|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
|
#1
|
||||
|
||||
โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ-หอยมือเสือ เก็บขยะ/ตัดอวน อันดามันเหนือ เดือนมกราคม 2559
โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ - หอยมือเสือ เก็บขยะ และตัดอวน อันดามันเหนือ เดือนมกราคม 2559 ดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ ณ. อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสิมิลัน และ อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 13 - 18 มกราคม 2559 ที่มาของโครงการ www.SaveOurSea.net (SOS) ซึ่งสมาชิกเป็นกลุ่มบุคคลซึ่งมีความรักในทะเลและมีความสนใจในการทำงานร่วมกันเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเล ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์น้ำต่างๆที่มีต่อระบบนิเวศทางทะเล จึงได้ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และ ป่าชายเลน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ นำพันธุ์สัตว์น้ำไปปล่อยในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. เดือนมกราคม 2549 ได้ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และ ป่าชายเลน และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ นำหอยมือเสือจำนวน 200 ตัวไปปล่อยในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ 2. เดือนเมษายน 2550 ได้ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ นำหอยมือเสือจำนวน 200 ตัว ไปปล่อยในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 3. เดือนเมษายน 2551 ได้ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ นำหอยมือเสือจำนวน 100 ตัว ไปปล่อยในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 4. เดือนมกราคม 2552 ได้ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ นำหอยมือเสือจำนวน 100 ตัว และร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ นำพันธุ์ปลาเด็มเซล จำนวน 850 ตัว ไปปล่อยในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 5. เดือนมกราคม 2553 ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ นำม้าน้ำ จำนวน 140 ตัว ไปปล่อยในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 6. เดือนกุมภาพันธ์ 2554 ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ นำม้าน้ำ จำนวน 100 ตัว และ ปลาการ์ตูนส้มขาว จำนวน 20 ตัว ไปปล่อยที่หินริเชลิว ในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และได้นำม้าน้ำ จำนวน 100 ตัว ไปปล่อยที่เกาะตาชัย ในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 7. เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ นำม้าน้ำ จำนวน 78 ตัว ไปปล่อยที่หินริเชลิว ในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และได้นำม้าน้ำ จำนวน 72 ตัว ไปปล่อยที่หินม้วนเดียว ในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 8. เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ 2556 ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ นำม้าน้ำ จำนวน 200 ตัว ไปปล่อยที่ West of Eden และ Stonehenge ในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และได้นำปลาการ์ตูน จำนวน 100 ตัว ไปปล่อยที่หินริเชลิว ในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ 9. เดือนกุมภาพันธ์ 2557 ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ นำม้าน้ำ จำนวน 100 ตัว ไปปล่อยที่ Three Trees เกาะ 9 ในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และได้นำม้าน้ำ จำนวน 100 ตัว และปลาการ์ตูน จำนวน 100 ตัว ไปปล่อยที่หินริเชลิว ในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ 10. เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ นำปลาสลิดหินเหลืองมะนาว จำนวน 56 ตัว ไปปล่อยที่ Japanese Garden เกาะ 7 ในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และได้นำปลาการ์ตูนส้มขาว จำนวน 176 ตัว ไปปล่อยที่หินริเชลิว ในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ในเดือนมกราคม 2559 จะเป็นช่วงที่สมาชิก SOS จะเดินทางไปดำน้ำเพื่อปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ - หอยมือเสือ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และร่วมกัน ทำกิจกรรมเสริมคือการเก็บขยะ และตัดอวน ในบริเวณจุดดำน้ำต่างๆของอุทยานทั้ง 2 แห่ง เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์แนวปะการังให้สะอาดและสวยงาม และเป็นที่น่ายินดีที่ www.SaveOurSea.net (SOS) ได้รับการอนุเคราะห์จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ มอบพันธุ์สัตว์น้ำ และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ มอบหอยมือเสือ ที่ได้รับการเพาะขยายพันธุ์โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์ฯให้กับสมาชิก SOS จำนวนหนึ่ง เพื่อนำไปปล่อยให้แพร่พันธุ์เพิ่มเติมในแนวปะการังของพื้นที่ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ได้กำหนดการดำเนินงานไว้ในระหว่างวันที่ 13 - 18 มกราคม 2559 ณ. บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และ อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ วัตถุประสงค์ การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวของสมาชิก SOS มีวัตถุประสงค์สำคัญดังนี้คือ 1. หากการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงของคณะทำงานแห่งศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ ได้รับผลสำเร็จด้วยดีก็จะเป็นการส่งเสริมให้สัตว์เหล่านั้นที่ปัจจุบันมีปริมาณลดน้อยลงมากในธรรมชาติเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา ได้มีโอกาสแพร่ขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติที่เหมาะสม และจะเป็นตัวดึงดูดความสนใจของนักดำน้ำ โดยจะช่วยส่งเสริมให้บริเวณที่ปล่อยสัตว์น้ำต่างๆกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของนักดำน้ำทั้งแบบสกูบ้าและสนอร์เกิ้ล ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันและสุรินทร์ ได้อีกด้วย 2. เพื่อสำรวจตรวจเยี่ยมหอยมือเสือที่ได้นำไปปล่อยไว้ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ เมื่อเดือนมกราคม 2549 และหมู่เกาะสิมิลัน เมื่อเดือนเมษายน 2550 / เดือนเมษายน 2551 และเดือนมกราคม 2552 ซึ่งจะทำให้ทราบถึงอัตราการอยู่รอดและการเจริญเติบโตของหอยมือเสือดังกล่าว รวมถึงการสังเกตและตรวจเช็คพันธุ์สัตว์น้ำอื่นๆที่เคยนำไปปล่อยด้วย 3. เพื่อให้นักดำน้ำอาสาสมัครได้ร่วมกันเก็บขยะ และตัดซากอวนที่อยู่ใต้ท้องทะเล ซึ่งจะส่งผลให้ใต้ทะเลในบริเวณนั้นสะอาดและสวยงามยิ่งขึ้น 4. การปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งจะช่วยส่งเสริมให้สมาชิกของ SOS ได้มีโอกาสบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อสังคม และช่วยปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สัตว์น้ำและธรรมชาติทางทะเลให้เกิดแก่มวลหมู่สมาชิกของ SOS รวมทั้งเพื่อให้สมาชิก SOS ได้มีโอกาสร่วมพบปะสังสรรค์อันจะเป็นการเพิ่มพูนความรักความสามัคคีในมวลหมู่สมาชิกได้อีกทางหนึ่ง ผู้ร่วมโครงการ 1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ กรมประมง และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง เป็นผู้จัดพันธุ์สัตว์น้ำและหอยมือเสือจำนวนหนึ่ง เพื่อนำไปปล่อย 2. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้การสนับสนุนในการเข้าปฏิบัติงานในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และ หมู่เกาะสุรินทร์ จนเสร็จสิ้นโครงการ 3. สมาชิกอาสาสมัคร ของ SOS ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 27 ท่าน 4. เรือฟ้าใส สนับสนุนโครงการด้วยการคิดค่าเรือในราคาพิเศษ แผนการดำเนินงาน การดำเนินงานตามโครงการมีแผนการดำเนินงานดังนี้ วันพุธที่ 13 มกราคม 2559 อาสาสมัครออกเดินทางจากภูมิลำเนาที่อาศัย ไปยังท่าเรือ Asia Marina จังหวัดภูเก็ต โดยรวมกลุ่มนัดหมายตกลงเรื่องการเดินทางกันเอง (ควรจะถึงภูเก็ตไม่เกิน 20.00 น. เพื่อให้เรือพร้อมออกเดินทางจากท่าเรือได้ในเวลา 22.00 น.) อาสาสมัครที่เดินทางไปถึงก่อนช่วยกันขนพันธุ์สัตว์น้ำขึ้นเรือฟ้าใส วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม 2559 08.00 น.... ดำน้ำปล่อยหอยมือเสือที่หมู่เกาะสิมิลัน 11.00 น....ดำน้ำเก็บขยะ / ตัดอวนและตรวจเช็คหอยมือเสือ ที่หมู่เกาะสิมิลัน 12.00 น....พักรับประทานอาหารกลางวัน และพักผ่อน 15.00 น....ดำน้ำเก็บขยะ / ตัดอวน ที่ หมู่เกาะสิมิลัน 19.00 น....ดำน้ำกลางคืนบริเวณหมู่เกาะสิมิลันเพื่อสันทนาการ วันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2559 08.00 น....ดำเนินการปล่อยปลาการ์ตูน จำนวน 100 ตัว บริเวณหินริเชริว 11.00 น....ดำน้ำเก็บขยะ / ตัดอวนและตรวจเช็คปลาการ์ตูน บริเวณหินริเชริว 12.00 น....พักรับประทานอาหารกลางวัน และพักผ่อน 15.00 น....ดำน้ำเก็บขยะ / ตัดอวน ที่เรือพระทอง 19.00 น....ดำน้ำกลางคืนบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์เพื่อสันทนาการ วันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2559 08.00 น....ดำน้ำเก็บขยะ / ตัดอวนและตรวจเช็คม้าน้ำ บริเวณเกาะตาชัย 11.00 น....ดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนบริเวณเกาะบอน 12.00 น....พักรับประทานอาหารกลางวัน และพักผ่อน 15.00 น....ดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนบริเวณเกาะบอน 18.00 น....ดำน้ำช่วงพระอาทิตย์ตกบริเวณหมู่เกาะสิมิลันเพื่อสันทนาการ วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม 2559 07.30 น....ดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน 11.00 น....ดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน 12.00 น....พักรับประทานอาหารกลางวัน และพักผ่อน 15.00 น....ดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน หลังจากนั้นเรือแล่นกลับเข้าฝั่งที่ท่าเรือ Asia Marina วันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2559 08.30 น....ขึ้นจากเรือและแยกย้ายกันเดินทางกลับภูมิลำเนา หมายเหตุ : รายการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยไม่จำต้องแจ้งล่วงหน้า คุณสมบัติอาสาสมัคร เฉพาะการดำน้ำ จะต้องเป็นสมาชิก SOS ที่จบการเรียนดำน้ำกับสถาบันสอนดำน้ำสากล ขั้น Advanced Scuba Diver และมีประสบการณ์การดำน้ำอย่างน้อย 25 dives หรือเคยร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำกับ SOS มาแล้ว ประมาณการค่าใช้จ่าย 1. สมาชิกที่อาสาสมัครไปร่วมปฏิบัติงานร่วมกันจ่ายค่าเรือ ค่าดำน้ำ 14 - 15 ไดฟ์ (ไม่รวมอุปกรณ์) ค่าอาหาร และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และค่ารถตู้รับ-ส่ง สนามบิน ท่าเรือ ในราคาที่จะแจ้งเฉพาะผู้ที่จะไปเป็นการส่วนตัว โดยกำหนดชำระเงินงวดแรก ในวันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2558 และ งวดที่ 2 ในวันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2558 2. ผู้ร่วมโครงการจ่ายค่าเดินทางไป-กลับระหว่างภูมิลำเนา สนามบินภูเก็ต อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน 1. อุปกรณ์ดำน้ำครบชุด และถุงมือดำน้ำ (อาสาสมัครเป็นผู้จัดหาเอง) 2. ทุ่นหรือถุงลม (Air Sausages อาสาสมัครเป็นผู้จัดหาเอง) 3. เชือก และถุงขยะ(มีผู้จัดหาให้) 4. มีด หรือกรรไกรและถุงตาข่าย (อาสาสมัครเป็นผู้จัดหาเอง ยกเว้นสมาชิกที่ไปร่วมกิจกรรมเป็น ครั้งแรกจะได้รับแจก 1 ชุด) ใบสมัคร สามารถดาวน์โหลดได้จาก attachment ด้านล่าง และส่งกลับมายัง saveoursea.net@hotmail.com หรือ saveoursea@yahoo.com
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 01-02-2016 เมื่อ 11:56 |
#2
|
||||
|
||||
ลงชื่อ ... 1. สายน้ำ 2. สายชล 3. นัท 4. เดียว 5. Nualpan 6.-25................ 26.-27. นักวิชาการ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 26-08-2015 เมื่อ 16:42 |
#3
|
|||
|
|||
3. Patch - เชียงใหม่ ขอไปด้วยได้ไหมค่ะ ผ่านการทำงานอนุรักษ์แบบนี้กับชมรมฉลามวาฬค่ะ เป็น DM มีประสบการ์ค่ะ tel: 089 8519697
|
#4
|
||||
|
||||
รบกวนดาวน์โหลดใบสมัครและส่งกลับมาด้วยนะครับ พี่น้อง ลงชื่อ ... 1. สายน้ำ 2. สายชล 3. นัท 4. เดียว 5. Nualpan 6. Patch 7. Tik 8. แม่อันดา 9. ปาล์ม 10.-25................ 26.-27. นักวิชาการ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ลงชื่อไปด้วยค้าบ
ไปสำรวจลูก ๆ ปีที่แล้ว ^_^ |
#6
|
||||
|
||||
Update ค่ะ 1. สายน้ำ 2. สายชล 3. นัท 4. เดียว 5. Nualpan 6. Patch 7. Tik 8. แม่อันดา 9. ปาล์ม 10. Starblink 11-25................ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี 1. น้าหอย 1 2. น้าหอยs 2
__________________
Saaychol |
#7
|
|||
|
|||
11 น้ำผึ้ง (t&w)
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย T&W : 26-08-2015 เมื่อ 21:39 |
#8
|
|||
|
|||
Update ค่ะ
1. สายน้ำ 2. สายชล 3. นัท 4. เดียว 5. Nualpan 6. Patch 7. Tik 8. แม่อันดา 9. ปาล์ม 10. Starblink 11. น้ำผึ้ง 12.-25................ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี 1. น้าหอย 1 2. น้าหอยs 2 |
#9
|
|||
|
|||
ขอลงชื่อไปด้วย หนึ่งคนครับ
|
#10
|
|||
|
|||
Update ค่ะ
1. สายน้ำ 2. สายชล 3. นัท 4. เดียว 5. Nualpan 6. Patch 7. Tik 8. แม่อันดา 9. ปาล์ม 10. Starblink 11. น้ำผึ้ง 12. Public 13.-25................ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี 1. น้าหอย 1 2. น้าหอยs 2 |
|
|