เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

 
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
Prev คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป Next
  #12  
เก่า 25-07-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


จับตาประเทศไทย...กับวิกฤติการณ์ภัยน้ำทะเลสูงขึ้น


อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเป็นตัวเร่งเร้าให้ธารน้ำแข็งจากขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แผ่นดินที่อยู่ริมทะเลหายไปในทะเล ประชาชนที่อยู่ริมทะเลนานาประเทศประสบปัญหาเดียวกัน ประเทศไทยปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งปรากฏภาพให้เห็นชัดในพื้นที่บ้านขุนสมุทร จีน จ.สมุทรปราการ ชายฝั่งทะเลเขตบางขุนเทียน ที่ปรากฏภาพของหลักเขตกรุงเทพจมอยู่กลางทะเล นอกจากนี้ยังมีปัญหากัดเซาะบริเวณ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช จากผลการศึกษา 30 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยสูญเสียแผ่นดินไปกว่า 1 แสนไร่ จุดวิกฤติคือในบริเวณชายฝั่งทะเลสมุทรปราการ และชายทะเลเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ซึ่งทั้งสองแห่งมีอัตรากัดเซาะ เฉลี่ย 20-25 เมตรต่อปี

ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งพื้นที่ต้องเร่งแก้ปัญหาเร่งด่วนคือบริเวณอ่าวไทยตอน บน ที่มีแนวชายทะเลและอยู่ในเขตที่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่ จ.สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา รวมทั้ง กรุงเทพมหานคร

ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา และหัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในเวทีเสวนา “จับตาประเทศไทยกับวิกฤติการณ์ ภัยน้ำทะเลสูงขึ้น” ที่จัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า จากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อพื้นทั่วทั้งชายฝั่งทะเลอ่าวไทย โดยเฉพาะปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญแห่งการทำลายพื้นที่ สร้างปัญหาและความเดือดร้อนให้คนชายฝั่งซ้ำแล้วซ้ำเล่า และยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ โดยพื้นที่อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกงถึงจังหวัดเพชรบุรี มีชายฝั่งยาวกว่า 120 กม. กำลังเผชิญปัญหาการกัดเซาะอย่างรุนแรง 30 ปีที่ผ่านมา ที่ดินชายฝั่งทะเลหายไปกว่า 18,000 ไร่ ยิ่งไปกว่านั้น การกัดเซาะไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะชายฝั่งเท่านั้น แต่กัดเซาะลึกลงไปในพื้นที่ท้องทะเลด้วย ทำให้สูญเสียหาดโคลนทุกวินาที

จากการศึกษาวิจัยพบว่าแผ่นดินใต้ทะเลที่เป็นหาดโคลนหายไปประมาณ 180,000 ไร่ นอกจากนั้น ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของไทยตลอด 2,600 กิโลเมตร ถูกกัดเซาะไปแล้วถึง 600 กิโลเมตรถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ และจากการสำรวจติดตามผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลและผลกระทบที่เกิดขึ้น พบว่าพื้นที่บางปู จ.สมุทรปราการ ในอดีต 40 ปีที่แล้วเมื่อระดับน้ำทะเลลงต่ำสุดมีหาดโคลน ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลได้โผล่พ้นน้ำกว้างกว่า 5 กิโลเมตรจากแผ่นดิน แต่ในปัจจุบันเหลือเพียง 1 กม. ขณะที่พื้นที่ในเขตมหาชัย จ.สมุทรสาคร เคยมีหาดโคลน 1.5 กม. แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 250 เมตรเท่านั้น

เหล่านี้คือปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งไม่เพียงแต่กัดเซาะชายฝั่งแต่ยังกัดเซาะไปถึงท้องทะเลด้วย ล่าสุดงานวิจัยด้านการกัดเซาะชายฝั่งของอาจารย์ธนวัฒน์ ที่เก็บข้อมูลมายาวนาน 20 ปี ฉายภาพของปัญหากัดเซาะให้ชัดขึ้นอีกว่า ภาวะโลกร้อนไม่เพียงทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยเรื่องการสร้างเขื่อนที่ทำให้ตะกอนดินหายไปไม่ก่อให้เกิดการงอกของแผ่นดิน สาเหตุเกิดจากการสร้างเขื่อนสำคัญ ได้แก่ เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนภูมิพล หลัง 40 ปีที่ผ่านมาพบการงอกของแผ่นดินปลายแม่น้ำเหลือ 4.5 เมตรต่อปี จากเดิมที่มีการงอก 60 เมตรต่อปี (สภาพพื้นที่อ่าวไทยตอนบนมีแม่น้ำสำคัญ 4 สาย ลงสู่ทะเล ได้แก่ แม่น้ำแม่กลอง บางปะกง เจ้าพระยา และท่าจีน) นอกจากนี้ยังมีปัญหาแผ่นดินทรุด มีสาเหตุมาจากการใช้น้ำบาดาล เป็นผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นกว่าแผ่นดิน ที่เรียกว่าระดับน้ำทะเลสัมพัทธ์ เป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

ดร.ธนวัฒน์ กล่าวว่า ในส่วนของความรุนแรงของปัญหาการเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำทะเลสัมพัทธ์ อาจยังไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองชายฝั่งในประเทศไทย แต่ที่ประเทศอินโดนีเซีย ในกรุงจาการ์ตา ที่อยู่ติดริมทะเล มีระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากแผ่นดินทรุดและภาวะโลกร้อน ส่งผลให้เมืองใหญ่แห่งนี้ เกิดปรากฏการณ์น้ำหนุนสูง มีน้ำทะเลเข้าท่วมถึงระดับหน้าอก ชาวบ้านในพื้นที่ก็พยายามปรับตัวไม่ทิ้งพื้นที่

ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้น 3 มิลลิเมตรต่อปี แต่จาการ์ตา 8 มิลลิเมตรต่อปี ขณะที่ประเทศไทยระดับน้ำทะเลสัมพัทธ์เพิ่มขึ้น 40 มิลลิเมตรต่อปี นับได้ว่าเป็นอัตราที่มากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ปรากฏน้ำทะเลหนุนสูงแบบนี้จะเห็นบ่อยขึ้นในบ้านเรา ขณะนี้แถบสมุทรปราการเจอปัญหาเดียวกัน แต่ยังไม่รุนแรงเท่าจาการ์ตา ซึ่งชุมชนริมชายฝั่งอย่าง สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ที่จะเผชิญปัญหาสภาพนี้ จะเตรียมรับมืออย่างไร”

ดร.ธนวัฒน์ กล่าวต่อว่า สำหรับวิธีการป้องกันน้ำทะเลท่วมนั้นควรมีการสร้างเขื่อนแต่ไม่ใช่เขื่อนป้องกันน้ำทะเล แบบเดียวกับในประเทศเนเธอร์แลนด์แต่เป็นเขื่อนป้องกันน้ำท่วม และต้องสร้างป่าชายเลนเทียมในทะเลป้องกันอีกชั้นหนึ่ง สร้างหาดเทียมขนาด 500 เมตร ถึง 1 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้ได้สร้างหาดเทียม ทดลองในพื้นที่บ้านขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ ได้เห็นปรากฏการณ์การกัดเซาะลดลงจากเดิมเกิดการกัดเซาะ 30 ซม.ใน 1 ปีแต่หลังจากสร้างเขื่อนการกัดเซาะไม่มี

นอกจากนี้ยังมีตะกอนเพิ่มขึ้น 20-30 เซนติ เมตร ซึ่งกำลังติดตามงานวิจัยต่อไปว่าตะกอนที่เพิ่มขึ้นหากปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ตะกอนจะเพิ่มขึ้นในปริมาณเท่าใด ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ จากงานวิจัยไทยจะเป็นประเทศแรกๆในโลกที่จะสร้างป่าชายเลนเทียมขึ้นมาเพื่อป้องกันระดับน้ำทะเลขึ้นมาบนชายฝั่ง

อีกข้อเสนอแนะของการป้องกันปัญหา นักวิชาการแนะด้วยว่า 4 จังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครควรหยุดใช้น้ำบาดาลตั้งแต่บัดนี้ ภาครัฐต้องหันมาหาแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคของคนในพื้นที่ดังกล่าวใหม่ ไม่เช่นนั้นจะเร่งให้แผ่นดินทรุดกระทบต่อเนื่องก่อให้เกิดปรากฏการณ์แผ่นดินหายและน้ำท่วมกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑลดังกล่าวในอนาคต... ประเทศไทยจะเสียผืนแผ่นดินที่ไม่ได้เกิดจากการสู้รบอย่างจริงๆ.




จาก : เดลินิวส์ วันที่ 25 กรกฎาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 10:24


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger