดานักดำน้ำที่แห่กันไปดำน้ำชมซากเรือน่าจะมีถึง 50 % ที่ไม่ certify สำหรับการดำ Wreck Diving และมี Log Dive ที่ไม่มากนัก แต่ก็ชวนกันไปลองของด้วยการดำเรือจมแต่ละแห่ง ที่เต็มไปด้วยอันตรายมากมายทั้งจากความลึกที่เกินกำหนดสำหรับ Recreational Diving จากกระแสน้ำที่แรงจัด จาก Visibility ที่ต่ำ และจากความด้อยประสบการณ์ทั้งในการดำน้ำและในการแก้ปัญหาระหว่างการดำน้ำ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
นาย Michael Ange ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาที่อาจประสบระหว่างการดำน้ำชมซากเรือจมนี้ไว้ในหัวข้อ Advanced Diving เรื่อง The Art of Escape ในนิตยสาร Rodale’s Scuba Diving ฉบับประจำเดือน June 2003 แถมยังคุยไว้อีกด้วยว่า วิธีของเขาเป็นทักษะการดำซากเรือ ที่แม้แต่ฮูดินี่ (Houdini) ต้องชอบ แน่ะ ! ว่าเข้าไปนั่น จะดีจริงหรือไม่ ต้องตามมาอ่านกันหน่อยนะครับ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
นาย Michael เล่าว่า : วันหนึ่ง เขามีโอกาสได้ไปดำน้ำที่ซากเรือ USCG Duane ที่นอนนิ่งอยู่ที่ความลึกประมาณ 100 ฟุต บริเวณนอกฝั่ง Key Largo มลรัฐฟลอริดา พบว่า น้ำนิ่ง ใส และมีฝูงปลาหนาแน่นมากเหนือลำตัวซากเรือ ก่อนที่การดำน้ำไดฟ์นี้กำลังจะจบลง Michael ดำตามหลังบัดดี้มาตามกราบเรือ และได้หยุดแหงนหน้าขึ้นไปมองดูปลาสากฝูงใหญ่ที่อยู่ด้านบน ทันใดนั้น เขารู้สึกเหมือนกับว่า มีมือที่มองไม่เห็นเอื้อมออกจากซากเรือมาดึงคอถังของเขาไว้ แท้จริงแล้วมันคือ สายเอ็นที่ใช้ตกปลานั่นเอง สายเอ็นที่ยุ่งเหยิงกระจุกนั้นเข้ามาพันติดอยู่กับถังและ BC ถึงแม้ว่ามือและขาของเขาจะยังขยับได้ แต่ตัวของเขากลับถูกยึดติดกับซากเรือเสียจนไปไหนไม่ได้เสียแล้ว เขาพยายามส่งสัญญาณให้บัดดี้ที่อยู่ข้างหน้าได้รับรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเขา รวมทั้งพยายามส่งเสียงตะโกนผ่าน regulator ออกมา แต่ไม่เป็นผล บัดดี้ของเขายังคงว่ายตรงไปไปเกาะอยู่ที่สายทุ่นโดยไม่ได้หันกลับมามองเลย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ปลาที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้บริเวณซากเรือนี้กลายเป็นที่นิยมสำหรับนักตกปลา นอกจากนี้ เมื่อปลายเบ็ดพลาดไปเกี่ยวติดเข้ากับส่วนใดส่วนหนึ่งของซากเรือ นักตกปลาจึงจำเป็นต้องตัดสายเบ็ดทิ้งไป ผลก็คือ สายเอ็นเบ็ดที่ถูกตัดทิ้งจึงมาติดอีนุงตุงนัง ระโยงระยางอยู่กับซากเรือด้วย และก่อให้เกิดอันตรายกับนักดำน้ำไปโดยที่นักตกปลาไม่ได้ตั้งใจ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
การที่สายเอ็นเบ็ดมาเกี่ยวพันเข้ากับอุปกรณ์ดำน้ำเป็นอันตรายอย่างหนึ่งที่นักดำน้ำผู้พิสมัยในการดำซากเรือจมต้องเผชิญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักดำน้ำมือใหม่ ไร้ประสบการณ์ สายเอ็นเบ็ดตกปลาในสมัยนี้ นอกจากจะเหนียวทนทานแล้ว ยังถูกออกแบบมาให้มีสภาพใส มองเห็นได้ยากในน้ำอีกด้วย เราสามารถมองเห็นมันได้ก็ต่อเมื่อเอ็นเส้นนั้นจมอยู่ในน้ำเป็นเวลานานพอที่จะมีสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมาเกาะติดอยู่แล้วเท่านั้น อันตรายที่เกิดจากการถูกเกี่ยวพันจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นในกรณีที่อยู่ภายในซากเรือ เนื่องจากชิ้นส่วนของซากเรือบางชิ้นที่ผุพัง หลุดรุ่งริ่งจะออกมาเกะกะและมีโอกาสทำให้เราต้องถูกเกี่ยวติดอยู่ข้างในได้หากเราขาดความระมัดระวัง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#7
|
||||
|
||||
มีประโยชน์มากเลยครับพี่จ๋อม หนหน้าอาจต้องลองหาโอกาสฝึกเคาะสนิมเรื่องนี้สักหน่อย
|
#8
|
||||
|
||||
เป็นความรู้จากประสบการณ์จริงที่ดีมากครับ เผื่อนำไปใช้เมื่อเกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรอบข้าง
ขอบคุณครับ
__________________
..... เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ..... |
#9
|
|||
|
|||
ขอบคุณสำหรับสาระความรู้ดีๆครับ
|
|
|