|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลสุขภาพเนื่องจากอากาศที่เย็นลงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 25 พ.ย. -1 ธ.ค. 63 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย0 ในช่วงวันที่ 24 ? 25 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลอลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนบางแห่งเกิดขึ้น สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26 ? 30 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียในช่วงวันที่ 25-27 พ.ย. 63 ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้น ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 27 ? 30 พ.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงด้วย ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง และควรหลีกเลี่ยงการเดืนเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ศึกษาฟันของฉลามยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ภาพ) Credit : Christian Klug, UZH ฉลามสมัยใหม่หลายตัวมีฟันแหลมคมน่าเกรงขามแถมยังงอกขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา อีกทั้งสามารถมองเห็นได้ง่ายแม้มันจะอ้าปากออกเพียงเล็กน้อย ทว่าก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เมื่อเทียบกับฟันในบรรพบุรุษของปลากระดูกอ่อน (chondrichthyan) ในปัจจุบัน ที่รวมฉลาม ปลากระเบน และไคมีราซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกพืชหรือสัตว์ที่มีเซลล์หรือ เนื้อเยื่อจากสิ่งมีชีวิต 2 สายพันธุ์ขึ้นไปรวมกันหรือผสมกัน นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยซูริก ในสวิตเซอร์แลนด์ และมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา ร่วมกับศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพนาทูราลิสในเมืองไลเดน เนเธอร์แลนด์ ได้ตรวจสอบโครงสร้างและหน้าที่การสร้างกรามที่แปลกประหลาดของฟอสซิลปลากระดูกอ่อนอายุ 370 ล้านปีที่ได้จากโมร็อกโก มาสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่เพียงการสร้างให้เห็นกรามใหม่เท่านั้น แต่ยังพิมพ์ออกมาเป็นแบบจำลอง 3 มิติด้วย สิ่งนี้ทำให้ทีมสามารถทดสอบกลไกของกรามได้ นักบรรพชีวินวิทยาสรุปว่าฉลามยุคแรกๆ บางตัวที่มีอายุ 300-400 ล้านปีในอดีตไม่ได้มีกรามที่ลดต่ำลงแต่เพียงอย่างเดียว ทว่าจะมองเห็นได้เมื่อมันอ้าปาก สิ่งนี้ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ฉลามจะสามารถสร้างฟันที่ใหญ่ที่สุด คมที่สุด และหันเข้าด้านใน ส่งผลต่อการจับเหยื่อได้ดี. https://www.thairath.co.th/news/foreign/1982201
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์
จากภารกิจสุดท้ายของเรือหลวง สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวทรงคุณค่าใต้ผืนทะเลไทย ปัญหาที่เกิดขึ้นใต้ท้องทะเลอาจดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน การฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศน์ทางทะเลอย่างยั่งยืนนั้นยิ่งดูเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ดูจะใหญ่เกินกำลังนี้ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าทำได้จริง โครงการแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทยใต้ทะเลที่เกิดขึ้นท่ามกลางความร่วมมือจากหลายภาคส่วนนี้สร้างผลลัพธ์ที่นอกจากจะคืนความสมบูรณ์กลับสู่ท้องทะเลอย่างยั่งยืนได้สำเร็จแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน และอนุรักษ์ธรรมชาติไปพร้อมกันได้อีกด้วย ย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2553 เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงเกิน 30.5 องศาเซลเซียสติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ "ปะการังฟอกขาว" (Coral Bleaching) เมื่อ น้ำทะเลร้อน ปะการังตาย ผลกระทบจึงส่งต่อเป็นลูกโซ่แก่ชีวิตอื่น ๆ เพราะแนวปะการังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน และแหล่งหลบภัยของสัตว์ทะเล ซึ่งเกี่ยวพันอย่างยิ่งกับความอุดมสมบูรณ์และระบบนิเวศของธรรมชาติใต้ท้องทะเล มาจนถึงมนุษย์ ซึ่งอาศัยพึ่งพาทะเลทั้งการประมงและการท่องเที่ยว เป็นแหล่งอาหาร แหล่งสร้างอาชีพ และรายได้ของคนจำนวนมาก หนึ่งในแนวคิดเพื่อช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศที่นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ประชุมร่วมกันที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในปีนั้น คือ "การสร้างแหล่งดำน้ำโดยมนุษย์" (Man-made Dive sites) เพราะจากการศึกษาพบว่าหากแนวปะการังบริเวณใดได้รับความนิยมในการดำน้ำมาก ผลกระทบต่อปะการังย่อมสูงตามไปด้วย ขณะที่การปิดจุดดำน้ำหรือประกาศห้ามการท่องเที่ยวตามแนวปะการังก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของคนในท้องถิ่นและธุรกิจท่องเที่ยวด้วย ดังนั้น หากสามารถสร้างแหล่งดำน้ำทดแทนได้ ก็จะช่วยลดผลกระทบต่อแนวปะการังธรรมชาติให้มีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ปตท.สผ. ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในทะเลไทย ได้เข้ามาร่วมสนับสนุนให้เกิดโครงการแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทยใต้ทะเล โดยการศึกษาและพัฒนาการนำเรือรบหลวงมาจัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเล ที่จังหวัดชุมพรและจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กองทัพเรือ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตัวแทนผู้ประกอบการและชุมชนในพื้นที่ และภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นกำลังสำคัญ ภารกิจครั้งนี้ ปตท.สผ. ได้รับการสนับสนุนเรือหลวง 2 ลำ จากกองทัพเรือ คือ เรือหลวงปราบ และเรือหลวงสัตกูด ด้วยเกียรติภูมิและขนาดของเรือเหมาะสมสำหรับการนำมาวางเป็นปะการังเทียมเพื่อเป็นแหล่งดำน้ำสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งหลักเกณฑ์สำคัญของการเลือกพื้นที่วางเรือ คือต้องช่วยลดผลกระทบที่เกิดกับแนวปะการังได้จริง และเป็นแหล่งที่นักดำน้ำสามารถเดินทางมาได้สะดวก และไม่ไกลจากแนวปะการังธรรมชาติ ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวเดิมมากนัก จากการศึกษาทั้งสภาพกระแสน้ำ ความขุ่นของน้ำ ลักษณะของพื้นท้องทะเล และจำนวนชนิดของสัตว์น้ำต่าง ๆ จึงกำหนดตำแหน่งวางเรือที่ เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเกาะง่ามน้อย จังหวัดชุมพร ที่เกาะเต่า จุดวางเรือคือบริเวณใกล้กองหินขาวซึ่งเป็นจุดดำน้ำสำคัญทางทิศตะวันตกของเกาะ และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์เกาะติดจำนวนมาก เช่น ปะการัง เห็ดทะเล ดอกไม้ทะเล กัลปังหา ปะการังดำ ฟองน้ำ ฯลฯ ส่วนที่ เกาะง่ามน้อย เป็นเกาะสัมปทานนกนางแอ่นมีผาหินปูนสูงชัน เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาจำนวนมหาศาล และเป็นแหล่งดำน้ำตื้นที่มีชื่อเสียงในพื้นที่ หลังจากการวางเรือหลวงทั้ง 2 ลำในปี 2554 แล้ว ได้ทำการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ซึ่งผลการศึกษายืนยันว่าไม่พบผลกระทบต่อพื้นท้องทะเล สำหรับสัตว์เกาะติดและปลาทะเลยังคงมีสภาพเดิม รวมทั้ง ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสัตว์เกาะติดและประชากรปลา หลังจากผ่านไป 1 ปี พบว่ามีปลาเพิ่มมากกว่า 40 ชนิด และปัจจุบัน พบว่ามีชนิดของปลาเพิ่มขึ้น 60-70 ชนิด โดยเฉพาะบริเวณเรือหลวงปราบ จะพบฉลามวาฬได้อย่างสม่ำเสมอ สำหรับสัตว์เกาะติด มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น ฟองน้ำเคลือบ และปะการังดำซึ่งเป็นสัตว์พันธุ์เด่น (Dominant Species) นอกจากนี้ ในด้านการศึกษาด้านการใช้ประโยชน์และการจัดการแหล่งดำน้ำเรือหลวง พบว่าการนำเรือหลวงมาวางเป็นแนวปะการังเทียม เพื่อเป็นแหล่งดำน้ำแทนแนวปะการังธรรมชาตินั้น ได้รับผล ตอบรับที่ดีมาก ทุกเช้าบ่ายจะมีเรือหลายลำแวะเวียนมาจอด นำนักท่องเที่ยวมาดำน้ำชื่นชมความงดงามของธรรมชาติใต้ท้องทะเล รวมถึงนักเรียนดำน้ำที่เข้ามาใช้เป็นสนามสอบดำน้ำอีกด้วย https://www.posttoday.com/pr/638676
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|