เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

 
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
Prev คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป Next
  #15  
เก่า 06-09-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


มหันตภัยจาก "สายน้ำ"


วิกฤติน้ำท่วมหนักที่สุดในประวัติศาสตร์ "ปากีสถาน" กว่า 1 เดือนที่ผ่านมา ซ้ำเติมความทุกข์เข็ญของประเทศในเอเชียใต้แห่งนี้มากมายสุดคณานับ

แม้ยอดผู้เสียชีวิตเป็นทางการจะอยู่ที่ราว 2,000 ศพ แต่จริงๆน่าจะสูงกว่านี้มาก ส่วนผู้ได้รับผลกระทบสูงถึง 20 ล้านคน บ้านเรือนกว่า 1.2 ล้านหลังถูกทำลาย พื้นที่ 1 ใน 5 ของประเทศ หรือเท่าๆกับประเทศอิตาลีจมอยู่ใต้น้ำ ขณะที่ความช่วยเหลือยังล่าช้าและไม่พอเพียง

รัฐบาลปากีสถานประเมิน ค่าความเสียหายจากน้ำท่วมอย่างน้อย 43,000 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 1 ใน 4 ของจีดีพีปี 2552-2553 ธนาคารโลกต้องอนุมัติเงินกู้ฉุกเฉินช่วยเหลือถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ ไอเอ็มเอฟอีก 450 ล้านดอลลาร์ ยังไม่นับความช่วยเหลือจากยูเอ็น เอดีบี และอื่นๆ แต่ก็ดูเหมือนจะ "จิ๊บจ๊อย" ไปถนัด เมื่อเทียบกับความสูญเสียซึ่งต้องใช้เวลานานนับสิบปีในการฟื้นฟู

จะว่าไปแล้ว ปากีสถานต้องต่อสู้กับปัญหาเรื่อง "น้ำ" มาตลอด ส่วนใหญ่เป็นปัญหาจาก "ความแห้งแล้ง" ปริมาณฝนตามฤดูกาลไม่เพียงพอกับการเกษตร ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของประเทศ คิดเป็น 23% ของจีดีพี แต่เมื่อใดที่น้ำมากเกินไปก็จะเกิดน้ำท่วมรุนแรงดังที่เห็น

เรียกว่าตกเป็นเหยื่อ "น้ำ" ทั้งขึ้นทั้งล่อง

ปากีสถานมีเครือข่าย "แม่น้ำ" สายใหญ่ น้อยยุ่บยั่บซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำ "อินดุส" และ "สินธุ" แม่น้ำใหญ่อันดับ 1 และ 2 ของประเทศ อุทกภัยครั้งนี้ส่วนใหญ่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำอินดูสทางภาคใต้ ซึ่งเอ่อล้นฝั่งจนเขื่อนและทำนบกั้นริมฝั่งแม่น้ำแตก เพราะท้องแม่น้ำสายนี้เต็มไปด้วยโคลนเลนและตะกอนจึงดูดซับน้ำเร็วมาก ถ้าฝนตกหนักในฤดูมรสุมแค่ไม่ถึง 2 เดือนน้ำก็ล้นฝั่งแล้ว

ด้วยเหตุที่มีแม่น้ำเยอะ การเกษตรถึง 80% ของปากีสถานจึงต้องพึ่งพาน้ำจากเครือข่าย "ชล-ประทาน" แต่ระบบชลประทานกลับไร้ประสิทธิภาพสุดๆ เพราะคูคลองส่งน้ำตื้นเขินอุดตัน หรือน้ำซึมลงดินเร็วเกินไป น้ำที่ผ่านระบบชลประทานจึงตกถึงพื้นที่เกษตรกรรมแค่ราว 1 ใน 3 เท่านั้น

การปฏิรูประบบชลประทานเพื่อรับมือกับทั้งน้ำท่วมและภัยแล้งจึงเป็นความท้าทาย สูงสุด แม้แต่แผนช่วยเหลือปากีสถานของสหรัฐฯ มูลค่า 7,500 ล้านดอลลาร์ ยังต้องยกเรื่องนี้เป็นแกนหลัก

ปากีสถานยังกลัวว่าน้ำท่วมครั้งล่าสุดจะหนักหนาสาหัสกว่านี้ ถ้า "อินเดีย" คู่อริ ระบายน้ำที่ท่วมอินเดียเช่นกันลงมาสู่ปลายน้ำ ทั้งที่ปกติจะกักเก็บน้ำไว้ซะเองจนมีกรณีพิพาทแย่งชิงน้ำกันมาตลอด เพราะแม่น้ำหลายสายมี "ต้นน้ำ" จากอินเดีย จนต้องทำข้อตกลงกันตั้งแต่ปี 2503 เพื่อแบ่งปันน้ำในแม่น้ำหลัก 6 สาย ขณะที่อินเดียมักกล่าวหาว่าปัญหาเกิดจากระบบชลประทานที่ย่ำแย่ของปากีสถาน

อุทกภัยครั้งนี้นอกจากจะซ้ำเติมวิกฤติเศรษฐกิจของปากีสถานซึ่งถึงขั้นวิ่งโร่ไปขอ กู้เงินจากไอเอ็มเอฟถึง 11,300 ล้านดอลลาร์ ก่อนหน้านี้แล้ว ยังจะส่งผลกระทบด้านการเมืองและความมั่นคงอย่างรุนแรง ขณะที่กำลังต่อสู้กับกลุ่มหัวรุนแรงซึ่งโยงใยกับกลุ่มตาลีบันและอัลเคดาในอัฟกานิสถาน

เป็น "วิกฤติ" รอบด้าน ซึ่งรัฐบาลปากีสถานผู้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และ "อภิมหาพันธมิตร" สหรัฐฯ หนักใจอย่างที่สุด!!!



จาก .......... ไทยรัฐ วันที่ 6 กันยายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:46


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger