เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

 
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
Prev คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป Next
  #1  
เก่า 08-07-2010
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default เอาเยี่ยงอีโคทาวน์.......ทางรอดมาบตาพุด



อีโคทาวน์ (ECO TOWN) สำหรับเมืองคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นบทเรียนสำคัญของมาบตาพุด ที่จะเดินหน้าไปสู่การที่ภาคอุตสาหกรรมและชุมชน จะอยู่อย่างเกื้อกูลกันอย่าง ยั่งยืน


ทว่า.......อีโคทาวน์ที่คาวาซากิ ซิตี้ นั้น มีนิยาม ต่างกับแนวคิดอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนในเมืองไทย



คัตซึยามา


ที่นั่น อีโคทาวน์หมายถึงพื้นที่เฉพาะของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่ใช่บริเวณโรงงานที่มีชุมชนล้อมรอบ และไม่ใช่ที่ที่คนจะเข้าไปอยู่

ทั่วประเทศญี่ปุ่นมีอีโคทาวน์ 26 แห่ง...ตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายลดปริมาณขยะจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ทั่วประเทศ ญี่ปุ่น แยกย้ายกันไปในแต่ละพื้นที่ เพื่อไม่ให้ขยะกระจายล้นออกมาจากบริเวณโรงงาน

ฉะนั้น...อีโคทาวน์ จึงเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่เอาไว้รองรับของเสีย ด้วยการนำกลับมารีไซเคิล

ย้าย ฐานอุตสาหกรรมและชุมชนเกื้อกูลกันอย่างยั่งยืน มาที่ นิคมอุตสาหกรรมอิจิฮารา จังหวัดชิบะ ที่ตั้ง บริษัท มิตซุย เคมิคอลส์




โรงงานมิตซุยฯทำอุตสาหกรรมครบวงจรเกี่ยวกับปิโตรเคมี มีพนักงาน 12,964 คน มีนโยบายสิ่งแวดล้อม ภายใต้กฎหมายสิ่งแวดล้อม 40 ข้อ

ควบคุมมลพิษทาง อากาศ...ปลายทางมีระบบการตรวจจับแบบออนไลน์ และรายงานไปยังสำนักงานจังหวัดท้องถิ่นตลอด 24 ชั่วโมง

ควบคุมมลพิษ ทางน้ำ...บำบัดทางชีววิทยา พักน้ำทิ้งตามกระบวนการบำบัดน้ำเสีย มีค่าซีโอดีน้ำทิ้งอยู่ที่ 15 พีพีเอ็ม


ควบคุมมลพิษทางเสียง...ผ่านจุดวัด 4 แห่ง อัตราเสียงช่วงเช้า... น้อยกว่า 65 เดซิเบล ช่วงกลางวัน...อยู่ที่ไม่เกิน 70 เดซิเบล และช่วงเย็น... อยู่ที่ไม่เกิน 60 เดซิเบล

นอกจากนี้โรงงานยังมีข้อตกลงร่วมกับจัง หวัดชิบะ เพื่อเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมมลพิษมากกว่ากฎหมายควบคุม โดยกำหนดค่าก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) น้อยกว่า 150
ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร และปริมาณฝุ่นน้อยกว่า 0.05 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

พร้อม กันนี้ยังมีการประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชนใกล้เคียงได้รู้ว่า โรงงานมีการรักษาสิ่งแวดล้อม และระบบบริหารจัดการอย่างเข้มงวด


กรณี...หากมีการรั่วของสารต่างๆลงในแม่น้ำ ไหลออกสู่ทะเลก็จะแจ้งให้ชุมชนทราบทันที เพื่อจะได้ไม่ไปจับสัตว์น้ำ

ดั้งเดิม...นิคมอุตสาหกรรมกับชุมชนก็มีปัญหาระหว่างกัน โรงงานกว่า 30 แห่ง แม้ว่าจะมีการผูกมัดด้วยสัญญาข้อตกลง แต่ก็ทำแบบต่างคนต่างทำ ต่างก็มีระบบป้องกันของตัวเอง ไม่ได้ร่วมด้วยช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมในภาพรวมเหมือนอย่างวันนี้

กติกา ผูกมัดที่ว่านี้...ชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรง แต่ทำโดยผ่านผู้แทนชุมชน

มร.เคน จิ อิชิ ผู้ช่วยฝ่ายเศรษฐกิจ เมืองอิจิฮารา บอกว่า อิจิฮาราห่างจากโตเกียว 50 กิโลเมตร เป็นเมืองที่มีโรงงานเยอะ ตัวเลขการผลิตโดยรวมเป็นรองแค่เมืองโตโยตา

"ก่อนหน้าที่จะถมพื้นที่ ชายหาด ลึกลงไปในทะเลเพื่อสร้างโรงงาน ผู้คนในอิจิฮาราประกอบอาชีพประมงกับเกษตรเป็นหลัก กระทั่งราวทศวรรษที่ 60 ก็พัฒนากลายมาเป็นเมืองอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ"

แต่...ประเด็นน่า สนใจมีว่า อิจิฮารามีสนามกอล์ฟ 32 แห่ง...มากที่สุดในญี่ปุ่น อีกจุดเด่นก็คือด้านการเกษตรก็ไม่น้อยหน้า มีพื้นที่เป็นอันดับสองของจังหวัดชิบะ ปลูกข้าว ข้าวสาลี หัวไชเท้า





วันนี้แม้ภาคอุตสาหกรรมจะเติบโตมากขึ้นเป็นเท่าทวี แต่เชื่อมั่นได้ว่าในอนาคต อิจิฮาราจะทำรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวได้อย่างมหาศาล"

มร.ทัตซึนิโอ โอตะ ผู้นำชุมชนจากอาโอยาอีโคทาวน์ ละแวกใกล้เคียงนิคมอุตสาหกรรมอิจิฮารา วัย 69 ปี บอกว่า เขาเกิด...โตที่นี่ ตอนเด็กๆยังช่วยพ่อปลูกสาหร่าย จับหอยลายในทะเล

"กระทั่งโรงงานเริ่มเข้ามาจับจองยึดพื้นที่ ความเปลี่ยนแปลงมากมายก็เกิดขึ้นตามมา"

ปัญหามีว่า...โรงงานเกิด แต่สิ่งแวดล้อมแย่ลง โรงงานก็ให้ความสนใจกับปัญหานี้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เครื่องยืนยันคือปัจจุบันชาวบ้านยังตกปลาในแม่น้ำ สายเล็กๆที่ไหลเชื่อมต่อกับทะเลได้เหมือนเดิม

"ชาวบ้านยังจับหอยได้ เหมือนเดิม โดยไม่ต้องกังวลถึงสารพิษตกค้าง แถมหอยลายยุคนี้ก็ยังตัวอ้วน สมบูรณ์ ไม่ต่างกับสมัยผมยังเด็ก"

ยามที่เกิดปัญหา โรงงานก็จะแจ้งไปยังชุมชน ไม่ว่าจะเรื่องควัน กลิ่นทุกครั้ง ทำให้มีการติดต่อระหว่างชุมชนกับโรงงานสม่ำเสมอ จนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้...นอก จากชุมชนไม่ย้ายหนีโรงงานแล้ว ยังมีคนจำนวนไม่ใช่น้อยๆ ย้ายเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้น เพราะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ใน ชุมชนของ ทัตซึนิโอ ยังมีจำนวนเด็กเกิดใหม่เพิ่มขึ้นด้วย เห็นได้จากปริมาณนักเรียนชั้นประถมที่มีอยู่กว่า 880 คน จนอาคารเรียนไม่พอเรียน ต้องสร้างเพิ่ม

"ถือว่า...เด็กๆที่อิจิฮารา มีเยอะกว่าเมืองรอบๆ"

มร.คัตซึยามา มิตซึรุ นายกสหกรณ์ประมง จังหวัดชิบะ เสริมว่า หอยลายอาซาริเป็นภาพสะท้อนที่ดีของสภาพแวดล้อมทะเลอ่าวโตเกียว นอกจากเป็นอาชีพ ที่ยังดำรงคงอยู่แล้ว ยังสร้างรายได้มหาศาลจนเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งของประเทศ




แรกเริ่มเดิมที จังหวัดชิบะ มีชาวประมง 19,000 คน...ราวปี 1955-1972 ระยะเวลา 15 ปีที่มีการเริ่มถมพื้นที่ในทะเล...

ชาวประมงที่นี่เหลือแค่ 2,000 ชีวิตเท่านั้น

โรงงานเข้ายึดพื้นที่ประมงแบบมัดมือชก ชาวประมงได้รับการเยียวยาช่วยเหลือ ขณะเดียวกันโรงงานปล่อยน้ำเสียผู้คนจากทั่วสารทิศย้ายเข้ามาอยู่

น้ำเสียจากบ้านเรือนก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

"ปัญหาน้ำเสีย ทำให้ปลาตาย หอยตาย ย้อนไปวันวานแน่นอนว่าชาวประมงกับโรงงานนั้นทะเลาะกัน ยืนกันคนละมุม...ราวทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา รัฐบาลกลางก็มีการออกกฎหมายสิ่งแวดล้อม ห้ามปล่อยของเสียลงทะเล"

กฎหมาย นี้ออกมาพร้อมๆกับข้อตกลงร่วมระหว่างโรงงาน...จังหวัด...เขต รวมทั้งสหกรณ์การประมงชิบะ เพื่อจะร่วมกันแก้ปัญหา จับตาดูผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

"เรียกได้ว่ากว่าจะถึง ปัจจุบัน พวกเราผ่านประสบการณ์มามากมาย... กว่าจะไม่มีปัญหาในวันนี้"

คัต ซึยามา ยังจำได้แม่นยำ โรงงานเข้ามาตั้งเป็นนโยบายจังหวัด ไม่ได้คิดอย่างอื่น เพียงแค่คิดว่าจ่ายค่าชดเชยชาวประมงให้เลิกอาชีพไป ไม่ได้คิดเลยไปถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมที่จะมีปัญหาตามมา

"โรงงานจ่าย เงิน...ชาวประมงที่ไม่เลิก ก็ย้ายไปทำประมงในพื้นที่อื่นก็เท่านั้น"

ชาว ประมง 17,000 ชีวิตที่เลิกอาชีพบรรพบุรุษ เพราะพื้นที่ทำประมงดั้งเดิมถูกใช้ทำโรงงาน บางส่วนจำนวนไม่น้อย...เมื่อไม่ทำประมงก็หันไปทำงานในโรงงาน สำหรับ คัตซึยามา แม้ว่าจะผ่านช่วงเวลาตรงนั้นมาเกือบ 40 ปีเต็ม ก็ยังจำได้ ไม่เคยลืม

สหกรณ์ประมงจังหวัดชิบะ ก่อตั้งปี 1952 ช่วงที่มีปัญหาก็มีการรวมตัวไปปิดหน้าโรงงาน ทางทะเลก็เอาเรือไปขวาง รวมถึงเดินทางไปร้องเรียนหน่วยงานราชการ

ยุคนั้นเรียกได้ว่าเป็นยุค ที่เมืองที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศญี่ปุ่น เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมกระจายตัวไปทั่ว

โรงงานสร้างปัญหาน้ำเสีย ใหม่ๆทะเลสกปรกมาก ปลาจับมาได้ก็ไม่กล้ากิน ยุคนี้ดีขึ้นมากแล้ว มีการกำหนดค่าต่างๆด้านสิ่งแวดล้อม แต่ที่น่าเป็นห่วงคือน้ำเสียจากภาคการเกษตร สกปรกกว่า อันตรายกว่า...เพราะเจือปนมาด้วยปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฯลฯ

เมืองอุตสาหกรรม กับการดำรงรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมไม่ให้เกิดมลพิษเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขกัน อย่างจริงจัง และมีมาตรการรองรับที่ชัดเจน

เหลียวมองกลับมาที่มาบตา พุด เมืองอุตสาหกรรมที่น่าจะโชติช่วงชัชวาล วันนี้เดินหน้าไปถึงไหนกันแล้ว

จะ เริ่มนับหนึ่งใหม่ หรือจะรอเวลาอีกเป็นสิบๆปีเพื่อให้อุตสาหกรรม... ชุมชน เยียวยากันและกันให้แนบแน่นเสียก่อน.
ไทยรัฐออนไลน์


โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
8 กรกฎาคม 2553, 05:12 น.
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 08-07-2010 เมื่อ 13:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 10:32


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger