#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้น ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมทั้งฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยง การอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่และมีลมกระโชกแรง ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 25 ? 26 เม.ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่า และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนคลายความร้อนลง ส่วนช่วงในวันที่ 27 เม.ย. -1 พ.ค. 63 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในช่วงวันที่ 25 - 28 เม.ย. 63 ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 25 ? 26 เม.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 เม.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักและลมกระโชกแรงไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 26 เมษายน 2563)" ฉบับที่ 16 ลงวันที่ 26 เมษายน 2563 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคเหนือ และทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน ทำให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นและอากาศร้อน ส่งผลทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังในระยะนี้ จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้ วันที่ 26 เมษายน 2563 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก และกำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ และนครราชสีมา ภาคกลาง: จังหวัดชัยนาท อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ห่วงโลมาเผือกชายฝั่งฮ่องกงสูญหายเกือบหมด บทความสารคดีของเว็บไซต์สำนักข่าวบีบีซีเผยแพร่เรื่องราวความห่วงใยของผู้คนต่อสถานการณ์การพบเห็น "โลมาเผือก" หรือโลมาสีชมพู ตามพื้นที่ชายฝั่งเกาะฮ่องกง โดยเฉพาะบริเวณใกล้สนามบินนานาชาติแห่งใหม่ "เช็ค แลป ก็อก" ซึ่งเคยถูกพบเห็นและนับได้มากราว 250 ตัว เมื่อช่วงทศวรรษ 1990 กระทั่งเมื่อช่วงปี 2560 มีความพยายามนับฝูงโลมาเผือกอีกครั้ง แต่นับได้เพียง 32 ตัว หรือลดลงมากถึงกว่า 32 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงปี 2560-2561 สาเหตุที่ทำให้ฝูงโลมาเผือกตามพื้นที่ชายฝั่งฮ่องกงลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วนั้น เหล่านักวิทยาศาสตร์ทางทะเลและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชี้ว่า เพราะหลายปัจจัยตั้งแต่การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล รวมถึงการถมทะเลสร้างสนามบินและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ อย่างรวดเร็ว ปัญหาการจราจรคับคั่งทางทะเล รวมถึงการท่องเที่ยว ปัญหามลภาวะทางน้ำและปัญหาด้านการประมง เพราะชาวประมงไม่ชอบ ตัวอย่างของปัญหา อาทิ การจราจรทางน้ำคับคั่งบริเวณชายฝั่งฮ่องกงเกือบตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้หลายครั้งพบเห็นโลมาถูกใบพัดเรือพัดตายซากลอยน้ำ อีกทั้งแผนพัฒนาสร้างสะพานและเครือข่ายถนนเชื่อมโยงจุดต่างๆ ล้วนส่งผลกระทบถึงวิถีชีวิตของฝูงโลมาบริเวณนั้น ขณะที่ธุรกิจการล่องเรือเที่ยวชมฝูงโลมาก็ได้รับความนิยมอย่างมากตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา โลมาเผือก หรือที่ชาวประมงฮ่องกงเรียก "ฮัค ไค" หรือ "ปัค ไค" หมายถึง "ดำต้องห้าม" หรือ "ขาวต้องห้าม" บริเวณชายฝั่งฮ่องกงถูกพบครั้งแรกเมื่อช่วงปี พ.ศ.2180 โดยนายปีเตอร์ มุนดี พ่อค้านักเดินเรือชาวอังกฤษ ซึ่งทำธุรกิจค้าใบชาส่งให้อังกฤษ เขาเรียกโลมาเผือกยุคนั้นว่า "ปลาดาบ" ทั้งยังไม่รู้ชัดว่าโลมาเป็นสัตว์เลือดอุ่นและเลี้ยงลูกด้วยนม กระทั่งข้อมูลโลมาชนิดนี้ถูกศึกษาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนรู้ว่าสีอ่อนของโลมาชนิดนี้เพราะมันเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำขุ่นและเป็นสัตว์เลือดอุ่น ทำให้ร่างกายได้รับแสงน้อย จึงทำให้สีผิวหนังพัฒนาเป็นสีสว่าง ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่สีชมพู โลมาเผือกพบเห็นได้ทั่วไปในพื้นที่แถบบังกลาเทศ บรูไน จีนตอนใต้ รวมถึงฮ่องกง ไต้หวัน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย หากินอาหารประเภทสัตว์ทะเลเล็กๆน้อยๆ รวมถึงแมงกะพรุน. https://www.thairath.co.th/news/foreign/1829878
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|