|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคกลางมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคเหนือและภาคกลาง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณ ที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 25?26 พ.ค. 67 อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลางมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนในระยะต่อไป คาดว่า พายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศบังคลาเทศ ในช่วงวันที่ 26?27 พ.ค. 67 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 25 - 26 พ.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศเมียนมา ด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคกลางมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 30 พ.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันแล้วและมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนในระยะต่อไป คาดว่า พายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศบังคลาเทศ ในช่วงวันที่ 26?27 พ.ค. 67 ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดการเดินเรือจนถึงวันที่ 26 พ.ค. 67 ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน ฉบับที่ 12 (104/2567) มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคกลาง มีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 24?26 พ.ค. 67 อนึ่ง เมื่อเวลา 01.00 น. พายุดีเปรสชันบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 16.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 89.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศเหนือ ค่อนตะวันออกด้วยความเร็วประมาณ 11 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้มีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนในระยะต่อไป และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและประเทศบังคลาเทศ ในช่วงวันที่ 26?27 พ.ค. 67
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
อุทยานทางทะเลประกาศสถานการณ์ปะการังฟอกขาวพบ 21 แห่ง รุนแรงมาก 9 แห่ง 54 บริเวณ วันที่ 24 พฤษภาคม กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สรุปสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล ดังต่อไปนี้ สถานการณ์ปะการังฟอกขาว ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล (ข้อมูล ณ วันที่ 2 เมษายน ? 22 พฤษภาคม 2567) พบเจอปะการังฟอกขาว 21 แห่ง รายละเอียดดังนี้ 1. อุทยานแห่งชาติทางทะเลฝั่งอ่าวไทย จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า ? หมู่เกาะเสม็ด อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด อุทยานแห่งชาติหาดวนกร อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง อุทยานแห่งชาติธารเสด็จ-เกาะพะงัน และอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ (เตรียมการ) 2. อุทยานแห่งชาติทางทะเลฝั่งอันดามัน จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อุทยานแห่งชาติแหลมสน อุทยานแห่งชาติสิรินาถ อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา ? หมู่เกาะพีพี อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม อุทยานแห่งชาติกมู่เกาะเภตรา และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา โดยพบเจอปะการังฟอกขาว ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล 152 บริเวณ - ปะการังฟอกขาวรุนแรงมาก (การฟอกขาว >50%) จำนวน 9 แห่ง 54 บริเวณ - ปะการังฟอกขาวรุนแรง (การฟอกขาว 11-50%) จำนวน 12 แห่ง 56 บริเวณ - ปะการังฟอกขาวรุนแรง (การฟอกขาว 1-10%) จำนวน 12 แห่ง 39 บริเวณ - ปะการังสีซีดจาง จำนวน 1 แห่ง 3 บริเวณ -ปะการังตายจากการฟอกขาว 1-10% จำนวน 4 แห่ง 7 บริเวณ การประกาศปิดอุทยานแห่งชาติอุทยานแห่งชาติแล้ว ปิดการท่องเที่ยวประจำปี 1. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ปิดการท่องเที่ยวประจำปี (16 พฤษภาคม ? 14 ตุลาคม) 2. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ปิดการท่องเที่ยวประจำปี (16 พฤษภาคม ? 14 ตุลาคม) 3. อุทยานแห่งชาติแหลมสน ปิดการท่องเที่ยวประจำปี (16 พฤษภาคม ? 14 ตุลาคม) 4. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ปิดการท่องเที่ยวประจำปี (1 มิถุนายน ? 30 กันยายน) 5. อุทยานแห่งชาติตะรุเตา 5.1 ปิดการท่องเที่ยวประจำปี (1 มิถุนายน ? 31 กรกฎาคม) บริเวณเกาะเหล็ก เกาะบิสสี เกาะตาลัง ทิศเหนือและ ทิศตะวันออกของเกาะอาดัง 5.2 ปิดการท่องเที่ยวประจำปี (1 สิงหาคม ? 30 กันยายน) บริเวณเกาะยาง ร่องน้ำจาบัง เกาะราวี เกาะดง เกาะหินซ้อน เกาะรอกลอย ทิศตะวันตกของเกาะอาดัง เกาะซาวัง เกาะไผ่ 6. อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม 6.1 ปิดการท่องเที่ยวประจำปี (1 มิถุนายน ? 30 กันยายน) บริเวณเกาะมุก เกาะกระดาน เกาะเชือก เกาะแหวน 6.2 ปิดการท่องเที่ยวประจำปี (1 กันยายน ? 30 กันยายน) บริเวณถ้ำมรกต ปิดเนื่องจากสถานการณ์ฉุกเฉินหรือจำเป็น 1. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ได้แก่ เกาะทองหลาง, เกาะยักษ์ใหญ่, เกาะกระ และเกาะเทียน (เฉพาะกิจกรรมดำน้ำลึก) 2. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ได้แก่ แนวปะการังเกาะเหลาเหลียงเหนือ, เกาะเหลาเหลียงใต้, เกาะเบ็ง (เกาะตะเกียง), เกาะบุโหลนดอน, เกาะบุโหลนเล และเกาะบุโลนไม้ไผ่ 3. อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ได้แก่ เกาะกระดาน (กิจกรรมดำน้ำตื้นและทางน้ำ) 4. อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้แก่ กิจกรรมดำน้ำตื้น เกาะไก่ ด้านทิศเหนือ, เกาะไก่ ด้านทิศตะวันออก, เกาะไก่ ด้านทิศตะวันตก (อ่าวค้างคาว), เกาะปอดะ ทิศเหนือ (หน้ามาตังหมิง), เกาะปอดะ (อ่าวปูหยา), เกาะแดง, อ่างไร่เล (เกาะรังนกหรือเกาะแฮปปี้) และเกาะยาวาซัม และกิจกรรมดำน้ำลึก บริเวณเกาะยาวาซัม 5. อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ได้แก่ เกาะปลิง ขอบคุณภาพจาก เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat? https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_4593507
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
อ้วกวาฬ จาก "ก้อนอึ" สุดล้ำค่าของวาฬหัวทุย สู่ส่วนผสมในน้ำหอม "Chanel No.5" "อ้วกวาฬ" อึทองคำของวาฬหัวทุย แรร์ไอเทมที่ใครจะซื้อต้องควักเงินเป็นล้าน ทำไมถึงมีราคาแพง และสร้างความฮือฮาทุกครั้งที่มีการค้นพบ มองเหลี่ยมไหนก็ยังไม่เห็นทางว่า ทั้ง "อ้วก" หรือ "ขี้" จะกลายเป็นสิ่งของที่มีมูลค่าการซื้อขายเป็นร้อยล้านได้ยังไง นอกเสียจาก "อ้วกวาฬ" สมบัติแห่งท้องทะเล ที่ว่ากันว่าใครก็ตามที่เก็บอ้วกวาฬได้เหมือนถูกหวยรางวัลที่หนึ่ง กรณีล่าสุด น้องทิว วัย 16 ปี อาศัยอยู่ที่ บ้านเลขที่ 235 หมู่ 1 ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ได้พบอ้วกวาฬที่ริมชายหาด โดยก้อนดังกล่าวมีลักษณะสีเทาดำ มีกลิ่นคาว น้ำหนัก 1.3 กก. โดยทางน้องทิวยืนยันว่าต้องการขายเพื่อนำมาซื้ออุปกรณ์ประมง สปริงชวนทำความรู้จักอ้วกวาฬ ทำความรู้จัก "อ้วกวาฬ" คืออะไร? ข้อมูลจาก องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ระบุไว้ว่า อำพันทะเล หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อ "อ้วกวาฬ" คำถามคือเจ้าก้อนที่เห็นนี้มีที่มาอย่างไร ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า วาฬหัวทุยนิยมกิน "ปลาหมึก" เป็นอาหารจานโปรด แต่เจ้าวาฬไม่สามารถย่อยไขมันของปลาหมึกได้ ทำให้ก้อนไขมันนั้นสะสมอยู่ในลำไส้ กระทั่งร่างกายขับก้อนของเสียนั้นออกมา หากออกทางปากก็เรียกอ้วก หากขับถ่ายออกมาก็เรียกขี้ เมื่อก้อนไขมันถูกกระแสน้ำ พวกสสารอื่น ๆ ก็ย่อยสลายไป เหลือแต่ก้อนไขมันเพียว ๆ เพราะไม่สามารถย่อยสลายได้ อพวช. ระบุว่า ในช่วงแรกกลิ่นของอ้วกวาฬเหม็นชนิดต้องเบือนหน้าหนี แต่ผ่านเวลาไปสักพัก แสงแดดและน้ำทะเลจะทำปฏิกิริยากับอ้วกวาฬ จนกลายสภาพเป็นก้อนสีขาว น้ำตาล เทา หรือสีดำแบบที่เราเห็นกัน ทำไมถึงหายาก แถมมีราคาแพงมาก? ปัจจุบัน วาฬหัวทุยจัดอยู่ในสถานะเสี่ยงสูญพันธุ์ แม้จะสามารถพบได้ตามน่านน้ำทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย แต่ก็วนเข้าเรื่องเดิมคือถูกล่า ถูกเรือชน จนประชากรร่อยหรอลงไปเรื่อย ๆ ข้อมูลจาก National Wildlife Federation ระบุว่า เหลือวาฬหัวทุยอยู่ประมาณ 3 แสนตัว อีกหนึ่งเหตุผลคือเป็นวัตถุดิบที่มีดีมานด์สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมน้ำหอม ว่ากันว่าก้อนอำพันให้กลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ สร้างเลเยอร์ให้กับกลิ่นได้ดี แม้แต่ Chanel No.5 น้ำหอมสุดคลาสสิคก็ยังเลือกใช้อ้วกวาฬเป็นหนึ่งในส่วนผสม ดังนั้น สาวกชาแนลทั้งหลายคุณกำลังฉีดอ้วกวาฬใส่ตัวอยู่นะ แต่ใครแคร์เพราะหอมมาก จริงไหม? ที่มา: อพวช.
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
สิ่งแวดล้อม-มลภาวะ ยืนหนึ่ง! คนไทยวิตกมากที่สุด กระทบคุณภาพชีวิตถึง 74% SHORT CUT - การสำรวจของมาร์เก็ตบัซซ์ จับมือกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ให้เห็นว่า สิ่งแวดล้อม และมลภาวะ ครองแชมป์ปัญหาที่คนไทยวิตกกังวลมากที่สุดในปี 2567 - กว่า 74% คิดว่าสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และอีก 37% ยังมีความกังวลอีกว่า สภาพแวดล้อมจะเลวร้ายลงไปอีกในอีก 5 ปีข้างหน้า - ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คนไทยกังวลมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ภาวะโลกร้อน (ร้อยละ 30) มลภาวะทางอากาศ (ร้อยละ 27) การเปลี่ยนแปลงของอากาศ/อุณหภูมิ (ร้อยละ 22) เปิดผลสำรวจ ปี 2567 มาร์เก็ตบัซซ จับมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังคงกังวลเรื่อง ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลภาวะมากที่สุด กระทบคุณภาพชีวิตมากถึง 74% แต้แม้จะเห็นว่าเป็นปัญหา แต่ก็ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม คนไทยกังวลเรื่องอะไรมากที่สุด ในปี 2567? การสำรวจในครั้งนี้เป็นการร่วมมือกันของมาร์เก็ตบัซซ์ กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า สิ่งแวดล้อม และมลภาวะ ครองแชมป์ปัญหาที่คนไทยวิตกกังวลมากที่สุดในปี 2567 การสำรวจทำนองนี้ถูกทำมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2562 โดยสอบถามประชาชนไทยเกี่ยวกับ 5 อันดับแรกของความกังวลต่อสาธารณะ โดยผลการสำรวจล่าสุดในปี 2567 มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 1,000 คน ในเดือนเมษายน 2567 พบว่า สิ่งแวดล้อมยังคงติดอันดับสิ่งที่คนไทยกังวลมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30 ของผู้ตอบแบบสอบถาม รองลงมาคือเรื่องของค่าครองชีพ คิดเป็นร้อยละ 28 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งทั้งสองหัวข้อนี้ก็เป็นสิ่งที่คนไทยกังวลมากที่สุดจากการสำรวจในปี 2566 เช่นกัน โดยการสำรวจนี้อยู่ในบริบทที่เกี่ยวกับความกังวลหลัก ๆ ของประชาชนที่มีต่อประเทศ ซึ่งรวมถึงการทุจริตคอร์รัปชั่นของหน่วยงานรัฐ, งานสาธารณสุข, การจราจร, อาชญากรรมและสภาพเศรษฐกิจโดยรวม สิ่งแวดล้อมกระทบคุณภาพชีวิตคนไทย 74% จากผลสำรวจปี 2567 ชี้ให้เห็นว่าความกังวลของคนไทยด้านสิ่งแวดล้อมยังทวีความรุนแรงขึ้น สูงถึงร้อยละ 74 และรู้สึกว่า สิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิต ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนร้อยละ 37 ยังมีความกังวลอีกว่า สภาพแวดล้อมจะเลวร้ายลงไปอีกในอีก 5 ปีข้างหน้า คนไทยเห็นปัญหา แต่ก็ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม! แม้จะมีความกังวลในเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือเรื่องค่าครองชีพ แต่กลับพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ซึ่งยังมีช่องว่างให้รณรงค์และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างยั่งยืนต่อไป แต่อย่างไรก็ดี การสำรวจในครั้งนี้ได้ลิสต์พฤติกรรมที่คนไทยร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ มี 3 ข้อ ดังนี้ - ไม่สนับสนุนการซื้อขาย/บริโภคสินค้าของป่า ของลักลอบหรือผิดกฎหมาย (ร้อยละ 37) - การลดการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ร้อยละ 34) - การใช้ถุงและบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (ร้อยละ 33) มร.แกรนท์ บาร์โทลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมาร์เก็ตบัซซ กล่าวว่า "ในบรรดาความกังวลของประชาชนนั้น ปัญหาสิ่งแวดล้อม และค่าครองชีพที่สูงขึ้นยังคงเป็นความกังวลหลักของประเทศไทย แม้ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมจะครองอันดับหนึ่ง แต่การเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวันกลับเป็นเรื่องที่ท้าทายมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องพยายามสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกเพื่อให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้น" ภาคธุรกิจกระโดดร่วมวงช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผลการสำรวจยังเผยว่า ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับภาคธุรกิจ โดยจะเห็นว่ามีบริษัทหรือองค์กรที่ให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมจำนวนมากขึ้น โดยในปีนี้ มีถึง 4 บริษัทที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมในระดับเกินกว่า 40% ได้แก่ ทรู, ปตท, ซัมซุง และเอไอเอส มร.แกรนท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า คนไทยมีความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบหลักในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประชาชนคาดหวังให้รัฐบาลมีบทบาทสำคัญ แต่ในขณะเดียวกัน ประชาชนเองก็มีความรับผิดชอบร่วมด้วยเช่นกัน โดยคาดหวังให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ชัดเจนคือ คนไทยต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงและพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนั้น" ผลการสำรวจยังระบุว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คนไทยกังวลมากที่สุด 3 อันดับแรก - ภาวะโลกร้อน (ร้อยละ 30) - มลภาวะทางอากาศ (ร้อยละ 27) - การเปลี่ยนแปลงของอากาศ/อุณหภูมิ (ร้อยละ 22) สำหรับสาเหตุของปัญหามลภาวะทางอากาศ คนไทยมีความเห็นที่หลากหลาย โดยสาเหตุ 5 อันดับแรก ได้แก่ ควันจากท่อไอเสียในการใช้รถยนต์ (ร้อยละ 30) การเผาขยะหรือผลิตผลทางการเกษตร (ร้อยละ 26) การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากโฟมหรือพลาสติก (ร้อยละ 23) สารเคมีที่ใช้ในการก่อสร้าง รวมถึงฝุ่น ควันต่างๆ (ร้อยละ 22) และการเผาไหม้เชื้อเพลิง จากถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ (ร้อยละ 21) ผศ.ดร.ประภาภรณ์ ติวยานนท์ มงคลวนิช คณบดีวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่คนไทยตระหนักถึงภัยคุกคามจากภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมลภาวะต่อชีวิตที่พวกเรากำลังเผชิญมากขึ้น แม้ว่าต้องเผชิญกับความท้าทายอื่นๆ อีกมากมายก็ตาม งานวิจัยส่วนใหญ่ของวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจ ความท้าทายต่างๆ ผ่านสาขาวิชาที่หลากหลายและมุ่งเน้นให้ความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนให้กับนักศึกษา ซึ่งจะเป็นผู้นำในอนาคตของประเทศไทย ให้พวกเขามีส่วนร่วมในการรณรงค์และผลักดันเรื่องสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน? ผศ.ดร.ประภาภรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า แม้จะมีความตระหนักสูง แต่ยังคงมีช่องว่างระหว่างความตระหนักกับการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องแก้ไข "เราควรพิจารณาแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมให้บุคคลและองค์กรต่างๆ เลือกทางเลือกที่ยั่งยืนได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญที่สุดคือ ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการปกป้องสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับนโยบายของภาครัฐ" "ดังนั้น ไม่สายเกินไปที่เราจะมีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้ เราทุกคนจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ต่างฝ่ายควรทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม" https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/850550
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|