|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดไว้ด้วย ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 19-20 มีนาคม 2567 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรก โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน และมีการระบายอากาศที่ไม่ดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 17 - 18 มี.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ในช่วงวันที่ 19 - 21 มี.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 22 มี.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ประกอบกับในช่วงวันที่ 21 ? 22 มี.ค. 67 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 17 ? 18 มี.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด ส่วนในช่วงวันที่ 19 ? 20 มี.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 1 (60/2567) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 19-20 มีนาคม 2567) ในช่วงวันที่ 19-20 มีนาคม 2567 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรก โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
'พะยูน' ในไทยหายไปไหน? เรื่องเล่าจากผู้ดูแล 'มาเรียม' .............. โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล กลายเป็นข่าวใหญ่ในวงการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากของไทย เมื่อโลกโซเชียลได้เผยภาพ ?พะยูน? ผอมโซและล้มตายลงในทะเล จ.ตรัง เนื่องจาก "หญ้าทะเล" แหล่งอาหารสำคัญของพะยูนเสื่อมโทรมและล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความกังวลว่าพะยูนอาจจะกำลังสูญพันธุ์ไปจากท้องทะเลไทย "กรุงเทพธุรกิจ" ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ สุวิทย์ สารสิทธิ์ เจ้าหน้าที่กู้ชีพทางน้ำเกาะลิบง ตัวแทนชุมชนผู้ดูแล "มาเรียม" พะยูนน้อยที่เคยเป็นขวัญใจของคนไทยทั้งประเทศเกี่ยวกับปัญหาการหายไปของ "พะยูน" ในประเทศไทย และรวมถึงความผูกพันที่คนในพื้นที่มีกับพะยูน การปลูก "หญ้าทะเล" จำเป็นสำหรับ "พะยูน" สุวิทย์กล่าวว่าที่จริงจำนวนของพะยูนที่เกาะลิบงลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 เนื่องจาก "หญ้าทะเล" ที่เป็นแหล่งอาหารของพะยูนลดลง ทำให้พะยูนอพยพย้ายไปอยู่ที่อื่นที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์มากกว่า อาหารหลักของพะยูน คือ "หญ้าใบมะกรูด" หรือ หญ้าอำพัน (Halophila ovalis) เป็นหญ้าใบสั้น มีรากสั้น อยู่ร่วมกับ "หญ้าคาทะเล" ซึ่งเป็นหญ้าทะเลขนาดใหญ่และมีรากยาวยึดกับพื้นทะเลได้ดี แต่ปัจจุบันหญ้าทะเลในพื้นที่จังหวัดตรังลดลงไปจนน่าใจหาย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการปล่อยน้ำเน่าเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและครัวเรือนลงสู่ทะเล นอกจากนี้ "ภาวะโลกร้อน" ก็เป็นอันตรายต่อหญ้าทะเลเช่นกัน อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมามีระยะเวลาน้ำลงนานกว่าเดิม หญ้าทะเลได้รับแสงแดดนานขึ้น ทำให้หญ้าอ่อนแอ แห้งตายและติดโรคได้ สำหรับปัญหาหลักของทะเลตรัง เกิดขึ้นจากการขุดลอกร่องน้ำ บริเวณอ่าวกันตัง ซึ่งเมื่อเกิดพายุก็จะพัดพาตะกอนดินทับถมหญ้าทะเล จนล้มตายไปในที่สุด และยังไม่มีทีท่าที่จะฟื้นตัว ชาวบ้านและภาครัฐกำลังร่วมมือกันฟื้นฟูหญ้าทะเลเพื่อให้พะยูนกลับมา เริ่มจากการปลูกหญ้าคาทะเลก่อน ซึ่งเมื่อหญ้าคาทะเลเจริญเติบโตได้ดี หญ้าใบมะกรูดและหญ้าชนิดอื่น ๆ ก็จะสามารถเติบโตตามขึ้นมา สุวิทย์ยืนยันว่าการปลูกหญ้าทะเลยังเป็นเรื่องที่จำเป็น แต่จะต้องทำให้ถูกวิธี "ที่ผ่านมาจะนำเมล็ดหญ้าทะเลมาเพาะกล้าแล้วนำมาปลูก ซึ่งต้นหญ้าทะเลประเภทนี้จะตายง่าย เพราะไม่ทนต่อสภาพอากาศในทะเล แต่ตอนนี้เราจะนำเศษของหญ้าทะเลที่รอดตายจากช่วงมรสุมมาพักฟื้นและเพาะปลูกใหม่" สุวิทย์เปิดเผยกับกรุงเทพธุรกิจ อีกประเด็นที่สำคัญ คือ พื้นที่ในการเพาะปลูก "การปลูกหญ้าทะเลให้ได้ผลดี จำเป็นต้องปลูกในพื้นที่ที่มีโคลน กระแสน้ำไม่แรง เมื่อมีน้ำลงแล้วจะต้องมีแอ่งน้ำเล็ก ๆ หล่อเลี้ยงด้วย" หากมีพื้นที่เหมาะสม และมีหญ้าคาทะเลเติบโตได้ดีเพียงไม่กี่ต้น ก็จะทำให้ระบบนิเวศกลับมาดีดังเดิมได้ เพราะหญ้าคาทะเลจะแตกหน่อขยายอาณาเขตไปทั่วบริเวณ หญ้าชนิดอื่น ๆ ก็จะขึ้นแซม หอยและสัตว์ต่าง ๆ ก็จะมาอยู่อาศัย แต่ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่าหญ้าทะเลจะต้องใช้เวลาฟื้นตัวนานเพียงใด "มาเรียม" พะยูนตัวน้อยที่ทำให้ทุกคนหันมาสนใจ พะยูนเป็นสัตว์ที่อยู่คู่ทะเลไทยมาอย่างยาวนาน สามารถพบได้ทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย สุวิทย์กล่าวว่าตั้งแต่เขาเกิดมาเกือบ 50 ปีก็เห็นพะยูนอยู่แล้ว ซึ่งมนุษย์และพะยูนก็อยู่ร่วมกันได้ดีมาเสมอ ไม่มีการล่าพะยูน มีแต่คอยช่วยเหลือเมื่อพะยูนเกยตื้น สุวิทย์เล่าว่าโดยปรกติแล้วพะยูนจะไม่ชอบเสียงดัง แต่พะยูนเกยตื้น พะยูนเด็กที่กำพร้าแม่ หรือพะยูนบางตัวที่ว่ายเข้าพื้นที่ของมนุษย์แสดงว่าพวกมันกำลังมีปัญหา ที่ผ่านมามีลูกพะยูนหลายตัวที่กลายเป็นขวัญใจคนในท้องที่ ในอดีตชาวบ้านเคยช่วย "เจ้าโทน" พะยูนวัย 2 ปีที่เกยตื้นที่หาดเจ้าไหม ในจังหวัดตรัง จนคุ้นเคยและที่รักของชาวบ้าน แต่หลังจากปล่อยมันคืนสู่ธรรมชาติ มันก็ว่ายเข้าไปติดเครื่องมือประมงจนตาย ในปี 2562 ก็มี "มาเรียม" ลูกพะยูนอีกตัวพลัดหลงกับแม่และเข้ามาเกยตื้นที่กระบี่ หลังจากการให้การช่วยเหลือทางทีมสัตวแพทย์และผู้ดูแลได้ตัดสินใจย้ายมาเรียมมาที่เกาะลิบง เนื่องจากมีสภาพที่เหมาะสมกว่า มีหญ้าทะเลเป็นจำนวนมากและมีฝูงพะยูนอาศัยอยู่ ซึ่งหวังว่ามาเรียมจะสามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝูงพะยูนนี้ได้ แต่ด้วยสัญชาตญาณสัตว์ป่าของพะยูนที่เป็นสัตว์หวงถิ่นที่อยู่อาศัย จึงทำให้พะยูนฝูงดังกล่าว ไม่ต้อนรับและทำร้ายมาเรียม ทำให้มาเรียมว่ายขึ้นมาเกยตื้นอีกครั้ง สุวิทย์เป็นคนแรกที่เข้าไปหามาเรียม ในระยะแรกมาเรียมไม่ให้ใครเขาใกล้เลยนอกจากสุวิทย์ ทำให้เขาเป็นคนเดียวที่สามารถอุ้มและให้อาหารได้ ต้องรอให้มาเรียมคุ้นชินกับกลิ่นก่อน คนอื่น ๆ ถึงจะเข้าหาได้ สุวิทย์เล่าด้วยแววตาเปร่งประกายเมื่อพูดถึงมาเรียม มาเรียมอยู่ในการดูแลของสุวิทย์และทีมแพทย์อย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 3 เดือน 11 วัน แล้วก็กลับดาวพะยูนไป เนื่องจากเผลอกินพลาสติกที่อยู่ในทะเล "ตอนที่มาเรียมเสีย ผมแอดมิทอยู่ที่โรงพยาบาล มารู้ข่าวตอนเช้า ผมใจสลาย มันเป็นความสัมพันธ์แบบพ่อกับลูกสาว เราอยู่ด้วยกันตลอด ป้อนนมให้กินจนหลบไปด้วยกัน เวลาหิวก็มาอ้อน พอกินเสร็จจะนอน บางทีก็มีกรน เขาเหมือนกับเด็กน้อย" ทั้งโทนและมาเรียมเป็นพะยูนกำพร้า โดยปรกติแล้วลูกพะยูนจะอยู่กับแม่นานถึง 2 ปี เพื่อเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ทั้งวิธีการหาอาหาร การว่ายน้ำ และการเอาตัวรอด ดังนั้นพะยูนเด็กที่พลัดหลงกับแม่จึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ "พะยูน" สัญลักษณ์ของลิบง ที่กำลังจะหายไป? ตรังมีพะยูนเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด แต่ในตอนนี้พะยูนมีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ สุวิทย์ชี้ว่าต้องเร่งฟื้นฟูแหล่งอาหารให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ และต้องรักษาสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาขยะพลาสติกด้วย นอกจากนี้ เมื่อมีพะยูนตัวเดิมว่ายเข้ามาในพื้นที่ของชาวบ้านซ้ำ ๆ เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาตรวจสอบและประเมินสภาพร่างกายของพะยูน เพราะนี่ไม่ใช่พฤติกรรมปรกติของพะยูน แสดงว่าต้องมีบางอย่างผิดปรกติ "ตัวผมเองเป็นอีเอ็มเอสกู้ชีพทางน้ำ สามารถปฐมพยาบาลให้พะยูนได้เบื้องต้น ต้องรอหน่วยงานมาเคลื่อนย้ายและส่งต่อให้สัตวแพทย์ช่วยรักษา" แม้เกาะลิบงจะเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีพะยูนมากที่สุด และเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม แต่ลิบงกลับไม่มีสถานที่สำหรับอนุรักษ์หรืออาคารพักฟื้นสัตว์ทะเล "เป็นเรื่องน่าแปลกที่ไม่มีสถานที่พักฟื้นบนเกาะที่เป็นระบบนิเวศเหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยของสัตว์ทะเล เวลาจะเคลื่อนย้ายสัตว์แต่ละทีก็ต้องรอเจ้าหน้าที่จากต่างจังหวัดเข้ามา แต่ถ้ามีศูนย์ที่นี่ก็จะได้ประเมินอาการและรักษาได้ทันท่วงที และจะศึกษาพฤติกรรมของพะยูนได้ด้วย" สุวิทย์กล่าว แม้มาเรียมจะอยู่ที่ลิบงหลายเดือน แต่กลับไม่มีอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงเธอเลย คงจะดีไม่น้อยหากลิบงมีสถานที่ พิพิธภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างที่ไว้ระลึกถึงพะยูนที่ทุกคนตกหลุมรัก ให้สมกับเป็นเกาะที่มีพะยูนเป็นจุดเด่น และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชม นอกจากนี้ สุวิทย์ยังกล่าวว่า นักวิจัยหรือโครงการต่าง ๆ ที่เข้ามาทำการศึกษาเกี่ยวกับพะยูนควรให้ความรู้และสื่อสารกับชาวบ้านให้รับรู้ด้วย เพราะชาวบ้านก็อยากมีส่วนร่วม อยากช่วย พวกเขาไม่มีความรู้ ก็ทำเท่าที่ทำได้ ดูเหมือนการจากไปของพะยูนตั้งแต่ "เจ้าโทน" ไล่มาถึง "มาเรียม" และพะยูนผอมโซที่เพิ่งตายไป จะกลายเป็นเหมือนภาพเดิมที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เมื่อเป็นข่าวทีหนึ่ง ก็จะได้รับความสนใจเพียงชั่วครู่ และสุดท้ายก็เลือนหายไปตามกาลเวลา เหมือนเป็นคลื่นที่กระทบเข้าชายฝั่ง ซึ่งหากไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นตอได้เหตุการณ์เหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นอีก และในวันหนึ่งก็อาจจะไม่มีพะยูนที่แหวกว่ายอยู่ในท้องทะเลไทยอีกเลย https://www.bangkokbiznews.com/environment/1117994
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
ปัญหาการขาดแคลนน้ำแก้ไขได้ ด้วยการการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล ............... โดย จุลวรรณ เกิดแย้ม รวมถึงพลังงาน ทำให้ประเทศจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เผชิญกับภัยคุกคามจากการขาดแคลนน้ำ ข้อมูลจาก World economic forum ระบุว่า ทางออกหนึ่งที่จะตอบสนองความต้องการน้ำจืดที่เพิ่มขึ้นคือการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเอาเกลือออกจากน้ำทะเลเพื่อผลิตน้ำดื่ม แม้ว่ากระบวนการนี้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันวิกฤติน้ำทั่วโลกได้ แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัยได้มากขึ้น วิกฤติน้ำในอนาคต การขาดแคลนน้ำเกิดขึ้นเมื่อความต้องการน้ำมีมากกว่าอุปทานที่มีอยู่ในช่วงเวลาที่กำหนด - เมื่อโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำไม่เพียงพอหรือสถาบันไม่สามารถรักษาสมดุลความต้องการของผู้คนได้ ในปี 2022 ผู้คนจำนวน 2.2 พันล้านคนขาดน้ำดื่มที่ได้รับการจัดการอย่างปลอดภัย ซึ่งรวมถึงผู้คนมากกว่า 700 ล้านคนที่อาศัยอยู่โดยไม่มีบริการน้ำขั้นพื้นฐาน ตามการระบุขององค์การสหประชาชาติ ภายในปี 2573 อาจมีการขาดแคลนทรัพยากรน้ำจืดทั่วโลกถึง 40% ซึ่งรวมถึงการเติบโตของจำนวนประชากรโลกที่จะเพิ่มขึ้นจาก 8 พันล้านคนในปัจจุบันเป็น 9.7 พันล้านคนภายในปี 2593 จะทำให้โลกเผชิญกับวิกฤติน้ำที่รุนแรง ข้อมูลจาก World Resources Institute คาดการณ์ว่าพื้นที่ตอนใต้ทะเลทรายซาฮาราในแอฟริกาจะมีการเปลี่ยนแปลงความต้องการน้ำครั้งใหญ่ที่สุด โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 163% ในช่วงกลางศตวรรษ นี่เป็นสี่เท่าของอัตราการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวังในละตินอเมริกา ซึ่งเป็นภูมิภาคที่สูงเป็นอันดับสอง เกือบสองในสามของพื้นผิวโลกถูกปกคลุมไปด้วยน้ำ และมหาสมุทรของกักเก็บน้ำไว้ถึง 96.5% ของน้ำทั้งหมดบนโลก อย่างไรก็ตาม ปริมาณเกลือของมันทำให้น้ำนี้ไม่เหมาะสำหรับมนุษย์ที่จะดื่ม นี่คือที่มาของการแยกเกลือออกจากน้ำ ประเภทของการแยกเกลือออกจากน้ำ การแยกเกลือออกจากวิธีการต่างๆ นั้นมีหลายวิธี แต่ส่วนใหญ่จะใช้กระบวนการรีเวอร์สออสโมซิสหรือกระบวนการแฟลชหลายขั้นตอนเพื่อกำจัดเกลือออกจากน้ำทะเล การรีเวอร์สออสโมซิสมีประสิทธิภาพมากกว่าในทั้งสองวิธีนี้ กระบวนการนี้ใช้เมมเบรนพิเศษที่ทำหน้าที่เป็นตัวกรอง ซึ่งจะบล็อกและขจัดเกลือออกจากน้ำทะเลขณะที่น้ำไหลผ่าน ที่นี่ ปั๊มที่ทรงพลังจะสร้างแรงดันเพียงพอเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำบริสุทธิ์จะถูกสกัดออกมา การแยกเกลือออกจากแฟลชแบบหลายขั้นตอนไม่ใช้ตัวกรอง แต่น้ำเค็มจะสัมผัสกับความร้อนของไอน้ำและการเปลี่ยนแปลงของความดัน ซึ่งทำให้ส่วนหนึ่งของน้ำระเหยหรือ "วูบวาบ" กลายเป็นไอน้ำหรือน้ำจืด โดยทิ้งน้ำเกลือรสเค็มไว้เป็นผลพลอยได้กระบวนการแยกเกลือออกจากทั้งสองกระบวนการจะสร้างน้ำเกลือที่มีระดับเกลือสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อระบบนิเวศทางทะเลเมื่อปล่อยกลับสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ผลลัพธ์ของทั้งสองวิธีคือน้ำดื่มที่สะอาด นอกจากเกลือแล้ว กระบวนการแยกเกลือออกจากเกลือยังกำจัดสารประกอบอินทรีย์หรือสารเคมีชีวภาพ ดังนั้นน้ำที่ผลิตได้จึงไม่แพร่เชื้อท้องเสียหรือโรคอื่นๆ นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยคลื่น แม้ว่าโรงงานรีเวิร์สออสโมซิสจะมีประสิทธิภาพมากกว่าโรงงานแฟลชแบบหลายขั้นตอน แต่โรงงานแยกเกลือออกจากขนาดใหญ่ต้องใช้พลังงานและการบำรุงรักษาจำนวนมาก และมีค่าใช้จ่ายสูงในการสร้างและดำเนินการ มีการพัฒนาระบบแยกเกลือที่เป็นนวัตกรรมจำนวนหนึ่งเพื่อพยายามลดพลังงานที่จำเป็นในการใช้งานและการปล่อยก๊าซที่เกี่ยวข้อง นวัตกรรมการแยกเกลือออกจากน้ำทะเลชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Oneka นั้นขับเคลื่อนด้วยคลื่น ทุ่นพิเศษติดอยู่กับพื้นมหาสมุทรเพื่อให้สามารถลอยบนพื้นผิวได้ โดยใช้พลังคลื่นในการขับเคลื่อนปั๊มที่บังคับน้ำทะเลผ่านตัวกรองและเยื่อรีเวิร์สออสโมซิส จากนั้นน้ำจืดจะถูกส่งขึ้นฝั่งอีกครั้งโดยได้รับพลังงานจากการเคลื่อนที่ตามธรรมชาติของคลื่นเท่านั้น โดยระบบมีข้อได้เปรียบหลายประการเหนือโรงงานแยกเกลือออกจากชายฝั่งขนาดใหญ่ซึ่งส่วนใหญ่ใช้พลังงานจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างไรก็ตาม ระบบดังกล่าวต้องใช้คลื่นสูงในการทำงาน ซึ่งหน่วยลอยน้ำขนาดเล็กต้องการพื้นที่ชายฝั่งน้อยลง 90% เมื่อเทียบกับโรงงานกรองน้ำทะเลทั่วไป เป็นต้น การใช้พลังงานคลื่นที่ปราศจากการปล่อยมลพิษแทนที่จะใช้ไฟฟ้านั้นต้องการพลังงานน้อยลงและสร้างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าโรงแยกเกลือแบบดั้งเดิม "โรงงานกรองน้ำทะเลใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลตามอัตภาพ" ซูซาน ฮันต์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายนวัตกรรมของ Oneka ว่า "แต่โลกได้มาถึงจุดเปลี่ยนอย่างแน่นอน ซึ่งต้องการเลิกใช้ระบบแยกเกลือออกจากน้ำทะเลโดยใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล" ทั้งนี้ วิกฤตทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การขาดแคลนน้ำ มีชื่ออยู่ในรายงานความเสี่ยงทั่วโลกปี 2024 ของ World Economic Forum โดยเป็นหนึ่งในภัยคุกคาม 10 อันดับแรกที่โลกเผชิญในทศวรรษหน้า ปัจจุบัน โรงงานแยกเกลือถูกนำมาใช้ในภูมิภาคต่างๆ เช่น ตะวันออกกลาง ซึ่งมีสภาพอากาศร้อนควบคู่ไปกับเศรษฐกิจที่ลอยตัวและมีความสามารถทางเทคโนโลยี แต่ธรรมชาติที่ใช้พลังงานสูงและต้นทุนที่สูงของโรงแยกเกลือออกจากระบบแบบธรรมดากลับเป็นอุปสรรคต่อการนำไปใช้ในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมที่ลดพลังงานที่จำเป็นในการใช้งานโรงกลั่นน้ำทะเลและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานอาจเปลี่ยนแปลงสถานการณ์และเพิ่มการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดสำหรับชุมชนที่เผชิญกับความท้าทายด้านน้ำ https://www.bangkokbiznews.com/environment/1117830
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
วาฬสีเทาปรากฏตัวอีกครั้งในนิวอิงแลนด์ หลังหายไปกว่า 200 ปี คาดเพราะโลกร้อน SHORT CUT - วาฬสีเทาถูกพบบริเวณน่านน้ำชายฝั่งนิวอิงแลนด์ ถือเป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อเพราะวาฬชนิดนี้ไม่ได้ถูกพบบริเวณนั้นมานานกว่า 200 ปีแล้ว - Northwest Passage ช่องทางเดินทะเลที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก ปราศจากน้ำแข็งเพราะอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้วาฬผ่านมาได้ - วาฬสีเทาในมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นเครื่องเตือนใจว่าสัตว์ทะเลตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้รวดเร็วเพียงใด เมื่อไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์พบวาฬสีเทาบริเวณน่านน้ำชายฝั่งของนิวอิงแลนด์ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อเพราะวาฬชนิดนี้ไม่ได้ถูกพบบริเวณนั้นมานานกว่า 200 ปีแล้ว วาฬสีเทา หรือ Eschrichtius robustus ถูกพบว่ายน้ำอยู่ตัวเดียวห่างออกไป 48 กิโลเมตรทางใต้ของเมือง Nantucket รัฐแมสซาชูเซตส์ ซึ่งวาฬชนิดนี้หายไปจากมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งนิวอิงแลนด์มานานกว่า 200 ปีแล้ว เรื่องน่าประหลาดใจ! พบวาฬสีเทานิวอิงแลนด์ นักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนิวอิงแลนด์กำลังบินไปทางใต้ของเมืองแนนทัคเก็ต พวกเขาเห็นวาฬดำน้ำและขึ้นมาใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในขณะที่มันกำลังหาอาหาร ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบแน่ว่าเหตุใดวาฬจึงเดินทางไปทางเหนือ แต่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจมีส่วน นั่นเป็นเพราะเส้นทาง Northwest Passage ซึ่งเป็นช่องทางเดินทะเลในแคนาดาที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งปราศจากน้ำแข็งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น Orla O'Brien รองนักวิทยาศาสตร์การวิจัยจาก Anderson Cabot Center for Ocean Life ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนิวอิงแลนด์ เผยว่า ?มันน่าตื่นเต้นมากกับการได้เห็นสัตว์ที่หายไปจากมหาสมุทรแอตแลนติกเมื่อหลายร้อยปีก่อน แม้ว่าวาฬสีเทาจะพบเห็นได้ทั่วไปในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่การพบเห็นครั้งสุดท้ายในมหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณนิวอิงแลนด์เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา มีสัตว์เพียง 5 ชนิดเท่านั้นที่ถูกพบเห็นในน่านน้ำแอตแลนติกและเมดิเตอร์เรเนียน รวมถึงการพบเห็นที่หายากในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาบริเวณนอกชายฝั่งฟลอริดา นักวิทยาศาสตร์คาดว่านี่อาจเป็นวาฬตัวเดียวกัน โลกร้อนอาจเป็นเหตุทำให้วาฬสีเทาปรากฏตัว นักวิทยาศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนิวอิงแลนด์เชื่อว่าโลกร้อนขึ้นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดในมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พวกเขากล่าวว่าเส้นทาง Northwest Passage ที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือแคนาดานั้นไม่มีน้ำแข็ง ส่งผลให้วาฬชนิดนี้สามารถผ่านไปได้ "การพบเห็นนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสำรวจแต่ละครั้ง แม้ว่าเราคาดหวังว่าจะได้เห็นวาฬหลังค่อม วาฬขวา และวาฬฟิน แต่มหาสมุทรก็เป็นระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และคุณไม่มีทางรู้ว่าคุณจะพบอะไร การพบเห็นวาฬสีเทาในมหาสมุทรแอตแลนติกเหล่านี้เป็นเครื่องเตือนใจว่าสัตว์ทะเลตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้รวดเร็วเพียงใด" ผู้เชี่ยวชาญกล่าว ที่มา : Live Science / CBS News https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/848670
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|