|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 19 พฤษภาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและ อ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 19-24 พ.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 19 - 24 พ.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ปลาย่ำสวาท ยอดวัตถุดิบจากทะเลตราด ปลาทะเลเนื้อดี ทำรายได้งามให้เกษตรกร ของดีจากทะเลตราด มาแล้วต้องได้ลอง คือ ปลากะรังจุดฟ้า หรือ "ปลาย่ำสวาท" ปลาทะเลไทยเนื้อดีมีราคาแพง เมื่อก่อนเป็นอาชีพเสริม ขณะนี้เลี้ยงกระชังขายส่งร้านอาหารเป็นอาชีพหลัก เหมาะทำต้มยำ-ซาชิมิ เมื่อวันที่ 18 พ.ค.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่จังหวัดตราด มีวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำอาหารอีก 1 ชนิดที่น่าสนใจ และยังเป็นของที่มีราคาแพง นั่นคือ ปลากะรังจุดฟ้า หรือว่าปลาย่ำสวาท ถือเป็นปลาประจำจังหวัด ที่มีนักท่องเที่ยวหากได้มาที่ตราดแล้ว ต้องนิยมรับประทานมาก เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา การหาปลาย่ำสวาทเป็นอาชีพเสริมให้ชาวประมงในพื้นที่ สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเพราะเป็นปลาเนื้อดี มีราคาแพงมาก จนขณะนี้กลายมาเป็นงานหลักที่ต้องนำปลาย่ำสวาทไปส่งยังร้านอาหารต่างๆ ตามออเดอร์ นายสมชาย อานามพงษ์ ประธานประชาคมหมู่บ้านคลองสน หมู่ 3 ต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด เจ้าของกระชังปลาย่ำสวาท กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการเลี้ยงปลา ก็ออกไปทำประมงหาปลา เพื่อที่จะส่งร้านอาหารในพื้นที่เกาะช้าง ปลาย่ำสวาท เป็นปลาที่จับมาเท่าไรก็ไม่เคยพอ ประกอบกับราคาปลาค่อนข้างสูง จึงนำลอบไปวางดักปลาย่ำสวาทไปขาย ส่วนตัวเล็กที่ติดอวนก็นำมาใส่กระชังเลี้ยง อีกส่วนหนึ่งก็จะซื้อลูกปลามาเลี้ยง เลี้ยงประมาณ 8 เดือน ถึง 1 ปี จะขายได้น้ำหนักตัวประมาณ 1 กิโลกรัม จำหน่ายอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 1,000 บาท ปัจจุบันมีกระชังปลาย่ำสวาทอยู่ 10 กระชัง กระชังละ 150 ตัว ประธานประชาคมหมู่บ้านคลองสน กล่าวต่อว่า สำหรับการเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้า หรือ ปลาย่ำสวาท ต้องนำเหยื่อเป็นลูกปลาตัวเล็กมาให้ 2 วันต่อครั้ง ถึงเวลาอาหารปลาก็จะกรูกันเข้ามา เหมือนปลาคาร์ปที่เลี้ยงสวยงาม แต่อันนี้เลี้ยงแล้วเพลิดเพลินดี นายสมชาย กล่าวด้วยว่า ช่วงนี้สถานการณ์โควิด-19 ระบาด ส่งผลให้ปลาย่ำสวาทของตนเองก็ได้รับผลกระทบ นักท่องเที่ยวไม่มี ร้านอาหารไม่เปิด ปลาย่ำสวาทก็ขายไม่ได้ แต่ก็มีจำหน่ายให้กับคนที่มารับซื้อเองถึงกระชัง หรือคนในพื้นที่เกาะช้าง ส่วนมากจะนิยมนำไปทำปลาดิบกินแล่เนื้อสดๆ แบบซาชิมิ หรือไม่ก็ทำต้มยำ. https://www.thairath.co.th/news/local/east/2095561
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
'ฝูงฉลามหูดำ' เริงร่า! ว่ายน้ำโชว์ตัวติดชายหาดเกาะห้อง ในช่วงที่ปิดอุทยานจากโควิด วันนี้ (18 พฤษภาคม 2564) นายจำเป็น ผอมภักดี หัวหน้าหน่วยพิทักษ์หมู่เกาะห้อง อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านท่าเลน ตำบลเขาทอง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ได้ส่งคลิปฉลามหูดำที่บันทึกได้เมื่อช่วงเช้าวันนี้มาฝากให้ทุกคนได้ชื่นชม พร้อมบอกว่า "ฝูงฉลามว่ายน้ำเล่นกันอย่างสนุก และว่ายน้ำเร็วมาก ไม่เคยเห็นเขาเล่นกันอย่างนี้มาก่อน" ซึ่งในขณะนี้ อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี อยู่ระหว่างปิดทำการท่องเที่ยวภายในอุทยานฯ เป็นการชั่วคราวมาตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID) -19 จากวิกิพีเดีย ระบุว่า ปลาฉลามครีบดำ หรือ ปลาฉลามหูดำ (อังกฤษ: Blacktip reef shark; ชื่อวิทยาศาสตร์: Carcharhinus melanopterus) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเพรียวยาว ปากกว้าง มีแถบดำที่ครีบหลัง ครีบไขมัน ครีบก้น และครีบหางตอนล่าง เป็นที่มาของชื่อ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยไม่ดุร้ายเมื่อเทียบกับปลาฉลามชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณใกล้ชายฝั่ง และอาจเข้ามาในบริเวณน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำ โดยสามารถเข้ามาหากินใกล้ชายฝั่ง แม้กระทั่งในพื้นที่ ๆ มีน้ำสูงเพียง 1 ฟุต เป็นปลาหากินในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวพักผ่อนตามแนวปะการัง โดยจะหากินอยู่ในระดับน้ำความลึกไม่เกิน 100 เมตร ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ตัวเมียตั้งท้องนาน 18 เดือน ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 2-4 ตัว เมื่อโตขึ้นมาแล้วสีดำตรงที่ครีบหลังจะหายไป คงเหลือไว้แต่ตรงครีบอกและครีบส่วนอื่น ปลาฉลามหูดำ นับเป็นปลาฉลามชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในทะเล และเป็นต้นแบบของปลาฉลามในสกุลปลาฉลามปะการัง มีนิสัยเชื่องคน สามารถว่ายเข้ามาขออาหารได้จากมือ จึงเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้ที่นิยมการดำน้ำ พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นิยมใช้บริโภคโดยเฉพาะปรุงเป็นหูฉลาม เมนูอาหารจีนราคาแพง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้วย https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000047948
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
ไม่พบ "สารไฮดราซีน" ตกค้างในถังจรวดเชื้อเพลิงจมทะเลภูเก็ต ศรชล.ภาค 3 ร่วมกับจิสด้า ร่วมเก็บกู้ถังเชื้อเพลิงจรวดที่พบบริเวณเกาะแอล จ.ภูเก็ต นักวิชาการ ยืนยันไม่พบ "สารไฮดราซีน" ที่เป็นเชื้อเพลิงที่บรรจุในถัง และไม่พบสภาพแวดล้อมใต้ทะเลมีผลกระทบ ด้านผอ.จิสด้า ชงเสนอ ?กฎหมายอวกาศ? คุ้มครองขยะอวกาศ กรณีศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ภาค 3 กองทัพเรือ ประสานความร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) ส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมวางแผนการเก็บกู้ถังเชื้อเพลิงของจรวดที่ถูกนำส่งขึ้นสู่อวกาศ ค้นพบที่บริเวณเกาะแอล จ.ภูเก็ตได้สำเร็จแล้ว วันนี้ (18 พ.ค.2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) แถลงผลการตรวจสอบพบว่า สารไฮดราซีน ที่เป็นเชื้อเพลิงที่บรรจุในถังเชื้อเพลิง น่าจะถูกใช้งานจนหมดเรียบร้อย ประกอบกับการตรวจสอบพื้นที่โดยรอบจุดที่พบ สภาพแวดล้อมทางทะเลปกติมีสัตว์น้ำ ปะการัง หอยเม่น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่ทำให้มั่นใจได้ว่าวัตถุดังกล่าว ไม่ได้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ในการเก็บกู้ เจ้าหน้าที่ได้ใช้ความระมัดระวังและป้องกันอย่างเต็มที่ ทั้งทีมเก็บกู้และยุทโธปกรณ์ที่ใช้มีความปลอดภัย ยืนยันว่าการดำเนินการทั้งหมด ศรชล.ภาค 3 ตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยประชาชน เจ้าหน้าที่ และผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลในพื้นที่เป็นอันดับแรก ซึ่งหลังตรวจสอบแล้วจะจะทำการส่งมอบวัตถุดังกล่าวให้กับจิสด้า เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยต่อไป ภาพ:ศรชล.ภาค 3 ชี้ไทยลงนามแค่ 2 ฉบับ-ต้องส่งขยะอวกาศคืนเจ้าของ ด้านดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผอ.สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) กล่าวว่า ประเด็นชิ้นส่วนขยะอวกาศ มีการพูดถึงกันบ่อยขึ้น เพราะในอวกาศมีวัตถุอวกาศมากขึ้นเรื่อยๆ รวมแล้วเป็นแสนๆชิ้นดังนั้นอาจจะได้รับผลกระทบไม่วันใดก็วันหนึ่ง ทำให้ไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา 2 ฉบับจาก 5 ฉบับที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับประเด็นการคุ้มครองขยะอวกาศ คือ สนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจและการใช้อวกาศภายนอก รวมทั้งดวงจันทร์ และเคหะในท้องฟ้าอื่นๆ ค.ศ.1967 และอีกฉบับคือความตกลงว่าด้วยการช่วยชีวิตนักอวกาศ การส่งคืนนักอวกาศ และการคืนวัตถุที่ส่งออกไปในอวกาศภายนอก ค.ศ.1968 การเจอชิ้นส่วนถังเชื้อเพลิงจรวดที่ จ.ภูเก็ต จึงเท่ากับว่าประเทศไทย ต้องมีความรับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมอวกาศ เมื่อมีชิ้นส่วนจากอวกาศไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามตกในไทย ต้องส่งคืนชิ้นส่วนจากอวกาศให้แก่ประเทศผู้เป็นเจ้าของวัตถุอวกาศทันที หากมีการร้องขอจากประเทศผู้เป็นเจ้าของวัตถุอวกาศชิ้นนั้น "ตอนนี้ยังไม่สามารถชี้ชัดว่าใครเป็นเจ้าของถังเชื้อเพลิงของจรวดตกกลางทะเลภูเก็ต และไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดเสียหาย จากวัตถุอวกาศนี้ จึงยากที่จะหาคนมารับผิดชอบ" แต่หลักการหากบุคคลทั่วไปหรือประชาชน เป็นผู้พบวัตถุอวกาศตกในอาณาเขตไทย จึงต้องแจ้งต่อพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในท้องที่ให้ทราบโดยเร็ว ภาพ:ศรชล.ภาค 3 ขยะอวกาศนับแสนชิ้น-ไทยออกกฎหมายคุ้มครอง ดร.ปกรณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้จิสด้า มีความเห็นว่าไทยควรเร่งเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาอีก 3 ฉบับที่เหลือว่าด้วยความรับผิด ระหว่างประเทศสำหรับความเสียหายที่เกิดจากวัตถุอวกาศ ค.ศ.1972 และอนุสัญญาว่าด้วยความรับจากวัตถุอวกาศ ค.ศ.1975 อย่างเร่งด่วน เพราะจะคุ้มครองคนไทยได้ดีกว่าการปรับใช้สนธิสัญญาอวกาศ ค.ศ.1967 และความตกลงว่าด้วยการช่วยเหลือและส่งกลับฯ ค.ศ.1968 เนื่องจากการดำเนินกิจกรรมอวกาศมีมากขึ้น ความเสี่ยงภัยที่คนไทยจะได้รับยิ่งก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามมา ส่วนไทยหลังจากคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ และคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เห็นชอบร่างพ.ร.บ.กิจการอวกาศ พ.ศ..เมื่อวันที่ 19 ต.ค.2563 ขั้นตอนจากนี้ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เตรียมร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) https://news.thaipbs.or.th/content/304441
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE
หรือโลกกำลังเผชิญการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่อีกครั้ง เมื่อสัตว์ทะเลอพยพออกจากเส้นศูนย์สูตร .................... The Conversation มหาสมุทรในเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตรนั้นเป็นพื้นที่ที่มีสายพันธุ์สัตว์ทะเลหลากหลายมากที่สุดในโลก เต็มไปด้วยแนวปะการังสีสวยสดใส ฝูงปลาทูน่าจำนวนมาก เต่าทะเล กระเบนราหู ฉลามวาฬ และสายพันธุ์สัตว์ชนิดอื่นๆ มากมายจนนับไม่ถ้วน แต่ยิ่งเข้าใกล้ขั้วโลกมากเท่าไร สัตว์น้ำเหล่านี้จะมีจำนวนน้อยลง นักนิเวศวิทยาสันนิษฐานว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมารูปแบบการใช้ชีวิตของสัตว์ทะเลจะคงเสถียรภาพแบบนี้ จนกระทั่งปัจจุบัน มีงานวิจัยที่ระบุว่ามหาสมุทรบริเวณรอบ ๆ เส้นศูนย์สูตรเริ่ม 'ร้อน' เกินไปสำหรับสัตว์ทะเลหลายชนิด พวกมันจะไม่รอดหากอาศัยอยู่ในน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิสูงเกินไป ซึ่งตัวการสำคัญของเหตุการณ์นี้คือ 'ภาวะโลกร้อน' หรือสามารถอธิบายได้ว่าตอนนี้สภาพของโลกกำลังเปลี่ยนแปลง สัตว์หลายสายพันธุ์กำลังอพยพไปอาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำเย็นขึ้น ใกล้กับขั้วโลกมากขึ้น สถานการณ์นี้มีแนวโน้มว่าจะกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและวิถีชีวิตมนุษย์ ย้อนกลับไปเมื่อ 250 ล้านปีก่อนได้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น และในตอนนั้นมีสัตว์ทะเลกว่า 90% จากสายพันธุ์ทั้งหมดตายลง ภาพวาฬหลังค่อมถูกถ่ายได้บริเวณเกรทแบริเออร์รีฟ ? Paul Hilton / Greenpeace สถิติและกราฟบ่งบอกถึงภาวะอันตราย โดยปกติแล้ว โลกจะมีสายพันธุ์สัตว์เกิดขึ้นไกลจากขั้วโลก และมีจำนวนมากบริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งเป็นสถานที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสายพันธุ์สัตว์หลากหลาย หากเราย้อนกลับไปดูสถิติการบันทึกสายพันธุ์สัตว์ทะเลที่บันทึกได้กว่า 50,000 สายพันธุ์ตั้งแต่ ปี 2498 ซึ่งพบว่าสถิติเหล่านี้เมื่อแปลงเป็นกราฟแล้ว กราฟพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้เขียนรายงาน แอนโทนี่ ริชาร์ดสัน อธิบายว่า ถ้าลองวิเคราะห์จากกราฟข้างบน เราจะเห็นได้ว่าในช่วงปี ค.ศ.1955 ? 1974 (พ.ศ.2498-2517) ความหลากหลายของสายพันธุ์สัตว์ทะเลลดลงเล็กน้อย แต่ในหลายทศวรรศหลังจากนั้น กราฟแสดงให้เห็นว่าสัตว์น้ำใกล้เส้นศูนย์สูตรลดลงไปอย่างมาก ดังนั้น เมื่อมหาสมุทรของเราอุ่นขึ้น สัตว์ทะเลทั้งหลายจึงจำเป็นต้องอพยพเพื่อหาแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีอุณหภูมิเหมาะสมกับการใช้ชีวิต พวกมันเริ่มย้ายขึ้นมาใกล้กับขั้วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าภายใน 50 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิทะเลบริเวณเส้น 0.6 จะสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับอุณหภูมิที่เส้นละติจูดที่เพิ่มสูงกว่า แต่สัตว์ทะเลเหล่านี้ต้องอพยพอยู่ดี เพราะการจำกัดความร้อนในร่างกายยังจำกัดเมื่อเทียบกับสายพันธุ์สัตว์จากแหล่งอื่นๆ มหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นั่นทำให้จำนวนสัตว์ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรลดลงไปอีก จากที่เราเคยคาดการณ์ประมาณ 5 ปีก่อนโดยใช้แบบจำลองมาช่วยคำนวน ในตอนนี้สิ่งที่คาดไว้กลายเป็นที่ประจักษ์แล้ว สัตว์ 10 สายพันธุ์หลักๆที่เราศึกษา เช่น ปลาทะเล ปลาในแนวปะการัง และหอย พบว่า หากอุณหภูมิผิวน้ำเปลี่ยนแปลงไปมากกว่า 20 องศาเซลเซียส ก็จะส่งผลให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจต้องหมดไปหรือลดจำนวนลง ปัจจุบัน ซีกโลกเหนือเส้นศูนย์สูตรมีสายพันธุ์สัตว์ทะเลที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุด โดยอยู่ที่เส้นละติจูดที่ 30 (ทางตอนใต้ของจีนและเม็กซิโก) และเส้นละติจูดที่ 20ตอนใต้ (ทางตอนใต้ของออสเตรเลียและบราซิลใต้) ภาพกระเบนว่ายอยู่บนอ่าวปะการัง Raja Ampat ในปาปัว อินโดนีเซีย ? Paul Hilton / Greenpeace เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อน ปรากฎการณ์ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่ หากพิจารณาว่าสิ่งมีชีวิตทั่วโลกมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วกับภาวะโลกร้อนมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อกว่า 252 ล้านปีก่อน โดยในช่วง 252 ล้านปีที่แล้วที่มีเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ซึ่งเป็นยุคสิ้นสุดยุคเพอร์เมียน ในตอนนั้นอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 10 องศาเซลเซียสในช่วง 30,000-60,000 ปี เนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภูเขาไฟระเบิดในดินแดนที่คาดว่าเป็นไซบีเรียในปัจจุบัน นอกจากนี้งานวิจัยในปี 2563 เกี่ยวกับฟอสซิล แสดงให้เห็นว่าจุดสูงสุดของความหลากหลายของสายพันธุ์สัตว์มียอดกราฟค่อนข้างแบนและกระจายตัว ซึ่งในช่วงเวลานั้น ช้างแมมมอธ เป็นตัวแปรสำคัญในการมีอยู่ของสายพันธุ์สัตว์ ตอนนั้นมีสายพันธุ์สัตว์ทะเลตายไปกว่า 90% และหากเราถอยหลังไปอีก 125,000 ปีก่อน ทั้งนี้ พบว่าวิจัยในปี 2555 ระบุว่าก่อนหน้านี้ในช่วงที่ 125,000 ปีก่อน โลกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดปรากฎการณ์ที่ปะการังย้ายแหล่งกำเนิดออกจากเขตร้อน ตามบันทึกเกี่ยวกับสถิติปริมาณฟอสซิล และผลที่ได้คือรูปแบบที่คล้ายกันเหมือนตัวอย่างที่เราได้อธิบายไป แม้ว่าจะไม่เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ก็ตาม ผู้เขียนรายงานแนะนำว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากปัญหาภาวะโลกร้อนที่เราเผชิญอยู่ อาจเรียกได้ว่าการที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ปรับตัวเพื่อเอาชีวิตรอดโดยการอพยพออกจากเส้นศูนย์สูตรเป็นสัญญาณเตือนถึงการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ในช่วงยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด ซึ่งยุคนี้ยุติลงเมื่อ 15,000 ปีก่อน ความอุดมสมบูรณ์ของโปรโตซัว หรือ สัตว์เปลือกแข็ง มีเซลล์เดียว หรือที่เราเรียกว่าแพลงก์ตอน เพิ่มสูงที่สุดบริเวณเขตร้อนชื้นและค่อยๆลดลงตั้งแต่นั้น แพลงก์ตอนนี้เองคือสายพันธุ์ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในห่วงโซ่อาหาร นอกจากนี้งานวิจัยยังระบุอีกว่าความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอนลดลงเชื่อมโยงกับยุคที่มนุษย์เริ่มทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ผลกระทบที่ร้ายแรง เมื่อระบบนิเวศบริเวณเขตร้อนชื้นสูญเสียสายพันธุ์สัตว์ทะเล นั่นหมายถึงความสามารถในการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศลดลง และลดความต้านทานในการปรับตัวของระบบนิเวศนั้นๆ เมื่อเป็นแบบนี้ในระบบนิเวศระดับย่อย ๆ ของเขตร้อนชื้นอาจไม่สมดุล สายพันธุ์สัตว์อุดมสมบูรณ์ขึ้นหมายถึงจำนวนสายพันธุ์สัตว์บางประเภทอาจมีจำนวนมากเกินไป ยกตัวอย่างเช่นหลังจากนี้ สัตว์ที่ถูกล่าอาจมีจำนวนมากเกินไปสำหรับผู้ล่า รวมทั้งความสัมพันธ์ในห่วงโซ่อาหารอาจเปลี่ยนแปลง เช่น ปลาเขตร้อน อพยพไปยังอ่าวซิดนีย์และกลายเป็นคู่แข่งกับปลาท้องถิ่นอื่น ๆ ที่อาศัยและหาอาหารอยู่ที่นั่นก่อนแล้ว ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อาจนำไปสู่ความล้มเหลวของระบบนิเวศ เหมือนกับช่วงรอยต่อของยุคเพอร์เมียนและยุคไทรแอสซิก ซึ่งมีสัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์และแหล่งอาหารสำหรับระบบนิเวศได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล การเปลี่ยนแปลงข้างต้นที่เราอธิบายจะยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อวิถีชีวิตของมนุษย์เรา กล่าวคือประเทศที่เป็นหมู่เกาะต่าง ๆ ในบริเวณเขตร้อนมักพึ่งพาอาชีพประมง พวกเขามีรายได้จากการจับปลา เช่น ปลาทูน่า จากการได้รับอนุญาตให้ประมงในน่านน้ำที่เป็นเขตของตนเอง แต่ปลาทูน่าเป็นปลาที่เคลื่อนย้ายฝูงอย่างรวดเร็ว และพวกมันก็มีแนวโน้มจะเคลื่อนที่อพยพไปยังพื้นที่กึ่งเขตร้อนชื้น และนั่นอาจทำให้มันอพยพไปยังน่านน้ำที่อยู่เหนือประเทศหมู่เกาะเหล่านี้ ฝูงทูน่าสคิปแจ๊ค ว่ายอยู่รอบๆช่ายภาพยนตร์และนักวิทยาศาสตร์ Stefan Andrews. St Francis ? Great Australian Bight. ? Michaela Skovranova / Greenpeace นอกจากนี้ สายพันธุ์ปะการังสำคัญกับชาวประมงพื้นบ้าน ปะการังดึงดูดสัตว์ขนาดใหญ่เช่นฉลามวาฬ กระเบน และเต่าทะเล ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ก็ยังจะอพยพออกไปยังเขตกึ่งร้อนชื้น การเคลื่อนย้ายของสัตว์น้ำที่กล่าวไปจะทำให้ประเทศในเขตร้อนไม่สามารถทำตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ UN ที่เกี่ยวกับการลดความอดอยากและการปกป้องสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร เพื่อไม่ให้สัญญาณเตือนเกิดขึ้นจริง เราทำอะไรได้บ้าง หนึ่งในทางออกนั้นคือ "ความตกลงปารีส" (the Paris Climate Accords) และทั่วโลกต้องรีบออกมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังและเร่งด่วน นอกจากทางเลือกนี้ โอกาสอื่น ๆ ที่จะช่วยปกป้องระบบนิเวศทางทะเลเหล่านี้เอาไว้คือการปกป้องระบบนิเวศในมหาสมุทรเพื่อไม่ให้เกิดการอพยพออกจากเส้นศูนย์สูตรหรือเกิดน้อยที่สุด ในตอนนี้มีพื้นที่ของมหาสมุทรประมาณ 2.7% เท่านั้นที่ได้รับการคุ้มครอง เป็นเขตคุ้มครองทางทะเลและมหาสมุทรอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งในการประชุมเรื่องความหลากหลายของระบบนิเวศโดย UN นั้น มีข้อตกลงว่าจะต้องปกป้องพื้นที่เพิ่มเป็น 10% ภายใน พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตาม ตอนนี้มีกลุ่มประเทศ 41 กลุ่มที่กำลังผลักดันให้มหาสมุทรได้รับการคุ้มครองไปถึง 30% จากพื้นที่ทั้งหมดภายในปี พ.ศ.2573 เป้าหมาย 30?30 จะช่วยให้อุตสาหกรรมทุกรูปเข้าไปทำลายมหาสมุทรเพื่อทรัพยากรไม่ได้ พวกเขาไม่สามารถเข้าไปจับปลาจำนวนมหาศาลหรือเข้าไปขุดเหมืองใต้ทะเลเพื่อเอาแร่ได้ เพราะแม้กระทั่งการทำลายหน้าดินในพื้นมหาสมุทรที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ก็เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเดินทางโดยเครื่องบินจากสนามบินทั่วโลก เป้าหมาย 30?30 จะช่วยให้ระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตในห่วงโซ่อาหารปรับตัวและอยู่รอดได้ หากเราออกแบบการจัดการสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เราจะสามารถปกป้องระบบนิเวศจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การวางแผนปกป้องสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรสามารถปกป้องพวกมันจากการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ ในขณะเดียวกันก็เป็นการปกป้องสภาพภูมิอากาศให้คงสเถียรภาพในอนาคตอันใกล้ ตอนนี้เรารู้ดีว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อโลกและเราอย่างไร หลักฐานอ้างอิงเหล่านี้เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บอกเราว่าเราต้องปกป้องระบบนิเวศ และเราไม่ควรผลัดวันประกันพรุ่งกับปัญหาระดับโลกนี้อีกต่อไป https://www.greenpeace.org/thailand/...cooler-waters/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|