|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคกลางมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง พายุโซนร้อน "แคมี" ปกคลุมบริเวณมณฑลเจียงซี ประเทศจีน คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับในระยะต่อไป โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนหรือฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 26 ? 27 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ทางด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.ค. ? 1 ส.ค. 67 จะมีร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุโซนร้อน "แคมี" ที่ปกคลุมบริเวณมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับในระยะต่อไป โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 26 ? 27 ก.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง และในช่วงวันที่ 29 ก.ค. ? 1 ส.ค. 67 ประชาชนบริเวณภาคเหนือ และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
แตกตื่น ท่าเรือที่ตราด น้ำขึ้นน้ำลงกะทันหันคล้ายสึนามิ เรือล่มจำนวนมาก โกลาหลท่าเรือบ้านคลองมะขาม ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เกิดน้ำขึ้นและน้ำลงกะทันหันคล้ายสึนามิ หลังมีพายุพัดกระหน่ำ กวาดเรือเล็กล่มเสียหายจำนวนมาก เวลาประมาณ 20.00 น วันที่ 26 กรกฎาคม 2557 ที่บริเวณท่าเทียบเรือบ้านคลองมะขาม หมู่ 1 ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เกิดเหตุการณ์โกลาหลขึ้นที่บริเวณปากคลองบ้านคลองมะขาม อยู่ๆ ได้มีพายุซัดกระหน่ำเข้ามา ทำเอาเรือที่จอดอยู่บริเวณคลอง หลุดลอยมากระแทกกันอยู่ภายในปากคลองบ้านคลองมะขาม เจ้าของเรือหลายลำ ต้องรีบมาติดเครื่องหาที่จอดเพื่อความปลอดภัย ส่วนเรือที่ล่มชาวบ้านชาวประมงต่างช่วยกันเก็บสิ่งของ เครื่องมือทำประมง และช่วยกู้เรือขึ้นมา มีคนออกมายืนดูกันเต็มสะพาน ผู้เฒ่าผู้แก่บางคนก็บอกว่าอยู่มาตั้งนาน ไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่ามีเรือเสียหายทั้งหมดกี่ลำ เพราะต่างคนต่างกำลังยุ่งกับเรือของตนเอง โดยมีกำลังทหาร และ อส.อำเภอคลองใหญ่ มาช่วยชาวบ้านอีกทางหนึ่ง นางสาวกิจปภา ประสิทธิเวช นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหาดเล็ก เผยว่า ตนเองและชาวบ้านก็ไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ ที่อยู่ๆ น้ำก็ขึ้น แล้วลง และก็ขึ้นมาอีกที พัดเรือมารวมกันหมดบริเวณปากคลอง ทำให้เรือส่วนหนึ่งเสียหาย ส่วนมากเป็นเรือเล็กเรือชายฝั่ง และในวันพรุ่งนี้ทางเทศบาลตำบลหาดเล็ก จะเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุให้กับชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากพายุ เริ่มตั้งแต่ 08.30 น.เป็นต้นไป โดยให้ผู้ได้รับความเสียหาย เตรียมสำเนาบัตรประชาชนทะเบียนเรือและรูปถ่ายเรือที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้คณะกรรมการได้ทำการประเมินการช่วยเหลือ https://www.thairath.co.th/news/local/east/2803570
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
"พัชรวาท" ห่วง สัตว์ทะเลหายาก สั่ง ทช.เร่งสำรวจ "พะยูน-เต่าทะเล-โลมา" วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ทรัพยากรทางทะเล เป็นอีกหนึ่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญ และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ ไม่ว่าจะเป็นหญ้าทะเล ปะการัง พื้นที่ชายฝั่ง สัตว์ทะเลน้อยใหญ่ รวมถึงสัตว์ทะเลหายาก ทั้งนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มขึ้นและลดลงของจำนวนสัตว์ทะเลหายากที่นับวันใกล้สูญพันธุ์ไปจากท้องทะเลไทย จึงมอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ติดตามสถานการณ์สัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน พร้อมนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสำรวจให้ได้มากที่สุด รวมทั้งบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทรัพยากรสัตว์ทะเลหายาก ในการนี้ ตนได้สั่งการให้ทีมนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญของกรม ทช. เร่งลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลและอากาศยาน สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ออกสำรวจการแพร่กระจายสัตว์ทะเลหายาก บริเวณพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน อาทิ จังหวัดสตูล กระบี่ พังงา ภูเก็ต และระนอง ด้วยวิธีการบินสำรวจ (Aerial Survey) โดยใช้อากาศยานปีกตรึง 9 ที่นั่ง สำรวจแบบ Line transect ระหว่างเดือนมิถุนายน?กรกฎาคม พื้นที่จังหวัดกระบี่ อ่าวนาง อ่าวท่าเลน อ่าวน้ำเมา เกาะลันตา เกาะศรีบอยา เกาะจำเกาะปู และบริเวณแนวหญ้าทะเลใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดกระบี่ สำรวจพบพะยูน จำนวน 26 ตัว เป็นพะยูนคู่แม่ลูกอย่างน้อย จำนวน 1 คู่ เต่าทะเล จำนวน 31 ตัว และโลมาไม่ทราบชนิด จำนวน 1 ตัว พื้นที่จังหวัดพังงา อ่าวพังงา เกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่ ปากคลองมะรุ่ย เกาะหมากน้อย หมู่เกาะระ-เกาะพระทอง พื้นที่จังหวัดภูเก็ต อ่าวป่าคลอก อ่าวมะขาม แหลมพันวา พื้นที่จังหวัดระนอง หมู่เกาะช้าง เกาะพยาม เกาะกำน้อยและเกาะกำใหญ่ สำรวจพบพะยูน จำนวน 10 ตัว เต่าทะเล จำนวน 21 ตัว โลมาหัวบาตรหลังเรียบ จำนวน 6 ตัว โลมาไม่ทราบชนิด จำนวน 1 ตัว และพื้นที่จังหวัดสตูล เกาะลิดี เกาะตันหยงอุมา เกาะสาหร่าย และหมู่เกาะใกล้เคียงพื้นที่จังหวัดสตูล สำรวจพบ พะยูน จำนวน 3 ตัว เต่าทะเล จำนวน 3 ตัว โลมาหลังโหนก จำนวน 6 ตัว และโลมาไม่ทราบชนิด จำนวน 7 ตัว "อย่างไรก็ตาม กรม ทช. ได้มีการศึกษาเทคนิค เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ตามข้อสั่งการของ รมว.ทส. เพื่อช่วยในการพัฒนางานด้านการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก รวมถึงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผสานองค์ความรู้ทางวิชาการ และความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในการมีส่วนร่วมของทุกกระบวนการ ทั้งการแก้ไขปัญหาครอบคลุมทุกมิติตั้งแต่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และจัดการปัญหาขยะทะเลตั้งแต่ต้นทางก่อนลงสู่ทะเล ตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อการจัดการแบบเต็มรูปแบบ รวมถึงการใส่ใจ ดูแล รักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล ที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากพี่น้องชุมชนชายฝั่ง ประมงพื้นบ้าน และผู้ประกอบต่างๆ ในการช่วยกันเป็นหูเป็นตาแทนเจ้าหน้าที่ ซึ่งลำพังเจ้าหน้าที่กรม ทช. มีไม่เพียงพอต่อทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ดังนั้น หากพบการกระทำผิดกฎหมาย บุกรุก ทำลายทรัพยากรทางทะเล หรือพบเจอสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นทั้งมีชีวิตและตาย ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรม ทช. ในพื้นที่ เพื่อจะได้ดำเนินการเข้าตรวจสอบและช่วยเหลือได้ทันท่วงที หรือแจ้งมาที่สายด่วนพิทักษ์ป่าและรักษาทะเล โทร. 1362 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง" ดร.ปิ่นสักก์ กล่าวทิ้งท้าย https://www.thairath.co.th/news/politic/2803446?type=a
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation
ทส.ยกระดับเครือข่ายป่าชายเลน "ฉลองวันป่าชายเลนโลก ปี 67" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำความร่วมมือ กรมทะเลยกระดับภาคีเครือข่ายป่าชายเลนประเทศไทย มุ่งฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง "ฉลองวันป่าชายเลนโลก ปี 67" พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) กล่าวว่า เนื่องในโอกาสวันสากลเพื่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าชายเลน (International Day for The Conservation of the Mangrove Ecosystem) หรือ วันป่าชายเลนโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 26 กรกฎาคม ของทุกปี ตนในฐานะผู้นำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของป่าชายเลน เนื่องจากปัจจุบันป่าชายเลนทั่วโลกกำลังเผชิญกับภัยคุกคามมากมาย จากการขยายพื้นที่เกษตรกรรม การก่อสร้าง มลพิษ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และวิถีชีวิตของผู้คน ในโอกาสนี้ อยากเชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพลังแห่งความร่วมมือ ร่วมใจปกปักรักษา ฟื้นฟูป่าชายเลน มรดกโลกอันล้ำค่าของเรา ด้วยพลังแห่งความร่วมมือเราจะสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับป่าชายเลนและโลกของเรา ซึ่งในปีนี้ ทส. โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้จัดงานวันป่าชายเลนโลก (International Day for the Conservation of the Mangrove Ecosystem) และประกาศความร่วมมือภาคีเครือข่ายป่าชายเลนประเทศไทย "Thailand Mangrove Alliance" ประจำปี พ.ศ. 2567 ตนได้มอบหมายให้ ร้อยเอก รชฏ พิสิษฐบรรณกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี โดยมี ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายชิดชนก สุขมงคล รองอธิบดี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตลอดจนคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ในสังกัด ทส. และ ทช. รวมถึงองค์กรภาคีภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเครือข่ายชุมชนชายฝั่ง และประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยกระทรวง ทส. ได้ผลักดันภาคีเครือข่ายป่าชายเลนประเทศไทยให้ได้รับความเชื่อถือ และยอมรับทั้งในประเทศและในระดับสากล การรวมพลังของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ถือว่าเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลนและระบบนิเวศชายฝั่ง รวมไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อน ด้วยหลักการอนุรักษ์ฟื้นฟูแบบยั่งยืนที่ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ คือ มิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และ มิติเศรษฐกิจ ในการนี้ ตน ได้กำชับให้กรม ทช.ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบดูแลด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้มุ่งเน้นด้านการอนุรักษ์ และปกป้องทรัพยากรป่าชายเลนของประเทศไทย พร้อมทั้งมอบหมายให้กรม ทช. เป็นศูนย์กลางในการผนึกกำลังทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้ร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนให้คงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนต่อไป "พล.ต.อ. พัชรวาท กล่าวทิ้งท้าย" ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า เมื่อวันป่าชายเลนแห่งชาติที่ผ่านมา กรมฯ ได้จับมือองค์กรภาคีภาคเอกชน จำนวน 33 องค์กร จัดทำบันทึกความร่วมมือ MOU เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้องทรัพยากรป่าชายเลน ซึ่งมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านภาคีเครือข่ายป่าชายเลนประเทศไทย (Thailand Mangrove Alliance) ที่มุ่งเน้นสร้างความร่วมมือ ส่งเสริมความรู้ สนับสนุนการอนุรักษ์ ขับเคลื่อนการวิจัย และสร้างเครือข่ายทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค ท้องถิ่น และระดับสากลให้ครอบคลุมในทุกมิติ และในวันนี้ กรม ทช. ได้จับมือร่วมกับอีก 14 องค์กร โดยภาคีเครือข่ายป่าชายเลนประเทศไทยและสมาชิกให้พันธะสัญญาที่จะร่วมมือกันยกระดับการอนุรักษ์ป่าชายเลนและระบบนิเวศชายฝั่งรวมไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อรับมือกับสภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ ทั้งนี้ ตนได้ดำเนินตามข้อสั่งการของนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้นและผลักดันในเรื่องการพัฒนานโยบาย เครื่องมือ ระบบ ฐานข้อมูล ระบบกลไกทางเศรษฐศาสตร์ ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาและการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนเพื่อให้ได้รับการยอมรับทั้งจากภายในประเทศและในระดับสากล โดยกรมฯ และภาคีเครือข่ายฯ มีเป้าหมายที่จะร่วมกันฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยอย่างน้อย 30% หรือ 500,000 ไร่ ภายในปี พ.ศ. 2574 และจะขยายการฟื้นฟูพื้นที่จนครบ 100% ภายใน ปี พ.ศ. 2593 อีกด้วย ปัจจุบันโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต สำหรับบุคคลภายนอก ประจำปี พ.ศ. 2565-2566 มีจำนวน 35 ราย เนื้อที่ 54,394.39 ไร่ และโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต สำหรับชุมชน ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 94 ชุมชน เนื้อที่ 156,177.15 ไร่ โดยโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ของกรม ทช. ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) แล้ว จำนวน 10 โครงการ รวม 5,195.04 ไร่ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะกักเก็บได้ 27,346 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี นอกจากนี้การจัดงานระดมความคิดเห็นจากของชุมชนชายฝั่ง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 (วันป่าชายเลนแห่งชาติ) พบว่าชุมชนชายฝั่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะให้ภาคีเครือข่ายฯ มุ่งเน้นด้านการจัดการขยะในป่าชายเลน คลอง หน้าหาดและในทะเล การสร้างจิตสำนึกเรื่องการเฝ้าระวัง การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ให้ความรู้ การแก้ไขที่ดินทำกิน และการส่งเสริมอาชีพเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ทั้งนี้ ที่ผ่านมาภาคีเครือข่ายฯ ได้ฟื้นฟูป่าชายเลนเสื่อมโทรม และพื้นที่ที่ผ่านการรื้อถอนจากการบุกรุกของประชาชน ให้กลับมาเป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการจับสัตว์น้ำ เพื่อประกอบอาชีพและมีรายได้อย่างยั่งยืน "ดร.ปิ่นสักก์ กล่าวทิ้งท้าย" นางวาสนา จันทร์ทอง ประธานป่าชายเลนชุมชนบ้านโคกพยอม จังหวัดสตูล กล่าวว่า การดำเนินงานของภาคีเครือข่าย ทำให้ป่าชายเลนบริเวณโดยรอบเกิดความอุดมสมบูรณ์ ทั้งแหล่งอาหารของมนุษย์ และแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำนานาชนิด นอกจากนี้ภาคีเครือข่ายยังสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาและสร้างประโยชน์จากป่าชายเลน พร้อมทั้งเข้ามาสนับสนุนทำให้เกิดเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สามารถให้กลุ่มบุคคลทั่วไปหรือนักเรียนนักศึกษาที่สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นต้นแบบการดูแลรักษาป่าชายเลนให้กับชุมชนใกล้เคียง ภายหลังป่าชายเลนกลับมามีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านได้มีอาชีพในเรื่องของการจับสัตว์น้ำได้มากขึ้นทำให้ชาวบ้านภายในชุมชนสามารถสร้างอาชีพและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น อีกด้วย https://www.nationtv.tv/news/social/378946289
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
ญี่ปุ่นวิกฤต "หอยเม่น" กินสาหร่ายเกลี้ยง 30 ปี ลดลง 80 % กระทบระบบนิเวศ SHORT CUT - ญี่ปุ่นเวลานี้ บริเวณอ่าวซากามิ ซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งจังหวัดคานากาวะ ทางตอนใต้ของประเทศ กำลังประสบปัญหาสาหร่ายลดปริมาณลงถึงราว 80 เปอร์เซ็นต์ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา - นักวิทยาศาสตร์ต่างสงสัยว่าเพราะเหตุใดสาหร่ายในบริเวณดังกล่าวจึงลดลง ก่อนจะพบว่า หอยเม่นทะเลน่าจะเป็นตัวการสำคัญที่อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์สาหร่ายหายครั้งนี้ - พร้อมบวกกับปัญหาอุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มขึ้นและคลื่นลมแรงกว่าเมื่อก่อน ญี่ปุ่นวิกฤตเจอ หอยเม่น กินสาหร่ายเกลี้ยงทะเล กระทบระบบนิเวศน์ สุดทึ้ง! สาหร่ายลดปริมาณลงถึงราว 80 เปอร์เซ็นต์ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ในประเทศญี่ปุ่นเวลานี้ บริเวณอ่าวซากามิ ซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งจังหวัดคานากาวะ ทางตอนใต้ของประเทศ กำลังประสบปัญหาสาหร่ายลดปริมาณลงถึงราว 80 เปอร์เซ็นต์ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา โดยปัญหาสาหร่ายในทะเลลดลง ภาษาญี่ปุ่นจะเรียกกันว่า ?อิโซยาเกะ? และมันจะก่อให้เกิดปัญหากระทบต่อสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล เพราะสาหร่ายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลน้อยใหญ่ เหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างสงสัยว่าเพราะเหตุใดสาหร่ายในบริเวณดังกล่าวจึงลดลง ก่อนจะพบว่า หอยเม่นทะเลน่าจะเป็นตัวการสำคัญที่อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์สาหร่ายหายครั้งนี้ บวกกับปัญหาอุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มขึ้นและคลื่นลมแรงกว่าเมื่อก่อน อย่างไรก็ตาม การเข้าไปควบคุมประชากรหอยเม่นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โชโซ ทากามุระ นักวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีประมงจังหวัดคานากาวะเปิดเผยว่า พบหอยเม่นจำนวนมากในพื้นที่ที่สาหร่ายลดลง เหล่านักประดาน้ำและชาวประมงก็ดำน้ำลงไปเพื่อจะกำจัดพวกมัน แต่จำนวนของหอยเม่นก็แทบไม่ลดลงเลย ดังนั้นหนทางเดียวที่เหล่านักวิจัยกำลังทดลองก็คือ นำผักไปป้อนให้กับเหล่าหอยเม่นทะเลผู้หิวโหย เพื่อหวังให้พวกมันหยุดกินสาหร่ายฃได้แล้ว เป็นที่ทราบกันดีว่าไข่หอยเม่น หรืออูนิมีราคาแพง และถูกนำไปจำหน่ายตามร้านซูชิชั้นเลิศ แต่หอยเม่นประเภทนี้แตกต่างจากหอยเม่นพวกนั้น เพราะส่วนใหญ่แล้ว หอยเม่นทะเลในชายฝั่งจังหวัดคานากาวะจะมีส่วนที่สามารถนำไปรับประทานได้น้อยมาก ดังนั้นเหล่าชาวประมงจึงไม่มีแรงจูงใจที่จะเก็บพวกมันไปขาย เพราะก็ไม่ได้ราคาอยู่ดี "เหล่านักวิจัยจึงกำลังศึกษาหาวิธีจะทำอย่างไรดี โดยการนำหอยเม่นประเภทดังกล่าวมีเลี้ยงเอาไว้ภายในศูนย์ ยูกาตะ ฮาราดะ หนึ่งในนักวิจัยเปิดเผยว่า หอยเม่นที่นำมาเลี้ยงไว้เป็นหอยเม่นสีม่วงแปซิฟิก และพวกมันรักการกินผัก ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ หอยเม่นประเภทนี้ในทะเลจะมีส่วนที่สามารถนำไปรับประทานได้เพียงแค่ 2-3 เปอร์เซ็นต์ แต่หอยเม่นที่นำมาเลี้ยงไว้ในห้องแล็บด้วยผักจะมีส่วนที่สามารถรับประทานได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ แถมพวกมันยังมีรสขมน้อยกว่าด้วย" งานวิจัยครั้งนี้จึงไม่เพียงแค่ค้นหาวิธีที่ทำให้เหล่าหอยเม่นเลิกกินสาหร่ายจนหมด แต่มันอาจจะทำให้เหล่าหอยเม่นพวกนี้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้แก่ชาวประมงในการจับมัน ที่มา: https://www.reutersconnect.com/all?i...RP1&share=true https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/851748
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|