เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 22-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ค. 67 และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและประเทศบังคลาเทศในช่วงวันที่ 25 ? 26 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย แต่จะส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 22 ? 24 พ.ค. 67 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23 ? 26 พ.ค. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 23 ? 26 พ.ค. 67 นี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 21 - 22 พ.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยทะเลมี คลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 26 พ.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน และด้านตะวันตกของประเทศไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้น ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และด้านตะวันตกของประเทศไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง

อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงวันที่ 22 - 24 พ.ค. 67 และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และประเทศบังคลาเทศ ในช่วงวันที่ 25 ? 27 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง สำหรับชาวบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดการเดินเรือในช่วงวันที่ 23 ? 26 พ.ค. 67 นี้ไว้ด้วย



******************************************************************************************************


ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน ฉบับที่ 6 (98/2567)


ในช่วงวันที่ 22-24 พ.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้


วันที่ 22 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่


วันที่ 23-24 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู และอุดรธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง และพังงา


อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ค. 67 และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและประเทศบังคลาเทศในช่วงวันที่ 25 ? 26 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย แต่จะส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 22 ? 24 พ.ค. 67 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 23 ? 26 พ.ค. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 23 ? 26 พ.ค. 67 นี้ไว้ด้วย



******************************************************************************************************



ประกาศเริ่มต้นฤดูฝน ปี พ.ศ. 2567


ประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูร้อนและเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 เนื่องจากบริเวณประเทศไทยตอนบน สภาพอากาศมีฝนตกชุกหนาแน่นครอบคลุมพื้นที่มากกว่าร้อยละ 60 และต่อเนื่อง 3 วันขึ้นไป ประกอบกับลมชั้นบนที่พัดปกคลุมประเทศไทยที่ระดับความสูงประมาณ 1.5 กิโลเมตรได้เปลี่ยนทิศเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งจะพัดนาความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่วนลมชั้นบนที่ระดับความสูงประมาณ 10 กิโลเมตร ได้เปลี่ยนทิศเป็นลมฝ่ายตะวันออก ซึ่งถือว่าเป็นการเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทยในปีนี้สำหรับฤดูฝนของประเทศไทยตอนบนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไปอีกจนถึงกลางเดือมกราคม จึงขอประกาศให้ประชาชนได้ทราบทั่วกัน












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 22-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


ข่าวดี! ลูกเต่าตนุ 85 ตัว ออกจากไข่เตรียมปล่อยกลับสู่ท้องทะเล รังสุดท้ายของฤดูกาล

ลูกเต่าตนุ 85 ตัว ออกจากไข่ อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เตรียมปล่อยกลับสู่ท้องทะเล รังสุดท้ายของฤดูกาล



เมื่อวันที่ 21 พ.ค.67?นายปรารพ?แปลงงาน?หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เปิดเผยว่า?อุทยานฯเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง ได้ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ต ติดตามการฟักของเต่าตนุ ที่พบร่องรอยการขึ้นวางไข่วันที่?5 เม.ย.67 ทางเจ้าหน้าที่ทำการย้ายไข่มาเพาะฟักหน้าที่ทำการอุทยานฯ และพบการยุบของหลุมวันที่ 21 พ.ค.67 เนื่องจากมีฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้ทรายแน่น เจ้าหน้าที่จึงทำการขุดตรวจสอบหลุมเพาะฟัก

พบลูกเต่ารอขึ้นจากหลุมจำนวน 85 ตัว รอฟัก 3 ฟอง (ฟักต่อใน?ICU Box)?ไข่ไม่ได้รับการผสม 5 ฟอง ตายโคม 2 ตัว หยุดพัฒนา 1 ฟอง (ไข่ในหลุมทั้งหมด 96 ฟอง) คิดเป็นอัตราการรอดจากหลุมเพาะฟัก 96.70% รวมระยะเวลาเพาะฟัก 46 วัน

ทั้งนี้เนื่องจากคลื่นลมมีกำลังแรง จึงทำการอนุบาลลูกเต่าตนุทั้งหมดไว้ชั่วคราว เพื่อรอปล่อยในภายหลัง


https://www.dailynews.co.th/news/3457086/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 22-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


อุทยานเกาะพีพีวางทุ่นไข่ปลา กำหนดแหล่งดำน้ำตื้นหน้าเกาะปอดะทดแทนจุดประกาศปิด



กระบี่ - อุทยานเกาะพีพีวางทุ่นไข่ปลา กำหนดแหล่งดำน้ำตื้น (Snorkeling) ทดแทนจุดที่ประกาศปิด ที่หน้าเกาะปอดะ เพื่อความปลอดภัย

นายยุทธพงศ์ ดำศรีสุข หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้ทำการวางทุ่นไข่ปลาหน้าเกาะปอดะ เขตอุทยาน ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุทางน้ำกับนักท่องเที่ยวที่ประกอบกิจกรรมเล่นน้ำและดำน้ำตื้น เป็นการทดแทนแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำตื้น (Snorkeling) ที่ประกาศปิดไปเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากสถานการณ์ปะการังฟอกขาว

นายยุทธพงศ์ กล่าวอีกว่า อุทยานมีมาตรการลดผลกระทบด้านการประกอบกิจการท่องเที่ยว ได้กำหนดจุดแหล่งท่องเที่ยวสำหรับประกอบกิจกรรมดำน้ำตื้น (Snorkeling) บริเวณเกาะปอดะ ด้านทิศตะวันออก เกาะมาตังหมิง ด้านทิศตะวันออก อ่าวหินงาม และเกาะทับ ไปจนกว่าสถานการณ์การฟอกขาวของปะการังจะคลี่คลายลง

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการทดแทนแหล่งท่องเที่ยวสำหรับประกอบกิจกรรมดำน้ำตื้น (Snorkeling) ที่ปิดไป จนกว่าสถานการณ์ปะการังฟอกขาวจะกลับมาเป็นปกติ โดยขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวห้ามนำและใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการัง ได้แก่ Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3), Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate), 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) และ Butylparaben

ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวสวมใส่เสื้อชูชีพตลอดเวลา และประกอบกิจกรรมเล่นน้ำและดำน้ำตื้นในบริเวณที่อุทยานแห่งชาติกำหนดไว้เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุทางน้ำกับนักท่องเที่ยวที่ประกอบกิจกรรมเล่นน้ำและดำน้ำตื้น


https://mgronline.com/south/detail/9670000043693

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 22-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


ฝนตกหนัก คลื่นแรง ขึ้นธงแดงตามชายหาดห้ามลงเล่นน้ำ หวั่นเกิดอันตราย

พังงา - เกิดฝนตกหนักและคลื่นลมแรงในทะเลอันดามัน ผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ต นำป้ายและธงแดงขึ้นตามชายหาดห้ามลงเล่นน้ำ หวั่นเกิดอันตราย



วันนี้ (21 พ.ค.) หลังจากเกิดฝนตกหนักจากที่ฝั่งอันดามันเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน หรือฤดูมรสุม โดยพบว่าที่ชายหาดท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มีสภาพคลื่นลมแรงพัดเข้าหาฝั่งและฝนตกหนัก ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ขึ้นธงแดงและเขียนป้ายเตือนตลอดแนวชายหาดห้ามนักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำทะเลโดยเด็ดขาด หวั่นเกิดอันตราย

นอกจากนี้ ทางผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ตในพื้นที่ชายหาดเขาหลัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ได้นำธงแดง และป้ายเตือนมาปักห้ามนักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำในทะเลอย่างเด็ดขาด โดยพบว่าตลอดแนวชายหาดทั้งวันมีคลื่นลมแรง สภาพอากาศค่อนข้างปิด เพื่อป้องกันอันตรายเนื่องจากยังคงมีคลื่นลมแรงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้นักท่องเที่ยวต่างเลือกพักผ่อนในห้องพักและเล่นน้ำในสระว่ายน้ำของโรงแรม

ด้านศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก ประกาศว่า ในช่วงวันที่ 25-27 มกราคม 2567 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้ฝั่งตะวันตกและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมทะเลอันดามันโดยเฉพาะห่างฝั่งมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในพื้นที่ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง


https://mgronline.com/south/detail/9670000043738

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 22-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


เช็ก 10 ชนิดสัตว์ป่าสงวน-สัตว์ป่าคุ้มครองในบัญชี ทส.

?ครม.มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงเกี่ยวกับสัตว์ป่า 2 ฉบับบรรจุ "วาฬสีน้ำเงิน-นกชนหิน" สัตว์ป่าสงวนเพิ่ม 8 ชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น ค่างตะนาวศรี งูหางแฮ่มกาญน์ ปลากระเบนปีศาจหางเคียว



วันนี้ (21 พ.ค.2567) น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ... และร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ....รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ..... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) ลำดับที่ 19 และนกชนหิน หรือนกหิน (Buceros vigil หรือ Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 เพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562

นอกจากนี้ ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองตามบัญชีท้าย กฎกระ ทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลทางอนุกรมวิธานปัจจุบัน ทำให้จำนวนสัตว์ป่าคุ้มครอง จากเดิมจำนวน 1,316 รายการ คงเหลือ 1,306 รายการโดยแบ่งเป็น 2 บัญชี ดังนี้

บัญชี 1 บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองที่มิใช่สัตว์น้ำ ได้แก่

- จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 176 รายการ
- จำพวกนก จำนวน 948 รายการ
- จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน จำนวน 68 รายการ
- จำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 4 รายการ
- จำพวกแมลง จำนวน 20 รายการ


ส่วนบัญชี 2 บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์น้ำ

- จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 21 รายการ
- จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน จำนวน 20 รายการ
- จำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 6 รายการ
- จำพวกปลา จำนวน 30 รายการ
- จำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำนวน 13 รายการ


รวมทั้งเพิ่ม 8 ชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวงฯ ดังนี้

- ค่างตะนาวศรี (Trachypithecus barbei)
- งูหางแฮ่มกาญจน์ (Trimeresurus kanburiensis)
- ปลากระเบนปีศาจหางเคียว (Mobula tarapacana)
- ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum)
- ปลาฉลามหัวค้อนยาว (Eusphyra blochii)
- ปลาฉลามหัวค้อนเรียบ (Sphyrna zygaena)
- ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน (Sphyrna lewini)
- ปลาฉลามหัวค้อนใหญ่ (Sphyrna mokarran)


https://www.thaipbs.or.th/news/content/340228

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:37


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger