เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 18-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรใช้ความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 18 ? 19 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง

ส่วนในช่วงวันที่ 20 ? 23 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 20 ? 23 มิ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 18-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


โครงสร้างเหล็กรูปดาว กระตุ้นระบบนิเวศปะการังที่กำลังจะตายให้งอกใหม่



หมู่เกาะในอินโดนีเซียเป็นที่อยู่อาศัยของปะการังมากกว่า 75% ของโลก ตามข้อมูลของโครงการฟื้นฟูปะการังข้ามชาติ Coral Triangle Initiative แต่ทุกวันนี้ ปะการังหลายแห่งเผชิญกับการกัดกร่อนและฟอกขาวในทุกปี ทว่าแนวปะการังในบาหลีเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่ถือว่าอยู่ในสภาพดี โดยที่เหลืออีก 30% อยู่ในสภาพย่ำแย่ และ 15% อยู่ในสภาพเลวร้ายกว่า ตามรายงานของกรมประมงของบาหลีในปี พ.ศ.2561 ซึ่งความเสียหายนั้นเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการประมงแบบคุกคาม ภาวะโลกร้อน และคลื่นรุนแรง

เมื่อเร็วๆนี้ มีข้อมูลเปิดเผยว่าแนวปะการังที่กำลังจะตายของบาหลีมีการงอกใหม่ เป็นผลงานของมูลนิธิ Nusa Dua Reef ที่นักอนุรักษ์ได้ใช้วิธีนำโครงสร้างเหล็กรูปทรงหกเหลี่ยมคล้ายดาว เรียกว่า ?รีฟ สตาร์? (Reef Star) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร ไปวางตามแนวปะการังที่ตายทั่วเกาะบาหลี เพื่อกระตุ้นการงอกและเติบโตของปะการังใหม่

ปารีอามา ฮูตาซูอิต นักอนุรักษ์สตรีชาวอินโดนีเซียเผยว่า มูลนิธิ Nusa Dua Reef ได้ติดตั้งโครงสร้างเหล็กนี้เกือบ 6,000 ชิ้น และตั้งเป้าจะติดตั้งเพิ่มตามแนวปะการังอีกประมาณ 5,000 ชิ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า ส่วนในอนาคตนั้น หากเป็นไปได้ก็ต้องการขยายการฟื้นฟูแนวปะการังออกไปนอกบาหลีเช่นกัน นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งของเงินบริจาคของมูลนิธิจะใช้ในโครงการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ชุมชนท้องถิ่นถึงความสำคัญของการปกป้องแนวปะการังของบาหลี.




https://www.thairath.co.th/news/foreign/2112837

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 18-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


ชีวิตท่ามกลางหายนะภัยทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดของศรีลังกา .................. โดย Tashiya de Mel

นี่คือจุดจบ ความคิดแรกที่แล่นเข้ามาในหัวของฉันเมื่อได้อ่านข่าวรายงานข่าวไฟไหม้ของเรือ X-Press-Pearl แนวชายฝั่งบริเวณใกล้เคียงดำคล้ำด้วยเศษซากไหม้เกรียมและสินค้าอันตรายเกลื่อนชายฝั่งของศรีลังกา ไม่กี่วันต่อมา กระแสคลื่นพัดพาเม็ดพลาสติกขนาดเล็กที่เรียกว่า ?nurdles? ขึ้นมาเกลื่อนชายหาดทางตะวันตกและทางใต้


เศษซากไหม้เกรียมและวัตถุอันตราย รวมทั้งสินค้าที่ถูกไฟไหม้และเม็ดพลาสติกขนาดเล็ก ถูกคลื่นซัดเกยตื้นบริเวณชายฝั่ง ศรีลังกากำลังเผชิญกับหายนะภัยด้านสิ่งแวดล้อมครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ หลังจากเม็ดพลาสติกจำนวนมากถูกพัดขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองหลวงที่มีชายหาดเก่าแก่ยาวหลายกิโลเมตร และคุกคามสิ่งมีชีวิตทางทะเล ? Tashiya de Mel / Greenpeace

วิกฤตทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดในศรีลังกากำลังเผยออกมาแบบเรียลไทม์ เมื่อความตระหนกในช่วงแรกที่เกิดเหตุการณ์สงบลง คลื่นความโกรธก็ถาโถม ตามมาด้วยความเศร้า รู้สึกหมดหนทาง และฉันทำได้แค่เรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์นี้ซึ่งดูเหมือนจะแย่ลงไปอีก

สารเคมีรั่วไหล

เพลิงไหม้

การระเบิด

เศษซากสิ่งมีชีวิตในทะเลถูกคลื่นซัดเกยขึ้นบนหาด

น้ำมันรั่วไหลที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา

และที่เลวร้ายไปกว่านั้น การล็อกดาวน์ทั่วประเทศขัดขวางไม่ให้อาสาสมัครรวมตัวกัน เพื่อช่วยจัดการปัญหา

ราวกับการถูกปลุกให้ตื่นขึ้นจากฝันร้าย



เศษซากไหม้เกรียมและวัตถุอันตราย รวมทั้งสินค้าที่ถูกไฟไหม้และเม็ดพลาสติก ถูกคลื่นซัดเกยตื้นบริเวณชายฝั่ง ศรีลังกากำลังเผชิญกับหายนะภัยด้านสิ่งแวดล้อมครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ หลังจากเม็ดพลาสติกจำนวนมากถูกพัดขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองหลวงที่มีชายหาดเก่าแก่ยาวหลายกิโลเมตร และคุกคามสิ่งมีชีวิตทางทะเล ? Tashiya de Mel / Greenpeace

ฉันเติบโตมาในเมืองโคลัมโบและใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสำรวจพื้นที่ที่ห่างไกลของเกาะนี้ ทำให้เกิดความรักและความปรารถนาที่จะเชื่อมโยงผู้คนต่าง ๆ กับธรรมชาติ ในฐานะช่างภาพและนักกิจกรรม ฉันใช้วิธีการเล่าเรื่องผ่านภาพเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและการตระหนักรู้ต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

หลังจากเรือ X-Press Pearl ได้จมลง ฉันได้ตระหนักต่อความเป็นจริงที่ว่า ในปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับวิกฤตฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อม

เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ใครต้องรับผิดชอบ?

เราจะฟื้นฟูความเสียหายซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ ที่เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศ สัตว์ทะเล และวิถีการดำเนินชีวิตได้อย่างไร?


ซารากูวา เนกอมโบ เป็นหนึ่งในแนวชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด ระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงกำลังแย่ลงเรื่อย ๆ ในขณะที่ฉันกำลังเก็บบันทึกข้อมูลให้กับกรีนพีซ สากล ถึงผลกระทบของหายนะภัยจากเรือ X-Press-Pearl อยู่นี้ก็มีข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ


1. วิถีชีวิตและชีวิตที่ต้องดำเนินไป

มีการห้ามทำประมงภายในรัศมี 80 กม. จากซากเรือ การห้ามนี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชาวประมงหลายพันคน ชาวประมงพื้นบ้านถูกห้ามไม่ให้จับปลาในบริเวณดังกล่าว เนื่องจากการปนเปื้อนสารเคมี แล้วพวกเขามีทางเลือกอื่นอะไรบ้าง? เพราะปลาเป็นอาหารหลักของพวกเขา หากไม่มีแหล่งรายได้ สถานการณ์ก็ยิ่งแย่ลง ภัยพิบัติดังกล่าวเป็นผลกระทบที่ซ้ำเติมชุมชนชาวประมงเหล่านี้

"การทำประมงเป็นส่วนสำคัญหลักของอัตลักษณ์ของพวกเรา เราไม่รู้ว่ามีอะไรที่จะทำได้ดีไปกว่านี้" สุราษฎ์กล่าว เขาเล่าเพิ่มเติมว่า มีการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาลในเหตุการณ์ครั้งนี้เพียงแค่น้อยนิดเท่านั้น

ฝนตกหนัก น้ำท่วม ภัยพิบัติทางทะเล การระบาดครั้งใหญ่ ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง และชุมชนในพื้นที่ยังต้องเผชิญกับผลกระทบของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ในฐานะประเทศที่เป็นเกาะ ศรีลังกามีแนวโน้มที่จะเกิดมรสุมตามฤดูกาลและพายุที่ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น


2. การเสพติดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

เม็ดพลาสติกขนาดเล็กกว่าสามพันล้านชิ้นรั่วไหลลงสู่มหาสมุทร และตลอดแนวชายฝั่งของศรีลังกา การทำความสะอาดและเก็บรวบรวมอาจทำได้เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ซึ่งยังมีเม็ดพลาสติกปริมาณมหาศาลที่จะคงอยู่ในทรายและในปะการังต่อไปอีกหลายปี

สิ่งสำคัญที่สุดคือ ปัญหาใหญ่อย่างเม็ดพลาสติกที่ใช้เป็นวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด ถ้าเราต้องการกำจัดเม็ดพลาสติกเหล่านี้ เราต้องหยุดตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตและการบริโภค เราต้องก้าวออกจากอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งก่อมลพิษ และมองหาแนวคิดใหม่อย่างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนกว่า เราต้องเริ่มให้บริษัทต่าง ๆ รับผิดชอบต่อวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวที่พวกเขาผลิต และคัดง้างกับผลประโยชน์ที่ให้ความสำคัญกับผลกำไรมากกว่าสิ่งแวดล้อมและผู้คน


กองทัพเรือศรีลังกาและหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล (MEPA) กำลังทำความสะอาดชายหาดในเนกอมโบ ศรีลังกา ที่กำลังเผชิญกับหายนะภัยด้านสิ่งแวดล้อมครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ หลังจากเม็ดพลาสติกจำนวนมากถูกพัดขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองหลวงที่มีชายหาดเก่าแก่ยาวหลายกิโลเมตร และคุกคามสิ่งมีชีวิตทางทะเล


3. ทุกสิ่งเชื่อมโยงกัน

หายนะภัยจากเรือ X Press Pearl ช่วยเตือนสติของเราถึงความเสี่ยงที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี ?ธุรกิจที่ดำเนินไปตามปกติ? อาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของวิกฤตสภาพภูมิอากาศและภาวะฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งกำหนดอนาคตของเรา

หนทางแสนไกล

การต่อสู้เพิ่งเริ่มต้นขึ้น ขณะที่ฉันเดินไปตามชายหาดเคปุงโกดา ซึ่งอยู่ทางเหนือของท่าเรือโคลัมโบเพียงไม่กี่กิโลเมตร ฉันมองเห็นซากเรืออับปางในขอบฟ้า และอดไม่ได้ที่จะไตร่ตรองในสิ่งที่ได้เห็น

เมื่อผลกระทบที่เห็นได้ชัดเริ่มเลือนลางลง และสื่อต่าง ๆ ที่รุมเสนอข่าวก็เริ่มหายไป ผลกระทบที่ตามหลังจากนี้ที่อาจจะเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี ก็จะมีเพียงชุมชนท้องถิ่นเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับผลกระทบในระยะยาว



สิ่งที่ยังไม่อาจเห็นได้คืออะไร ผลกระทบระยะยาวที่ยังคงเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตในทะเลและระบบนิเวศของศรีลังกาต่อไปคืออะไร?

เราต้องไม่มองข้ามประเด็นสำคัญในภาพกว้างที่เป็นต้นตอของหายนะภัยดังกล่าว หายนะภัยจากเรือ X-Press Pearl เป็นหายนะภัยด้านสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ที่สุดของศรีลังกา และทำให้เกิดคำถามที่สำคัญเกี่ยวกับผลกระทบที่จะตามมาในวงกว้างซึ่งยังไม่ปรากฏชัดในขณะนี้

เราสามารถเรียนรู้จากอดีต และทำให้ดีขึ้น


https://www.greenpeace.org/thailand/...al-reflection/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:44


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger