|
#1
|
|||
|
|||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 21 มกราคม 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบางแห่ง กับมีลูกเห็บตกบางแห่งในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนที่แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนได้เคลื่อนเข้าปกคลุมทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 21 ? 22 ม.ค. 65 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23 ? 26 ม.ค. 65 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดช่วง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 21 ? 22 ม.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 23 ? 26 ม.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน " ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 21 มกราคม 2565 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง กับลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง หลังจากนั้นในวันที่ 23 มกราคม 2565 อุณหภูมิจะลดลง กับมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-11 องศาเซลเซียส กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย |
#2
|
|||
|
|||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
รังปลาน้ำแข็งที่น่าทึ่งในแอนตาร์กติกา ช่วง ก.พ.ปีที่แล้วเรือวิจัยโพลาร์ สเติร์น (Polarstern) ของสถาบันวิจัยขั้วโลกและมหาสมุทรอัลเฟรด แวเกนเนอร์ แห่งเยอรมนี ได้ทำการสำรวจพื้นทะเลเวดเดลล์ ในทวีปแอนตาร์กติกา โดยใช้ระบบกล้องแบบลากจูงที่อยู่ใต้พื้นผิวทะเลมากกว่า 535 เมตร และส่งภาพขึ้นไปบนดาดฟ้าเพื่อให้นักวิจัยที่อยู่บนเรือได้ดูสิ่งที่นักวิจัย ได้เห็นบนหน้าจอมอนิเตอร์ของเรือคือการค้นพบที่ไม่คาดคิด นั่นคือรังของปลาน้ำแข็งจำนวนมากแบบที่ดูแล้วจะไม่มีที่สิ้นสุดเลย ทีมวิจัยระบุว่านี่คือแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นการค้นพบที่น่าทึ่ง เพราะพื้นที่เพาะพันธุ์ปลาน้ำแข็งขนาดใหญ่ในบนพื้นทะเลทางตอนใต้ของทะเลเวดเดลล์นั้นยังไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน ล่าสุดการศึกษาใหม่โดยนักชีววิทยาใต้ทะเลลึกของสถาบันวิจัยดังกล่าวเผยว่ากล้องได้บันทึกภาพรังปลา มากกว่า 16,000 รังในระหว่างการสำรวจ 4 ชั่วโมง จนประเมินว่ารังปลาน้ำแข็งประมาณ 60 ล้านตัวในทะเลเวดเดลล์นั้นกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ประมาณ 238 ตารางกิโลเมตร นักวิจัยจึงทำแผนที่ของพื้นที่จำนวนรังปลาทั้งหมด ทั้งนี้ จากการตรวจดูรังปลาน้ำแข็งที่เป็นวงกลมบนพื้นทะเลทุกๆ 10 นิ้ว วัดความลึกได้ราว 6 นิ้ว แต่ละวงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 29 นิ้ว โดยรังเหล่านี้มีไข่ปลา 1,500-2,500 ฟอง และมีปลาน้ำแข็งที่โตเต็มวัยคอยคุ้มกันรังที่มีเฉพาะไข่และรังเปล่า. Credit : Alfred Wegener Institute, Ocean Floor Observation and Bathymetry System Team https://www.thairath.co.th/news/foreign/2290676 ********************************************************************************************************************************************************* เปรูเรียกร้องโรงกลั่นสเปนชดใช้ ทำน้ำมันรั่วลงทะเลตอนเกิดสึนามิภูเขาไฟตองกา เปรูเรียกร้องให้บริษัทโรงกลั่นน้ำมันสเปน ชดใช้ความเสียหายต่อระบบนิเวศทางทะเล หลังจากทำน้ำมันรั่วไหลตอนที่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิซัดเข้าชายฝั่งเปรู หลังจากภูเขาไฟระเบิดที่ตองกา เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ชาวเปรูออกมาประท้วงเรียกร้องให้ "เร็ปโซล" บริษัทสัญชาติสเปน เจ้าของโรงกลั่นน้ำมันยักษ์ใหญ่ "ลา แปมปิลลา" ชดใช้ต่อความเสียหายใหญ่หลวงเป็นประวัติการณ์ที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวศทางทะเล หลังจากโรงกลั่นได้ทำน้ำมันดิบประมาณ 6,000 บาร์เรล รั่วไหลลงทะเล ในช่วงที่เกิดคลื่นยักษ์ซัดเข้าสู่ชายฝั่งเปรู หลังจากภูเขาไฟระเบิดที่ตองกา เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อท้องถิ่นของเปรู รายงานว่า น้ำมันดิบปริมาณมหาศาลรั่วไหลลงสู่ชายฝั่งทะเล บริเวณเขตอนุรักษ์ 2 แห่งที่มีระบบนิเวศทางทะเลอุดมสมบูรณ์ คราบน้ำมันลอยบนผิวน้ำ เป็นระยะทางกว่า 4 กิโลเมตร ส่งผลให้มีนกทะเล และสัตว์น้ำตายไปเป็นจำนวนมาก ขณะที่โรงกลั่นน้ำมันแห่งนี้ มีการผลิตน้ำมันกว่า 117,000 บาร์เรลต่อวัน แต่ไม่มีแผนสำรองกรณีเกิดน้ำมันรั่วไหลลงทะเล ขณะที่อาสาสมัครนักอนุรักษ์และเคลื่อนไหวปกป้องสิ่งแวดล้อม นับร้อยคนออกมาช่วยกันขจัดคราบน้ำมันบริเวณชายฝั่ง และช่วยชีวิตนกทะเลจำนวนมากที่นอนเกลื่อนชายหาดมีคราบน้ำมันเกาะตามลำตัว ด้านโฆษกกระทรวงการต่างประเทศของเปรูทวีตข้อความระบุว่า การรั่วไหลของน้ำมันลงสู่ทะเล ส่งผลกระทบต่อครอบครัวชาวประมงหลายร้อยครอบครัว และบริษัทเร็ปโซลต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน ขณะที่โฆษกของบริษัทเร็ปโซล ออกมาปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยโทษว่าเป็นเพราะทางการเปรู ไม่มีประกาศแจ้งเตือนการเกิดสึนามิ ทำให้ทางโรงงานไม่ทันเตรียมการรับมือกับภัยธรรมชาติครั้งนี้. ที่มา The Guardian https://www.thairath.co.th/news/foreign/2291842 |
#3
|
|||
|
|||
ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์
ปริศนาทะเลบอลติก มันคือจานบินจมทะเล หรือเมืองใต้สมุทร? วัตถุลึกลับใต้ทะเลบอลติกที่ยังคงเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้ Photo: Baltic Sea anomaly/Ocean X/Wikipedia Baltic Sea anomaly หรือวัตถุลึกลับใต้ทะเลบอลติกปรากฏบนภาพถ่ายโซนาร์ที่มองไม่ค่อยชัดเท่าไรนัก ซึ่งถ่ายโดยปีเตอร์ ลินด์เบิร์ก, เดนนิส เอเบิร์ก และทีมดำน้ำ "Ocean X" ของสวีเดน ขณะกำลังล่าสมบัติใต้ท้องทะเลบอลติกเมื่อปี 2011 พวกเขากลับมาจากการสำรวจท้องทะเลบอลติกซึ่งอยู่ระหว่างสวีเดนและฟินแลนด์พร้อมกับภาพถ่ายภาพหนึ่งที่ "พร่ามัวแต่น่าสนใจ" ทีมดำน้ำได้เปิดเผยภาพถ่ายนี้โดยชี้ให้เห็นว่ามีบางอย่างผิดปกติในทะเลบอลติก พวกเขากล่าวว่ามันเป็นวัตถุทรงกลมคล้ายหิน เส้นผ่านศูนย์กลาง 60 เมตร หนาประมาณ 3 ถึง 4 เมตร แต่ลักษณะโครงสร้างดูเหมือนไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ในปีต่อมา ทีมนักดำน้ำลงสำรวจพื้นที่อีกครั้งและตั้งใจจะไปเก็บภาพที่ชัดเจนขึ้น แต่พบว่าเมื่อล่องเรือเข้าไปใกล้จะเกิดการรบกวนทางไฟฟ้าบางอย่างซึ่งทำให้เครื่องยนต์ขัดข้อง ราวกับว่าป้องกันไม่ให้พวกเขาเข้าใกล้วัตถุปริศนานี้ ภาพวัตถุต้องสงสัยถูกนำไปเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ มากมาย บ้างก็ว่าเป็น UFO ที่จมอยู่ใต้ทะเล บ้างก็ว่าเป็นประตูสู่อีกโลกหนึ่ง บ้างก็ว่าเป็นสโตนเฮนจ์ใต้ท้องทะเล ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าแนวโน้มที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ การก่อตัวทางธรณีวิทยาตามธรรมชาติ ปีเตอร์ ลินด์เบิร์ก ให้สัมภาษณ์ในปี 2019 ว่าเขาและทีมอาจทำการสำรวจอีกครั้งผ่านรายการสารคดีที่พวกเขามีส่วนร่วมในการผลิต ลินด์เบิร์กให้สัมภาษณ์ว่าหินเหล่านี้อาจถูกสร้างขึ้นมานานนับหมื่นปีก่อนยุคน้ำแข็ง และจะยิ่งน่าทึ่งมากหากมันคือ "อาณาจักรแอตแลนติส" ตำนานเมืองลึกลับใต้ทะเลสมัยโบราณ แต่ก็เป็นไปได้ที่มันอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อย่างเช่น อุกกาบาต หรือภูเขาไฟใต้ทะเล อย่างไรก็ตามทีม Ocean X ได้เก็บตัวอย่างหินมาได้ส่วนหนึ่งและมอบให้กับโวคเกอร์ บรูเชิร์ต รองศาสตราจารย์ด้านธรณีวิทยาที่มหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม โดยจากการวิเคราะห์ตัวอย่างหินพบว่าส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิต หินไนส์ และหินทราย และมีหินบะซอลต์อยู่บ้าง โดยนักธรณีวิทยาส่วนหนึ่งมองว่าไม่ใช่เรื่องแปลกในท้องทะเล อีกหนึ่งความเป็นไปได้คือ การที่หินฝังอยู่ในธารน้ำแข็งและเมื่อยุคน้ำแข็งสิ้นสุดลง ธารน้ำแข็งทั่วยุโรปตอนเหนือละลาย ทำให้หินเหล่านี้จมอยู่ใต้ท้องทะเล โกรัน เอ็คเบิร์ก นักโบราณคดีทางทะเลที่พิพิธภัณฑ์การเดินเรือในสตอกโฮล์มกล่าวว่าอาจเป็นการก่อตัวทางธรณีวิทยาตามธรรมชาติ จริงอยู่ที่มันดูแปลกเพราะมันเป็นวงกลมอย่างสมบูรณ์ แต่ธรรมชาติสร้างสรรค์สิ่งแปลกๆ ได้มากกว่านี้อีก https://www.posttoday.com/world/673537 |
#4
|
|||
|
|||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
'หอย'ราคาพุ่ง! ชาวบ้านแห่เก็บขายริมชายหาด กก.600บาท 'หอย'ราคาพุ่ง! กก.600บาท ชาวบ้านแห่หาไปขายเต็มหาด ขณะชุมชนร่วมอนุรักษ์เน้นหาหอยตัวใหญ่ 20 มกราคม 2565 ที่ชายหาดแหลมสน หน้าหมู่บ้านสนใหม่ ต.แหลมสน อ.ละงู จ.สตูล ชาวบ้านในพื้นที่และต่างถิ่น ต่างถืออุปกรณ์ออกหาหอยท้ายเภากันอย่างคึกคักบนพื้นที่ชายหาดทรายโคลนความยาวร่วม 4 กิโลเมตร ด้วยหอยท้ายเภา มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 500-600 บาท แต่มีปริมาณค่อนข้างน้อยในปีนี้ บางราคาหาได้เพียง 1-2 ตัวเท่านั้น แม้ได้ตัวสองตัวชาวบ้านก็ดีใจแล้ว แต่ขณะที่หอยท้ายเภาซึ่งมีราคาสูง แต่มีปริมาณน้อย เพราะก่อนหน้าที่มีการหาหอยตัวเล็กด้วย ส่งผลให้ปริมาณหอยน้อยลง แต่ชาวบ้านยังก็ได้หอยชนิดอื่นทดแทนอย่างหอยผีเสื้อ แม้ราคาเพียงกิโลกรัมละ 50 บาท ก็สามารถนำไปปรุงเมนูอาหารได้ในยามที่สินค้าอย่างอื่นพากันขึ้นราคาได้ สำหรับหอยท้ายเภานั้น ชาวบ้านบอกว่าหาได้ 2 วิธี คือ รอน้ำลดมากๆในช่วงลมมรสุมตะวันออก ช่วงเดือนธันวาคม - มีนาคม เดินหาริมชายหาด อีกวิธีคือออกเรือไปงมหอย ซึ่งกติกาชุมชนกำหนดให้ใช้แว่นตาในการดำน้ำงมหอยเท่านั้น เพื่อความเท่าเทียมของคนในชุมชน และเป็นการอนุรักษ์หอยด้วย โดยหอยท้ายเภาจะมีแม่ค้ามารับซื้อที่หน้าหาด ในกิโลกรัมละ 500-600 บาท หากเฉลี่ยเป็นตัว จะตกที่ราคาตัวละ 20-30 บาท หรือ 4 ตัว 100 บาท แล้วแต่ขนาดของหอย ซึ่งหอยตัวเล็กจะไม่มีราคา เมื่อได้มาแล้วชาวบ้านจะปล่อยไปเพื่ออนุรักษ์ไว้โตขึ้นก็จะมาหาใหม่ นางสาวฮาตี นาคสง่า อายุ 33 ปี บ้านเลขที่ 641 หมู่ 2 ต.ละงู กล่าวว่า น้ำขึ้นเร็วหาหอยได้น้อย นี่ก็ได้เพียง 2 ตัวเท่านั้น แต่ก็ได้หอยผีเสื้อทดแทนสามารถนำไปปรุงเป็นเมนูอาหารได้ โดยเฉพาะในช่วงสินค้าอื่นขึ้นราคา ส่วนหอยท้ายเภานั้นมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 500-600 บาท หากหาได้เยอะเท่ากับได้เงินเยอะด้วย ซึ่งเราจะหาเฉพาะตัวใหญ่ ตัวเล็กก็จะทิ้งทะเล เพื่ออนุรักษณ์ไว้ ด้านนายนายสุรชัช วาโร๊ะ เลขานุการนายก อบต.แหลมสน กล่าวว่า เมื่อก่อนมีการใช้เครื่องลมเป็นอุปกรณ์ในการหา คนหนึ่งได้วันละ 20 -50 กก. เมื่อเป็นแบบนี้ก็ได้มีการคุยกันของชุมชนว่า ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปจะไม่มีหอยให้ลูกหลานได้ดู จึงมีกฎของชุมชนว่า เรางมได้นะแต่อย่าใช้เครื่องมือที่ทุ่นแรงได้ไหม หันมาใช้เครื่องมือแบบบ้านๆดีกว่า จึงมีมติงดใช้เครื่องลมในการงมหอย ตอนนี้ก็งมได้แต่อนุญาตให้ใช้แว่นตามอย่างเดียว มีอุปกรณ์ใส่หอยทุ่นลอย ซึ่งทุ่นลอยนี้จะใช้สำหรับโยงหอยที่หาได้ และยังเป็นจุดสังเกตของเรือให้เรือทราบว่าจุดนี้มีคนกำลังงมหอยอยู่ เรือก็จะไม่แล่นเข้ามา ซึ่งเป็นการป้องกันอุบัติเหตุได้ด้วย กติกาชุมชนนี้ตั้งมาหลายปีแล้ว ชาวบ้านที่นี่ให้ความร่วมมือดี เมื่อช่วง 2-3 ปีก่อน มีการรับซื้อหอยขนาดเล็กด้วย หลังจากนั้น 1-2 ปี เราหาหอยได้น้อยลงมาก มีปีนี้หอยกลับมาเยอะอีกนิดหนึ่ง หลังจากนี้นั้นเรามีโครงการอนุรักษ์ ขอความร่วมมือชาวบ้านว่าหอยเล็กๆไม่ต้องเอาไปก่อน ให้โตก่อนค่อยมาเอาไม่ต้องรีบ นางณิรชา มีนวัฒนกุล อายุ 36 ปี ผู้รับซื้อหอยริมชายหาดแหลมสน บ้านสนใหม่ กล่าวว่า จะมารับซื้อในช่วงเช้าทุกวัน บางวันก็ได้เยอะ บางวันก็ได้น้อย อย่างวันนี้ ได้มาคนสละตัว สองตัว มากหน่อย 4-5 ตัว เฉลี่ยตัวละ 20-30 บาท ตัวเล็กจะไม่รับซื้อ จะซื้อตัวใหญ่ในราคากิโลกรัมละ 500- 600 บาท สำหรับพื้นที่ชายหาดแหลมสน ยาวประมาณ 4 กม. ครอบคลุม 4 หมู่บ้าน คือบ้านสนใหม่ บ้านสนกลาง บ้านกาเบง และบ้านบุโบย ต.แหลมสน อ.ละงู จ.สตูล บนพื้นที่แห่งนี้นอกจากจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยหอยเศรษฐกิจอย่างหอยท้ายเภาแล้ว ยังพบหอยผีเสื้อซึ่งวิธรีการหาไม่แตกต่างกัน นับเป็นพื้นที่ที่สมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางทะเล https://www.naewna.com/likesara/630089 |
|
|