|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดในระยะนี้ไว้ด้วย ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมในบริเวณดังกล่าวมีกำลังอ่อนลง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. ? 5 เม.ย. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน สำหรับลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
เอลนีโญไป..ลานีญามา การประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศไทยมีฝนมากขึ้นจากอิทธิพลหลายปัจจัย ทั้งความกดอากาศสูงจากประเทศจีน หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณตอนกลางของประเทศ และลมใต้ที่พัดความชื้นเข้ามา ส่งผลให้มีฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปจนถึงภาคตะวันออก โดยเฉพาะ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มีปริมาณฝนสะสมสูงสุดในรอบสัปดาห์มากถึง 228 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน สำหรับภาพรวมของสถานการณ์น้ำในขณะนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีน้ำน้อยได้มีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดมาตั้งแต่ช่วงต้นฤดูแล้ง แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงพบว่ามีการเพาะปลูกข้าวนาปรังเกินกว่าแผน ทำให้มีการจัดสรรน้ำเกินแผนที่วางไว้ แต่ยังคงอยู่ในปริมาณที่ควบคุมและบริหารจัดการได้ โดยจะมีการเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) พิจารณาในเรื่องการปรับแผนการจัดสรรน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงมีการรณรงค์งดการเพาะปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 อย่างต่อเนื่อง นอกจากจะเพื่อลดผลกระทบต่อแผนจัดสรรน้ำแล้ว ยังมีผลดีในการเว้นระยะสำหรับบำรุงรักษาดินเพื่อใช้สำหรับการเพาะปลูกข้าวนาปีในฤดูถัดไป พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างจะมีการส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวนาปีตั้งแต่ 1 พ.ค.นี้ เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วยิ่งขึ้น ป้องกันความเสียหายจากปริมาณฝนมากจากสภาวะลานีญาในช่วงฤดูฝนนี้ และขณะนี้ใกล้สิ้นสุดฤดูแล้ง สภาวะเอลนีโญกำลังปานกลางในประเทศไทยจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสภาวะลานีญาในช่วงเข้าสู่ฤดูฝนประมาณเดือน มิ.ย. จากการประเมินและคาดการณ์แนวโน้มของสถานการณ์ลานีญาร่วมกับหน่วยงานที่คาดว่าปริมาณฝนในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงนี้ จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้แก่อ่างฯน้ำน้อยต่างๆ ให้มีสถานการณ์ดีขึ้น. https://www.thairath.co.th/news/loca...0xJnJ1bGU9MA==
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
พังไม่เป็นท่า! ที่จอดเรืออัจฉริยะเมืองพัทยาละลายงบนับร้อยล้าน เสียหาย 15 ปีไม่มีใครรับผิดชอบ ศูนย์ข่าวศรีราชา - โทษพิษ "หว่ามก๋อ" ทำโครงการที่จอดเรืออัจฉริยะเมืองพัทยาพังพินาศ ขณะผลสอบใครต้องรับผิดชอบ 15 ปีไม่คืบหน้า ทำงบแผ่นดินนับร้อยล้านบาทละลายลงทะเล วันนี้เมืองพัทยาฮึดสู้ร้องศาลปกครองสูงสุด เอาผิดผู้ออกแบบอีกครั้ง อีกหนึ่งโครงการใหญ่ระดับประเทศที่เมืองพัทยาฝากความหวังในการยกระดับการจัดระเบียบเรือท่องเที่ยวกว่า 800 ลำ ให้เป็นต้นแบบการส่งเสริมท่องเที่ยวทางน้ำ ซึ่งเดิมทีใช้ลานอเนกประสงค์ท่าเทียยบเรือบาลีฮาย พัทยาใต้ เป็นที่จอด แต่กลับประสบปัญหาเรื่องความสกปรกจนส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยว กระทั่งในยุค คสช.ได้มีการระดมกำลังพลเข้าจัดระเบียบด้วยการออกคำสั่งให้ย้ายเรือทั้งหมดออกจากลานอเนกประสงค์ เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ และผลักดันให้เรือทั้งหมดย้ายไปจอดใน ?โครงการที่จอดเรือพัทยา? ซึ่งเมืองพัทยาตั้งงบประมาณการก่อสร้างดังกล่าว 300 ล้านบาท เพื่อให้เป็นที่จอดเรือแบบไฮดรอริกซึ่งจะสามารถรองรับเรือได้กว่า 300 ลำ และได้กำหนดแผนงานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 โดยว่าจ้างทีมที่ปรึกษา คณะอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากกิจการร่วมค้า Ping เข้าดำเนินงานและกำหนดสเปกการก่อสร้าง ทั้งแนวกันคลื่น กันลม และที่จอดเรือมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความสวยงามและเป็นระเบียบ รวมทั้งยกระดับให้เป็นท่าเรือที่มีความทันสมัยที่สุดแห่งแรกของประเทศไทย โดยเมืองพัทยายังมีแผนที่จะพ่วงการจัดสร้างอาคารที่จอดรถแบบใหม่ขึ้นที่หน้าท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย และกำหนดให้มีลักษณะเป็นไฮดรอริกที่สามารถยกรถขึ้นไปเก็บไว้ด้านบน ซึ่งงบประมาณโดยรวมทั้ง 2 โครงการมีมูลค่ารวมกว่า 733 ล้านบาท และโครงการนี้ได้มีการส่งมอบงานไปแล้วตั้งแต่เดือน พ.ย.2556 แต่สุดท้ายกลับพบว่าจะมีเพียงอาคารจอดรถเท่านั้นที่ยังพอเปิดให้งานได้ ส่วนท่าจอดเรือที่มีแผนให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย กลับยังไม่สามารถเปิดใช้งานได้จริง อีกทั้งยังปล่อยให้มีสภาพชำรุดทรุดโทรมลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเรือระบุว่า สาเหตุที่ไม่สามารถนำเรือเข้ามาจอดจุดที่เมืองพัทยากำหนดให้ได้ เป็นเพราะก่อนหน้าที่โครงการจะแล้วเสร็จ ได้มีการทดลองนำเรือเข้ามาจอดในท่าและยกเรือด้วยระบบไฮดรอริก แต่กลับไม่สามารถรองรับและใช้งานจอดเรือได้จริง พร้อมเรียกร้องให้เมืองพัทยาควรศึกษาและสอบถามความคิดเห็นจากผู้ประกอบการก่อนออกแบบ เพราะเป็นผู้ใช้งานจริง นอกจากนั้นยังพบปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวของตะกอนทรายใต้น้ำ ซึ่งได้รับการกล่าวอ้างจากผู้ดำเนินโครงการว่า สาเหตุที่ท่าจอดเรืออัจฉริยะไม่สามารถเปิดใช้งานได้จริงเพราะปัญหาภัยธรรมชาติคือ "พายุหว่ามก๋อ" ที่ได้สร้างความเสียหายต่อโครงการอย่างหนักในช่วงปี 2558 จนทำให้โครงการเกิดการพังเสียหาย และอุปกรณ์ชำรุดเกินกว่า 50% และสุดท้ายยังไม่มีการแก้ไขปัญหาใดๆ ขณะที่หน่วยงานเกี่ยวข้องต่างโยนความผิดกันไป จนกลายเป็นปัญหาคาราคาซังมาจนถึงปัจจุบัน กระทั่งมีการตั้งคณะกรรมการจากหลายฝ่ายขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง รวมทั้งในส่วนของ ป.ป.ช. และ สตง. ขณะที่สภาเมืองพัทยาเคยนำเสนอเป็นญัตติเพื่อของบปรมาณซ่อมแซม แต่สุดท้ายไม่มีการอนุมัติงบประมาณในการซ่อมแซมท่าเรือที่เสียหาย เพราะเกรงว่าจะถูกสังคมมองว่าใช้งบประมาณไปเอื้อผู้ประกอบการที่ไม่เข้ามาดำเนินการแก้ไขรับผิดชอบโครงการที่เสียหายไป และแม้ในยุค คสช. ที่ได้รับการแต่งตั้งเข้ามาบริหารราชการเมืองพัทยา จะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกหนึ่งชุดเพื่อสำรวจความเสียหาย และข้อเท็จจริงว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุของภัยธรรมชาติ หรือปัญหาเรื่องของหลักทางวิศวกรรม โดยขอความร่วมมือจาก 3 หน่วยงานหลักด้านวิศวกรรมทะเลและชายฝั่ง จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กองทัพเรือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมแกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่เข้ามาร่วมตรวจสอบ และได้มีการเปิดเผยจาก พ.ต.ต.อนันต์ เจริญชาศรี นายกเมืองพัทยาว่า ผลสอบเสร็จสิ้นโดยแยกความผิดออกเป็น 2 ประเด็นคือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าข่ายการละเมิด ผิดพลาด ปล่อยปละละเลยโดยไม่เปิดใช้งานจริง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินราชการ และส่วนที่สองคือ ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ แต่จนถึงปัจจุบันเรื่องดังกล่าวเงียบหายเข้ากลีบเมฆเช่นเดิม และยังยังคงมีภาพของเศษวัสดุทุ่นลอยไปถูกกองทิ้งไว้เหมือนกองขยะไม่ต่างจากโครงการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก ทั้งนี้ มีรายงานว่าปัจจุบันเมืองพัทยาได้ส่งเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อเอาผิดกับบริษัทผู้ออกแบบให้กลับมารับผิดชอบกรณีที่เกิดความเสียหาย โดยระบุว่าการออกแบบไม่รัดกุม แต่ล่าสุดศาลปกครองกลางได้พิพากษาออกมาแล้วว่าผู้รับจ้างไม่มีความผิดต่อความเสียหายของโครงการที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะความผิดจากการออกแบบโครงสร้างของโครงการตามที่เมืองพัทยาฟ้องร้อง ทำให้เมืองพัทยาจำเป็นที่จะต้องทิ้งสภาพโครงการและวัสดุไว้ก่อนชั่วคราว เพื่อรอผลการพิจารณาใหม่ โดยเมืองพัทยายืนยันที่จะขอต่อสู้ต่อไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และได้ยื่นอุทธรณ์และส่งเรื่องฟ้องร้องต่อไปยังศาลปกครองสูงสุดแล้ว หลังจากนี้จึงต้องจับตากันให้ดี https://mgronline.com/local/detail/9670000027983
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
หนุ่มผงะ! เจอตัวปริศนาเกาะอยู่ในหัวกุ้ง โพสต์ถามชาวเน็ต นี่ตัวอะไร เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงาน ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์รูปภาพกุ้งปรุงสุก ที่บริเวณหัวมีลักษณะปูดบวมผิดปกติ เมื่อลองแกะออกดูพบว่ามีสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งรูปร่างหน้าตาคล้ายแมลงเกาะอยู่ จึงเกิดความสงสัยว่าสัตว์ที่พบในหัวกุ้งคือตัวอะไรกันแน่ จึงได้ทำการโพสต์ลงในกลุ่ม นี่ตัวอะไร เพื่อให้สมาชิกกลุ่มช่วยไขข้อสงสัย เมื่อโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยขณะนี้มียอดกดไลค์แล้วกว่า 5.8 พันครั้ง และถูกแชร์ออกไปเป็นวงกว้าง อีกทั้งมีผู้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นคลายความกังวลแก่ผู้โพสต์กันอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งนอกจากความสงสัยในสัตว์ปริศนาตัวดังกล่าวแล้ว ยังคอมเมนต์ส่วนหนึ่งๆ ที่สงสัยว่าสรุปแล้ว สัตว์ชนิดนี้สามารถรับประทานได้หรือไม่อีกด้วย อาทิ "ไอโซพอด (Isopod) มีหลายชนิด ในภาพเป็นไอโซพอดประเภทที่เป็นปรสิตในหัวกุ้งครับ" "ไอโซพอด (isopod) ตัวเล็กเป็นปรสิตของสัตว์ตัวใหญ่กว่า ส่วนตัวใหญ่เป็นอาหารคน (แถมเนื้ออร่อยกว่ากุ้งซะอีกนะ)" "Bopyrid Isopod ปรสิตกุ้งค่ะ อาศัยอยู่ในเหงือกของกุ้งและค่อยดูดเลือด ทำให้ศักยภาพในการสืบพันธุ์ของกุ้งลดลงอย่างมาก ถ้าทำสุกไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ค่ะ" "กินได้ครับ สุกแล้ว" "ในปลาทูก็มีครับ" "ไอโซพอดครับ เป็นปรสิตคล้ายๆกับที่ชอบเข้าไปอยู่ในปากปลาบางชนิดด้วย ถ้าทำให้สุกด้วยความร้อนสูงๆ เช่น ทอด ก็กินได้ครับ กรอบๆ" "เราเคยกินด้วย มันอร่อยดีนะ 5555" https://www.matichon.co.th/social/news_4500197
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
'โลมา' มีรูปแบบการสื่อสารเปลี่ยนไป เพราะ 'มลพิษทางเสียง' จากเรือ 'โลมา' มีรูปแบบการสื่อสารเปลี่ยนไป เพราะ 'มลพิษทางเสียง' จากเรือ "มลภาวะทางเสียง" จาก "เรือ" อาจส่งผลให้รูปแบบการสื่อสารและการเดินทางของ "โลมา" เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่าการสัญจรทางทะเลส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลอย่างมาก ด้วยกิจกรรมทางทะเลของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะการขนส่งทางทะเล และการท่องเที่ยวทางทะเล ดังนั้นมหาสมุทรจึงเต็มไปด้วย "เรือ" หลากหลายขนาดที่สามารถสร้าง "มลภาวะทางเสียง" ได้ไกลถึง 20 กิโลเมตร และดูเหมือนว่าเสียงเล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของสัตว์ทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ "โลมา" คณะนักวิจัยทางทะเลจากมหาวิทยาลัยไฮฟา ในอิสราเอล พบว่า เสียงรบกวนจากเรืออาจส่งผลให้รูปแบบการสื่อสารและการเดินทางของโลมาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ นักวิจัยบันทึกเสียงโลมาปากขวดธรรมดาและเสียงรบกวนจากเรือขนส่งในเมืองไอลัตริมฝั่งทะเลแดงของอิสราเอล โดยใช้ระบบเอไอมาช่วยวิเคราะห์เสียงของโลมาขณะที่มีเรืออยู่ใกล้ และตอนที่ไม่มีเรือแล่นผ่าน เนื่องจากนักวิจัยไม่สามารถระบุความแตกต่างของเสียงโลมาได้ อัลกอริทึมเรียนรู้เชิงลึกศึกษา "เสียงหวีด" ของโลมา จนเผยให้เห็นว่าโลมาเปลี่ยนรูปแบบเสียงร้อง เมื่อเจอเสียงรบกวนจากเรือ ซึ่งเป็นรูปแบบการสื่อสารที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ว่าอุปกรณ์บันทึกเสียงไว้ในความลึกระดับ 50 เมตร บริเวณแนวโขดหินดอฟฟิน ใกล้กับหาดไอแลต ซึ่งเป็นจุดที่พบเห็นโลมาปากขวดเป็นประจำในอิสราเอล ด้วยการอัดเสียงอย่างยาวนาน ทำให้นักวิจัยได้เสียงจากบันทึกมาทั้งหมด 120,000 ตัวอย่าง ซึ่งระบบเอไอสามารถแยกเสียงของโลมาได้ 2 ชุด คือ เสียงร้องของโลมาตอนที่มีเรืออยู่ในละแวกใกล้ ๆ ประมาณ 60,000 ตัวอย่าง และอีกประมาณ 60,000 ตัวอย่างเป็นเสียงของโลมาในยามปรกติ นักวิจัยกล่าวว่าเอไอพัฒนาขึ้นเพื่อตรวจจับเสียงโลมามีประสิทธิภาพอย่างมาก โดยมีอัตราความแม่นยำถึง 90% ในการระบุเสียงร้องของโลมาเมื่อมีเรือมาอยู่ใกล้ ๆ พื้นที่ที่โลมาอาศัยอยู่ ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่าการใช้มนุษย์ตรวจจับ ศ. รอย ไดอามันต์ ผู้นำงานวิจัยนี้ระบุว่า "เอไอสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียงโลมาที่เกิดขึ้นเมื่อมีเสียงเรือดังในพื้นที่ แม้ว่ามนุษย์โดยทั่วไปจะไม่ได้ยินก็ตาม" ทั้งนี้ ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเสียงของโลมาแตกต่างกันอย่างไร และมีจุดใดเป็นจุดสังเกตที่ทำให้เอไอสามารถแยกแยะได้ นักวิจัยกล่าวเสริมว่า "การศึกษานี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าโลมาสื่อสารในลักษณะที่แตกต่างออกไป และพฤติกรรมการร้องของพวกมันเปลี่ยนไป เมื่อได้ยินเสียงเรือ ดังนั้นโลมาจึงได้รับผลกระทบจากเสียงของเรืออย่างแน่นอน" นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าการสัญจรทางทะเลส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลอย่างมาก และเป็นปัจจัยกระตุ้นให้สิ่งมีชีวิตอพยพย้ายถิ่น พร้อมเสริมว่ารูปแบบการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปนี้อาจทำให้โลมาอพยพออกจากพื้นที่ที่มีระดับเสียงรบกวนเพิ่มขึ้น และอาจรบกวนพื้นที่หาอาหารของพวกมัน ที่มา: The Jerusalem Post, The Print, Xinhua Thai https://www.bangkokbiznews.com/environment/1120030
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
เปิด 4 สถานการณ์ปัญหา-ส่องทิศทางออก "ทวงคืนชายหาดสาธารณะไทย" .............. นราวิชญ์ เชาวน์ดี รายงาน จากกรณี "ฝรั่งเตะหมอ" สู่กระแส "ทวงคืนชายหาดสาธารณะ" และล่าสุดวันนี้ เวทีเสวนากลางกรุง "ไม่มีใครเป็นเจ้าของชายหาด แต่?" Beach for life เปิด 4 สถานการณ์ปัญหาสำคัญหาดสาธารณะไทยวันนี้ "ปิดทางเข้า-อ้างสิทธิ-ที่ถูกกัดเซาะ-ที่ตกน้ำที่งอก" นักวิชาการชี้ "ซับซ้อนทั้งปัญหาและแนวทางแก้" เสนอใช้กลไกบอร์ดชาติจัดการ ด้านเครือข่ายทวงคืนชายหาดเสนอใช้หาดปากบาราเป็นกรณีตัวอย่าง เพราะข้อมูลพร้อม สามารถจบได้เลย จาก "กรณีฝรั่งเตะหมอ" ถึง "ทวงคืนหาดสาธารณะภูเก็ตและปากบารา" "สถานการณ์ชายหาดสาธารณะในพื้นที่ภูเก็ตเริ่มจะมีปัญหาจนกลายมาเป็นชายหาดส่วนบุคคลราว ๆ หลังจากปี 2529 เป็นต้นมา เนื่องจากการบูมของการท่องเที่ยวในจังหวัด โดยมีปัญหาหลัก ๆ คือการสร้างสิ่งก่อสร้างรุกล้ำชายหาดทำให้การเข้าถึงชายหาดยากลำบากมากขึ้น จนนำมาสู่เหตุการณ์ที่ถูกพูดถึงเมื่อไม่นานมานี้ก็คือเหตุการณ์ชาวต่างชาติทำร้ายหมอที่หาดยามูโดยอ้างว่าหมอเข้ามานั่งในพื้นที่ของตน เรื่องดังกล่าวทำให้สังคมตั้งคำถามว่าเหตุใดชายหาดซึ่งถือว่าเป็นสถานที่สาธารณะถึงมีการอ้างสิทธิในการครอบครองได้จนนำมาสู่การตรวจสอบและยืนยันแล้วว่ากรณีดังกล่าวเป็นการรุกล้ำทางสาธารณะจนนำมาสู่การเคลื่อนไหวและเรืยกร้องให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่รุกล้ำทั้งในหาดยามูที่เป็นกระแส และบริเวณหาดอื่น ๆ บนเกาะภูเก็ต" พิเชษฐ์ ปานดำ กลุ่มคนท้องถิ่นดั้งเดิมภูเก็ต กล่าวถึงกรณีฝรั่งเตะหมอที่เป็นที่มาของกระแส ?ทวงคืนชายหาดสาธารณะ? วันนี้ (28 มี.ค. 2567) ในเวที เสวนา "ไม่มีใครเป็นเจ้าของชายหาด แต่?" ซึ่งจัดโดย Beach for life และองค์กรเครือข่าย ณ SEA junction หอศิลปวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พิเชษฐ์ กล่าวเสริมว่าพื้นที่ชายหาดเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนท้องถิ่นใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อการพักผ่อน การสูญเสียพื้นที่ดังกล่าวทำให้ความตึงเครียดในพื้นที่เกิดขึ้น และถือว่าไม่สอดรับกับบริบทการเปลี่ยนภูเก็ตเป็นพื้นที่ท้องเที่ยวอย่างที่คนท้องถิ่นต้องการ นอกจากนั้นอีกหนึ่งชายหาดที่มีปัญหาในเรื่องเอกชนอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งอาจจะไม่ถูกพูดถึงมากนักในช่วงเวลาที่กระแสทวงคืนชายหาดถูกพูดถึงแต่ก็เป็นกรณีที่น่าสนใจเช่นกัน คือกรณีที่เกิดขึ้นที่หาดปากบารา ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี กลุ่มรักษ์อ่าวปากบารา เลขาธิการองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) กล่าวในเวทีเช่นกันว่า หาดดังกล่าวประชาชนในพื้นที่ใช้ประโยชน์เป็นหาดสาธารณะมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อปลายปี 2565 ที่ผ่านมามีการอ้างสิทธิของเอกชนรายหนึ่งเหนือที่ดินบนชายหาดโดยการนำเสาคอนกรีตมาปักรุกล้ำบริเวณหาดและอ้างว่าตนมีเอกสารสิทธิ์ น.ส.3ก. "บริเวณหาดปากบาราเป็นพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะจนกลายสภาพเป็นชายหาดสาธารณะมานานแล้ว จากการตรวจสอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพบว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวมีสภาพเป็นชายหาดโดยถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนกลายเป็นชายทะเลเป็นเวลา 47 ปี ตั้งแต่ปี 2518 สำหรับสถานการณ์ตอนนี้ก็ยังคงมีเสาและมีการก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ ตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าใครจะต้องเข้ามารับผิดชอบถ้าจะต้องถอนเอกสารสิทธิ์จะทำอย่างไร" วิโชคศักดิ์ กล่าว 4 ปัญหาใหญ่ "หาดสาธารณะไทย" วันนี้ อภิศักดิ์ ทัศนี หรือน้ำนิ่งจาก กลุ่ม Beach for life เครือข่ายที่ทำงานเกี่ยวกับชายหาดมาอย่างยาวนานได้สรุปภาพรวมถึงปัญหาชายหาดที่ได้รับผลกระทบจากการอ้างสิทธิของเอกชนว่ามี 4 ประเด็นที่สำคัญและน่าสนใจ 1. ปัญหาการปิดกั้นการเข้าถึงพื้นที่ชายหาดสาธารณะจนกลายเป็นการยึดชายหาดเป็นพื้นที่ส่วนตัว อย่างเช่นในกรณีที่ชายหาดเเหลมหงา จ.ภูเก็ต ทำให้ประชาชนภูเก็ตออกมาทวงคืนหาดเเหลมหงาจนกลายเป็นหาดสาธารณะอีกครั้ง 2. การรุกล้ำชายหาดสาธารณะโดยการสร้างสิ่งก่อสร้าง เช่นกรณีที่ หาดเเหลมยามู จ.ภูเก็ต ที่วิลล่าหรูสร้างบันไดรุกล้ำชายหาดสาธารณะ จนเกิดดราม่าฝรั่งเตะหมออันนำมาสู่กระแสการทวงคืนชายหาด 3. ที่ดินถูกกัดเซาะชายฝั่งจนกลายเป็นชายหาดสาธารณะ น้ำทะเลท่วมถึง ไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์เเต่เอกชนยังคงอ้างสิทธิบนชายหาด สร้างสิ่งปลูกสร้าง อาทิ ชายหาดปากบารา จ.สตูล ซึ่งเมื่อก่อนเคยมีที่ดินแต่ก็ถูกกัดเซาะจนเป็นชายหาดมานานกว่า 47 ปี แต่เอกชนที่ถือเอกสารยังอ้างว่าตนมีสิทธิ และเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ 4. กรณีที่ตกน้ำและที่งอก เนื่องจากบางพื้นที่ที่มีการสร้าง Jetty (เขื่อนกันทรายและคลื่น) ทำให้เกิดการงอกใหม่ของที่ดินริมชายหาดที่ในอดีตอาจจะจมน้ำอยู่ จนนำสู่การขอออกเอกสารสิทธิ์เป็นที่ส่วนบุคคลทำให้ชายหาดกลายเป็นที่ดิน เช่น กรณีหาดสะกอม จ.สงขลา ซับซ้อนทั้งตัวปัญหาและแนวทางแก้ "ปัญหาการเข้าถึงชายหาดสาธารณะเกิดขึ้นเยอะแยะมากมายไม่ใช่แค่ภูเก็ตที่เดียว และอาจจะมีหลายพื้นที่ที่เรายังไม่รู้ เรื่องนี้ถ้าจะพูดจริง ๆ มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลฯ กรมที่ดิน ท้องถิ่น จะทำอย่างไรให้แต่ละหน่วยงานคุยกันได้ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหา" น้ำนิ่ง กล่าว "การแก้ไขปัญหาของพื้นที่ชายหาดจะมีความซับซ้อนเนื่องจากตนมองว่า ชายหาดถือเป็นพื้นที่ริมขอบที่ดิน ริมขอบทะเล ซึ่งตัวกฎหมายในการจัดการจะซ้อนกับกันในหลายหน่วยงานซึ่งมีปัญหามาโดยตลอด บางทีถ้ามีข้อพิพาทระหว่างนายทุนกับชาวบ้าน แต่ละฝ่ายก็จะนำกฎหมายที่ฝ่ายตนได้ประโยชน์มาใช้ ในกรณีแหลมยามูกฎหมายที่ดินพูดถึงแต่สิทธิของกรรมสิทธิเอกชนแต่ไม่บอกว่าต้องเว้นทางสาธารณะ เลยไม่มีใครคิดเรื่องนี้ เมื่อไร่ที่ออกโฉนด น.ส.4จ. ให้เป็นกรรมสิทธิเอกชนแล้วจะเพิกถอนยาก ปัญหาเรื่องเพิกถอนจะเห็นว่าคนที่ออกให้ตั้งแต่แรกคือกรมที่ดินถ้าจะไปฟ้องศาลสั่งให้ถอนคนที่จะถอนคืออธิบดีกรมที่ดิน ทำให้เราเห็นว่าจะต้องแก้ประมวลกฎหมายที่ดินให้คนที่จะเพิกถอนต้องไม่ใช่คนที่ออก" ธิวัชร์ ดำแก้ว ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าว ชี้ "ขาดบูรณาการหน่วยงานรัฐ" เสนอใช้กลไก "บอร์ดชาติ" จัดการ ผศ.ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวในเวทีเสวนาว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้ปัญหาชายหาดสาธารณะยังไม่สามารถแก้ได้เป็นเพราะว่ายังไม่มีการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยตนคิดว่าสามารถใช้กลไกของ คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ให้เข้ามาช่วยดำเนินการได้ "สำหรับการจัดการในเรื่องทรัพยากรและทะเลชายฝั่ง ผมคิดว่าคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาในกรณีนี้ได้เนื่องจากคณะกรรมการฯ มีอำนาจเสนอนโยบายและแผนการบริหารจัดการให้ทั้งหน่วยงานรัฐต่าง ๆ และครม.ได้" ปริญญา กล่าว พูลศรี จันทร์คลี่ ผู้อำนวยการส่วนแผนบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้แสดงความเห็นด้วยว่าปัญหานี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพียงหน่วยงานเดียว และเห็นด้วยกับปริญญาว่าจะต้องมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐ "ในกรณีไม่มีทางลงไปสู่ชายหาดสาธารณะจะทำอย่างไร ผมคิดว่ากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสามารถเสนอแนะไปยังคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ เพื่อเวนคืน หรือขอซื้อพื้นที่ทำทางลงได้ สำหรับเรื่องที่ตกน้ำ คำพิพากษาศาลฎีกาวางหลักไว้แล้วว่าถ้าที่ใดถูกกัดเซาะจนเป็นทางน้ำแล้ว และเจ้าของไม่ได้หวงกันโดยหาทางป้องกันอย่างจริงจังที่ดังกล่าวจะตกเป็นที่ของแผ่นดินทุกครั้ง ต่อให้ในอนาคตพื้นที่ดังกล่าวงอกกลับคืนมาใหม่ก็จะถือว่าสูญเสียไปแล้ว แต่ปัญหาคือบางครั้งศาลพิพากษาแล้วแต่กรมที่ดินไม่มีการเพิกถอนโฉนด โดยรวมระบบของเราถือว่าดีประมาณ 80% แล้วแต่ปัญหาคือในทางปฏิบัติไม่มีการทำหน้าที่อย่างจริงจัง ซึ่งคิดว่าในทางกฎหมายไม่พอจะต้องมีเครื่องมือทางสาธารณะเข้ามา เช่น ประชาชนจะต้องร้องเรียนได้ ทำให้สาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมการแก้ปัญหาก็จะง่ายขึ้น" ปริญญา กล่าวถึงมาตรการแก้ไขปัญหาในรายกรณี "อีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะเสนอคือในพื้นที่ตกน้ำกรณีที่พื้นที่ดังกล่าวเป็นของชาวบ้านไม่ใช่ที่ของนายทุนก็ควรจะมีการเยียวยาชดเชยด้วย" ปริญญา เสนอ สำหรับบทบาทของคณะกรรมการธิการฯ ธิวัชร์ กล่าวว่า หลังจากนี้ตนจะใช้กระบวนการของคณะฯ โดยอาจจะตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อดูแลเรื่องชายหาดโดยเฉพาะเนื่องจากเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ และตนไม่อยากให้จบที่กรณีภูเก็ตแค่ที่เดียว เสนอใช้หาดปากบารา เป็นกรณีตัวอย่าง "กรณีปากบาราอาจจะต้องแยกออกเป็น 2 เรื่อง 1. ตรงนั้นเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ 2. การก่อสร้าง ซึ่งการก่อสร้างถ้าไม่มีการขออนุญาตจะต้องรื้อถอนแน่นอน ต่อให้มีเอกสารสิทธิแต่การก่อสร้างก็ต้องขออนุญาต การก่อสร้างต้องได้รับอนุญาต ซึ่งหน่ยวงานที่จะอนุญาตคือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ สำหรับเรื่องที่ว่าที่ดังกล่าวถือเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) ที่ระบุว่า สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ จะเห็นว่าไม่มีคำว่าชายหาด แต่ใช้คำว่าที่ชายตลิ่งที่ต้องห้ามออกโฉนด ถ้าออกมาแล้วก็ต้องเพิกถอน แล้วชายหาดเป็นที่ชายตลิ่งหรือไม่ ใช่ มีคำพิพากษาของศาลฎีการับรองมาเต็มไปหมดโดยในการเพิกถอนก็ต้องขออำนาจศาลในการเพิกถอนโดยมีกรมที่ดินเป็นแม่งาน" ปริญญา กล่าว "ในมุมของผมในกรณีปากบาราที่อ้างว่ามีเอกสาร น.ส.3ก. การเพิกถอนไม่ใช่เรื่องยาก เนื่องจากเอกชนมีแค่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งชัดเจนว่าเขาไม่ได้ทำประโยชน์แน่ ๆ เพราะว่าเอกสารจากกรมทรัพยากรทางทะเลฯ ชี้ชัดว่าเป็นชายหาดมาแล้ว 47 ปี ทำให้กลับไปสู่หน่วยงานที่ดินซึ่งผมคิดว่าเขามีอานาจในการเพิกถอน ข้อเท็จจริงมันชัดว่า พื้นที่ปากบาราเป็นพื้นที่สาธารณะเรียบร้อยแล้ว การให้เอกชนรายได้รายหนึ่งเป็นเจ้าของก็ย่อมจะต้องถูกเพิกถอนไป ผมคิดว่ากรณีปากบารามีความพร้อมสามารถแก้ไขปัญหาได้เลยเนื่องจากมีความพร้อมและมีข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงพอแล้วโดยสามารถใช้เป็นพื้นที่ต้นแบบได้" อธิวัฒน์ เส้งคุ่ย มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน และเครือข่ายทวงคืนชายหาด กล่าว https://greennews.agency/?p=37434
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|