|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีลูกเห็บตกบางแห่งในภาคเหนือ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส และยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 20 ? 22 ม.ค. 65 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23 ? 25 ม.ค. 65 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาว โดย ภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดช่วง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 20 ? 22 ม.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 23 ? 25 ม.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 20-22 มกราคม 2565)" ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 20 มกราคม 2565 ในช่วงวันที่ 20-22 มกราคม 2565 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง โดยมีลูกเห็บตกบางแห่งเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง โดยภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-11 องศาเซลเซียส กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
'ปราณบุรี' ในวันนี้ไร้หาดทราย! มีแต่กำแพงกันคลื่น เพจเฟซบุ๊ค Beach for life แชร์ภาพ "ชายหาดปราณบุรี" ในวันนี้ไม่มีชายหาด มีแต่ "กำแพงกันคลื่น" จากผู้ใช้เฟซบุ๊ค แทนทะเล Tanntalay ที่บอกว่า ทะเล...ที่ไม่มีชายหาด มีแต่...กำแพงกันคลื่น. ภาพนี้แทนถ่ายไว้ตั้งแต่ปีก่อน เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสไปเที่ยวหาดปราณบุรีแล้วก็ตกใจถึงกับต้องถ่ายภาพความเซ็งเก็บไว้เป็นที่ระลึก นอกจากจะไม่มีหาดทรายแล้ว แต่เป็นหาดคอนกรีดที่เต็มไปด้วยตะไคร่ Beach for life ชวนทุกคน #หยุดกำแพงกันคลื่น มาเป็นเสียงปกป้องชายหาดผืนสุดท้ายของปราณบุรี จากกำแพงกันคลื่น ไม่ใช่แค่เพื่อมนุษย์แต่เพื่อระบบนิเวศชายฝั่ง. พร้อมกันนี้ ยังเปิดรับผู้ร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึก ถึงนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม เพื่อให้โครงการประเภทกำเเพงกันคลื่นต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม (EIA) ที่โพสต์เชิญชวนเข้าร่วมเรียกร้องไว้ตั้งแต่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 #กำเเพงกันคลื่นต้องทำEIA https://mgronline.com/greeninnovatio.../9650000005970
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
กรมประมง ปัด มติ SIOFA รอผลพิสูจน์ หลัง NGOs ร้องเรือไทย 4 ลำทำลายหญ้าทะเล กรมประมงแจง SIOFA ไล่เรือไทย 4 ลำออกจามหาสมุทรอินเดีย แค่ข้อเสนอ NGOs รอผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ทำลายระบบนิเวศจริงหรือไม่ มี.ค. นี้ นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรณีมีข่าว "SIOFA จ่อเชือดเรือไทย" และ "SIOFA ยึดคืนพื้นที่จับปลา" นั้น กรมประมงขอชี้แจงว่า องค์การบริหารจัดการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ หรือ Southern Indian Ocean Fisheries Agreement, SIOFA เป็นองค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค (Regional Fisheries Management Organization, RFMO) ที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีอำนาจบริหารจัดการตามกฎหมายเมื่อปี พ.ศ. 2555 และประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก เมื่อปี พ.ศ. 2560 ซึ่ง SIOFA ถือเป็น RFMO ที่ก่อตั้งใหม่มากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับ RFMO อื่นๆ เช่น IOTC ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 การออกกฎข้อบังคับใดๆ เพื่อบังคับใช้กับการประมงของภาคีสมาชิกจำเป็นต้องรอผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มาเป็นพื้นฐานใน การกำหนดมาตรการต่างๆ โดยในระหว่างที่รอผลการศึกษาข้อมูลวิทยาศาสตร์นี้ SIOFA มีข้อตกลงร่วมกันว่า เพื่อป้องกันผลกระทบต่อระบบนิเวศไว้เป็นการล่วงหน้า ขณะเดียวกัน ไม่ให้กระทบต่อการทำประมงในแหล่ง ประมงเดิมของภาคีสมาชิก จึงกำหนดไม่ให้เรือประมงของรัฐสมาชิกขยายพื้นที่ทำการประมงออกไปจาก แหล่งเดิมที่เคยทำการประมงอยู่ (หรือที่เรียกว่า Fishing Footprint) จนกว่าจะมีมาตรการอื่นที่เหมาะสมมาใช้บังคับ ซึ่งเรือไทยที่เคยทำการประมงใน Saya de Malha Bank ของ SIOFA ก็ให้ทำต่อไปได้ และในบรรดา 11 ภาคีสมาชิก ก็ถูกจำกัดให้อยู่ใน Fishing Footprint ของตนเอง เช่นเดียวกับประเทศไทย โดยปัจจุบันมีเรือประมงอวนลากไทยที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงใน Saya de Malha Bank ของ SIOFA จำนวน 4 ลำ ซึ่งประเทศไทยโดยศูนย์ Fisheries? Monitoring? Center, FMC? ของกรมประมง มีการควบคุม ติดตาม และเฝ้าระวังกลุ่มเรือดังกล่าวตามมาตรการอนุรักษ์และจัดการของ SIOFA อย่างเข้มงวด และเรือประมง ได้ปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราว?สำหรับการทำประมงพื้นท้องน้ำที่บังคับใช้ในปัจจุบัน?อย่างครบถ้วน มีระบบติดตามอิเล็กทรอนิกส์ และมีผู้สังเกตการณ์ประมงอยู่บนเรือตลอดเวลาในทุกเที่ยวเรือ และประเทศไทยได้รับการประเมินว่ามีระดับการปฏิบัติตามกฎ SIOFA ได้ 100% ในทุกรอบการประเมินของ SIOFA การทำการประมงของไทยจึงเป็นไปตามกฎข้อบังคับในปัจจุบัน จึงไม่เป็นเหตุที่ SIOFA จะยกมายึดคืนพื้นที่ทำการประมงของไทยได้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ในการประชุมสามัญประจำปีของภาคีสมาชิก ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา องค์กร The Deep Sea Conservation Coalition, DSCC ซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐ (NGO) ได้นำเสนอเอกสาร เรื่อง ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับความหลากหลายทางระบบนิเวศจากการทำประมงอวนลากในพื้นที่ Saya de Malha Bank โดยเรียกร้องให้ประเทศไทยหยุดทำการประมงในบริเวณพื้นที่ Saya de Malha Bank จนกว่าจะมี การประเมินสภาวะทรัพยากรและพัฒนามาตรการที่ปกป้องความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และชนิดสัตว์น้ำ ตลอดจน หญ้าทะเลในบริเวณดังกล่าว ประเทศไทยและภาคีสมาชิกอื่นเห็นว่าเป็นการเรียกร้องที่ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้มารองรับ ข้อเสนอดังกล่าวของ DSCC จึงไม่ได้รับมติเห็นชอบจากภาคีสมาชิก SIOFA ดังนั้น การกล่าวถึงเรือประมงไทย ไปลากทำลายหญ้าทะเลจนส่งผลให้เกิดความเสียหาย จึงเป็นข้อมูลข่าวที่ไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามจากข้อเรียกร้องของ DSCC ดังกล่าว ภาคีสมาชิกจึงเร่งรัดให้คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ของ SIOFA ดำเนินการศึกษาข้อมูลในพื้นที่ Saya de Malha Bank และให้นำมาพิจารณาในการประชุมประจำปี คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ (Scientific Committee, SC) ในเดือนมีนาคม 2565 ซึ่งเป็นตารางเวลา กำหนดการประชุมประจำปีเป็นปกติ ซึ่งผู้แทนไทยที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ประจำ SIOFA ได้เข้าร่วมเป็นประจำทุกปี และจะมีวาระการพิจารณาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในหลายๆเรื่อง เช่น การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาหิมะ (ประเทศไทยไม่ได้จับปลากลุ่มนี้) การประเมินความเสี่ยงของระบบนิเวศและประชากรสัตว์น้ำ การพิจารณา ข้อมูลทางวิชาการสำหรับเขตคุ้มครองทางทะเลเป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการประชุมนี้จะเป็นประเด็นทางวิทยาศาสตร์ เท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการพิจารณามาตรการหรือกฎข้อบังคับต่อการทำประมงเพื่อลงโทษ เรือไทยทั้งสิ้น ส่วนจะได้ข้อยุติเรื่องผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หรือไม่อย่างไร คณะกรรมการ?วิทยาศาสตร์ก็จะต้องรายงานต่อที่ประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 9 ในเดือนกรกฎาคม 2565 ต่อไป ทั้งนี้ ตารางการประชุม SIOFA จะถูกเผยแพร่ในเว็บไซต์เป็นสาธารณะ ที่สามารถตรวจสอบกำหนดการประชุมในแต่ละปี ได้เป็นการล่วงหน้า คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ ได้เริ่มทำการศึกษาในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยได้ประสานงานกับกรมประมงเป็นระยะเพื่อขอรับข้อมูลการทำประมงที่ผ่านมาของกองเรือประมงไทย เพื่อประกอบในการศึกษาและวิเคราะห์ ทั้งนี้ กรมประมงไม่ได้ปิดบังข้อมูลในเรื่องนี้แต่อย่างใด แต่เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการศึกษาข้อเท็จจริงด้านวิทยาศาสตร์ของคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ SIOFA ซึ่งเป็นการดำเนินการที่เป็นไปตามกระบวนงานและขั้นตอนของ SIOFA ที่กำหนดไว้ และเป็นไปตามมติที่ประชุมของภาคีสมาชิก กรมประมงได้ประสานแจ้ง และร่วมดำเนินการกับผู้ประกอบการประมงนอกน่านน้ำไทย และสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทยมาโดยตลอด นอกจากนี้ในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ กรมประมงได้ทำงานร่วมกันกับคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ SIOFA มาอย่างต่อเนื่องในฐานะภาคีสมาชิก ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้จัดเตรียมทีมคณะนักวิชาการ และคณะผู้แทนไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องข้อมูลและท่าทีประเทศไทยในการเข้าประชุมทั้งสองการประชุมในฐานะรัฐภาคีสมาชิกเพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศไทย และประโยชน์ของ SIOFA ให้ได้อย่าง สมดุล https://www.bangkokbiznews.com/business/983508
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
น้ำโขงอีสานแล้งเร็ว-ใสผิดปกติ สาหร่ายน้ำจืดบูม-กระทบประมง .............. วลัยลักษณ์ ชมโนนสูง ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม / TheCitizenPlus รายงาน เครือข่ายคนลุ่มโขงอีสานเผย ระดับน้ำโขงลดเร็วผิดปกติ ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์แพร่ขยายของสาหร่ายน้ำจืด หรือไก (เทา) เป็นจำนวนมาก และส่งผลกระทบต่อปริมาณสัตว์น้ำและชาวประมงในหลายพื้นที่ เตรียมจัดเวทีหาทางรับมือ ข้อมูลอุทกวิทยาระบุระดับน้ำโขง "น้อยผิดปกติ" (ภาพ : คสข.) แล้งเร็วผิดปกติ "เทียบกับปีที่แล้ว น้ำโขงมันลดลงเร็วขึ้น ปีนี้เริ่มแห้งลงในเดือนมกราคม ปีที่แล้วถ้าระดับนี้ก็เดือนมีนาคมตอนที่เราเจอกัน" อ้อมบุญ ทิพย์สุนา ตัวแทนเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.) เปิดเผยถึงสถานการณ์แม่น้ำโขงในจังหวัดหนองคายเมื่อ 18 มกราคม 65 ที่ผ่านมา "น้ำโขงปีนี้แห้งเร็วกว่าทุกปี เท่าที่สังเกตดูเพราะว่าทุกปีน้ำจะไม่แห้งเร็วขนาดนี้ ปีนี้แห้งเร็ว ทุกปีน้ำลดระดับนี้จะเป็นเดือนมีนาคม เมษายนเลยนะ แต่ปีนี้แห้งเร็วมาก" ชาญชัย ดาจันทร์ ชาวบ้าน ต.หาดคัมภีร์ อ.ปากชม จ.เลย รายงานสถานการณ์ในจังหวัดเลย (ภาพ : คสข.) สาหร่ายน้ำจืดบูม "ที่หนองคาย หลังน้ำโขงลดระดับเร็วกว่าปกติ พบว่ามีสาหร่ายน้ำจืดที่ชาวบ้านในพื้นที่เรียกว่า "เทา" หรือ "ไก" จำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อวิถีชาวบ้านและพรานปลาในชุมชนทำให้เครื่องมือประมงเสียหาย คือพอน้ำโขงเริ่มแห้ง เริ่มลดลง เทาก็เกิดจำนวนมาก ปรากฏการณ์น้ำโขงใสไร้ตะกอน เคยเกิดขึ้นและได้รับความสนใจอย่างมากครั้งแรก ช่วงปลายปี 2562 ที่มีคำเรียกว่า "โขงสีคราม" ซึ่งคาดว่าเป็นผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบนเหนือประเทศไทยขึ้นไป และต่อมาก็ยังมีความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำขึ้น-ลง ที่คาดเดาได้ยาก ไม่เป็นไปตามฤดูกาลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งชาวบ้านตลอดริมฝั่งโขงยังมีการบันทึกเรื่องราวและส่งเสียงสะท้อนผลกระทบเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง รวมถึง ชาญชัย อธิบายว่าผลกระทบจากน้ำโขงใสอีกครั้งในเดือนมกราคม 2565 ว่ายังส่งผลให้สัตว์น้ำหลายชนิดไม่สามารถออกสู่แม่น้ำโขงได้เช่นเดิม "น้ำโขงใสแบบนี้ก็จะทำให้เกิดเทาแล้วก็จะไปขวางทางปลา หอย ปู ปลา ก็ออกไปเติบโตในแม่น้ำโขงไม่ได้ มันก็ตาย ซึ่งมันเป็นความกังวลอย่างมาก เพราะขนาดน้ำเหลือเท่านี้ กุ้ง หอย ปู ปลา ก็ตายไปเยอะแล้ว และถ้าน้ำลดลงไปกว่านี้ก็น่าจะเสียหายไปมากว่านี้อีก" ข้อมูลอุทกวิทยาระบุระดับน้ำโขง "น้อยผิดปกติ" รายงานสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของระดับในลุ่มน้ำโขงของกลุ่มอุตุและอุทกวิทยาประยุกต์ ศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ ประจำวันที่ 18 มกราคม 2565 เวลา 07.00 น. เปิดเผยว่า ระดับน้ำโขงที่วัดได้ 5 ใน 6 สถานีในประเทศไทย อยู่ในระดับ "น้อยผิดปกติ" (เชียงแสน หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และโขงเจียม) ขณะที่อีก 1 สถานีคือที่สถานีเชียงคานอยู่ในระดับ "เฝ้าระวังน้ำน้อย" เชียงคาน โดยระดับน้ำทั้ง 6 สถานีต่ำกว่าระดับน้ำวิกฤตในช่วง 10.45 ? 12.53 เมตร (รายละเอียดในตาราง) "สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของระดับในลุ่มน้ำโขงประจำวันที่ 18 มกราคม 2565 เวลา 16:00 น. เปรียบเทียบกับข้อมูล ณ วันที่ 18 มกราคม 2565 เวลา 07:00 น. พบว่า สถานีเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ระดับน้ำทรงตัว สถานีหลวงพระบาง (ลาว) ระดับน้ำทรงตัว สถานีบ้านปากฮัง (ลาว) ตั้งอยู่บนลำน้ำโขงท้ายเขื่อนไซยะบุรี ก่อนถึงสถานีเชียงคาน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 0.18 เมตร สถานีเชียงคาน จังหวัดเลย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 0.19 เมตร สถานีหนองคาย จังหวัดหนองคาย ระดับน้ำทรงตัว สถานีมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ระดับน้ำทรงตัว สถานีบ้านแก่งโดน (ลาว) ไหลลงแม่น้ำโขงบริเวณระหว่างสถานีมุกดาหารและสถานีโขงเจียม ระดับน้ำทรงตัว สถานีโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำทรงตัว ระดับน้ำท้ายเขื่อนปากมูล แม่น้ำมูล ไหลลงแม่น้ำโขงบริเวณสถานีโขงเจียม ระดับน้ำทรงตัว และสถานีปากเซ (ลาว) ระดับน้ำทรงตัว ทั้งนี้ ขอความร่วมมือเครือข่ายแม่น้ำโขงได้โปรดแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำให้รับทราบโดยทั่วกัน และติดตามเฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำโขงรวมถึงป้องกันผลกระทบความเสียหายต่อทรัพย์สินจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำอย่างฉับพลันในช่วงฤดูแล้ง" ศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติรายงาน กระทบชาวประมง พรภิมล จันหอม ชาวบ้านคกเว้า อ.ปากชม จ เลย ที่ครอบครัวมีรายได้จากการหาปลา บอกว่า ระดับน้ำโขงที่ลดลงอย่างรวดเร็วและเกิดสาหร่ายเทาจำนวนมากก็ทำให้เครื่องมือประมงเสียหายและขาดทุน "ส่วนใหญ่เลยคือคนหาปลา เพราะน้ำแห้งที่อยู่อาศัยของปลาเปลี่ยน ปลาหายาก การเดินเรือของคนหาปลายากขึ้น เพราะน้ำลด มีโขดหินโผล่มากขึ้น คนทำเกษตรริมโขงก็พอ ๆ กัน เพราะน้ำในการเกษตรก็เป็นปัญหา เนื่องจากน้ำลดเร็ว เกษตรริมโขงก็ใช้น้ำไม่ทัน เรากะระยะเวลาที่จะใช้น้ำปลูกพืช แต่ระดับน้ำที่ขึ้น-ลง ผิดฤดูก็ทำให้สิ่งมีชีวิตก็ปรับตัวไม่ทัน อย่างครอบครัวมีอาชีพหาปลา ปลาก็หายไปกว่าครึ่งหนึ่ง อุปกรณ์หาปลาก็เสียหาย เพราะมีเทามาติดตาข่าย เวลาน้ำไหลพัดมาก็มีแรงต้านเยอะ ตาข่ายก็ถูกน้ำพัดขาดเสียหาย ก็ทำให้เราขาดทุน แทนที่จะมีรายได้มาใช้ในครอบครัว" พรภิมล กล่าว เตรียมจัดเวที หาทางรับมือ "ทางชุมชนน้ำโขงภาคเหนือเขายังมีลู่ทางเอา "เทา" หรือ "ไก" ทำอาหาร แปรรูปขาย แต่ทางอีสานไม่ได้เอาไปใช้ประโยชน์มากเท่าไรนัก เอาไปรับประทานก็ไม่มาก ก่อนนี้ก็เคยมีความพยายามลองเอาไปทำปุ๋ย เอาไปเลี้ยงสัตว์บ้าง แต่ก็ยังน้อยอยู่เพราะยังไม่มีความรู้เรื่องนี้ คาดว่าปลายสัปดาห์นี้จะส่งตัวอย่างไกหรือเทา ไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดูว่าเป็นประเภทไหน เป็นชนิดใด แล้วจะเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง" อ้อมบุญกล่าว ตัวแทนเครือข่ายฯ ตั้งข้อสังเกตุว่าปรากฏการณ์น้ำโขงใสไร้ตะกอน เป็นเพียงผลกระทบหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังมีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำอย่างฉับพลันซึ่งเครือข่ายชาวบ้านริมฝั่งโขงมองว่า เป็นผลกระทบจากการมีเขื่อนในตอนบนของแม่น้ำโขง ทำให้กระแสน้ำไม่ได้ไหลอย่างอิสระ "ผลกระทบจากน้ำโขงเปลี่ยนแปลง ตอนนี้มันเยอะมาก บางทีคนริมโขงอย่างเราก็เหนื่อยมาก ไม่รู้จะไปยังไงต่อแล้ว เครือข่ายฯ มองว่าจำเป็นต้องสื่อสารเพื่อส่งสัญญาณไปยังผู้เกี่ยวข้องอีกครั้ง เพื่อหวังให้มีการร่วมแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง เพื่อลดผลกระทบทั้งต่อวิถีชาวบ้านและระบบนิเวศลุ่มน้ำโขง โดยในวันที่ 5 กุมภาพันธ์นี้ จะมีวงเสวนา ?สถานการณ์และทางแก้ไข ไกน้ำโขงเหนือและอีสาน? ร่วมกับสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต โฮงเฮียนแม่น้ำของ สถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง (Mekong Community Institute ? MCI) และเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.)" อ้อมบุญ กล่าว https://greennews.agency/?p=27175
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|