|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลง สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้อ่อนกำลังลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันเพิ่มขึ้น เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 1 ? 3 ก.พ. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือมีอุณหภูมิลดลง 2 ? 5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2 ? 4 องศาเซลเซียส กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 ? 3 องศาเซลเซียส ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 6 ก.พ. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้ภาคเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีอุณหภูมิลดลง 1 ? 2 องศาเซลเซียส ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
รู้จักปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรกับประเทศไทย - ทำรู้จักปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำทะเลมหาสมุทรอินเดีย ที่ส่งผลกระทบกับประเทศไทย - ความสัมพันธ์ของการเกิด "ปะการังฟอกขาว" กับปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole -เปิดสถิติการเกิด IOD ในรอบ 50 ปี และปัจจัยที่ทำให้ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ ปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole คืออะไร ปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole หรือ IOD เป็นปรากฏการณ์ที่ถูกค้นพบโดยนักวิจัยในปี 1999 (แต่สามารถค้นหลักฐานย้อนหลังจากการศึกษาซากฟอสซิลได้ว่า ปรากฏการณ์นี้ ส่งผลกระทบต่อโลกมาตั้งแต่เมื่อ 6,500 ปีก่อนเป็นอย่างน้อย) โดยปรากฏการณ์นี้ จะเกิดขึ้นบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรอินเดีย เป็นการเปลี่ยนแปลงไปมาแบบไม่เป็นคาบที่แน่นอนของอุณหภูมิผิวน้ำทะเล โดยมีช่วงที่เรียกว่า ขั้วบวก ขั้วลบ และเป็นกลาง ซึ่งจะส่งผลกระทบกับภูมิอากาศของประเทศออสเตรเลีย อินโดนีเซีย รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่อยู่รอบมหาสมุทรอินเดียด้วย ซึ่งเราตรวจวัดปรากฏการณ์ IOD ได้จากการวัดความแตกต่างของอุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลระหว่างฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย โดยฝั่งตะวันตกจะใช้อุณหภูมิพื้นที่บริเวณลองจิจูด 50?E-70?E และละติจูด 10?S-10?N ส่วนทางตะวันออกจะใช้อุณหภูมิที่พื้นที่บริเวณละติจูด 90?E-110?E และ 10?S-0?S ค่าความแตกต่างที่วัดได้นี้ จะใช้มันเป็นดัชนีชี้วัดสภาวะของ Indian Ocean Dipole ที่เรียกว่า Dipole Mode Index (DMI) 3 ลักษณะของปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า Indian Ocean Dipole คือการเคลื่อนไหวไปมาสลับกันสองด้านฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก ของกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทอินเดีย ซึ่งจะเกิดขึ้นใน 3 ลักษณะ โดยส่งผลต่อการเกิดฝนบริเวณประเทศไทย และพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้ 1. Positive Phase คือ การที่กระแสน้ำอุ่นไปรวมตัวด้านตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย ทำให้ให้อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลบริเวณนั้นอุ่นขึ้นผิดปกติ ส่งผลให้ประเทศไทย รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เกิดฝนน้อย 2. Negative Phase คือ การที่กระแสน้ำอุ่นไปรวมตัวด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย ทำให้ให้อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลบริเวณนั้นอุ่นขึ้นผิดปกติ ส่งผลให้ประเทศไทย รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เกิดฝนเพิ่มขึ้น 3. Normal Phase คือ กระแสน้ำอุ่นจะเคลื่อนตัวไปรวมกันอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้อุนหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลใกล้เคียงกันทั่วมหาสมุทร ส่งผลทำให้ประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านมีฝนตกอยู่ในเกณฑ์ปกติ Indian Ocean Dipole ส่งผลอย่างไรกับ "การฟอกขาวของปะการัง" Indian Ocean Dipole (IOD) เป็นปรากฏการณ์ในมหาสมุทรอินเดีย ที่มีลักษณะคล้ายกับ ปรากฏการณ์ ENSO ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยปรากฏการณ์ทั้งสองจะมีความเชื่อมโยง และสัมพันธ์กันผ่านทางชั้นบรรยากาศ (Atmosphere) ค่า IOD เป็นบวก (positive) ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้อุณหภูมิผิวน้ำทางด้านฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียมีค่าต่ำกว่าปกติ เช่น ทำให้พื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของเกาะชวาเกิดปรากฏการณ์น้ำผุด (upwelling) ที่รุนแรง ส่งผลต่ออุณหภูมิน้ำทะเลเขตชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย จะมีค่าต่ำลง ฝนตกน้อยลง เกิดสภาวะแห้งแล้ง และปรากฏการณ์ระดับน้ำตามแนวทะเลชายฝั่งลดลงมากผิดปกติ ทำให้ปะการังบริเวณน้ำตื้นโผล่พ้นน้ำนานขึ้น เป็นสาเหตุให้ปะการังตาย ค่า IOD เป็นลบ (Negative) ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลทางด้านชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะชวา และทะเลอันดามันเกิดปรากฏการณ์ down welling และได้รับอิทธิพลจากคลื่นใต้น้ำน้อยกว่าปกติ ซึ่งจะมีผลทำให้อุณหภูมิน้ำชายฝั่งสูงกว่าปกติ และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดปะการังฟอกขาว นอกจากนี้ยังทำให้ฝนตกหนักขึ้น ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากค่า IOD เป็นกลาง (Neutral) ก็จะทำให้อุณหภูมิน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยอยู่ในช่วงปกติ ซึ่งจะไม่มีผลต่อการฟอกขาวของปะการัง เปิดสถิติการเกิดปรากฏการณ์ IOD ในรอบ 50 ปี กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้เผยสถิติ Indian Ocean Dipole ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972-2022 โดยเกิดขึ้นรวมทั้งหมด 14 ปี ดังนี้ ปี 1972 เกิด Strong Negative IOD ปี 1975 เกิด Strong Positive IOD ปี 1990 เกิด Strong Positive IOD ปี 1992 เกิด Strong Positive IOD ปี 1994 เกิด Strong Negative IOD ปี 1996 เกิด Strong Positive IOD ปี 1997 เกิด Strong Negative IOD ปี 1998 เกิด Strong Positive IOD ปี 2006 เกิด Strong Negative IOD ปี 2010 เกิด Strong Positive IOD ปี 2015 เกิด Strong Negative IOD ปี 2016 เกิด Strong Positive IOD ปี 2019 เกิด Strong Negative IOD ปี 2022 เกิด Strong Positive IOD ปัจจัยที่ทำให้เกิด IOD การเกิดปรากฏการ IOD นั้น อาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายประการ อาทิ 1. การไล่ระดับอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเล (SST) : ความแตกต่างใน SST ระหว่างส่วนตะวันตกและตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียเป็นปัจจัยสำคัญ IOD เชิงบวกเกิดขึ้นเมื่อมหาสมุทรอินเดียตะวันตกอุ่นกว่ามหาสมุทรอินเดียตะวันออก ทำให้เกิดความลาดชันที่เข้มขึ้น 2. ลมค้า : ความแรงและทิศทางของลมค้าโดยเฉพาะลมค้าตะวันออก มีบทบาทในการกำหนด IOD ลมค้าตะวันออกที่อ่อนลง อาจทำให้น้ำอุ่นสะสมในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก ซึ่งส่งผลให้ IOD เป็นบวก 3. การสั่นของแมดเดน-จูเลียน (MJO) : MJO เป็นการรบกวนบรรยากาศขนาดใหญ่ที่แพร่กระจายไปทางทิศตะวันออกเหนือมหาสมุทรอินเดีย มันสามารถมีอิทธิพลต่อการพัฒนาและความเข้มข้นของ IOD โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ใช้งานอยู่ 4. ความผันผวนของปรากฏการณ์เอลนีโญ-ภาคใต้ (ENSO) : แม้ว่า ENSO จะส่งผลกระทบต่อมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นหลัก แต่ก็สามารถส่งผลกระทบทางอ้อมต่อ IOD ได้ ในช่วงเหตุการณ์เอลนีโญ มีแนวโน้มที่ IOD เชิงบวกจะพัฒนา และในระหว่างเหตุการณ์ลานีญา IOD เชิงลบก็มีแนวโน้มมากขึ้น 5. การพาความร้อนในบรรยากาศ : การกระจายตัวของการพาความร้อนในบรรยากาศเหนือมหาสมุทรอินเดียมีความสำคัญต่อการพัฒนา IOD การเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของวอล์คเกอร์ซึ่งสัมพันธ์กับรูปแบบการไหลเวียนของบรรยากาศตะวันออก-ตะวันตก อาจส่งผลต่อการเกิดเหตุการณ์ IOD เชิงบวกหรือเชิงลบ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในรูปแบบที่ซับซ้อน ซึ่งอิทธิพลที่รวมกันของสิ่งเหล่านี้ จะเป็นตัวกำหนดความรุนแรงและระยะเวลาของการเกิดปรากฏการณ์ IOD ซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นผิวของมหาสมุทร และชั้นบรรยากาศในมหาสมุทรอินเดีย ส่งผลกระทบต่อ สภาพภูมิอากาศและสภาวะความรุนแรงสุดขีดของลมฟ้าอากาศของประเทศไทย รวมถึงประเทศต่างๆ ที่อยู่ใกล้มหาสมุทรอินเดีย. อ้างอิงข้อมูลจาก สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ, กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.thairath.co.th/futureper...ticles/2759591
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
ตื่นตาตื่นใจ! 'ฉลามวาฬ' โผล่อวดโฉมอ่าวน้อยหน่า อุทยานฯเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด นักท่องเที่ยวสุดตื่นตาตื่นใจ 'ฉลามวาฬ' โผล่อวดโฉมอ่าวน้อยหน่า อุทยานฯเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด สร้างความประทับใจผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก เมื่อวันที่ 31 ม.ค.67 นายนิทัศน์ นุ่นสง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด เปิดเผยว่า ช่วงบ่ายที่ผ่านมาได้รับแจ้งว่า มีนักท่องเที่ยวพบเห็น ฉลามวาฬ (Rhincodon typus) 1 ตัว โดยสามารถถ่ายคลิปได้บริเวณอ่าวน้อยหน่า ในเขต อุทยานฯเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด โดยมาใกล้ชายฝั่ง สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ซึ่ง ฉลามวาฬ เป็นสัตว์ป่าสงวน ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พ.ศ.2562 ทั้งนี้ เคยมีข้อมูลการพบเจอ ฉลามวาฬ ในเขต อุทยานฯเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 19 มิ.ย.63 บริเวณร่องน้ำกึ่งกลางระหว่างเขาแหลมหญ้า กับเกาะเสม็ด https://www.dailynews.co.th/news/3134542/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
รอดปาฏิหาริย์! หญิงถูกฉลามจู่โจม ขณะว่ายน้ำ อ่าวซิดนีย์ โชคดีเพื่อนบ้านช่วยทัน รอดปาฏิหาริย์! หญิงถูกฉลามหัวบาตรจู่โจม กัดขาเกือบขาด เจ็บสาหัส ขณะว่ายน้ำ ในอ่าวซิดนีย์ ออสเตรลีย โชคดีเพื่อนบ้านช่วยทัน ภาพประกอบ จาก CNN รายงานจากสื่อต่างประเทศ BBC เผย หญิงชาวออสเตรเลีย "ลอเรน โอนีล" (Lauren O?Neill) วัย 29 ปี ถูกฉลามหัวบาตรจู่โจม ระหว่างว่ายน้ำในอ่าวซิดนีย์ ประเทศ ออสเตรลีย โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ขณะที่ 'ลอเรน' กำลังว่ายน้ำชมพระอาทิตย์ตกใกล้ท่าเรือเอกชน ในย่านเอลิซาเบธเบย์ อ่าวซิดนีย์ ก่อนจะถูก 'ฉลามหัวบาตร' (Bull shark) โจมตี กัดที่บริเวณขา จนมีแผลเหวอะหวะ บาดเจ็บสาหัส ด้าน 'ลอเรน' เปิดใจกับสื่อว่า โดยปกติแล้ว เธอมักจะว่ายน้ำแถวชายฝั่งเป็นประจำในวันที่อากาศร้อนอบอ้าว ในวันที่เกิดเหตุก็เช่นกัน เธอใช้ชีวิตปกติ ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกือบคร่าชีวิตเธอ พยาน ไมเคิล พอร์เตอร์ บอกกับสกายนิวส์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ CNN ว่าเขาเพิ่งกลับจากที่ทำงานและได้ยินเสียงตะโกนขอความช่วยเหลือ เมื่อออกไปก็เจอ 'ลอเรน' เกาะบันไดที่ติดกับท่าเรือ ซึ่งล้อมรอบด้วยน้ำเป็นสีแดงจากเลือดราวกับหนังสยองขวัญ เขารีบเข้าช่วยเหลือ 'ลอเรน' ทันที ก่อนจะปฐมพยาบาลเบื้องต้น เคราะห์ดีของเธอที่มีสัตวแพทย์หญิงคนหนึ่งอยู่ในละแวกนั้น และเข้าช่วยห้ามเลือด พร้อมประสานหน่วยแพทย์ รายงานเผยว่า ทีมศัลยแพทย์ ทำงานหนักตลอดทั้งคืน เพื่อรักษาชีวิตและขาของเธอไว้ ?ลอเรน? ขอบคุณทุกคนจากใจจริงอย่างซาบซึ้งสำหรับทุกความช่วยเหลือ ทั้งยังขอบคุณเพื่อนบ้านละแวกนั้นที่กล้าหาญและใจดี ขอบคุณหน่วยแพทย์และตำรวจสำหรับการช่วยเหลือที่รวดเร็วและเอาใจใส่ เธอเผยอีกว่า "การฟื้นตัวเต็มที่ของเธอน่าจะเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงทักษะอันยอดเยี่ยมของพวกเขา" การโจมตีครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในอ่าวซิดนีย์นับตั้งแต่ปี 2552 เมื่อฉลามหัวบาตรทำร้ายนักดำน้ำของกองทัพเรือออสเตรเลียใกล้เกาะกรีน ลินดา สก็อตต์ สมาชิกสภาซิดนีย์ เผยกับ CNN ว่า การโจมตีครั้งล่าสุดทำให้ประชาชนตกใจมาก อย่างไรก็ดี คงไม่สามารถสั่งห้ามประชาชนว่ายน้ำ เพียงแค่ย้ำเตือนเท่านั้น เป็นที่รู้กันดีว่า ท่าเรือซิดนีย์ เป็นที่อยู่อาศัยของฉลามหัวบาตร แต่การโจมตีในบริเวณนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ผู้เชี่ยวชาญย้ำเตือนประชาชนให้งด หรือเลี่ยงว่ายน้ำในอ่าว ในวันที่อากาศร้อนจัด และช่วงเช้าตรู่หรือพลบค่ำ ซึ่งเป็นช่วงที่ฉลามออกหากินมาก ที่มา : CNN, BBC https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_8076729
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
เรื่องนี้มีที่มา! ทำไมถึงห้ามปล่อย 'ปลาดุก' ลงแหล่งน้ำธรรมชาติ? "ปล่อยนกปล่อยปลา" เป็นวลีที่คนไทยในฐานะ "ชาวพุทธ" คุ้นเคยมาช้านาน เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการ "ทำบุญ" ในโอกาสต่างๆ ควบคู่กับการตักบาตรและถวายสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อมนุษย์มีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศมากขึ้น การปล่อยนกปล่อยปลา (หรือปล่อยสัตว์ต่างๆ) จึงต้องทำอย่างระมัดระวังมากขึ้น ดังกรณีล่าสุดเมื่อนักร้องสาวคนดัง "กระแต อาร์สยาม" ต้องออกมาขอโทษสังคม หลังถูกติงเรื่องการ "ปล่อยปลาดุก" ด้วยเหตุว่าปล่อยไปแล้วจะทำลายระบบนิเวศ - ทำไมปลาดุกถึงห้ามปล่อยลงสู่ธรรมชาติ? : ข้อมูลจากมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ระบุว่า แม้ไทยจะมีปลาดุกพันธุ์ท้องถิ่น คือ ปลาดุกอุย ปลาดุกด้าน ปลาดุกดัก ปลาดุกมอด และปลาดุกลำพัน แต่ที่น่าห่วงคือ "ปลาดุกบิ๊กอุย" ปลาดุกลูกผสมที่เกิดจากปลาดุกยักษ์จากทวีปแอฟริกากับปลาดุกอุย มีลักษณะภายนอกคล้ายปลาดุกอุย แต่มีขนาดใหญ่ มีกะโหลกท้ายทอยจะแหลมเป็นหยัก มีการเจริญเติบโตเร็ว เป็นหมัน กินได้ทุกอย่างที่ขวางหน้าทั้งพืชและสัตว์ จนกลายเป็นการแย่งชิงทรัพยากรสัตว์น้ำท้องถิ่น - ปลาดุกบิ๊กอุยมาจากไหน? : ข้อมูลจากคู่มือ "การเพาะเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย" จัดทำโดย กรมประมง ระบุว่า ปลาดุกบิ๊กอุยเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างแม่ปลาดุกอุย (Clarias macrocephalus) ซึ่งเป็นปลาดุกพื้นบ้านของไทย มีจุดเด่นคือเนื้อมีสีเหลืองรสชาติอร่อย กับพ่อปลาดุกเทศ (Clarias Gariepinus) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา จุดเด่นคือมีขนาดใหญ่ เติบโตได้รวดเร็ว กินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคสูงและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งนี้ เดิมกรมประมงได้ตั้งชื่อปลาดุกผสมนี้ว่า ปลาดุกอุย-เทศ แต่ประชาชนทั่วไปจะนิยมเรียกว่าปลาดุกบิ๊กอุยมากกว่า - อะไรคือ Alien Spicies? : องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อธิบายคำว่า Alien Species (เอเลียน สปีชีส์) หรือ "ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น" ว่า หมายถึง สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ที่ไม่เคยปรากฏในถิ่นฐานนั้นๆ มาก่อน แต่ถูกนำเข้ามาโดยวิธีใดๆ จากถิ่นฐานอื่น บางชนิดสามารถดำรงชีวิตและมีการแพร่กระจายได้ดีในธรรมชาติ เรียกว่า ชนิดพันธุ์เด่นในสิ่งแวดล้อมใหม่ (Dominant Species) จนกลายเป็น ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive Alien Species) ทำให้ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพจากโรคและสารพิษที่ติดมากับชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน และอาจทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง - Alien Species ทุกชนิดต้องสร้างปัญหาหรือไม่? : ต้องบอกว่า "ไม่เสมอไป" อย่าง ?พริก? เครื่องปรุงอาหารที่คนไทยขาดไม่ได้และเป็นภาพจำว่าด้วยส่วนประกอบของอาหารไทยในสายตาชาวโลก รวมถึง "ยางพารา" พืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ ต้นกำเนิดไมได้อยู่บนแผ่นดินไทย แต่เดินทางมาไกลจากภูมิภาคลาตินอเมริกา (ทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้) ในขณะที่ "ผักตบชวา" ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคลาตินอเมริกาเช่นกัน แต่กลับก่อปัญหาให้กับระบบนิเวศต่างถิ่นที่มันไปอยู่ เพราะไม่มีศัตรูตามธรรมชาติคอยควบคุมจำนวนอย่างในถิ่นกำเนิดทำให้แพร่พันธุ์ได้อย่างไม่จำกัด อย่างในประเทศไทย มีรายงานการเข้ามาของผักตบชวาตั้งแต่ปี 2444 และมีความพยายามกำจัดตั้งแต่ปี 2456 แต่จนปัจจุบันก็ยังไม่สำเร็จ เช่นเดียวกับ "จอกหูหนูยักษ์" โดยพืชทั้ง 2 ชนิด ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วจนกีดขวางการไหลของน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติของไทย - มีกฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง? : หากเป็นการนำเข้าพืชจากต่างประเทศ จะเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ.2507 ซึ่งการนำเข้าทั้งเพื่อการศึกษา เพื่อการค้า สิ่งกำกัด (ที่มีกฎหมายกำหนดว่าหากจะมีการนำเข้า-ส่งออกหรือผ่านราชอาณาจักรจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้นๆ) และสิ่งที่ไม่ต้องห้าม ขณะที่หากเป็นการนำเข้าสัตว์ (รวมถึงซากสัตว์) จะเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 แต่หากเป็น สัตว์น้ำ" จะอยู่ในส่วนของ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 และ พ.ร.ก.การประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 แน่นอนว่าการทำบุญ มีจิตเมตตาต่อสรรพสัตว์ต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล สร้างขวัญกำลังใจแก่ตนเองเป็นสิ่งดีไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ก็ต้องทำด้วยความเข้าใจ เพื่อไม่ให้กลายเป็นการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์!!! https://www.naewna.com/likesara/784162
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
รมช.กต.ประสาน กัมพูชา ร่วมลดจุดความร้อนจากการเผาไหม้ รมช.ต่างประเทศ เร่งหารือกัมพูชา ลดจุดความร้อน แก้ปัญหา PM 2.5 หลังปรากฏภาพถ่ายทางดาวเทียมโดยพบจุดความร้อนจากการเผาไหม้เป็นจำนวนมาก วันนี้ (31 ม.ค. 67) เวลา 19:36 น. กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงกรณีปรากฏภาพถ่ายทางดาวเทียมว่า มีจุดความร้อนจากการเผาไหม้ (hot spot) จำนวนมากในกัมพูชา ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อปัญหาฝุ่นควันในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองฝั่ง โดยระบุว่า ตามบัญชาของนายกรัฐมนตรี ให้กระทรวงการต่างประเทศประสานงานกับฝ่ายกัมพูชา เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้สั่งการให้อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก โทรศัพท์หารือกับนายฮุน ซาเรือน เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย เพื่อร่วมกันหาแนวทางลดพื้นที่ hot spot ลงโดยเร็ว โดยฝ่ายไทยเองก็กำลังดำเนินการอยู่เช่นกันในฝั่งของไทยเช่นกัน ซึ่งเอกอัครราชทูตกัมพูชารับจะรีบแจ้งไปยังเมืองหลวงภายในวันนี้ต่อไป และเห็นพ้องว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญของนายกทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้สั่งการให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ พบหารือกับผู้แทนระดับสูงของกัมพูชา โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มีกำหนดจะโทรศัพท์ถึงนาย Eang Sophalleth รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมของกัมพูชา ในวันที่ 2 ก.พ. นี้ ในโอกาสที่เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญจะเข้าพบกับนาย Sophalleth เพื่อเร่งแก้ไขปัญหา PM 2.5 ร่วมกันโดยเร็วต่อไป https://www.bangkokbiznews.com/politics/1111137
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|