|
#1
|
||||
|
||||
ปลาสิงโต...ปลาสวยงามของเรา แต่น่ารังเกียจสำหรับเขา
ปลาสิงโต..........ปลาสวยงามของเรา แต่น่ารังเกียจสำหรับเขา ปลาสิงโต....จัดเป็นปลาสวยงาม ที่สายชลชื่นชอบมาก ด้วยความที่ปลาชนิดนี้ดูสุภาพนุ่มนวล ชอบลอยตัวอยู่นิ่งๆแทบไม่เคลื่อนไหว ทำให้เราสามารถชื่นชมความงามของเขาได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งรูปลักษณ์ของปลาสิงโต ยังดูสวยแปลกตา ด้วยครีบยาวๆที่เหมือนขนนกที่กระจายและกรีดกรายออกไปรอบๆตัว ครีบและลำตัวมีลวดลายเป็นทางและจุด สีที่เห็นมีทั้งสีแดง สีน้ำตาล สีดำ และขาว ผสมผสานกันออกมาเป็นที่น่ามหัศจรรย์ ดวงตาที่กลมโตมีพู่ยาวงามเหมือนขนตานั้น ดูใสซื่อบริสุทธิ์ เมื่อยามครีบพองฟู ทำให้ดูเหมือนนักรบชาวป่าในแอฟริกา ที่ทั้งสง่างามและดูสงบเยือกเย็น...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 20-03-2024 เมื่อ 07:08 |
#2
|
||||
|
||||
ในความเป็นจริง....ปลาสิงโต (Lionfish) เป็นปลาทะเลที่มีพิษ อยู่ในวงศ์ Scorpaenidae ซึ่งภาษาละตินหมายถึง "แมงป่อง" ส่วนในภาษาอังกฤษนั้น ใช้คำว่า "Scorpion Fish" (ปลาแมงป่อง) และ "Lion Fish" (ปลาสิงโต) ซึ่งปลาชนิดนี้ มีอยู่หลายสปีชีส์ ใน 2 จีนัส คือ Pterois และ Dendrochirus ปลาสิงโต อาศัยอยู่ในทะเลแถบอินโด-แปซิฟิก แต่ปรากฏว่า ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา มีผู้พบปลาสิงโตในแนวปะการังเขตอบอุ่นนอกชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน และอ่าวเม็กซิโก ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อน ทำให้นักวิทยาศาสตร์ เกิดความวิตกว่า ปลาชนิดนี้อาจจะเป็นอันตรายต่อปลาชนิดอื่น ที่มีความสำคัญในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งปลาที่มีความจำเป็นต่อความสมบูรณ์ของแนวหินปะการัง
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 17-11-2016 เมื่อ 18:58 |
#3
|
||||
|
||||
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่ปลาสิงโตจากมหาสมุทรแปซิฟิกไปปรากฏในมหาสมุทร แอตแลนติก ว่า "อาจเกิดจากเรือบรรทุกน้ำมัน เพราะขากลับ เรือบรรทุกน้ำมันแล่นเรือเปล่าไม่ได้ จึงสูบน้ำทะเลเข้าไปแทนที่น้ำมันเพื่อ ให้เรือทรงตัวอย่างสมดุล น้ำที่สูบเข้าไปอาจมีไข่ของปลาสิงโตขณะที่เป็นแพลงตอน เมื่อเรือเดินทางไปถึงอีกที่หนึ่ง หรือถึงที่หมายก็จะปล่อยน้ำออกไปและไข่ปลาสิงโตก็อาจจะเติบโตในทะเลแห่งใหม่"
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 17-11-2016 เมื่อ 18:59 |
#4
|
||||
|
||||
อาจารย์ธรณ์ยังกล่าวต่อไปว่า... "แต่นักวิชาการทะเลไทยไม่ห่วงเรื่องปลาสิงโตระบาดเหมือนในมหาสมุทรแอตแลนติก ตรงกันข้าม น่าเป็นห่วงว่าปลาสิงโตในทะเลไทย จะสูญพันธุ์เพราะจำนวนลดน้อยลงมาก และต้องการการอนุรักษ์ ปัจจุบันนี้ สภาพแนวปะการังซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของปลาสิงโตถูกทำลาย จากการกระทำของมนุษย์ ที่สร้างท่าเรือ ชุมชนบุกรุก และภาวะโลกร้อนทำให้เกิดปะการังฟอกขาว รวมทั้งปลาสิงโตถูกจับไปขายในฐานะปลาตู้มากขึ้น ในทะเลไทยมีปลาสิงโตไม่ต่ำกว่า 5-6 ชนิด อยู่ในแนวปะการัง ซึ่งพบในแนวปะการังในทะเลฝั่งอันดามันมากกว่าอ่าวไทย อาหารของปลาสิงโต คือ ปลาและกุ้ง ด้วยความที่มีฟันละเอียดเหมือนปลาเก๋า มันจะฮุบเหยื่อทั้งตัวและย่อยในร่างกายของมันเอง ส่วนการขยายพันธุ์ ปลาสิงโตออกลูกเป็นไข่และเป็นแพลงตอน กระทั่งโตเป็นลูกปลา ตอนมันยังเล็กๆ ลูกปลาสิงโตตกเป็นอาหารของปลาใหญ่ แต่พอมันโตแล้ว แม้แต่ฉลามก็ไม่กินมันเพราะมันมีพิษ" --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- หมายเหตุ: ข้อมูลจาก คอลัมน์ รู้ไปโม้ด น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com....ข่าวสดรายวัน ประจำวันที่วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7197 http://www.khaosod.co.th/view_news.p...dPQzB4TXc9PQ==
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 17-11-2016 เมื่อ 19:01 |
#5
|
||||
|
||||
คำพูดของอาจารย์ธรณ์ที่พูดว่า...."แม้แต่ฉลามก็ไม่กินมัน (ปลาสิงโต) เพราะมันมีพิษ" นั้น เห็นทีจะถูกลบล้าง ไปด้วยเรื่องราวและภาพข่าวจาก National Geographic ที่ได้แจ้งว่า ในมหาสมุทรแอตแลนติก และทะเลแคริบเบียน..... ด้วยความที่เกรงว่าปลาสิงโตจะแพร่พันธุ์มากมาย เพราะไม่มีศัตรูทางธรรมชาติ จนปลาสิงโตจะไปกินลูกปลาเศรษฐกิจทั้งหลายจนหมด ทำให้ชาวประมงและนักดำน้ำแถวๆนั้น โดยเฉพาะที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และอุทยานทางทะเล Roatan Marine Park นอกชายฝั่ง Honduras ซึ่งอยู่ในเขตอเมริกากลาง ได้พากันตื่นตัว หาวิธีกำจัดปลาสิงโต ด้วยการใช้ฉมวกยิง และส่งเสริมให้นำเนื้อปลาสิงโตมาทำอาหารรับประทาน ด้วยความคิดที่ว่า...หากมีความต้องการเนื้อปลาสิงโตมาก ก็จะทำให้มีการล่าปลาสิงโตมาขายมากขึ้น และปริมาณปลาสิงโตในทะเลก็น่าจะลดลงไปได้ แต่การส่งเสริมการบริโภคเนื้อปลาสิงโต ก็ยังไม่เป็นที่นิยม และอยู่ในปริมาณที่จำกัด.... ข้อมูลจาก....http://news.nationalgeographic.com/n...ecies-science/
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 27-04-2011 เมื่อ 11:57 |
#6
|
||||
|
||||
เมื่อทำให้คนหันมาบริโภคปลาสิงโต ไม่ค่อยจะได้ผลนัก จึงมีผู้คิดว่า น่าจะให้ "ฉลาม" เป็นผู้กำจัดปลาสิงโตในทะเล เพื่อรักษาสมดุลในระบบนิเวศจะดีกว่า วิธีการก็คือ....ที่ Roatan Marine Park, Honduras มีนักดำน้ำที่คุ้นเคยกับฉลามในเขตอุทยานเป็นอย่างดี ได้จัดการ "สอน" ให้ฉลามล่าปลาสิงโตเป็นอาหาร ถ่ายภาพโดย....Antonio Busiello ซึ่งได้อยู่เก็บภาพการให้ปลาสิงโตเป็นอาหารปลาฉลาม อยู่ที่อุทยานแห่งนี้ถึง 3 เดือน
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 27-04-2011 เมื่อ 11:58 |
#7
|
||||
|
||||
โถๆๆๆๆๆ ปลาสิงโต ตัวน้อยของ snr รู้ไหมว่าเธอน่ะ เวลาเป็นนายและนางแบบน่ะ เก๋ที่สุดเลย สง่างามเหมือนคนที่สวมหัวโขน หรือ เวลาแสดงอุปรากรจีนเลย
อย่าไปกินเค้าเลยนะคะ ต้อนมาอยู่เมืองไทยก็ได้ นะนะ
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS |
#8
|
||||
|
||||
แล้วคนเราก็ล่าฉลาม มากินซะ....
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS |
#9
|
|||
|
|||
ต่อกรณีนี้ผมเคยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาสาสมัครชาวแคนาดาที่สนใจจะทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการเป้นชนิดพันธุ์รุกรานของปลาสิงโตในทะเลแคริบเบียน
ซึ่งก็ต้องบอกก่อนว่าอันที่จริงในแคริบเบี่ยนนั้นไม่เพียงปลาสิงโตเท่านั้น เขามีสารพัดชนิดพันธุ์รุกรานอยุ่ในทะเล ปลาสิงโตนี่ก็เนื่องจากส่วนหนึ่งมาจากการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามแล้วเล็ดลอดลงทะเล และอีกส่วนหนึ่งมากจากน้ำอับเฉาเรือนั่นเอง ผมลองถามเขาว่าคิดว่าเขายังขาดอะไรไปในทะเลแคริบเบี้ยน เขาตอบว่าปลากินเนื้อขนาดใหญ่ แต่ผมบอกให้เขากลับไปรีวิวเอกสารเกี่ยวกับปลากินเนื้อขนาดเล็ก และกลุ่มปลากินแพลงตอนซึ่งพบว่ามีน้อยเหลือเกินในแคริบเบี้ยน! ปลาหรือสิ่งมีชีวิตในทะเลที่มีลักษณะพิเศษป้องกันตัวเองเมื่อโตเต็มวัยนั้น ผู้ล่าขนาดใหญ่จะมีผลต่อการควบคุมประชากรน้อยมาก ถ้าผมจะยกตัวอย่างของดาวหนาม หากมันจะระบาดถามว่าจะต้องใช้หอยสังข์แตรกี่ตัวในการกินมันและหอยสังข์แตรตัวหนึ่งจะกินดาวหนามได้กี่ตัวในหนึ่งวัน ปลาสิงโตก็เช่นเดียวกัน มันเป็นปลาที่มีลักษณะพิเศษที่ปลาผู้ล่าขนาดใหญ่จะกินก็ลำบากวันๆหนึ่งจะกินได้ซักกี่ตัว สู้ไปหาตัวอื่นที่กินง่ายกว่าจะไม่ดีกว่ารึ คีย์สำคัญคือสัตวทะเลส่วนใหญ่มักจะมีระยะวัยอ่อนที่เป็นแพลงก์ตอน และมีจำนวนมหาศาลจากการปล่อยเซล์สืบพันธ์แบบเผื่อตาย ซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วงที่พวกมันไม่มีพิษมีภัย และมีขนาดเล็กทำให้ถูกกินได้ง่ายและกินได้ทีละมากๆจากกลุ่มปลาที่กินแพลงก์ตอน ดังนั้นปริมาณปลาที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารจึงอาจเป็นตัวแปรหนึ่งที่ไปตัดวงจรการแพร่ระบาดซึ่งเมื่ออัตรารอดของตัวอ่อนเหลือน้อยจะเอาที่ไหนมาระบาดรุกรานเขาได้ ซึ่งบ้านเราโชคดีที่โครงสร้างประชาคมปลาที่อยู่ในแนวปะการังมักพบปลาที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เป็นองค์ประกอบของประชากรอยู่ไม่น้อยกว่า 15% เสมอซึ่งก็เพียงพอที่จะควบคุมประชากรปลาและสัตว์อื่นๆไม่ให้เสียสมดุลย์ไป ในขณะที่แคริบเบียนวงจรนี้ได้สูญเสียไปโดยเกือบสมบูรณ์แล้ว จากการใช้ประโยชน์อย่างไม่มีขอบเขตหรือกฎเกณฑ์ หากจะมองว่าปลาสิงโตเป็นตัวรุกรานนั้นมันก็เป็นแค่เพียงปลายเหตุ แต่ต้นเหตุที่แท้จริงมาจากการที่พวกเขา(หลายๆประเทศ)ในทะเลแคริบเบี้ยนได้ทำการเบียดเบียนตนเองเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างหาก บ้านเราเองหากวันหนึ่งมีสิ่งใดที่ทำให้เสียวงจรเหล่านี้ไปก็อาจเกิดเหตแบบนี้บ้างก็ได้ในซักวันหนึ่งหากยังมีการทำให้ปลาเสียนิสัย หรือการจับปลาในแนวปะการังแบบไม่บันยะบันยังก็อาจพบปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย sea addict : 07-05-2011 เมื่อ 00:50 |
#10
|
||||
|
||||
ฝึกฉลามไอเดียนะครับ
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ |
|
|