#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก แต่ยังคงมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวันและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 29 พ.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 27 ? 29 พ.ค. 66 มีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางและทะเลจีนใต้ตอนกลางจะเคลื่อนเข้ามาปกคลุมประเทศลาวและกัมพูชา ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบาง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคตะวันออก สำหรับในช่วงวันที่ 24 - 26 พ.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 29 พ.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม และขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมที่จะเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 26 ? 29 พ.ค. 68
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
วาฬสีน้ำเงิน สัตว์ป่าสงวนล่าสุดของไทย เคยพบเพียง 3 ครั้งในอันดามัน วาฬสีน้ำเงิน ภาพจาก WWF รู้จัก "วาฬสีน้ำเงิน" สัตว์ใหญ่ที่สุดในโลก หลัง ครม.อนุมัติให้เป็นสัตว์ป่าสงวน ชนิดล่าสุด อพยพและมีถิ่นอาศัยทั่วโลก ปัจจุบันอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ ไทยเคยพบเพียง 3 ครั้งเท่านั้นในทะเลอันดามัน วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาลหลัง "น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล" รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน (ฉบับที่?) พ.ศ. ? โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ "วาฬสีน้ำเงิน" (Balaenptera musculus) เป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติม ก่อนจะเสนอเป็นสัตว์ป่าสงวน วาฬสีน้ำเงินเป็นสัตว์ป่าควบคุม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องด้วยในอดีตถูกล่าจับเป็นจำนวนมากเพื่อนำเนื้อและไขมันมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน ขณะที่แหล่งอาหารลดลงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและความเป็นกรดในทะเลจึงส่งผลต่อการสืบพันธุ์ เมื่อกฎหมายมีผลบังคับให้เป็นสัตว์ป่าสงวนแล้ว วาฬสีน้ำเงินจะได้รับการอนุรักษ์และดูแลอย่างเข้มงวดตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ต่อไป รู้จักวาฬสีน้ำเงินพี่ใหญ่แห่งท้องทะเล ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่ประเทศไทยจะเพิ่มวาฬสีน้ำเงินในบัญชีสัตว์ป่าสงวน เนื่องจากเมื่อปี 2561 บัญชีแดงไอยูซีเอ็น (IUCN Red List) สถาบันหลักที่มีอำนาจในการระบุฐานะและสถานภาพต่าง ๆ ของสปีชีส์ได้กำหนดสถานภาพให้เจ้ายักษ์ชนิดนี้เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered Species, EN) แต่สิ่งที่หลายคนสงสัยคือวาฬสีน้ำเงินมีถิ่นอาศัยอยู่ที่ไทยหรือไม่ เพราะเหตุใดจึงถูกเพิ่มในบัญชีสัตว์ป่าสงวน วาฬสีน้ำเงินมีแหล่งอาศัยในพื้นที่ทางทะเลระหว่างประเทศอาศัยและมีการอพยพย้ายถิ่นระยะไกล ทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย รวมถึงมหาสมุทรแอนตาร์กติก ด้วย สำหรับทะเลประเทศไทย ข้อมูลจาก ระบบรับแจ้งรายงานการพบสัตว์ทะเลหายาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่า เคยพบวาฬสีน้ำเงินเพียง 3 ครั้งเท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณฝั่งทะเลอันดามันทั้งหมด โดยพบครั้งแรกที่หมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา เมื่อปี 2550 ครั้งต่อมาพบเกยตื้นที่เกาะลิบง จ.ตรัง เมื่อปี 2556 และครั้งล่าสุดพบที่หมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา เมื่อปี 2560 วาฬสีน้ำเงินจึงมีสถานะเป็นทรัพยากรทางทะเลร่วมกันของระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยปัจจุบันมีประชากรโตเต็มวัยประมาณ 5,000-15,000 ตัวทั่วโลก วาฬสีน้ำเงินเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีอายุยืนยาว 80-90 ปี ตัวโตเต็มที่อาจมียาวได้ถึง 29 เมตร หนัก 72-135 ตัน และอาจหนักสุดถึง 180 ตัน หรือ 180,000 กิโลกรัม เลยทีเดียว ซึ่งตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ วาฬสีน้ำเงินตัวเมียจะมีระยะเวลาตั้งท้องนาน 10-12 เดือน และออกลูกครั้งละ 1 ตัว โดยจะตกลูก (คลอดลูก) ทุก 2-3 ปี ในช่วงฤดูหนาว ลูกวาฬที่แรกเกิดจะมีขนาดยาว 7-8 เมตร หย่านมเมื่ออายุ 8 เดือน และมีวัยเจริญพันธุ์ที่อายุ 8-10 ปี เจ้าสัตว์ทะเลตัวใหญ่นี้มีส่วนหัวสีน้ำเงิน ลำตัวด้านหลังสีน้ำเงินอมเทาโดยส่วนท้องสีจางกว่าเล็กน้อย และด้านข้างมีลายสีน้ำเงินหรือเทาอ่อนมีลักษณะเป็นดวง ๆ จึงได้ชื่อว่า วาฬสีน้ำเงิน ลำตัวของวาฬสีน้ำเงินมีลักษณะเพรียวยาว ส่วนหัวกว้างคล้ายตัวยู มีสันกลางหัว 1 สัน และช่องหายใจขนาดใหญ่ 2 รู เมื่อหายใจวาฬสีน้ำเงินจะโผล่ส่วนหัวและช่องหายใจขึ้นมาเหนือผิวน้ำมากกว่าวาฬชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้มันยังมีซี่กรอง 260-400 คู่ แต่ละซี่ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร ลักษณะของซี่กรองค่อนข้างหยาบ มีร่องใต้คาง 60-88 ร่องยาวเกือบถึงสะดือ ครีบหลังมีขนาดเล็กอาจมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมหรือลาดเอียง ปลายครีบแหลมหรือกลมมน ฐานครีบหลังตั้งอยู่ค่อนไปทางหาง ครีบข้างเพรียวยาว ปลายครีบแหลม และมีสีอ่อนกว่าส่วนอื่นของครีบ มีความยาวได้ถึง 15% ของความยาวลำตัว ครีบหางกว้างประมาณ 1 ส่วน 4 ของความยาวลำตัว มีร่องกึ่งกลางระหว่างแพนหาง แม้เป็นสัตว์ที่ใหญ่สุดในโลก แต่อาหารของวาฬสีน้ำเงินคือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น เคยสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยมันจะอ้าปากเพื่อขยายร่องใต้คางให้ใหญ่ขึ้นและพุ่งเข้าหาเหยื่อโดยตะแคงตัวหรือหงายท้อง วาฬสีน้ำเงินจะกินอาหารทั้งผิวน้ำและที่ระดับความลึกถึง 300 เมตร วาฬสีน้ำเงินสามารถดำน้ำได้นานถึง 36 นาที ว่ายน้ำด้วยความเร็ว 3-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เเละเร็วสุดที่ 7-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนี้พวกมันยังใช้เสียงอินฟราโซนิค (Infra Sonic) ที่ความถี่ 17-20 เฮิร์ตซ์ ในการส่งสัญญาณสื่อสารในระยะไกล ซึ่งความถี่ต่ำเกินกว่ามนุษย์จะได้ยิน https://www.prachachat.net/d-life/news-1300138
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
รู้จัก "วาฬสีน้ำเงิน" หลัง ครม. เห็นชอบบรรจุบัญชีสัตว์ป่าสงวนไทย ครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดให้ "วาฬสีน้ำเงิน" เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย เพื่อการอนุรักษ์เข้มงวดไม่ให้สูญพันธุ์ ชี้ระดับโลกขึ้นบัญชีใกล้สูญพันธุ์ ส่วนไทยเคยพบตัว 3 ครั้งในอดีตพบมีการล่า วันนี้ (23 พ.ค.2566) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน (ฉบับที่...) พ.ศ...สาระสำคัญเป็นการกำหนดให้วาฬสีน้ำเงิน (Balaenptera musculus) เป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติม พร้อมกับอนุมัติให้รวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกันกับร่าง พ.ร.ฎ. ที่ ครม.ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 6 ก.ย.2565 ซึ่งมีสาระสำคัญกำหนดให้ นกชนหิน หรือ นกหิน (Buceros vigil หรือ Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวน หลังจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะได้ดำเนินการตามขึ้นตอน เพื่อรวม พ.ร.ฎ. ทั้ง 2 ฉบับเป็นกฎหมายฉบับเดียวต่อไป การกำหนดให้ทั้ง วาฬสีน้ำเงิน และ นกชนหินหรือนกหิน เป็นสัตว์ป่าสงวนนี้ เป็น การดำเนินการตามขั้นตอนของมาตรา 6 วรรค 2 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ซึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว่าเห็นว่าสัตว์ป่าชนิดใดสมควรกำหนดเป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติม จากที่บัญญัติไว้ในท้าย พ.ร.บ.ฯ ให้ออกเป็น พ.ร.ฎ. น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ก่อนจะเสนอเป็นสัตว์ป่าสงวน วาฬสีน้ำเงินเป็นสัตว์ป่าควบคุม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยวาฬสีน้ำเงินเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีแหล่งอาศัยในพื้นที่ทางทะเลระหว่างประเทศ ในประเทศไทยเองมีข้อมูลการพบเห็นวาฬสีน้ำเงิน เฉพาะทะเลฝั่งอันดามันเพียง 3 ครั้ง แต่เนื่องจากในอดีตถูกล่าจับเป็นจำนวนมาก เพื่อนำเนื้อและไขมันมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน ขณะที่แหล่งอาหารที่ลดลงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและความเป็นกรดในทะเล ส่งผลต่อการสืบพันธุ์ นอกจากนี้ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) จึงได้ขึ้นบัญชีให้วาฬสีน้ำเงิน มีสถานะเป็นชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered species : EN) หรืออยู่ในบัญชี IUCN Red List ซึ่งประเทศไทยก็ได้ขึ้นบัญชีวาฬสีน้ำเงินเป็นชนิดพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์เช่นกัน (Thailand Red Data) น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า เมื่อกฎหมายมีผลบังคับให้เป็นสัตว์ป่าสงวนแล้วทั้งวาฬสีน้ำเงิน และ นกชนหินหรือนกหิน จะได้รับการอนุรักษ์และดูแลอย่างเข้มงวดตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 เช่นเดียวกับสัตว์ป่าสงวน แนบท้าย พ.ร.บ.ฯ ที่ปัจจุบันมี 4 จำพวก 19 ชนิด เช่น กระซู่ กวางผา นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกกระเรียน เต่ามะเฟือง ปลาฉลามวาฬ รู้จักวาฬสีน้ำเงิน วาฬใหญ่ที่สุดในโลก ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) รายงานว่า วาฬสีน้ำเงิน เป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสัตว์ทะเลหายาก และใกล้สูญพันธุ์ที่ได้รับความสำคัญจากนานาประเทศ เนื่องจากการอพยพย้ายถิ่นระยะไกล จึงมีแหล่งอาศัยในพื้นที่ทางทะเลระหว่างประเทศ คาดทั่วโลกมีประชากร 5,000-15,000 ตัว วาฬสีน้ำเงิน ส่วนหัวมีสีน้ำเงินสม่ำเสมอ ลำตัวด้านหลังมีสีน้ำเงินอมเทา ส่วนท้องสีจางกว่าเล็กน้อย ด้านหลังและด้านข้างมีลายสีน้ำเงินหรือเทาอ่อนมีลักษณะเป็นดวงๆ เหมือนรอยด่าง ลำตัวเพรียวยาว ส่วนหัวกว้างคล้ายตัวยู (U-shaped) เมื่อมองจากด้านบน มีสันกลางหัว 1 สัน มีช่องหายใจขนาดใหญ่ 2 รู มีซี่กรอง 260-400 คู่ แต่ละซี่ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร ลักษณะของซี่กรองค่อนข้างหยาบ มีร่องใต้คาง 60 -88 ร่อง ยาวเกือบถึงสะดือ ครีบหลังมีขนาดเล็กอาจมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมหรือลาดเอียง ปลายครีบแหลมหรือกลมมน ฐานครีบหลังตั้งอยู่ค่อนไปทางหาง คอดหางหนา ครีบข้างเพรียวยาว ปลายครีบแหลม และมีสีอ่อนกว่าส่วนอื่นของครีบ มีความยาวได้ถึงร้อยละ 15 ของความยาวลำตัว ครีบหางกว้างประมาณ 1 ส่วน 4 ของความยาวลำตัว มีร่องกึ่งกลางระหว่างแพนหาง "ขนาดโตเต็มที่มีความยาว 29 เมตร น้ำหนัก 72-135 ตัน หนักที่สุด 180 ตัน ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ลูกแรกเกิดยาว 7-8 เมตร อายุยืน 80-90 ปี" วาฬสีน้ำเงินสามารถดำน้ำได้นานถึง 36 นาที ว่ายน้ำ 3-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 7?20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อมีสิ่งรบกวน จะใช้เสียงในการส่งสัญญาณสื่อสารกันในระยะทางไกล เป็นเสียงแบบอินฟราโซนิค (Infra Sonic) 17 ?20 เฮิร์ตซ์ ซึ่งต่ำเกินไปสำหรับมนุษย์ที่จะได้ยิน วาฬสีน้ำเงินจะโผล่ส่วนหัว และช่องหายใจเหนือผิวน้ำมากกว่าวาฬชนิดอื่นๆ ในทะเลไทยเคยพบวาฬสีน้ำเงินเพียง 3 ครั้ง พบเห็นบริเวณฝั่งทะเลอันดามันทั้งหมด โดยพบครั้งแรก เมื่อปี 2550 ที่หมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา ต่อมาพบเข้ามาเกยตื้นที่เกาะลิบง จ.ตรัง เมื่อปี 2556 ล่าสุดเมื่อปี 2560 พบที่หมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา https://www.thaipbs.or.th/news/content/328112
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV
กรม ทช. ยกระดับการสำรวจ ป้องกันการสูญพันธ์ุ "วาฬบรูด้า" กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ชี้ ความนิยมล่องเรือดูวาฬบรูด้า เสี่ยงอันตราย รบกวนพฤติกรรมธรรมชาติ หวั่นกระทบถึงขั้นสูญพันธุ์ เตรียมเสนอมาตรการคุ้มครอง จากกิจกรรมท่องเที่ยว พร้อมขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมอนุรักษ์จากทุกภาคส่วน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (กรม ทช.)ตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์ทะเลหายากในน่านน้ำไทย เนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่าสะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศท้องทะเล และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ที่ได้พบเห็น พร้อมทั้งช่วยยกระดับการท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทย ในการนี้ กรม ทช.ได้ดำเนินการสำรวจสัตว์ทะเลหายาก ทั้งทางเรือ ทางอากาศ และนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการสำรวจ พบสัตว์ทะเลหายากในน่านน้ำไทย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ โลมาและวาฬ 27 ชนิด พะยูน 1 ชนิด และเต่าทะเล 5 ชนิด ทั้งนี้ ในบริเวณชายฝั่งทะเล จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ พบสัตว์ทะเลหายาก 7 ชนิด ได้แก่ วาฬบรูด้า โลมาอิรวดี โลมาหัวบาตรหลังเรียบ โลมาหลังโหนก เต่าตนุ เต่ากระ และปลาฉลามวาฬ จากการสำรวจเชิงลึกพบว่า โลมาอิรวดี จะพบในพื้นที่ชายฝั่งทะเล จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม โลมาหัวบาตรหลังเรียบ จะพบมากในพื้นที่ชายฝั่งทะเล จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ปลาฉลามวาฬ จะพบบ่อยในพื้นที่เกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วน "วาฬบรูด้า" เป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลหายากชนิดที่พบแพร่กระจายตลอดแนวชายฝั่งของอ่าวไทย โดยเฉพะชายฝั่งทะเลจ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดี กรม ทช. รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (รรท.อทช.) กล่าวหลังจากนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ ชายฝั่งทะเล สมุทรสาคร ว่า การนิยมล่องเรือดูวาฬบรูด้าในบริเวณ ?อ่าวไทยตัว ก? มีความเสี่ยงเนื่องจาก "วาฬบรูด้า" เป็นสัตว์ที่ไม่ชอบการถูกรบกวน แต่จากการที่มีเรือนำเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมเป็นประจำทุกวัน ทำให้วาฬเกิดความคุ้นเคย หลายครั้งพบว่าเรือนำเที่ยวเข้าไปในระยะที่ใกล้จนอาจเป็นอันตราย รบกวนพฤติกรรมของวาฬในธรรมชาติ หากไม่รีบยับยั้งการกระทำแบบนี้ อนาคตวาฬบรูด้าอาจสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย ที่ผ่านมา กรม ทช. ศึกษารวบรวมข้อมูลสถานการณ์ สภาพปัญหาและผลกระทบจากการท่องเที่ยว ชมวาฬบรูด้า พร้อมทั้งยื่นเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ เพื่อให้ออกเป็นประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองวาฬบรูด้าจากกิจกรรมท่องเที่ยว พ.ศ. ?.. ต่อไป นางสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ออกสำรวจสัตว์ทะเลหายาก ทั้งทางเรือ ทางอากาศ และติดตามการรายงานจากสื่อออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินแนวโน้มจำนวนประชากรและจัดทำฐานข้อมูลสัตว์ทะเลหายากในประเทศไทย เพื่อเป็นการยกระดับความสำคัญของสัตว์ทะเลหายากบางชนิดให้เป็นสัตว์สงวนและสัตว์คุ้มครอง รวมถึงดำเนินการช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น เพื่อรักษาฟื้นฟูสุขภาพสัตว์ทะเลหายากก่อนปล่อยคืนสู่ท้องทะเล ตลอดจนการชันสูตรสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นเพื่อหาสาเหตุ และแนวทางป้องกันเพื่อลดการสูญเสีย พร้อมทั้งดำเนินการสร้างเครือข่าย และอบรมเครือข่ายในการช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นเบื้องต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นและลดอัตราการเสียชีวิตได้ ปัจจุบัน มีการดำเนินงานทั้งหมดนี้ควบคู่ไปกับการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่พี่น้องประชาชน ในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก รวมถึงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้คงอยู่ในระบบนิเวศอย่างสมดุล และยั่งยืน ที่ผ่านมา กรม ทช. ได้สนับสนุน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู รักษาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้คงความอุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นมรดกของประเทศไทย ในโอกาสนี้ รรท.อทช. ฝากถึงประชาชนในเรื่องของการท่องเที่ยวทะเลหรือเที่ยวชมวาฬบรูด้า ว่า "ควรเก็บภาพเป็นความทรงจำ มิใช่เก็บเอาทรัพยากรทางทะเล? พร้อมทั้งขอให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ให้คำนึงถึงธรรมชาติเป็นหลัก รักเสมือนคนในครอบครัว และช่วยปฏิบัติตามข้อระเบียบกรมฯอย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำและปรับ" นายอภิชัย กล่าวทิ้งท้าย https://www.nationtv.tv/gogreen/378916872
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|